การเลือกขวดนมเด็กที่เหมาะสม (Choosing Right Bottle for Baby)

คงไม่ต้องสงสัยว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นวิธีการเลี้ยงลูกให้เติบใหญ่ตามธรรมชาติที่ดีที่สุด แต่คุณแม่มือใหม่หลายคนเลือกที่จะให้ลูกน้อยดูดนมจากขวด ซึ่งมีเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้เลือกใช้วิธีนี้ แต่ไม่ว่าจะปั๊มน้ำนมจากเต้าหรือจะใช้วิธีการชงนมด้วยนมผงสูตรต่างๆ ขวดนมก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่คุณจะต้องมี  และนี่คือข้อแนะนำบางอย่างในการเลือกขวดนมให้เหมาะสมกับลูกน้อยของคุณ  ในฐานะคุณแม่มือใหม่ สิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกขวดนมและจุกนมคือการที่ต้องใช้สิ่งเหล่านี้กับลูกน้อย  สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันที่ต้องคำนึงถึงคือความสะดวก ความสะอาด และการดูแลรักษาขวดนม ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นกิจวัตร (ค่อนข้างยุ่งยาก) และสร้างความวุ่นวายพอสมควร 

การเลือกขวดนม 

ระหว่างขวดแก้ว กับ ขวดพลาสติก ควรเลือกแบบไหน 

โดยปกติแล้ว ขวดนมจะทำจากแก้ว เนื่องจากมีความทนทานและปราศจากสารเคมี แต่มักจะมีราคาแพงและอาจจะเกิดอันตรายเนื่องจากขวดแก้วสามารถแตกได้ หากจะเลือกใช้ขวดแก้ว ควรเลือกแบบที่มีฝาปิดเป็นซิลิโคน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายเนื่องจากขวดแตก  ส่วนขวดที่ทำจากพลาสติกแม้จะไม่แตกเหมือนขวดแก้ว แต่มีข้อเสียที่ว่าขวดพลาสติกจะมีการเสื่อมสภาพและต้องเปลี่ยนบ่อยๆ หากคุณมีความสงสัยว่าขวดพลาสติกที่ใช้อยู่มีเสารเคมีหรือไม่ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Bisphenol – A หรือ (BPA) ให้เปลี่ยนขวดนมนั้นทันทีที่เห็นว่ามีรอยแตกหรือบิ่น  ในช่วงเริ่มแรกให้คุณเลือกขวดนมที่บรรจุน้ำนมได้ 4 ออนซ์ สำหรับทารกแรกเกิด หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนไปเป็นขนาด 8-9 ออนซ์ เมื่อลูกโตขึ้นและเริ่มดื่มนมมากขึ้น 

คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการเลือกขวดนม: 

  • ควรเลือกใช้ขวดนมยี่ห้อเดียวกันกับเครื่องปั๊มนมที่คุณใช้อยู่ เพราะมันจะช่วยให้คุณปั๊มน้ำนมเข้าขวดได้สะดวกขึ้น 
  • ให้เลือกขวดนมที่มีขนาดคอขวดที่กว้างเข้าไว้ เพราะมันจะทำให้คุณสามารถทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น
  • ควรเลือกขวดนมที่มีซับในที่เปลี่ยนทิ้งได้ การที่มีซับในจะทำให้น้ำนมไม่สัมผัสกับขวดโดยตรง ซึ่งง่ายต่อการทำความสะอาดขวดนม 
  • หากลูกของคุณมีอาการจุกเสียดท้อง ให้ลองเลือกขวดที่มีคอขวดงอเป็นมุม ซึ่งจะช่วยลดการเกิดแก๊สในขณะที่ดื่มนม 
  • เลือกขวดที่สามารถใช้หลอดดูดดื่มได้ ซึ่งจะมีประโยชน์เมื่อลูกของคุณโตขึ้น 
Choosing Right <a href=Bottle for Baby” width=”612″ height=”408″ />

การเลือกจุกนม 

จุกนมขายที่มีในท้องตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อ แต่คุณก็คงไม่มีตัวเลือกมากนัก เนื่องจากขวดนมและจุกนมมักจะขายรวมกันเป็นแพ็กเกจ ทางที่ดีคุณควรเลือกซื้อจุกนมยี่ห้อกับกันกับขวดนม เพราะจะทำให้มั่นใจได้ว่า น้ำนมจะมีการไหลออกมาได้ดีและเหมาะสมมากกว่า

1. จุกนมยาง (Latex) กับ จุกนมซิลิโคน (Silicon)

สิ่งแรกที่คุณแม่มือใหม่ต้องตัดสินใจเลือกคือ การเลือกจุกนมว่าควรจะใช้ชนิดยางหรือชนิดซิลิโคน จุกนมยางจะมีความคล้ายคลึงหัวนมของแม่กว่ากว่าจุกนมซิลิโคน เนื่องจากมีความนุ่มและยืดยุ่นมากกว่า แต่จุกนมซิลิโคนจะมีความทนทานกว่า มีรูพรุนน้อยกว่าและง่ายต่อการทำความสะอาด เพราะสามารถล้างทำความสะอาดในเครื่องล้างจานได้เลย นอกจากนี้ยังทนต่อความร้อนได้ดี และติดเชื้อแบคทีเรียได้ยากกว่า

