กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือ DHA คือ กรดไขมันโอเมก้า 3 ประเภทหนึ่ง
เหมือนกับไขมันโอเมก้า 3 กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (EPA) DHA อุดมไปด้วยน้ำมันปลา เช่นปลาแซลมอลและแองโชวี
ร่างกายของคุณสามารถสร้าง DHA ในปริมาณน้อย ๆ ได้จากกรดไขมัน ดังนั้นคุณควรบริโภคโดยตรงจากอาหารและอาหารเสริม
ทั้ง DHAและEPA ช่วยลดอาการอักเสบและโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังเช่นโรคหัวใจ DHAช่วยในเรื่องการทำงานของระบบสมองและสายตา
ประโยชน์ต่อสุขภาพ 12 ประการของ DHA ที่ได้รับการสนับสนุนจากวิทยาศาสตร์
1. ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
ไขมันโอเมก้า 3 เป็นที่แนะนำสำหรับสุขภาพที่ดีของหัวใจ งานวิจัยส่วนใหญ่ทดสอบว่า DHAและ EPA รวมกันมากกว่าที่จะทดสอบตัวใดตัวหนึ่ง บางงานวิจัยที่ทดสอบ DHA เพียงตัวเดียวนั้น แนะนำว่าอาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่า EPA สำหรับการพํฒนาหลาย ๆ ด้านของสุขภาพหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง DHA มีแนวโน้มที่จะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลที่ “ไม่ดี” แต่ส่วนใหญ่เป็นอนุภาค LDL ขนาดใหญ่ ซึ่งแตกต่างจากอนุภาค LDL ที่มีขนาดเล็กและหนาแน่น ไม่ได้เชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อโรคหัวใจที่เพิ่มขึ้น 2. ช่วยพัฒนาโรคสมาธิสั้น โรคสมาธิสั้น (ADHD) เป็นลักษณะพฤติกรรมที่หุนหันพลันแล่นและยากต่อการจดจ่อ โดยปกติจะเกิดขึ้นในวัยเด็กและต่อเนื่องไปสู่วัยผู้ใหญ่ ไขมันโอเมก้า 3 เป็นไขมันหลักในสมอง DHA ช่วยเพิ่มการไหวเวียนของเลือดระหว่างการทำงานของจิต จากการศึกษาวิจัยแสดงให้เห้นว่าเด็กและผู้ใหญ่ที่มีภาวะสมาธิสั้นจะมีเลือดจะมีระดับ DHA ที่ต่ำ 3. ลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด การคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 34ของการตั้งครรภ์นั้นเป็นการคลอดก่อนกำหนดและทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงต่อสุขภาพของเด็ก ดังนั้น สำคัญอย่างมาที่จะต้องได้รับ DHA ในปริมาณที่เหมาะสมระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรืออาหารเสริม ทาน 600-800 มิลลิกรัมทุกวันในช่วงตั้งครรภ์จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด วิตามินก่อนคลอดบางชนิดก็ไม่มี DHA เป็นส่วนประกอบ4. ต้านอาการอักเสบ
ไขมันโอเมก้า 3 เช่น DHA มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เพิ่มปริมาณ DHA ช่วยสมดุลของการอักเสบส่วนเกิน ไขมันโอเมก้า 6 ที่เป็นแบบฉบับของอาหารตะวันตกที่อุดมไปด้วยน้ำมันถั่วเหลืองและข้าวโพด คุณสมบัติต้านการอักเสบของ DHA อาจลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังที่มักเกิดขึ้นตามวัย เช่น โรคหัวใจและเหงือก และปรับปรุงสภาวะภูมิต้านทานผิดปกติ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งทำให้ปวดข้อ 5. รองรับการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่ต้องใช้กำลังมากอาจทำให้เกิดการอักเสบ และความตึงของกล้ามเนื้อได้ DHA เพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับ EPA อาจช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ และจำกัดการเคลื่อนไหวหลังการออกกำลังกาย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฤทธิ์ต้านการอักเสบ6. รักษาอาการทางตาบางชนิด
ยังไม่แน่ชัดว่า DHA และไขมันโอเมก้า 3 อื่น ๆ ช่วยในเรื่องจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ (AMD) ได้หรือไม่ แต่อาจช่วยให้อาการตาแห้งและโรคตาจากเบาหวานดีขึ้นได้ (retinopathy) ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาล่าสุดสองชิ้นแนะนำว่า DHA อาจช่วยลดความรู้สึกไม่สบายของคอนแทคเลนส์และความเสี่ยงต่อโรคต้อหิน7. อาจลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งบางชนิด
การอักเสบเรื้อรังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง การบริโภคไขมันโอเมก้า 3 สูง เช่น DHA นั้นมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดของโรคมะเร็งหลายชนิด รวมถึงมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก DHA ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งด้วยฤทธิ์การต้านการอักเสบ การศึกษาเซลล์แสดงให้เห็นช่วยยั้บยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ ผลการศึกษาจำนวนเล็กน้อยยังชี้ให้เห็นว่า DHA อาจช่วยปรับปรุงประโยชน์ของเคมีบำบัดได้ อย่างไรก็ตาม การทดสอบเหล่านี้เป็นการทดลอง และนักวิทยาศาสตร์กำลังทำงานเพื่อทำความเข้าใจว่า DHA อาจช่วยได้อย่างไร8. อาจช่วยป้องกันหรือชะลอโรคอัลไซเมอร์
DHA เป็นไขมันโอเมก้า 3 หลักในสมองของคุณและจำเป็นสำหรับระบบประสาทที่ทำงาน ซึ่งรวมถึงสมองของคุณด้วย การศึกษาพบว่าผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มีระดับ DHA ในสมองต่ำกว่าผู้สูงอายุที่มีการทำงานของสมองที่ดี หลักฐานแสดงให้เห็นว่า DHA และอาหารเสริมโอเมก้า 3 อื่น ๆ อาจมีประโยชน์มากที่สุดก่อนที่สมองจะทำงานลดลงอย่างมีนัยสำคัญและรบกวนกิจกรรมประจำวัน อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: โรคอัลไซเมอร์ 9.ลดความดันโลหิตและสนับสนุนการไหลเวียน DHA ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี และอาจช่วยปรับปรุงการทำงานของบุผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นความสามารถของหลอดเลือดในการขยาย DHA ลดความดันโลหิต diastolic (จำนวนต่ำสุดของการอ่าน) เฉลี่ย 3.1 mmHg ในขณะที่ EPA ลดความดันโลหิต systolic (จำนวนสูงสุดที่อ่านได้) เฉลี่ย 3.8 mmHg 10.ช่วยพัฒนาสมองและสายตาปกติในทารก DHA เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาสมองและดวงตาในทารก อวัยวะเหล่านี้เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ และในช่วงสองสามปีแรกของชีวิต งนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้หญิงจะต้องได้รับ DHA เพียงพอระหว่างตั้งครรภ์และขณะให้นมลูก 11. รองรับสุขภาพการเจริญพันธุ์ของผู้ชาย เกือบ 50% ของภาวะมีบุตรยากเกิดจากปัจจัยด้านสุขภาพการเจริญพันธุ์ของผู้ชาย และการบริโภคไขมันในอาหารก็ส่งผลต่อสุขภาพของอสุจิ อันที่จริง สถานะ DHA ต่ำเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของอสุจิคุณภาพต่ำ และมักพบในผู้ชายที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยากหรือภาวะมีบุตรยาก การได้รับ DHA ที่เพียงพอจะช่วยสนับสนุนทั้งการมีชีวิตอยู่รอด (เปอร์เซ็นต์ของตัวอสุจิที่มีชีวิตและแข็งแรงในน้ำอสุจิ) และการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิซึ่งส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ 12. ช่วยปกป้องสุขภาพจิต ชาวอเมริกันมากถึง 20% มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ในขณะที่ 2-7% มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง การได้รับ DHA และ EPA ในปริมาณที่เพียงพอนั้นสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า DHA และ EPA ช่วยเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่สามารถช่วยปรับสมดุลอารมณ์ของคุณ ผลต้านการอักเสบของไขมันโอเมก้า 3 เหล่านี้ที่มีต่อเซลล์ประสาทอาจลดความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้เช่นกันหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น