คำแนะนำสำหรับการใช้หน้ากากอนามัย (Guidance for Wearing Masks)

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับหน้ากากอนามัย 

  • เมื่อคุณสวมหน้ากาก คุณกำลังปกป้องคนอื่นๆพอๆกับตัวคุณเอง หน้ากากจะได้ผลที่ดีที่สุดก็ต่อเมื่อทุกๆคนสวมมัน
  • หน้ากากไม่สามารถนำมาแทนการเว้นระยะห่างได้ หน้ากากควรยังต้องสวมใส่ไว้ตลอดเวลาร่วมกับการอยู่ห่างกันอย่างน้อย 6 ฟุต โดยเฉพาะเมื่ออยู่ภายในอาคารที่แวดล้อมไปด้วยผู้คนที่ไม่ได้อาศัยร่วมบ้านกับคุณ
  • วิธีใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง หน้ากากควรสวมใส่ปิดบริเวณจมูกและปากอย่างมิดชิดและแนบสบายสนิทกับด้านข้างใบหน้าโดยไม่มีช่องว่าง  
  • ควรสวมใส่หน้ากากตลอดเวลาขณะเดินทางบนเครื่องบิน, รถบัส, รถไฟ หรือการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะทั้งเข้า, ภายใน หรือออกนอกสหรัฐอเมริกา และในศูนย์กลางระบบขนส่งของสหรัฐอเมริกา เช่น สนามบินและสถานีต่างๆ
  • คนที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไปควรสวมใส่หน้ากากในที่สาธารณะและเมื่อต้องอยู่ท่ามกลางผู้คนที่ไม่ได้อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน
  • สวมใส่หน้ากากในบ้านหากมีคนในบ้านที่อาศัยอยู่ด้วยกันป่วยด้วยอาการของโรคโควิด19 หรือเมื่อตรวจโควิด19แล้วได้ผลเป็นบวก
  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำอย่างต่ำ 20 วินาทีหรือใช้แอลกอฮอล์ล้างมือที่มีแอลกอฮอล์อย่างต่ำ 60% หลังสัมผัสหรือถอดหน้ากาก
  • หน้ากากอาจจะไม่มีความจำเป็นเมื่อคุณอยู่ภายนอกอาคารโดยคุณอยู่ห่างจากคนอื่นๆ หรืออยู่ร่วมเฉพาะกับคนในครอบครัว แต่อย่างไรก็ตามในบางสถานที่อาจมีคำสั่งให้สวมใส่หน้ากากตลอดขณะออกไปอยู่ในที่สาธารณะ ดังนั้นโปรดเช็คกฎเกณฑ์ในพื้นที่ที่คุณอยู่อาศัย (เช่นในเมือง, ประเทศ, หรือรัฐ) อีกทั้งยังควรเช็คคำสั่งการสวมใส่หน้ากากในสถานที่ที่คุณกำลังจะไปด้วย
  • กรมควบคุมโรคยังคงศึกษาประสิทธิภาพของชนิดของหน้ากากแต่ละชนิดและคอยปรับปรุงให้คำแนะนำตามหลักฐานหลักเกณฑ์ใหม่ๆที่มีประโยชน์ สามารถหาบทสรุปได้จากที่นี่ Scientific Brief: Community Use of Cloth Masks to Control the Spread of SARS-CoV-2 | CDC             
  • เมื่อไม่นานมานี้เองกรมควบคุมโรคได้ทำการศึกษาในห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบหาประสิทธิภาพของหน้ากากแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน
  • มีวิธีง่ายๆหลายวิธีในการหาข้อพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของหน้ากาก สามารถเข้าไปดูได้ที่  Improve the Fit and Filtration of Your Mask to Reduce the Spread of COVID-19         