2. ขนาดของจุกนม

จุกนมแต่ละอันจะมีข้อบ่งชี้กว่าเหมาะสมกับเด็กอายุเท่าไหร่ แต่ให้ถือเป็นแนวทางคร่าวๆ ในการเลือกเท่านั้น เมื่อคุณคว่ำขวดนมลง น้ำนมควรหยดลงอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ถ้าจุกนมมีขนาดเล็กเกินไปจะทำให้น้ำนมไหลออกมาน้อยและช้า ทำให้ลูกของคุณต้องพยายามดูดเพื่อจะให้ได้น้ำนมมากขึ้น และทำให้ลูกเบื่อหน่ายในการดูดนม แต่ถ้าหากจุกนมใหญ่เกินไปจะทำให้น้ำนมไหลออกมามากเกินไปในเวลาลูกของคุณดูด ซึ่งจะทำให้เด็กสำลักน้ำนมได้ หากจะเปลี่ยนขนาดของจุกนมให้ลูก คุณควรสังเกตให้ดีว่าจุกนมขนาดไหนควรจะเหมาะสมกับลูกของคุณ   จุกนมส่วนใหญ่จะมีรูปทรงแบบระฆังหรือทรงเจดีย์ ในการเลือกจุกนมคุณควรพิจารณาลักษณะพิเศษต่อไปนี้ร่วมด้วย คือ: 
  1. เลือกจุกนมที่มีฐานกว้างเหมือนนมแม่ตามธรรมชาติ การเลือกแบบนี้จะเป็นผลเมื่อลูกของคุณเปลี่ยนจากการดูดนมแม่ไปเป็นดูดนมจากขวด เพราะทำให้เด็กยังรู้สึกว่ายังคงดูดนมจากเต้านมของแม่อยู่เหมือนเดิม
  2. จุกนมแบบ Orthodontic nipples ซึ่งเป็นจุกนมที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กที่ฟันกำลังงอก จุกนมชนิดนี้จะมีลักษณะแบบในด้านที่สัมผัสบนลิ้นของเด็ก 
  3. จุดนมแบบที่มีรูระบาย จุกนมแบบนี้จะมีรูเล็กๆ เพื่อป้องกันไม่ให้กิดสุญญากาศในเวลาที่เด็กดูด ทำให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น และไม่ทำให้เกิดอาการจุกเสียด หรือเกิดแก๊สในท้องของเด็ก 

เมื่อไหร่ที่ควรหยุดขวดนม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและกุมารแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้เปลี่ยนจากขวดนมไปใช้แก้วปกติเมื่ออายุประมาณ 12 ถึง 18 เดือน ในเวลานี้ โดยทั่วไปแล้ว เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวและการประสานงานในช่องปากที่จำเป็นในการดื่มจากแก้ว การเปลี่ยนจากขวดเป็นแก้วเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาเด็กด้วยเหตุผลหลายประการ:
  • สุขภาพฟัน:การใช้ขวดเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาทางทันตกรรม เช่น ฟันผุและฟันเรียงไม่ตรง เนื่องจากการสัมผัสกับนมหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดฟันผุได้
  • พัฒนาการด้านคำพูด:การใช้ขวดเป็นเวลานานอาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านคำพูด เนื่องจากสามารถกระตุ้นให้ลิ้นดันฟันหน้า และอาจส่งผลให้พูดได้ยาก
  • ความเป็นอิสระ:การเปลี่ยนมาใช้แก้วช่วยส่งเสริมความเป็นอิสระ  ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
  • โภชนาการ:เมื่อเด็กโตขึ้น ความต้องการทางโภชนาการของเขาก็เปลี่ยนไป การเปลี่ยนมาใช้แก้วช่วยกระตุ้นให้พวกเขาสำรวจอาหารที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงอาหารแข็ง ซึ่งมีความสำคัญต่อโภชนาการโดยรวมของพวกเขา
  • การป้องกันการติดขวด:การใช้ขวดเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดความผูกพันทางอารมณ์และการติดขวด ทำให้การหย่านมในภายหลังทำได้ยากขึ้น
สิ่งสำคัญคือต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้วยความอดทนและความละเอียดอ่อน เคล็ดลับบางประการสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่ราบรื่น:
  • แนะนำแก้วแบบ Sippy:ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นถ้วยแบบเปิด คุณสามารถแนะนำถ้วยจิบที่มีพวยกาป้องกันการหกเป็นขั้นตอนกลางได้
  • การเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป:เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนการป้อนนมจากขวดหนึ่งขวดเป็นการป้อนนมจากถ้วย โดยควรรับประทานในระหว่างวัน ค่อยๆ เปลี่ยนขวดนมเพิ่มเติมเมื่อเวลาผ่านไป
  • พฤติกรรมแบบอย่าง:เด็กๆ มักจะเรียนรู้จากการเลียนแบบ แสดงให้ลูกของคุณรู้วิธีใช้แก้วโดยการดื่มจากแก้วด้วยตัวเอง
สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าเด็กแต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงอาจแตกต่างกันไป แม้ว่าเด็กหลายคนพร้อมที่จะเลิกใช้ขวดนมภายใน 12-18 เดือน แต่บางคนอาจต้องใช้เวลามากกว่านี้เล็กน้อย หากคุณมีข้อกังวลหรือเผชิญกับความท้าทายในระหว่างการเปลี่ยนแปลงนี้ โปรดปรึกษากุมารแพทย์ของบุตรหลานของคุณเพื่อขอคำแนะนำและการสนับสนุน

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.parents.com/baby/feeding/bottlefeeding/picking-a-baby-bottle/
  • https://www.happyfamilyorganics.com/learning-center/baby/choosing-the-right-bottles-and-nipples/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด