ต่อไปนี้คือหนึ่งในความเป็นไปได้สำหรับอนาคตของขาเทียม
การทำขาเทียมรุ่นใหม่เป็นการผสมผสานร่วมกับกระดูกที่ช่วยเปลี่บนชีวิตของมนุษย์และเริ่มเป็นอนาคตของผู้พิการทางร่างกาย
Christopher Rowles คือหนึ่งในคนแรกๆในสหรัฐที่เปลี่ยนขาเทียมแบบดั้งเดิมไปเป็นขาเทียมทางเลือกกึ่งถาวร ต้องขอบคุณการผ่าตัดที่เรียกว่า ออสสิโออินทิเกรชั่น (is one of the first people in the U.S. to trade in his traditional prosthetic leg for a semipermanent option, thanks to a procedure known as osseointegration.
Rowles เจ้าหน้าที่ตำรวจลอสแอนเจลิสวัย 59 ปีที่เกษียณอายุแล้ว เคยถูกตัดขาซ้ายไปจากการติดเชื้อstaph เมื่อปี 2011
แต่ขาเทียมแบบดั้งเดิมที่ใส่ติดเข้ากับเบ้าขาซ้ายของเขาทำให้เขาไม่สามารถเดินหรือขับรถได้ -รวมไปถึงการไปทำงานอดิเรกที่เขาทำมาตลอดชีวิต คือการออกไปตกปลาที่แม่น้ำตามลำพัง
มีหลายต่อหลายครั้งที่ขาเทียมที่หลุดออกจากตัวเขาและล้มไปทางด้านหลังขณะเขาออกเดิน
“ผมกำลังเดินอยู่ และจู่ๆขาของผมก็หลุดอยู่ด้านหลังผมไปสองสามก้าวอย่างกระทันหัน และมันทำให้ผมล้มลงกับพื้น” เขาเล่า
เขายังบอกอีกด้วยว่ากระบวนการนำเอาขาออกและเปลี่ยนเป็นติดขาเทียมเข้าไปที่หัวเข่าของเขานั้เป็นเรื่องลำบากและไม่สะดวกสบาย
Dr. Daniel Christopher Allison ศัลยแพทย์ของ Cedars-Sinai Medical Center ในลอสแอนเจลิส ผู้ที่ดูแลรักษาให้กับ Rowles กล่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจรายนี้ได้เสนอตัวเป็นอาสาสมัครสำหรับการผ่าตัดที่เรียกว่า ออสสิโออินทิเกรชั่น เป็นการผ่าตัดที่รวมเอาการปลูกถ่ายเข้าไปในกระดูกชนิดถาวร ซึ่งจะเป็นการนำขาเทียมมายึดติดแน่นเข้ากับกระดูก
การผ่าตัดเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม ปี 2016 แบ่งเป็นการผ่าตัดสองส่วนซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการปลูกถ่ายฟัน
ในส่วนแรก ก้านเหล็กจะถูกใส่เข้าไปในหัวเข่าและทิ้งไว้ให้ติดอยู่กับกระดูก ในส่วนที่สองคืออีกหลายเดือนต่อมา ขาเทียมจะถูกนำเอามาติดกับส่วนแรกที่ทำทิ้งไว้ที่เป็นส่วนของตะขอที่ยึดติดกับขา
หลังจากนั้นด้วยการช่วยเหลือผ่านการทำกายภาพบำบัด จากนั้นชีวิตของเขาก็เปลี่ยนไป
“ทุกๆสิ่งเปลี่ยนไปมาก ผมสามารถไปยิมอาทิตย์ละห้าวันได้ ผมสามารถทำสิ่งต่างๆที่ผมไม่เคยทำได้” Rowles กล่าว “แม้แต่การขับรถก็กลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น
และเขายังบอกอีกว่าขาเทียมอันใหม่ของเขาใช้เวลาเพียงแค่ 30 วินาทีเท่านั้นในการถอดเข้าถอดออก
“ผมสามารถเดินได้ตรงขึ้นและยืดตัวขึ้นได้ ผมไม่ต้องพิงหรือทำใดๆในการเดินอีกต่อไป ร่างกายของผมก็รู้สึกดีขึ้น”
ความแตกต่างของขาเทียมแต่ละชนิด
ความคิดเบื้องต้นของการทำ ออสสิโออินทิเกรชั่น สำหรับขาเทียมได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ช่วงต้นปี1990 ในประเทศสวีเดน ซึ่งเป็นวิธีที่มีการปรับเปลี่ยนมาจากการทำทันตกรรม Allison กล่าวไว้ว่าหลังจากมีการเริ่มต้นขึ้นในแถบยุโรป การรักษานี้ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในประเทศออสเตรเลีย แต่ในสหรัฐการรักษานี้ยังคงพบได้ไม่บ่อยนัก คนไข้คนแรกของสหรัฐที่ได้รับการทำขาเทียมด้วยวิธีออสสิโออินทิเกรชั่นเกิดขึ้นในซานฟรานซิสโกในปี 2016นี้เอง การรักษาที่เกิดขึ้นกับ Rowles นั้นยังคงไม่เป็นที่ยอมรับเต็มที่จากองค์กรอาหารและยา ดังนั้นการได้รับอนุญาติจึงต้องพิจารณาเป็นรายๆไป Allison ได้แต่หวังว่าจะได้รับการยอมรับจาก FDA ในอนาคต ซึ่งจะทำให้การผ่าตัดนี้ได้เข้าถึงคนที่สนใจในสหรัฐเพิ่มมากขึ้นขาเทียมราคม
ราคาขาเทียมในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 30000-150000 บาท แต่หากใครที่มีประกันสังคมและบัตรคนพิการนั้นสามารถขอรับขาเทียมให้ฟรีอาจเป็นส่วนของร่างกายที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคตได้หรือไม่
แม้จะมีราคาสูงและมีขั้นตอนพิเศษ Rowles ยังคงมีความสุขที่ได้มีการยกระดับขาของเขาเพิ่มขึ้นและสนุกกับความสามารถในเคลื่อนที่ได้มากขึ้น ในอนาคต อลิสันยังหวังว่าจะสามารถทำการผ่าตัดให้กับคนที่มีการตัดแขนเหนือข้อศอกขึ้นไปได้ด้วย โอกาสที่ขาเทียมถาวรนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่เป็นอิเล็กโทรนิกส์ได้ เขายังอธิบายเพิ่มเติมว่าขาเทียมสามารถเป็นตัวรับสัญญานไฟฟ้าในกล้ามเนื้อหรือคลื่นไฟฟ้าประสาทได้ เพื่อทำให้คนไข้สามารถควบคุมขาเทียมของพวกเขามีสัญญานไฟฟ้าที่ถูกส่งผ่านโดยกล้ามเนื้อหรือสมอความท้าทายและข้อควรพิจารณา:
- ความเข้ากันได้ทางชีวภาพ : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าร่างกายสามารถทนต่อการปลูกถ่ายและขาเทียมได้ดีและไม่ก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์
- อายุยืนยาว : การพัฒนาวัสดุและการออกแบบที่ทนทานพอที่จะทนต่อแรงกดทางกลของการใช้งานประจำวันเป็นระยะเวลานาน
- ต้นทุนและการเข้าถึง : ทำให้การปลูกถ่ายและขาเทียมขั้นสูงมีราคาไม่แพงและเข้าถึงได้สำหรับประชากรในวงกว้าง
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น