ข้อดีและข้อเสียของเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดต่าง ๆ (Different type of Thermometers)

Thermometers คืออะไร

การมีเครื่องไข้ทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ไว้ที่บ้านเป็นเรื่องที่ดี ความสามารถในการหาคนที่เป็นไข้ทำให้คุณได้เตรียมข้อมูลสำหรับการรักษาในขั้นต่อไป มีเทอร์โมมิเตอร์แบบสัมผัสและไร้สัมผัสหลายประเภทให้เลือก อายุของสมาชิกในบ้านรวมถึงความชอบส่วนตัวสามารถช่วยคุณกำหนดประเภทที่จะซื้อได้ เช่นเดียวกับอุปกรณ์อื่น ๆ ในบ้านของคุณ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าเทอร์โมมิเตอร์ของคุณทำงานอย่างไร ไม่ใช่ว่าทุกประเภทจะทำงานเหมือนกันหรือออกแบบมาเพื่อให้อ่านค่าอุณหภูมิเท่ากัน การคาดเดาเป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณต้องการพึ่งพาเมื่อมีคนป่วย ต่อไปนี้คือภาพรวมของเครื่องวัดอุณหภูมิทางการแพทย์ วิธีใช้งาน และค่าที่วัดได้หมายความว่าอย่างไร

ประเภทต่าง ๆ ของเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย

ไม่ว่าจะเลือกซือเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดใด อ่่านวิธีการใช้ตามคำแนะนำอย่างระมัดระวัง ถ้าใช้ผิดวิธี ค่าที่แสดงออกมาก็ไม่มีความแม่นยำ น่าเชื่อถถือ ไม่ควรใช้เครื่องวัดอุณหภุมิกับคนเพื่อสัตถุประสงคือื่น  เช่นการใช้ในห้องทดลอง หรือเครื่องวัดอุณหภูมิเนื้อ มันจะอ่านค่าที่ไม่แม่นยำ หากคุณเป็นคุณพ่อคุณแม่ คุณอาจจะสงสัยว่าทำไม่ถึงไม่มีที่วัดอุณหภูมิแบบวัดแถบหน้าผากในบทความนี้ ที่วัดอุณหภูมินั้นมีราคาไม่แพงและไวต่อการใช้ แต่อย่างไรก็ตามที่วัดอุณหภุมิแบบนี้จะวัดอุณหภูมิจากผิวหนังมากกว่าอุณหภูมิร่างกาย มันจะอ่านค่าได้แม่นยำน้อยกว่า ควรหลีกเลี่ยง

เคื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอลทำงานโดยใช้การตรวจจับความร้อนเพื่อวัดอุณหภูมิร่างกาย สามารถใช้อ่านอุณหภูมิที่ปาก ก้น และรักแร้ เมื่อทำการประเมินการอ่านค่าเที่วัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล อุณหภูมิรักแร้จะเย็นกว่าการอ่านค่าทางปากประมาณ ½ ถึง 1°F (0.6°C) เทอร์โมมิเตอร์ทางทวารหนักอุ่นกว่าที่อ่านค่าทางปาก ½ ถึง 1°F (0.6°C) Different type of Thermometers

ข้อดี

ที่วัดอุณหภูมิแบบดิจิตอลให้การอ่านที่แม่นยำในเวลาประมาณ 1 นาทีหรือน้อยกว่า

ข้อเสีย

เพื่อให้อ่านค่าได้อย่างแม่นยำจากการวัดอุณหภูมิที่ปาก ต้องวางปลายอุปกรณ์ไว้ใต้ลิ้นโดยปิดปากสนิท ด้วยเหตุนี้ การอ่านทางทวารหนักจึงถือว่าแม่นยำที่สุดสำหรับทารกและเด็กเล็ก นอกจากนี้:
  • การอ่านค่าจากปากจะไม่แม่นยำถ้าวัดหลังจากการทานหรือการดื่ม เพราะค่าที่ออกมาอาจจะเป็นค่าอุณหภูมิของอาหารหรือเครื่องดื่ม รอสักพักประมาณ 15 นาที
  • การอ่านค่าทางทวารหนักอาจจะไม่สะดวกสำหรับทารกและเด็กเล็ก
  • ไม่ควรใช้ที่วัดอุณหภูมิที่อ่านค่าจากทวารหนักและทางปากอันเดียวกัน ควรซื้อสองอันและติดป้ายกำกับ
  • ควรเป็นแบตเตอรี่ที่วัดอุณหภูมิเป็นระยะ และมั่นใจว่าใช้แบตเตอรี่ที่ถูกต้องกับเครื่องมือของคุณและเข้าใจวิธีการเปลี่ยน เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในกรณีฉุกเฉิน
อุณหภูมิร่างกายปกติอยู่ที่เท่าไหร่ อ่านต่อได้ที่นี่

ที่วัดอุณหภูมิทางปาก

วัดอุณหภูมิในช่องปากโดยใช้ที่วัดอุณหภูมิแบบดิจิตอลหรือปรอท เราจะพูดถึงข้อดีและข้อเสียของเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทด้านล่าง อุณหภูมิในช่องปากเฉลี่ยที่อ่านได้คือ 98.6°F (37°C) อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิในช่องปากใดๆ ตั้งแต่ 97°F (36.1°C) ถึง 99°F (37.2°C) ถือเป็นเรื่องปกติ บางคนอุณภูมิในช่องปากก็ไม่สูงและบางคนก็อุณหภูมิอุ่นเล็กน้อย เป็นเรื่องที่ดีที่เรารู้อุณหภูมิปกติของร่างกาย เพราะจะทำให้รู้ว่าเมื่อมีไข้เมื่อไม่สบาย

ข้อดี

ที่วัดอุณหภูมิช่องปากจะอ่านค่าได้แม่นยำ ในเด็กที่อายุมากกว่า 3 ปีและผู้ใหญ่

ข้อเสีย

เด็กเล็ก ๆ หรือผู้ที่มีปัญหาทางเดินหายใจไม่สามารถที่จะปิดปากไว้ได้นานพอที่จะได้ค่าที่แม่นยำ

ปรอทวัดไข้ทางหูแบบดิจิตอล

ปรอทวัดไข้ทางหูวัดอุณหภูมิด้านในช่องหูผ่านเทคโนโลยีรังสีอินฟาเรด การอ่านค่าแก้วหูอยู่ที่ 0.5°F (0.3°C) ถึง 1°F (0.6°C) สูงกว่าการอ่านค่าอุณหภูมิในช่องปาก

ข้อดี

ปรอทวัดอุณหภูมิทางหูมีการอ่านค่าที่ความแม่นยำและรวดเร็ว อาจจะดีกว่าที่วัดอุณหภูมิทางปากและทวารหนัก โดยเฉพาะเด็ก ๆ 

ข้อเสีย

  • เนื่องจากขนาดของหู ที่วัดอุณหภูมิทางหูจึงไม่แนะนำสำหรับทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน
  • ต้องวัดไว้ตำแหน่งที่ถูกต้องเพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำ
  • ขี้หูอาจจะเป็นตัวเปลี่ยนค่าที่วัดได้
  • อาจจะไม่เหมาะกับหูที่มีขนาดเล็ก ๆ 
ภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไปเกิดจากอะไร อ่านต่อที่นี่
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด