สิวอักเสบคืออะไร
เมื่อกล่าวถึงสิว สิวทุกชนิดจะมีสิ่งที่เหมือนกันอยู่ก็คือ รูขุมขนที่อุดตัน สสารและสาเหตุของการอุดตันของรูขุมขนนั้นแตกต่างกันระหว่างสิวที่อักเสบและสิวที่ไม่อักเสบ สิวอักเสบจะมีอาการบวม แดง และมีรูซึ่งลึกลงไปข้างในนั้นอุดตันด้วยแบคทีเรีย น้ำมัน และเซลล์ผิวที่ตายแล้ว บางครั้งแบคทีเรียที่ชื่อว่า Propionibacterium acnes (P. acnes) เป็นสาเหตุของสิวอักเสบ สิวที่ไม่อักเสบนั้นถูกเรียกว่า comedonal acne อยู่ใกล้กับผิวชั้นนอก และไม่มีแบคทีเรียอยู่ข้างในสิวอักเสบชนิดต่าง ๆ มีอะไรบ้าง
สิวอักเสบที่ต่างชนิดกันต้องการการรักษาที่แตกต่างกัน ฉะนั้น มันจึงจำเป็นที่จะเริ่มจากการแยกประเภทของสิวอักเสบให้ถูกต้องก่อน ชนิดหลัก ๆ มีดังนี้:- สิวอุดตันอักเสบ จะมีการบวมของสิวหัวดำและสิวหัวขาว
- สิวแบบตุ่ม เป็นตุ่มแดง ๆ เล็ก ๆ สิวหัวหนอง
- สิวแบบตุ่มหนอง คล้าย ๆ กับผดแต่มีขนาดใหญ่กว่า
- สิวอักเสบแดง เป็นสิวเล็ก มีหนองอยู่ใต้ผิว
- สิวขนาดใหญ่ เป็นถุงใต้ผิวหนัง เป็นสิวอักเสบชนิดรุนแรงที่สุด มีขนาดใหญ่และมีหนองอยู่ข้างใน เจ็บปวดเมื่อสัมผัส
- คอ
- หน้าอก
- หลัง
- ไหล่
- ต้นแขน
- ลำตัว
การรักษาสิวอักเสบ
สิวอักเสบสามารถแพร่กระจายได้ และยังสามารถทำให้เกิดแผลเป็นได้อีกด้วย ดังนั้น ควรรักษาในทันที แพทย์อาจจะให้รักษาด้วยยาที่หาซื้อได้ทั่วไปก่อนที่จะสั่งยาที่แรงขึ้นให้ ขึ้นอยู่กับชนิดของสิวที่มี ปรึกษากับแพทย์ผิวหนังเกี่ยวกับวิธีการรักาาเหล่านี้ ควรทราบว่าการรักษาอาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์ที่จะเห็นผลการรักษาด้วยยาที่หาซื้อได้ทั่วไป
วิธีแก้สิวอักเสบสามารถใช้ยาสำหรับสิวอักเสบที่หาซื้อได้ทั่วไปมีอยู่มากมาย ในผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะมีส่วนผสมหลัก ๆ สามอย่างต่อไปนี้:- ยารักษาสิวอักเสบเบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ ออกฤทธิ์โดยการไปฆ่าแบคทีเรีย p. acnes ที่อาจอุดตันรูขุมขนอยู่ และลดการอักเสบ อาจทำให้ผิวแห้ง ซึ่งเหมาะแก่การใช้เป็นจุด ๆ ไปมากกว่า
- ซาลิซิลิก เอซิด ออกฤทธิ์โดยการขจัดเซลล์ผิวที่ตายแแล้วออกจากรูขุมขน ช่วยให้สิวอักเสบนั้นแตกออกและป้องกันการกลับมาของสิว ใช้ได้ทั่วผิวแต่ต้องใช้มอยส์เจอไรเซอร์ด้วยเพราะอาจทำให้ผิวแห้งเมื่อใช้ไปนาน ๆ
- ซัลเฟอร์ คุณอาจพบส่วนผสมนี้ในยารักษาสิวต่าง ๆ แต่มันใช้ได้ดีกับสิวที่เป็นไม่มาก ไม่อักเสบ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ทำให้สิวอักเสบของคุณแย่ลง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ดีขึ้น
การรักษาด้วยยา
แพทย์อาจจ่ายยารักษาสิวอักเสบหลายอย่างหรือยาทาเฉพาะจุดขึ้นอยู่กับอาการของคุณ ดังนี้:- เรตินอยด์แบบใช้เฉพาะที่เรตินอยเป็นอนุพันธุ์วิตามินเอที่ผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไป คุณอาจพบเห็นมันอยู่ตามร้านขายยาทั่วไป เรตินอยที่มักถูกสั่งจ่าย เช่น ดิฟเฟอริน และ เรตินเอ เป็นยาที่เห็นผลที่สุดสำหรับการรักษาสิวอักเสบ นอกจากจะทำให้ผิวแดงและลอกแล้ว เรตินอยยังทำให้ผิวไวต่อแสงยูวี ซึ่งต้องทาครีมกันแดดขณะที่ใช้
- ไอโสเตรติโนอิน เป็นอนุพันธุ์วิตามินเอ เป็นยาทานที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาสิว มันมีผลข้างเคียงมากมาย ดังนั้น จึงใช้ในกรณีที่รุนแรงเท่านั้น เช่น ในสิวซิสต์ ที่ไม่ตอบสนองต่อเรตินอย หลีกเลี่ยงการใช้เรตินอยหากคุณตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือวางแผนจะตั้งครรภ์
- ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน หากแพทย์ผิวหนังคิดว่าแบคทีเรีย p. acnes เป็นสาเหตุของสิว แพทย์จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะให้ ซึ่งจะใช้ชั่วคราวเพื่อควบคุมแบคทีเรีย ปกติแล้วในกรณีที่เป็นสิวซิสต์แบบลุกลาม
- ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ ไม่เหมือนกับยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานที่สามารถใช้ได้เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ยาปฏิชีวนะทาเฉพาะที่สามารถใช้ได้ 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 2 เดือน อย่างไรก็ตาม มันไม่ออกฤทิ์แรงเท่ายาปฏิชีวนะแบบรับประทาน ดังนั้น มันจึงเหมาะแก่การรักษาสิวอักเสบที่ไม่รุนแรงมาก เช่น สิวแบบตุ่ม สิวแบบตุ่มหนอง และสิวอักเสบแดง
- การรักษาฮอร์โมน ในบางกรณี สิวอักเสบเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน ในกรณีนี้ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาลดฮอร์โมน นอกจากนี้ ยาคุมกำเนิดใช้ได้ผลกับผู้หญิงที่มีสิวอักเสบก่อนและระหว่างการมีประจำเดือน
การบำรุงผิว
การรักษาสิวอักเสบจะไม่ได้ผลหากคุณไม่ดูแลผิวของคุณอย่างเหมาะสม ทำตามเคล็ดลับเหล่านี้เพื่อให้การรักษาได้ผลดีที่สุด:- คุณไม่ควรแกะสิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิวอักเสบ เพราะจะทำให้อักเสบมากขึ้นและลามไปที่อื่น
- ล้างหน้าด้วยเจลล้างหน้าที่อ่อนโยน
- อาบน้ำทันทีหลังออกกำลังกาย
- หลังล้างหน้าให้ทาครีมให้ความชุ่มชื้นที่ปราศจากน้ำมัน ถึงแม้คุณจะไม่ต้องการ เพราะหากไม่ใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์ ผิวของคุณจะสูญเสียน้ำและน้ำมัน ทำให้ต่อมไขมันสร้างน้ำมันมากขึ้น ทำให้มีสิวมากขึ้น
- ใช้ครีมทาผิวที่มีมอยส์เจอร์ไรเซอร์ทุกวัน มันจะช่วยปกป้องผิวคุณจากรังสียูวีและหากคุณใช้เรตินนอยด์ในการรักษาสิวอยู่ผิวคุณจะไวต่อแสงแดดมากขึ้น
- หากคุณแต่งหน้า ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีน้ำมันและไม่มีโคมิโดนเพื่อที่มันจะได้ไม่ไปอุดตันรูขุมขนและทำให้สิวแย่ลง และเช็ดเครื่องสำอางก่อนล้างหน้าด้วย
นี่คือที่มาในบทความของเรา
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น