ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
การฉีดเซฟตาซิดิม

การฉีด Ceftazidmine คืออะไร

การฉีด Ceftazidime  ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียบางชนิด  รวมไปถึงโรคปอดบวมและการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง (ปอด)  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (การติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง) และการติดเชื้อในสมองและไขสันหลังอื่น ๆ และการติดเชื้อในช่องท้อง  ผิวหนัง เลือด กระดูก ข้อ อวัยวะเพศหญิง และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ   Ceftazidime อยู่ในกลุ่มยาที่เรียกว่ายาปฏิชีวนะเซฟาโลสปอริน มีกลไกการทำงานโดยการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การฉีดเซฟตาซิดิมใช้ไม่ได้ผลกับโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ การใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อไม่มีจำเป็นจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในภายหลัง  ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่น่าสนใจ อ่านที่นี่

 Ceftazidime  ควรใช้อย่างไร 

การฉีด Ceftazidime จะฉีดเข้าเส้นเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ  โดยปกติจะได้ฉีดทุก 8 หรือ 12 ชั่วโมง และอีก 2 วันหลังจากสัญญาณและอาการของการติดเชื้อจะหายไป ผู้ป่วยอาจได้รับการฉีด  Ceftazidime  ที่โรงพยาบาลหรืออาจจะใช้ยานี้เองที่บ้าน หากผู้ป่วยได้รับการฉีดเซฟตาซิดิมที่บ้าน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ใช้เข้าใจวิธีการฉีดยาที่ถูกต้อง ก่อนการนำมาใช้เองที่บ้าน  โดยรวมแล้วผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นในช่วงสองสามวันแรกหลังจากการรักษาด้วยการฉีดเซฟตาซิดิม หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง ให้ติดต่อแพทย์ทัน ใช้ยานี้ตามกำหนดจนกว่าแพทย์จะให้หยุดใช้ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม หากผู้ป่วยหยุดฉีดเซฟตาซิดิมเร็วเกินไปหรือข้ามขนาดยา การติดเชื้ออาจไม่ได้รับการรักษาได้อย่างเต็มที่และแบคทีเรียอาจดื้อต่อยาปฏิชีวนะ

การยาเพื่อจุดประสงค์อื่น ๆ 

นอกจากนี้แล้วการฉีด Ceftaidime ยังถูกใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีไข้และมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ เนื่องจากมีเซลล์เม็ดเลือดขาวจำนวนน้อย โรคเมลิออยด์ (การติดเชื้อรุนแรงที่พบได้ทั่วไปในที่ที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น) การติดเชื้อที่บาดแผลบางชนิด และอาหารเป็นพิษ ทั้งนี้ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ยาว่าเหมาะสมกับตัวผู้ป่วยหรือไม่

ข้อควรระวังก่อนใช้ยา

ก่อนฉีด Ceftazidime 

  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ หากคุณallergy-0094/”>แพ้ยาเซฟาโลสปอริน ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเซฟาโลสปอรินอื่นๆ เช่น เซฟาคลอร์ เซฟาดรอกซิล เซฟาโซลิน (Ancef, Kefzol), เซฟดินิร์, เซฟดิโตเรน (Spectracef), เซเฟปิเม (แม็กซิปีม), เซฟิซิซิม (ซูปราx), ซีลาฟอร์แทกซิม cefotetan, cefoxitin (Mefoxin), cefpodoxime, cefprozil, ceftaroline (Teflaro), ceftibuten (Cedax), ceftriaxone (Rocephin), cefuroxime (Zinacef) และ cephalexin (Keflex); เพนิซิลลิน; หรือยาอื่นๆ  
  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาที่ผู้ป่วยกำลังรับประทานหรือรับประทานก่อนหน้านี้ รวมไปถึงวิตามิน อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่ผู้ป่วยกำลังรับประทาน หรือวางแผนที่จะรับประทาน และหากกำลังใช้ยาต่อไปนี้ควรระวังอย่างยิ่ง: Amikacin, Chloramphenicol, Gentamicin, Kanamycin, Neomycin (Neo-Fradin), Streptomycin และ Tobramycin แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือตรวจสอบผลข้างเคียงอย่างระมัดระวัง
  • แจ้งให้แพทย์ประจำตัวทราบหากผู้ป่วยเพิ่งเข้ารับการผ่าตัดหรือได้รับการบาดเจ็บ หรือเป็นโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง หัวใจล้มเหลว  โรคทางเดินอาหาร อาการลำไส้ใหญ่บวม  หรือโรคตับหรือไต
  • การฉีด Ceftazidime สามารถลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดบางชนิด ผู้ป่วยจะต้องใช้รูปแบบการคุมกำเนิดแบบอื่นในขณะที่ใช้ยานี้ ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการอื่น ๆ ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในขณะที่ผู้ป่วยใช้ยานี้
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากผู้ป่วยกำลังตั้งครรภ์ หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร หากคุณตั้งครรภ์ขณะฉีดยาเซฟตาซิไดม ให้ติดต่อแพทย์และแจ้งให้แพทย์ทราบ

กรณีที่ลืมฉีดยา

หากลืมฉีดยาให้ใช้ยาทันทีที่นึกได้ แต่กรณีที่ใกล้ถึงเวลาที่ต้องให้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามขนาดยาที่ลืมไปและฉีดยาตามขนาดยาปกติ ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาเด็ดขาด ceftazidime

ยานี้สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงอะไรได้บ้าง 

การฉีด Ceftazidime อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการเหล่านี้รุนแรงหรือไม่หายไป:

  • ผิวปวด แดง บวม หรือมีเลือดออกใกล้บริเวณที่ฉีดเซฟาโรซีม
  • ท้องเสีย

ผลข้างเคียงบางอย่างอาจร้ายแรง หากผู้ป่วยพบอาการเหล่านี้ ให้หยุดยาทันทีและโทรเรียกรถพยาบาล 1669:

  • อุจจาระเป็นน้ำหรือเป็นเลือด 
  • ปวดท้อง 
  • มีไข้ระหว่างการรักษา หรือนานถึงสองเดือนหลังจากหยุดการรักษา
  • ใบหน้า ลำคอ ลิ้น ริมฝีปาก ตาบวม
  • กลืนหรือหายใจลำบาก
  • เสียงแหบ
  • ผื่น
  • อาการคัน
  • ผิวมีแผลพุพอง ผิวลอก
  • ชัก
  • การกลับมาของไข้ เจ็บคอ หนาวสั่น หรือสัญญาณอื่นๆ ของการติดเชื้อ
การฉีด Ceftazidime อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ พบแพทย์ทันทีหากผู้ป่วยมีปัญหาหรือความผิดปกติใด ๆ ในขณะที่ใช้ยานี้

การจัดเก็บยา

ควรเก็บยาไว้ในที่แห้ง ปิดให้สนิท เก็บให้พ้นแสงแดด  เก็บให้พ้นมือเด็ก และสัตว์เลี้ยง ไม่ควรทิ้งยานี้ลงในชักโครก หรือส่งคืนที่โรงพยาบาลตรงจุดที่จัดเตรียมไว้ให้เพื่อกำจัดยาหมดอายุหรือยาที่ไม่ได้ใช้แล้ว

ในกรณีฉุกเฉิน/ใช้ยาเกินขนาด

เรียกรถพยาบาล 1669 ทันที

อาการของการใช้ยาเกินขนาดอาจรวมถึงสิ่งต่อไปนี้:

  • กล้ามเนื้อสั่นและกระตุก
  • อาการชัก
  • ความสับสน ปัญหาความจำ และปัญหาอื่นๆ ที่เกิดจากการทำงานของสมองผิดปกติ 
  • โคม่า

ชื่อแบรนด์

  • ฟอร์ทาซ®
  • ทาซิเซฟ®
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด