กลไกการเกิดความวิตกกังวล GAD

GAD หรือ  Generalized Anxiety Disorder คือ โรควิตกกังวลทั่วไป ที่มีความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องและมากจนเกินไปเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ   ผู้ป่วย  GAD อาจกังวลถึงภัยพิบัติ หรือ เรื่องเงิน สุขภาพ ครอบครัว การงาน หรือปัญหาอื่นๆ มากเกินไป ทั้งนี้อาจจะยังไม่เกิดขึ้น โดยผู้ป่วย GAD จะไม่สามารถควบคุมอาการเป็นกังวลของตัวเองได้  การวินิจฉัยว่าเป็น GAD จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมความกังวลและมีความกังวลติดต่อกันเป็นเวลาติดต่อกัน 6 เดือนขึ้นไป และมีความกังวลกับหลาย ๆ เรื่องมากกว่า 3 เรื่องหรือมากกว่านั้น   ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ชาย   ผู้ป่วยที่เป็นโรค GAD จะไม่สามารถหยุดวงจรความกังวลได้ และรู้สึกไม่สามารถควบคุมสถาณการณ์รอบตัวได้เลย  ถึงแม้ว่าในบางครั้งผู้ป่วยอาจจะทราบดีว่าการกังวลที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะมากกว่าสถาณการณ์จริงที่เกิดขึ้น  กรณีที่ระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยอยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางหรือมีการรักษาและควบคุม  ผู้ป่วย GAD จะสามารถทำงานและใช้ชีวิตในสังคมตามปกติได้   GAD (Generalized Anxiety Disorder)

การรักษา

มีการรักษาหลายประเภทที่สามารถช่วยอาการของโรค GAD ได้ เช่น 
  • การบำบัดด้วยการสนับสนุนและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
  • การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (CBT)  
  • แนวทางที่ใช้สติและการบำบัดโดยการยอมรับ 
วิธีเหล่านี้ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าใจธรรมชาติของความวิตกกังวล ลดความกลัวที่จะแสดงความวิตกกังวล และช่วยให้ผู้ป่วยคลายความกังวลได้  นอกจากนี้แล้วยังมียาที่รักษาโรค GAD เช่น  SSRIs ที่สามารถรักษาได้โดยการใช้ยาอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับการบำบัดอื่น ๆ ได้อีกเช่นกัน เทคนิคการผ่อนคลาย การทำสมาธิ โยคะ การออกกำลังกาย และการรักษาทางเลือกอื่นๆ อาจเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษา โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า หรือการใช้สารเสพติดอื่นๆ รวมทั้งโรคประจำตัว อาจกระตุ้นให้เกิด  GAD ได้เช่นกัน โดยหาก GAD มีสาเหตุจากสิ่งเหล่านี้ อาจจะต้องได้รับการรักษามาจากต้นเหตุที่เหมาะสม  

การรับมือกับ GAD

ลองทำสิ่งเหล่านี้เมื่อผู้ป่วยรู้สึกกังวลหรือเครียด:
  • เมื่อมีเวลาว่างควร ฝึกโยคะ ฟังเพลง นั่งสมาธิ นวด โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สมองปรอดโปร่ง
  • รับประทานอาหารที่สมดุล อย่าอดอาหาร  
  • งดแอลกอฮอล์และคาเฟอีนซึ่งอาจทำให้วิตกกังวลมากขึ้นและทำให้เกิดอาการตื่นตระหนก
  • นอนหลับให้เพียงพอ เมื่อเครียด ร่างกายต้องการการนอนหลับและพักผ่อนเพิ่มเติม
  • ออกกำลังกายทุกวัน 
  • ฝึกลมหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ 
  • ยอมรับว่าเราไม่สามารถควบคุมทุกอย่างได้ พิจารณาความเครียดว่า: สิ่งเหล่านั้นแย่อย่างที่คิดหรือไม่ และมีเรื่องดีอะไรบ้างที่ได้จากเรื่องที่กำลังกังวล
  • คิดบวก
  • ใช้เวลาว่างโดยการเป็นอาสาสมัคร เพื่อที่จะได้โฟก้สไปที่สิ่งอื่น ๆ 
  • เขียนบันทึกเมื่อคุณรู้สึกเครียดหรือวิตกกังวล และมองหารูปแบบ ว่าอะไรคือสาเหตุและตัวกระตุ้น
  • พูดคุยกับแพทย์หรือนักบำบัดเพื่อขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด