ารบริจาคอวัยวะและผู้ที่มีสิทธิบริจาค
ทุกคนสามารถลงทะเบียนบริจาคอวัยวะหลังเสียชีวิตได้ โดยไม่จำกัดอายุ การบริจาคอวัยวะหลังการเสียชีวิตนั้น ผู้บริจาคจำเป็นต้องเสียชีวิตในโรงพยาบาลในสถานะการณ์ที่เฉพาะเจาะจง ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์จะตัดสินในเป็นเคส ๆ ไปว่าอวัยวะและเนื้อเยื่อของผู้บริจาคเหมาะสมที่จะบริจาคหรือไม่การจำกัดอายุ
มีการจำกัดอายุสำหรับการบริจาคอวัยวะหรือไม่?
ไม่มีการจำกัดอายุสำหรับการบริจาคอวัยวะ การตัดสินใจว่าอวัยวะหรือเนื้อเยื่อนั้นเหมาะสมที่จะบริจาคหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ ณ ตอนที่จะบริจาค โดยจะเกี่ยวกับ ประวัติการรักษา ประวัติเกี่ยวกับการเดินทางและสังคมเด็กสามารถลงทะเบียนบริจาคอวัยวะได้หรือไม่
ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลสามารถลงทะเบียนให้บุตรหลานได้ และเด็ก ๆ ก็สามารถลงทะเบียนเองได้เช่นกัน เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ในประเทศสก็อตแลนด์และต่ำกว่า 18 ในสหราชอาณาจักรจำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ปกครองในการบริจาคโรคประจำตัวต่าง ๆ
คุณสามารถบริจากคอวัยวะได้หรือไม่หากคุณมีโรคประจำตัว
การเจ็บป่วยหรือมีโรคประจำตัวไม่ได้หมายความว่าผู้บริจาคจะบริจาคอวัยวะไม่ได้เสมอไป การตัดสินใจจะอยู่ที่อวัยวะหรือเนื้อเยื่อนั้นเหมาะสมที่จะบริจาคหรือไม่และประวัติการรักษา การเดินทาง และประวัติทางสังคม มีโรคน้อยมากที่ไม่สามารถบริจาคอวัยวะได้เลย เราจะไม่สามารถบริจาคอวัยวะได้ หากถูกสงสัยว่า:- เป็นโรคสมองฝ่อ (Creutzfeldt-Jakob Disease (CJD)
- เป็นโรคอีโบล่า
- เป็นโรคมะเร็ง
- ติดเชื้อ HIV*
การคัดกรอง
ผู้บริจาคจะถูกตรวจเลือดเพื่อหาโรคติดต่อ และ ไวรัส เช่น เอชไอวีและไวรัสตับอักเสบ ครอบครัวของผู้บริจ่คควรทราบว่าขั้นตอนนี้นั้นจำเป็นต้องทำ Body Donation” width=”600″ height=”362″ />คุณบริจาคอวัยวะได้หรือไม่หากเป็นมะเร็งอยู่
บางคนที่เป็นมะเร็งที่ยังอยู่ในการรักษาอยู่จะไม่สามารถบริจาคอวัยวะได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับมะเร็งบางชนิดอาจบริจาคได้หลังจากผ่านการรักษาไปแล้ว 3 ปี การบริจาคกระจกตาและเนื้อเยื่ออาจเป็นไปได้ในสถานการณ์นี้การใช้ชีวิต
คุณสามารถบริจาคอวัยวะได้ไหมหากคุณสูบบุหรี่
คุณยังสามารถบริจาคอวัยวะได้หากคุณสูบบุหรี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์จะตัดสินใจว่าจะสามารถบริจาคได้หรือไม่ ผู้ที่สูบบุหรี่หรือมีโรคประจำตัวยังสามารถช่วยผู้อื่นได้ด้วยการบริจาคอวัยวะคุณสามารถบริจาคอวัยวะได้หรือไม่หากคุณมีรอยสัก
คุณสามารถบริจาคอวัยวะได้ถึงแม้ว่าจะมีรอยสักคุณสามารถบริจาคอวัยวะได้หรือไม่หากคุณดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
คุณสามารถบริจาคได้ ถึงแม้ว่าการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักจะทำให้ไม่สามารถบริจาคอวัยวะบางอย่างได้ ผู้เชี่ยวชาญจะตัดสินใจว่าอวัยวะไหนจะสามารถบริจาคได้บ้างเชื้อชาติ
เชื้อชาติสำคัญต่อการบริจาคอวัยวะหรือไม่
เราต้องการผู้บริจากจากทุกเชื้อชาติ หมู่เลือดและเนื้อเยื่อจำเป็นต้องเข้ากันได้เพื่อทีจะให้การปลูกถ่ายสำเร็จ และผู้บริจาคกับผู้รับที่มีเชื้อชาติเดียวกันจะมีเเนวโน้มของการเข้ากันมากกว่าไม่ใช่ผู้บริจาคเลือด
คุณสามารถบริจาคอวัยวะได้หรือไม่หากคุณไม่สามารถบริจาคเลือได้
ถึงแม้ว่าคุณจะไม่สามารถบริจากเลือดได้ คุณยังสามารถที่จะบริจาคอวัยวะได้ มีเหตุผลหายอย่างที่ทำให้เราไม่สามารถบริจาคเลือดได้ เช่น การถ่ายเลือดหรือการรับเลือด หรืออาจเป็นเพราะสุขภาพของคุณ ณ ตอนนั้น หรือบางครั้งอาจเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่าง การเป็นหวัด หรือ การรับประทานยาอะไรสักอย่างที่ทำให้คุณไม่สามารถบริจาคเลือดได้ การตัดสินใจว่าอวัยวะหรือเนื้อเยื่อนั้นเหมาะสมที่จะปลูกถ่ายหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ และประวัติการรักษาของคุณอวัยวะส่วนไหนบริจาคได้บ้าง
การบริจาคอวัยวะเป็นการกระทำที่ไม่เห็นแก่ตัวซึ่งสามารถช่วยชีวิตหรือปรับปรุงคุณภาพชีวิตของบุคคลที่มีภาวะอวัยวะล้มเหลวหรือสภาวะทางการแพทย์บางประการได้อย่างมีนัยสำคัญ สามารถบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อต่อไปนี้ได้:- อวัยวะที่เป็นของแข็ง: หัวใจ:การปลูกถ่ายหัวใจดำเนินการสำหรับบุคคลที่เป็นโรคหัวใจขั้นรุนแรงหรือภาวะหัวใจล้มเหลว ปอด:การปลูกถ่ายปอดทำสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดระยะสุดท้าย เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ตับ:การปลูกถ่ายตับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะตับวาย โรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับบางชนิด ไต:การบริจาคไตไม่ว่าจะจากผู้บริจาคที่มีชีวิตหรือเสียชีวิตเป็นเรื่องปกติและสามารถช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะไตวายได้ ตับอ่อน:โดยทั่วไปแล้วการปลูกถ่ายตับอ่อนจะทำสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 หรือตับอ่อนอักเสบขั้นรุนแรง ลำไส้:การปลูกถ่ายลำไส้อาจได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ที่มีภาวะลำไส้ล้มเหลว ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับอาการลำไส้สั้น
- เนื้อเยื่อและส่วนของร่างกาย: กระจกตา:การปลูกถ่ายกระจกตาช่วยฟื้นฟูการมองเห็นและเป็นการปลูกถ่ายอวัยวะประเภทหนึ่งที่พบบ่อยที่สุด ผิวหนัง:การปลูกถ่ายผิวหนังสามารถใช้กับบุคคลที่มีแผลไหม้รุนแรงหรือสภาพผิวหนังได้ กระดูก:เนื้อเยื่อกระดูกที่ได้รับบริจาคจะใช้ในการผ่าตัดกระดูกและการปลูกถ่ายกระดูก ลิ้นหัวใจ:ลิ้นหัวใจจากผู้บริจาคสามารถใช้เพื่อทดแทนลิ้นหัวใจที่เสียหายในผู้ป่วย เส้นเอ็น:การปลูกถ่ายเอ็นถูกนำมาใช้ในกระบวนการกระดูกและข้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวชศาสตร์การกีฬา หลอดเลือด:หลอดเลือดที่บริจาคอาจใช้สำหรับการผ่าตัดหลอดเลือดและการสร้างใหม่ เส้นประสาท:การปลูกถ่ายเส้นประสาทสามารถใช้ในการผ่าตัดเสริมสร้างเพื่อซ่อมแซมเส้นประสาทที่เสียหาย
นี่คือที่มาในบทความของเรา
- https://www.sciencecare.com/body-donation-overview
- https://www.hta.gov.uk/donating-your-body
- https://www.mayoclinic.org/body-donation/making-donation
- https://cps.med.ubc.ca/bodyprogram
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น