Glyburide คืออะไร
ไกลบูไรด์ (Glyburide) เป็นยาที่ใช้ควบคู่เกี่ยวกับโปรแกรมควบคุมอาหาร และออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 นอกจากนี้ยังอาจใช้ร่วมกับยารักษาโรคเบาหวานอื่นๆ เพราะการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะช่วยป้องกันความเสียหายของไต ตาบอด ปัญหาเส้นประสาท แขนขาเสื่อม และปัญหาทางเพศ การควบคุมโรคเบาหวานอย่างเหมาะสมอาจช่วยลดความเสี่ยงของอาการหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมองได้ ไกลบูไรด์อยู่ในกลุ่มยาที่เรียกว่า Sulfonylureas ช่วยลดน้ำตาลในเลือดโดยทำให้เกิดการหลั่งอินซูลินตามธรรมชาติของร่างกายวิธีใช้ยา Glyburide
โปรดใช้ยาไกลบูไรด์ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งในเรื่องจำนวนครั้ง และปริมาณยา เนื่องจากปริมาณยาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยสภาพร่างกาย และการตอบสนองต่อยาของแต่ละคน โดยปกติแพทย์จะให้รับประทานไกลบูไรด์พร้อมอาหารเช้า หรืออาหารมื้อหลักมื้อแรกของวัน ในกรณที่ทั่วไปคือรับประทานวันละ 1 ครั้ง ผู้ป่วยบางรายโดยเฉพาะผู้ที่รับประทานยาในปริมาณสูง แพทย์อาจจะพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่นๆ และให้รับประทานวันละ 2 ครั้ง สรุปคือ ใช้ไกลบูไรด์ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงจากไกลบูไรด์ แพทย์อาจแนะนำให้คุณเริ่มใช้ยานี้ในขนาดต่ำ ะค่อยๆ เพิ่มขนาดยา โปรดปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างระมัดระวัง และหากคุณกำลังใช้ยาเบาหวานชนิดอื่นอยู่แล้ว (เช่น คลอโพรพาไมด์) ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างระมัดระวัง เพื่อหยุดยาเก่า และเริ่มใช้ยาไกลบูไรด์ หากใช้โคลเซเวแลมอยู่ด้วย ให้รับประทานไกลบูไรด์อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนโคลเซเวแลม ใช้ยาไกลบูไรด์เป็นประจำ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากยาผลข้างเคียงของการใช้ไกลบูไรด์
การใช้ไกลบูไรด์อาจมีอาการคลื่นไส้ แสบร้อนกลางอก แน่นท้อง และน้ำหนักขึ้น หากอาการเหล่านี้ไม่หายไป หรือแย่ลง แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทันที โปรดพบแพทย์โดยด่วนหากคุณมีผลข้างเคียงที่ร้ายแรง ได้แก่- สัญญาณของการติดเชื้อ (เช่น เจ็บคอเรื้อรัง มีไข้)
- เลือดออกง่าย หรือช้ำ
- ปวดท้อง
- ตาหรือผิวหนังเหลือง
- ปัสสาวะสีเข้ม
- อ่อนแรงผิดปกติ
- น้ำหนักขึ้นอย่างกะทันหัน
- การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจหรืออารมณ์
- มือเท้าบวม
- อาการชัก
ข้อควรระวังในการใช้ไกลบูไรด์
ก่อนใช้ยาไกลบูไรด์ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงประวัติการแพ้ยา และประวัติการรักษาของคุณ โดยเฉพาะโรคต่อไปนี้- โรคตับ
- โรคไต
- โรคไทรอยด์
- ภาวะฮอร์โมนบางชนิด
- ความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ (ภาวะ Hyponatremia)
- ปัญหาระบบประสาทบางอย่าง
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น