ภาพรวม
สายตายาวตามอายุคือภาวะการมองเห็นที่เสื่อมลง การสูญเสียความสามารถในการโฟกัสของดวงตาโดยจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติของวัยชรา สายตายาวตามอายุมักจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนในตอนอายุเริ่มเข้า 40 และอาการจะแย่ลงเรื่อยๆ จนถึงอายุประมาณ 65 ปี เราจะทราบได้ว่าเกิดภาวะสายตายาวตามอายุเมื่อการมองเห็นตัวหนังสือจะต้องอยู่ไกลเท่านั้นจึงจะสามารถเห็นได้ชัด การแก้ไขอาจทำได้โดยการตัดแว่น ใส่คอนแทคเลนส์ หรืออาจทำเลสิก ดูแลแว่นตาให้ใช้ได้นาน ๆ ทำอย่างไร อ่านต่อที่นี่อาการภาวะสายตายาวตามอายุ
สายตายาวตามอายุจะค่อยๆ เกิดขึ้นเองที่ละน้อย โดยอาจสังเกตและอาการแสดงเหล่านี้จะเกิดขึ้นก่อนอายุ 40 ปี:- ต้องถือหนังสือไกลออกจากตัวเพื่อให้อ่านเห็น
- มองเห็นภาพซ้อนในระยะการอ่านปกติ
- ปวดตาหรือปวดศีรษะหลังจากอ่านหรือการทำงานระยะใกล้
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
ผู้ที่มีภาวะสายตายาวเนื่องจากอายุควรไปพบจักษุแพทย์หากการหากการมองเห็นในระยะใกล้ทำให้ตามัวทำและไม่สามารถอ่านหนังสือ หรือใช้ชีวิตประจำวันที่ปกติได้ และต้องเข้ารับการรักษาทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้:- สูญเสียการมองเห็นอย่างกะทันหันโดยมีหรือไม่มีอาการปวดตา
- มองเห็นภาพพร่ามัวอย่างกะทันหัน
- เห็นแสงวาบ จุดด่างดำ หรือรัศมีรอบดวงไฟ
- เห็นภาพซ้อน
สาเหตุของภาวะสายตายาวตามอายุ
-
กายวิภาคของดวงตา
- สายตายาวตามอายุ
- กระจกตา เป็นพื้นผิวด้านหน้าของดวงตาที่มีรูปทรงโดมที่ชัดเจน
- เลนส์ มีโครงสร้างวงกลมที่ชัดเจน
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยบางอย่างสามารถทำให้มีแนวโน้มที่จะมีภาวะสายตายาวตามอายุมากขึ้น รวมถึง:- อายุ อายุเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับสายตายาวตามอายุ เกือบทุกคนมีภาวะสายตายาวระดับหนึ่งหลังจากอายุ 40 ปี
- โรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น เบาหวาน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสายตายาวตามอายุก่อนวัยอันควร
- ยาเสพติด ยาบางชนิดมีความเกี่ยวข้องกับอาการเสื่อมต่าง ๆ ของร่างกายรวมทั้งสายตาก่อนวัยอันควร เช่น ยากล่อมประสาท ยาแก้แพ้ และยาขับปัสสาวะ
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น