ประโยชน์จากหน้ากากที่มีประสิทธิภาพ

หน้ากากของคุณสามารถช่วยป้องกันคุณจากสิ่งรอบๆตัว 

โควิด 19 มีการแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านละอองฝอยเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ละอองฝอยนี้สามารถเดินทางสู่ในอากาศเมื่อไอ จาม พูดคุย  ตะโกนหรือร้องเพลง ละอองฝอยเหล่านี้สามารถตกลงที่ปากหรือจมูกของคนที่อยู่ใกล้ๆคุณหรือไม่พวกเขาก็อาจหายใจเอาละอองฝอยนี้เข้าไป หน้ากากคือด่านแรกที่จะช่วยป้องกันคุณจากละอองฝอยที่มาจากคนอื่น จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าหน้ากากช่วยลดละอองฝอยที่พ่นออกมาได้เมื่อมีการสวมปิดบริเวณจมูกและปาก คุณควรสวมใส่หน้ากากถึงแม้คุณจะไม่ได้ป่วยก็ตาม เพราะจากการศึกษาพบว่าคนที่ป่วยเป็นโควิด 19 ไม่เคยเกิดอาการ (การติดเชื้อแบบไม่มีอาการ) และคนที่ยังไม่มีอาการ (กลุ่มก่อนเกิดอาการ) ก็ยังคงสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสต่อผู้อื่นได้ การสวมใส่หน้ากากจึงช่วยป้องกันสิ่งรอบๆตัว ในกรณีที่คุณมีการติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ  การสวมหน้าการเป็นเรื่องที่สำคัญมากเป็นพิเศษเมื่อคุณต้องออกอยู่ภายในอาคารกับผู้คนที่ไม่ได้เป็นคนในครอบครัวและเมื่อคุณไม่สามารถอยู่ห่างกันอย่างน้อย 6 ฟุตได้ เพราะโควิด19จะแพร่กระจายให้กับผู้คนที่อยู่ใกล้ชิดกันผู้อื่น

หน้ากากอาจช่วยปกป้องคุณ

หน้ากากผ้าสามารถช่วยป้องกันให้คุณเช่นเดียวกัน การป้องกันคุณจากการหายใจเอาเชื้อไวรัสเข้าไปนั้่นจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับผ้าที่ใช้และทำมาอย่างไร (เช่นชนิดของผ้า, จำนวนชั้นของผ้า, และหน้ากากมีความพอดีกระชับใบหน้า)  

คนที่ควรหรือไม่ควรสวมหน้ากากมีใครบ้าง

ควรสวมหน้ากากเมื่อ:
  • คนที่มีอายุ 2 ขวบขึ้นไป
  • ทุกเวลาที่ต้องออกไปสู่ที่สาธารณะ
  • ทุกเวลาที่ต้องเดินทางทางเครื่องบิน  รถบัส รถไฟ หรือการเดินทางผ่านระบบการขนส่งสาธารณะ 
  • เมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัว รวมถึงภายในบ้านของตัวเองหรือภายในบ้านของผู้อื่น
  • ภายในบ้านหากมีใครบางคนป่วยด้วยอาการโรคโควิด 19 หรือได้รับผลตรวจโควิด19เป็นบวก
กรมควบคุมโรคยอมรับการสวมหน้ากากอาจไม่เกิดผลได้ จากตัวอย่างนี้พิจารณาจากการปรับตัวและทางเลือกอื่น ต่อไปนี้คือกลุ่มคนที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องสวมหน้ากาก:
  • เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ
  • คนที่มีความพิการไม่สามารถสวมใส่หน้ากากได้ หรือการสวมหน้าการอาจทำให้เกิดอันตรายอันมีเหตุผลมาจากความพิการ
  • คนที่สวมหน้ากากแล้วมีความเสี่ยงจากการทำงาน ความปลอดภัยหรือหน้าที่การงานถือเป็นความเสี่ยงจากการทำงาน
  • หน้ากากชนิด (external icon)
ชนิดของหน้ากาก หน้ากากบางชนิดดีกว่าบางชนิด เพื่อช่วยชะลอการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสที่มีสาเหตุมาจากโควิด19 หมายเหตุ อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจชนิด N95 พิสูจน์โดยสถาบันอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแห่งสหรัฐอเมริกาของกรมควบคุมโรค (NIOSH) ไม่ควรนำมาใช้นอกสถานดูแลเพราะว่าหน้ากากชนิดนี้ถูกสงวนไว้สำหรับสถานพยาบาลเท่านั้น โควิด 19  หมายเหตุ อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจชนิด N95ที่พิสูจน์โดยสถาบันอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแห่งสหรัฐอเมริกาของกรมควบคุมโรค (NIOSH) ไม่ควรนำมาใช้นอกสถานดูแลเพราะว่าหน้ากากชนิดนี้ถูกสงวนไว้สำหรับสถานพยาบาลเท่านั้น

หน้ากากที่แนะนำให้ใช้

  • หน้ากากอนามัยทางการแพทย์  
  • หน้ากากควรแนบพอดี (แนบสบายปิดรอบจมูกและคางโดยไม่มีช่องว่างรอบๆใบหน้า)
  • หน้ากากทำจากผ้าที่สามารถหายใจได้ (ทำมาจากผ้าฝ้าย)
  • หน้าการทำจากผ้าทอเนื้อแน่น (เช่น ผ้าที่ไม่ให้แสงผ่านเข้าไปเมื่อส่องดูผ่านแสง
  • หน้ากากควรมีช่องใส่แผ่นกรองด้านใน
หน้ากากที่ไม่แนะนำให้ใช้
  • หน้ากากที่สวมไม่พอดี (มีช่องว่างใหญ่, หลวมไปหรือแน่นเกินไป)
  • หน้ากากที่ทำมาจากวัสดุที่หายใจผ่านยาก (เช่นพลาสติกหรือหนัง)
  • หน้ากากที่ทำจากผ้าทอที่หลวมหรือถัก เช่นผ้าชนิดที่ยอมให้แสงผ่าน
  • หน้ากากชนิดชั้นเดียว
  • หน้ากากที่มีวาว์ลหรือช่องระบายการหายใจ
  • การสวมใส่ผ้าพันคอ/ หน้ากากใส่เล่นสกี

หน้ากากผ้า

หน้ากากผ้าที่มีประสิทธิภาพคือ
  • ทำจากผ้าทอเนื้อแน่น เช่นผ้าฝ้ายและผ้าฝ้ายผสม
  • สามารถหายใจได้
  • มีสองหรือสามชั้น
หน้ากากผ้าที่ไม่มีประสิทธิภาพคือ
  • ผ้าฝ้ายเนื้อไม่แน่น เช่นผ้าแบบถักหลวมๆ
  • มีชั้นเดียว

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (บางครั้งหมายถึงหน้ากากสำหรับใส่ผ่าตัดหรือหน้ากากชนิดใช้แล้วทิ้ง)

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เป็นหน้ากากแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งไม่ได้ทำมาจากผ้าและไม่ได้ถูกออกแบบมาให้สามารถซักล้างได้ หน้ากากชนิดนี้มีขายตามร้านค้าออนไลน์และร้านค้าส่งขนาดใหญ่ ซึ่งไม่เหมือนกับหน้ากากทางการแพทย์อื่นๆ คุณอาจเลือกใช้หน้ากากอานมัยทางการแพทย์ในสถานการณ์ที่หน้ากากของคุณอาจมีแนวโน้มที่จะต้องเปียกหรือต้องสกปรก เช่นเดียวกับการใช้หน้ากากผ้า คือต้องแน่ใจว่าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์จะต้องแนบสนิทกับใบหน้าโดยไม่มีช่องว่างขนาดใหญ่ด้านข้างและปิดบริเวณจมูกและปากได้อย่างมิดชิด ควรนำหน้ากากทางการแพทย์เตรียมไปสำรองในกรณีที่คุณมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนเวลาหน้ากากสกปรกหรือเปียก หน้ากากชนิดมีช่องระบายหรือวาว์ลระบายอากาศ กรมควบคุมโรคไม่แนะนำให้ใช้หน้ากากชนิดมีช่องระบายหรือวาว์ลในการระบายการหายใจ พวกรูที่อยู่ในวัสดุอาจทำให้ละอองฝอยสามารถเล็ดลอดเข้าไปได้  หน้ากาก NIOSH N95  ไม่ควรใช้หน้ากาก NIOSH- N95 เพราะควรนำไปไว้ใช้สำหรับคนที่ต้องทำงานในสถานพยาบาล หน้ากาก NIOSH- N95 คือสินค้าในกลุ่มเฝ้าระวังที่ควรเก็บสงวนไว้สำหรับคนที่ทำงานในสถานดูแลผู้ป่วยและสำหรับชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นทางการแพทย์เพื่อป้องกันการขาดแคลนของสินค้า หน้ากากชนิดใสหรือหน้ากากผ้าพร้อมหน้ากากพลาสติกคลุมหน้า   หน้ากากชนิดใสหรือหน้ากากผ้าที่มาพร้อมหน้ากากพลาสติดแผ่นคลุมหน้าคืออีกหน้ากากอีกชนิดหนึ่งที่เป็นทางเลือกสำหรับคนที่จำเป็นเช่น
  • คนที่หูหนวกหรือมีปัญหาการได้ยิน
  • เด็กเล็กหรือนักเรียนที่ต้องอ่านหนังสือ
  • เด็กที่กำลังเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ
  • คนพิการ
  • คนที่มีความจำเป็นต้องให้เห็นรูปปากเพื่อการออกเสียง (ยกตัวอย่างเช่นเมื่อร้องเพลง)
หากเลือกใช้หน้ากากชนิดนี้ ควรแน่ใจว่า
  • คุณสามารถหายใจได้สะดวก
  • ไม่ควรมีความชื้นสะสมด้านในหน้ากากมากเกินไป
  • คุณควรถอดหน้ากากก่อนการนอน เพราะว่าพลาสติกสามารถปิดปากหรือจมูกและทำให้หายใจลำบาก
หน้ากากชนิด external icon เป็นหน้ากากทางการแพทย์ชนิดโปร่งแสงที่ควรสงวนไว้ใช้เฉพาะบุคลากรทางการแพทย์และคนไข้ที่มึความจำเป็นต้องใช้  มีหลายวิธีในการหาข้อเท็จจริงของหน้ากาก สามารถเข้าไปดูได้ที่ Improve the Fit and Filtration of Your Mask to Reduce the Spread of COVID-19 เป็นเวบไซด์เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม คุณจะสามารถหาอ่านเกี่ยวการทดฃอง การทดสอบของหน้ากากแต่ละชนิดจากในนี้ได้   Guidance for Wearing Masks

เครื่องป้องกันหน้าแบบชนิดอื่นๆ

กรมควบคุมโรคไม่แนะนำให้ใช้หน้ากากชนิด external icon การใช้หน้ากากเฟซชิลด์ (หน้ากากชนิดปกป้องทั้งใบหน้า)หรือแว่นกันลมเพื่อทดแทนหน้ากากอนามัย การสวมแว่นกันลมหรืออุปกรณ์ป้องกันตาชนิดอื่นๆอาจนำใช้เพิ่มเติมร่วมกับหน้ากากได้ แต่ไม่ควรใส่เฟซชิลด์ (หรือหน้ากาก) ให้กับเด็กแรกเกิดหรือเด็กทารก  หน้ากากชนิดเฟซชิลด์และแว่นกันลมคือใช้เพื่อป้องกันดวงตาผู้สวมใส่เป็นหลัก แว่นกันลมจะไม่คลอบคลุมลงมาที่จมูกและปาก ส่วนหน้ากากเฟซชิลด์เองก็ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกันละอองฝอยทั้งจากคุณหรือจากคนรอบข้าง เฟซชิลด์จะมีช่องว่างขนาดใหญ่ด้านล่างและด้านข้างใบหน้า ทำให้ละอองฝอยยังคงสามารถเล็ดรอดออกมาสู่คนรอบข้างและยังไม่ปกป้องคุณจากละอองฝอยที่มาจากผุ้อื่นด้วย แต่อย่างไรก็ตามการสวมใส่หน้ากากอาจจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากในบางสถานการณ์สำหรับบางคน

หน้ากากเฟซชิลด์และแว่นกันลม

ยกตัวอย่างเช่น คนที่ติดต่อกับคนที่หูหนวกหรือผู้ที่บกพร่องทางการได้ยิน อาจพบว่าการเลือกใช้เฟซชิลด์อาจเป้นตัวเลือกที่ดีกว่าการใช้หน้ากากผ้าเมื่อต้องมีการสื่อสาร หากคุณต้องสวมใส่หน้ากากแบบเฟวชิลด์แทนหน้ากากผ้า ควรทำดังนี้:
  • เลือกเฟซชิลด์ที่ห่อหุ้มรอบๆใบหน้าและยืดขยายลงมาคลุมถึงบริเวณคางหรือเฟซชิลด์ที่คลุมศีรษะ เป็นเฟซชิลด์ที่ดีกว่าเพื่อการป้องกันละอองฝอยที่พ่นออกมาได้
  • ล้างมือทุกครั้งหลังจับหรือถอดเฟซชิลด์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา จมูกและปากเมื่อถอดออก
  • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเฟซชิลด์ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ตามคำแนะนำของผู้ผลิต หรือตามคำแนะนำการทำความสะอาดหน้ากากเฟซชิลด์ของกรมควบคุมโรค หากคุณใช้ชนิดแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ให้ใช้ครั้งเดียวและทิ้งตามคำแนะนำของผู้ผลิต

หน้ากากชนิดดัดแปลงและทดแทน

กรมควบคุมโรคแนะนำว่าการสวมหน้ากากอาจไม่สามารถสวมใส่ได้ในทุกๆสถานการณ์หรือสำหรับในบางคน  สำหรับการทำกิจกรรมตัวต่อตัว เราจะยกตัวอย่างสองสามตัวอย่างสำหรับสิ่งที่ทำให้คุณสามารถสวมใส่หน้ากากให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และรู้วิธีลดการแพร่กระจายเชื้อโควิด19 หากคุณไม่สามารถสวมหน้ากากได้

ในสถานการณ์ที่การสวมหน้ากากเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้

  • ควรแน่ใจว่ามีระยะห่างทางร่างกายจากผู้อื่นเมื่อคุณไม่สามารถสวมหน้ากากอนามัยได้
การรับประทานอาหาร
  • กรมควบคุมโรคแนะนำให้สวมหน้ากากแม้ในขณะรับประทานอาหารในร้านอาหาร ทั้งขณะอยู่ภายในอาคารและเมื่อต้องพูดคุยกับพนักงานเสริฟหรือพนักงานอื่นๆในร้านอาหาร ยกเว้นตอนรับประทานอาหารและดื่ม ความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโควิด19ในร้านอาหารและบาร์นั้นจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์กันในระยะห่างต่ำกว่า 6 ฟุต หน้ากากอนามมัยอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคโควิด19ได้เมื่อสวมหน้ากากไว้เสมอ
การทำกิจกรรมทางน้ำ
  • ไม่ควรสวมหน้ากากอนามัยในระหว่างการทำกิจกรรมดังกล่าวเพราะอาจทำให้หน้ากากเปียก เช่นการว่ายน้ำที่ชายหาดหรือสระว่ายน้ำ หน้ากากที่เปียกทำให้หายใจลำบากและอาจไม่ได้ประโยชน์เมื่อหน้ากากเปียก
การทำกิจกรรมที่ใช้ความเข้มข้นสูง
  • หน้ากากควรสวมใส่ไว้เสมอเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ แต่หากคุณไม่สามารถสวมใส่หน้ากากได้เพราะหายใจลำบากเมื่อต้องทำกิจกรรมที่มีความเข้มข้น จึงควรเลือกสถานที่ที่ระบบการระบายอากาศที่ดีและอากาศสามารถหมุนเวียนถ่ายเทได้ (ยกตัวอย่างเช่นนอกอาคารกับในอาคาร) และควรรักษาระยะห่างอย่างน้อย 6 ฟุตจากผู้อื่นในระหว่างการทำกิจกรรม หากสถานที่นั้นๆไม่มีความเหมาะสม ให้เลือกทำกิจกรรมที่มีความเข้มข้นต่ำเช่นการเดินหรือการเล่นโยคะที่ทำให้เรายังคงสามารถสวมใส่หน้ากากไว้ได้ 
  • หากสวมใส่หน้ากากไว้ ควรถอดหน้ากากออกหากหน้ากากมีความชื้นจากเหงื่อและนำหน้ากากอันใหม่มาใช้แทน
  • ควรเลือกทำกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์สวมป้องกันฟันหรือหมวกกันน็อค การสวมหน้ากากอนามัยร่วมกับอุปกรณ์ป้องกันเหล่านี้ไม่ปลอดภัยเพราะจะทำให้หายใจลำบาก
  • ควบคุมให้เด็กสวมใส่หน้ากากอนามัยในขณะเล่นกีฬา.

สำหรับกลุ่มที่พบว่ามีความยุ่งยากในการสวมใส่หน้ากากอนามัย

เด็กที่อายุมากกว่า 2 ขวบขึ้นไปและกลุ่มผู้พิการทุกช่วงวัย การทำให้เด็กและผู้พิการทุกช่วงวัยสวมใส่หน้าการอนามัยถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมาก ซึ่งยังอาจรวมไปถึงคนที่มีความไวต่อวัสดุที่นำมาใช้บนใบหน้า, คนที่มีความเข้าใจยากว่าทำไมต้องสวมใส่หน้ากากเพื่อการป้องกัน (เช่นคนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา) หรือคนที่มีปัญหาการควบคุมด้านพฤติกรรม  เมื่อมีข้อกำหนดว่าทั้งเด็กและผู้ที่มีความพิการควรต้องสวมหน้ากากด้วย ประเมินความสามารถของพวกเขาได้โดย:
  • การใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี
  • หลีกเลี่ยงการจับสัมผัสหน้ากากและใบหน้าบ่อยๆ
  • สามารถจำกัดการดูด, น้ำลายไหลหรือมีน้ำลายบนหน้ากากที่มากเกินไป
  • ถอดหน้ากากได้โดยไม่ต้องมีคนช่วย
การดูแลเด็กและคนที่มีความพิการที่อาจต้องการคนช่วยในการสวมใส่หน้ากากควรทำสิ่งต่อไปนี้
  • ถามเพื่อขอคำแนะนำจากแพทย์ พยาบาลเกี่ยวกับการดูแลสำหรับกาารสวมหน้ากาก ปรึกษาหาทางเลือกอื่นเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
  • ต้องแน่ใจว่าหน้ากากมีขนาดที่เหมาะสมและมีความพอดี
  • ถอดหน้ากากก่อนนอน, งีบ หรือเมื่อพวกเขาง่วงนอน (เช่นเวลาอยู่ในคาร์ซีทหรือในรถเข็น)
  • สวมหน้ากากเวลาอยู่ในที่สาธารณะและเมื่อต้องอยู่ท่ามกลางคนอื่นๆที่ไม่ใช่คนในครอบครัว โดยเฉพาะเมื่ออยู่ภายในอาคาร หน้ากากอนามัยอาจไม่มีความจำเป็นเมื่อคุณและคนที่คุณต้องดูแลอยู่ภายนอกอาคารและอยู่ห่างจากคนอื่นๆ หรืออยู่ร่วมเฉพาะกับคนในครอบครัวเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามบางสุานที่อาจมีข้อกำหนดให้สวมหน้ากากตลอดเวลาขณะอยู่ในที่สาธารณะและต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
หน้ากากไม่ควรสวมใส่สำหรับ:
  • เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ
  • คนพิการที่ไม่สามารถสวมใส่หน้ากากได้ หรือไม่สามารถสวมใส่ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งอาจมีเหตุผลมาจากความพิการ
  • คนที่สวมหน้ากากแล้วเกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ, ต่อความปลอดภัย,ในหน้าที่การงานโดยประเมินเป็นความเสี่ยงในที่ทำงาน
  • หน้ากากชนิด external icon
คนที่หูหนวกหรือมีปัญหาการได้ยิน และคนที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยิน หากคุณต้องเป็นคนที่ต้องอยู่ร่วมกับคนที่ต้องการการอ่านปาก คุณอาจเกิดความยุ่งยากในการสื่อสารได้หากต้องสวมหน้ากากอนามัย
  • ลองหาหน้ากากอนามัยแบบใสหรือหน้ากากผ้าที่มาพร้อมกับแผ่นใส
  • หากคุณไม่สามารถหาหน้ากากอนามัยแบบใสได้ ให้ลองใช้การสื่อสารด้วยการเขียน, ใช้คำบรรยายแทนเสียงแบบปิด หรือลดเสียงรอบข้างเพื่อให้การสื่อสารดีขึ้นในขณะสวมหน้ากากปิดบังปาก
คนที่มีโรคประจำตัว คนส่วนมากที่มีเงื่อนไขโรคประจำตัวก็สามารถและควรสวมหน้ากากอนามัย
  • หากคุณมีโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและรู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัยที่ปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาข้อดีข้อเสีย ความเสี่ยงในการสวมใส่หน้ากากอนามัย
  • หากคุณมีภาวะหอบหืด คุณก็สามารถสวมหน้ากากได้ ปรึกษาแพทย์หากคุณยังเป็นกังวลเกี่ยวกับการสวมหน้ากาก
คนทำงานภายนอกอาคาร หากคุณต้องทำงานอยู่ในสถานที่อาจต้องเสี่ยงการเกิดอาการเจ็บป่วยจากความร้อนหรืออาจเป็นสาเหตุเรื่องความปลอดภัย (เช่นสายรัดอาจเข้าไปติดในเครื่องจักร):
  • ปรึกษาผุ้ดุแลด้านความปลอดภัยเพื่อหาหน้ากากที่มีความเหมาะสม
  • สวมหน้ากากเมื่ออยู่ภายในอาคารและเมื่อต้องใกล้ชิดผู้อื่น เช่นในระหว่างการเดินทางเป็นกลุ่มหรือประชุม บางสถานที่อาจต้องให้สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในที่สาธารณะ และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
  • ในที่ๆมีอากาศหนาว ควรสวมหน้ากากไว้ใต้อุปกรณ์กันหนาวเช่นผ้าพันคอและหน้ากากกันหิมะ หากหน้ากากเปียกจากการหายใจหรือหิมะควรนำอันใหม่ที่แห้งมาเปลี่ยน
เมื่อพบว่าการสวมหน้ากากอนามัยทำให้รู้สึกไม่สะดวกสบายควรทำอย่างไร 
  • อาจช่วยได้ด้วยการค่อยๆฝึกสวมหน้ากากที่บ้านในช่วงระยะเวลาสั้นๆเพื่อทำให้ตัวเองชินและลองหาหน้ากากผ้าแบบอื่นๆตามคำแนะนำข้างต้น
  • ลองใช้เทคนิคการผ่อนคลายเช่นการหายใจเข้าออกลึกๆ หรือฟังเพลงเบาๆในขณะสวมใส่หน้ากากอนามัย ก็สามารถช่วยทำให้ใจเย็นลงได้

การใช้หน้ากากอนามัยและคาร์บอนไดซ์ออกไซด์

การสวมใส่หน้ากากจะไม่เพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศที่เราหายใจ หน้ากากผ้าไม่ได้ผลิตมาให้ลมเข้าออกไม่ได้  CO2  จึงสามารถผ่านทะลุผ่านหน้ากากผ้าได้เมื่อคุณหายใจออกหรือพูดคุย โมเลกุลของ CO2 มีขนาดเล็กมากพอจึสามารถผ่านทะลุผ้าออกมาได้ง่าย ในขณะที่ละอองฝอยที่เป็นตัวนำเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโควิด 19มีขนาดใหญ่กว่า CO2 ดังนั้นพวกเชื้อจึงไม่สามารถผ่านทะลุหน้ากากผ้าชนิดที่มีการออกแบบมาอย่างเหมาะสมและมีการสวมใส่ที่ถูกต้อง

อากาศหนาว

  • ในอากาศหนาวหน้ากากอาจเปียกเพราะการหายใจ, หิมะหรือความชื้นอื่นๆ ควรเปลี่ยนหน้ากากเมื่อเปียก หน้ากากเปียกจะทำให้การหายใจลำบาก และยังทำให้การป้องกันละอองฟอยจากผู้อื่นมีประสิทธิภาพลดน้อยลงและยอมให้ละอองฝอยเล็ดรอดออกมารอบหน้ากากได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนหน้ากากอนามัยในระหว่างช่วงอากาศหนาว หากคุณใช้หน้ากากแบสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้และมันเริ่มเปียก ให้นำหน้ากากใส่ถุงเก็บปิดให้สนิทจนกว่าเอาไปซัก
  • ผ้าพันคอและอุปกรณ์สวมศีรษะทั้งหลายเช่น หน้ากากสกีและหมวกไหมพรมคลุมหน้าที่ใช้เพื่อเพิ่มความอบอุ่นมักทำมาจากผ้าถักแบบหลวมๆซึ่งไม่เหมาะสำหรับมาใช้แทนหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด19 
  • หากสวมแว่นกันตา ควรหาหน้ากากอนามัยที่มีความพอดีแนบสนิทกับจมูกของคุณหรือมีเส้นลวดบริเวณจมูกจะช่วยลดการเกิดไอที่แว่น ควรเลือกใช้สเปรย์ลดฝ้าที่ทำมาเผื่อแว่นสายตา

นี่คือแหล่งที่มาในบทความนี้

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด