น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (What to Know About Antiseptics) – ความปลอดภัยและข้อควรระวัง

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
น้ำยาฆ่าเชื้อโรค
น้ำยาฆ่าเชื้อหรือสารระงับเชื้อ คือ สารเคมีสำหรับทำความสะอาดผิว หรือบาดแผล สามารถฆ่าเชื้อหรือป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ถึงแม้น้ำยาฆ่าเชื้อจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมายก็ตาม แต่ก็ยังคงมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องของความปลอดภัย โดยเฉพาะในระยะยาว

น้ำยาฆ่าเชื้อคืออะไร 

น้ำยาฆ่าเชื้อคือสารเคมีที่คนนำมาใช้กับผิว สามารถช่วยลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิตบนผิว ในบาดแผล และในเยื่อบุต่างๆ น้ำยาฆ่าเชื้อมีหลายชนิดแตกต่างกันออกไปทั้งเรื่องของราคา ประสิทธิภาพ ประโยชน์และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น บุคลากรทางแพทย์มักใช้ย้ำยาฆ่าเชื้อบ่อยก่อนการออกปฏิบัติงานทางการแพทย์ เช่น เจาะเลือดและการผ่าตัด น้ำยาฆ่าเชื้อที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเพื่อทำความสะอาจ และการรักษาบาดแผลเล็กๆ บางชนิดอาจเหมาะสำหรับใช้ทดแทนการใช้สบู่

สารระงับเชื้อและน้ำยาฆ่าเชื้อ ต้านเชื้อแบคทีเรียและยาปฏิชีวนะ

เราสามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อทำความสะอาดบริเวณผิวที่มีบาดแผล มีการติดเชื้อของผิวและเยื่อบุผิวต่างๆ สารระงับเชื้อ ต้านเชื้อแบคทีเรีบและยาปฏิชีวนะมีความคล้ายคลึงกันเพียงแต่มีจุดประสงค์ในการใช้แตกต่างกันเล็กน้อย 

สารระงับเชื้อกับน้ำยาฆ่าเชื้อ

เราใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น เพอร์ออกไซด์ เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บนผิวและเยื่อบุต่างๆ เมื่อน้ำยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อโรคบางชนิดบนผิวแล้ว สารระงับเชื้อก็จะเป็นตัวกำจัดพวกเชื้อออกจากวัตถุนั้นๆ สารระงับเชื้อและน้ำยาฆ่าเชื้อ ทั้งคู่ทำมาจากสารเคมี มีส่วนผสมที่มีความคล้ายคลึงกัน แต่กระนั้นก็ตามสารระงับเชื้อมักมีความเข้มข้นสูงกว่า ไม่เหมาะสำหรับใช้กับผิวหรือเยื่อบุต่างๆฃ

สารต้านแบคทีเรียและยาปฏิชีวนะฃ

สารต้านแบคมีเรียคือสารเคมีที่เราสามารถนำมาใช้เพื่อทำความสะอาดบริเวณผิว สบู่หรือสเปรย์มีกมีสารต้านแบคทีเรียเป็นส่วนประกอบ สเปรย์ต้านแบคทีเรียมีประสิทธิภาพในการฆ่าและทำให้เชื้อแบคทีเรีบเจริญเติบโตได้ช้า ไม่สามารถฆ่าหรือป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสได้ ในทางกลับกัน ยาปฏิชีวนะสามารถฆ่าและป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส แบคทีเรียและเชื้อรา

ยาปฏิชีวนะและน้ำยาฆ่าเชื้อ

ยาปฏิชีวนะ คือ ยาที่ต้องมีใบสั่งแพทย์ที่มีไว้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย น้ำยาฆ่าเชื้อและยาปฏิชีวนะสามารถนำมาใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียได้ เรามักใช้ทั้งสองชนิดกับผิวและเยื่อบุต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถรับประทานยาปฏิชีวนะได้ เพื่อรักษาโรคติดเชื้อได้หลายชนิดภายในร่างกาย

What to Know About Antiseptics

ชนิด

น้ำยาฆ่าเชื้อมีหลายแบบหลายชนิด บางชนิดสามารถใช้ได้ที่บ้านอย่างปลอดภัย ในขณะที่บางชนิดใช้ได้เฉพาะในคลีนิคหรือโรงพยาบาลเท่านั้น น้ำยาฆ่าเซื้อชนิดทั่วไปคือ
  • แอลกอฮอล์ เช่น ไอโซโพรฟิลแอลกอฮอล์ และเอทิลแอลกอฮอล์
  • สารลดแรงตึงผิว
  • คลอร์เฮกซิดีน และ Diguanides ใช้สำหรับก่อนการผ่าตัด
  • สารมีสีมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ใช้เพื่อรักษาแผลและแผลไฟไหม้
  • เพอร์ออกไซด์และด่างทับทิม เพื่อระงับเชื้อบนผิวหนังหรือเพื่อใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก
  • Halogenated phenol derivative ในสบู่และสารละลาย
  • Quinolone derivative ใช้เพื่อรักษาบาดแผลและสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในยาลูกอม

ประโยชน์

ยาฆ่าเชื้อมีประโยชน์หลายอย่าง ได้แก่
  • ป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนัง ที่เกิดจากการบาด ข่วนหรือไฟไหม้เล็กน้อย
  • เป็นน้ำยาล้างมือชนิดแห้ง ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ใช้ในระหว่างปฏิบัติการ
  • ทำความสะอาดผิวก่อนการปฏิบัติการ เช่นการเจาะเลือดหรือการผ่าตัด
  • เพื่อรักษาการติดเชื้อที่คอด้วยใช้เป็นน้ำยาบ้านปากหรือลูกอมยา
  • ทำความสะอาดเยื่อบุต่างๆ เพื่อรักษาการติดเชื้อหรือก่อนการใช้สานสวน

ความปลอดภัยและข้อควรระวัง

องค์การอาหารและยาพบว่ามีความกังวลด้านความปลอดภัยสำหรับส่วนผสมตัวยาหลัก 24 ตัวในน้ำยาฆ่าเชื้อ ทาง FDA ได้ยอมรับหกส่วนผสมตามที่โรงงานร้องขอ  ส่วนผสมเหล่านั้นคือ
  • Chloroxylenol
  • Alcohol (Ethanol)
  • Isopropyl alcohol
  • Povidone-iodine
  • Benzethonium chloride
  • Benzalkonium chloride
ทางองค์การอาหารและยา ได้ออกมาสั่งห้ามส่วนผสมตัวยาหลักหายตัว เพราะยังไม่ทราบผลระยะยาวต่อร่างกาย เมื่อใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่บ้าน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัยบนขวดอย่างเคร่งครัด การใช้น้ำาฆ่าเชื้อที่มรความเข้มข้นมากเกินไปอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการระคายเคืองหรือสารเคมีเผาไหม้บนผิวหนัง น้ำยาฆ่าเชื้อที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปไม่เหมาะสมที่จะใช้ในระยะยาว ควรใช้เพียงสัปดาห์ละครั้งหรือน้อยกว่านั้น คนที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อคือฃ: ไม่ควรใช้สารระงับเชื้อบนผิวหนัง สารระงับเชื้อมีไว้เพื่อทำความสะอาดพื้นผิว ไม่ใช่เพื่อทำความสะอาดบาดแผล อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ โรคตาแดง

คำถามที่พบบ่อย

ต่อไปนี้เป็นคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับน้ำยาฆ่าเชื้อ:
  • ความแตกต่างระหว่างน้ำยาฆ่าเชื้อและยาฆ่าเชื้อคืออะไร?
      • มีการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อกับเนื้อเยื่อที่มีชีวิต เช่น ผิวหนัง เพื่อป้องกันหรือรักษาการติดเชื้อ ในทางกลับกัน สารฆ่าเชื้อจะถูกใช้บนพื้นผิวที่ไม่มีชีวิตเพื่อฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ แม้ว่าทั้งสองจะมีจุดประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน แต่การใช้งานก็แตกต่างกัน
  • ฉันสามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อกับบาดแผลเปิดได้หรือไม่?
      • ใช่ มักใช้น้ำยาฆ่าเชื้อกับแผลเปิดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการดูแลบาดแผลที่เหมาะสมและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับน้ำยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสมที่สุดสำหรับบาดแผลเฉพาะ
  • ส่วนผสมน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไปคืออะไร?
      • ส่วนผสมน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไป ได้แก่ แอลกอฮอล์ (เอธานอลหรือไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์) ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ไอโอดีน คลอเฮกซิดีน โพวิโดน-ไอโอดีน เบนซาลโคเนียมคลอไรด์ และซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน
  • น้ำยาฆ่าเชื้อสามารถฆ่าไวรัสได้หรือไม่?
      • ใช่ น้ำยาฆ่าเชื้อหลายชนิดมีคุณสมบัติต้านไวรัสและสามารถช่วยยับยั้งการทำงานของไวรัสบนพื้นผิวหรือผิวหนังได้ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับน้ำยาฆ่าเชื้อเฉพาะและประเภทของไวรัส
  • น้ำยาฆ่าเชื้อปลอดภัยต่อการใช้หรือไม่?
      • โดยทั่วไปน้ำยาฆ่าเชื้อจะปลอดภัยเมื่อใช้ตามคำแนะนำ อย่างไรก็ตาม บุคคลบางคนอาจมีความรู้สึกไวหรือแพ้ส่วนผสมน้ำยาฆ่าเชื้อบางชนิด สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติตามคำแนะนำผลิตภัณฑ์ และหากเกิดอาการระคายเคือง ให้หยุดใช้และไปพบแพทย์
  • น้ำยาฆ่าเชื้อหมดอายุหรือไม่?
      • ใช่ น้ำยาฆ่าเชื้อสามารถหมดอายุได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบวันหมดอายุของผลิตภัณฑ์ก่อนใช้งาน ยาฆ่าเชื้อที่หมดอายุอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควรและอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
  • สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อฆ่าเชื้อที่มือได้หรือไม่?
    • ใช่ เจลล้างมือหลายชนิดมีส่วนผสมของน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ เพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์บนผิวหนัง เจลล้างมือมีความสะดวกเป็นพิเศษในสถานการณ์ที่ไม่มีสบู่และน้ำเพียงพอ
ปฏิบัติตามคำแนะนำผลิตภัณฑ์เสมอ และหากมีข้อสงสัย ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้ออย่างเหมาะสม นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล ตลอดจนอาการแพ้หรืออาการภูมิแพ้ที่อาจเกิดขึ้น

บทสรุป

น้ำยาฆ่าเชื้อคือใช้เพื่อทำความสะอาดผิว บาดแผลและเยื่อบุต่างๆ น้ำยาฆ่าเชื้อมีความคล้ายคลึงกับสารระงับเชื้อ ทั้งสองชนิดมักมีส่วนผสมตัวยาหลักที่คล้ายกันแต่ต่างกันที่ความเข้มข้น แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้สารระงับเชื้อบนผิวหนังสำหรับคน  น้ำยาฆ่าเชื้อมีประสิทธิภาพในการฆ่าหรือป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส มีางคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัยของน้ำยาฆ่าเชื้อ ทาง FDA ได้สั่งห้ามส่วนผสมตัวยาหลักที่ใช้ 24 ชนิด ทางอง์กรอนามัยแนะนำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถยังคงใช้น้ำยาฆ่าเชื้อได้ตราบที่ใช้ภายใต้คำแนะนำ
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด