ภาวะเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะเป็นอย่างไร (Antibiotic Resistance)

ภาวะเชื้อดื้อยา อันตรายหรือไม่

หากเชื้อโรคเกิดการดื้อยาปฏิชีวนะ การรักษาผู้ป่วยก็จะมีความยากลำบากมากยิ่งขึ้น จึงเกิดโครงการที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาภาวะดื้อยาปฏิชีวนะ เกิดขึ้นเพื่อตรวจสอบและควบคุมอุบัติการณ์ของภาวะการดื้อยาปฏิชีวนะ ใช้ข้อมูลทั้งจากห้องปฏิบัติการ การศึกษาข้อมูล และการควบคุมการระบาดของโรคตามท้องถิ่น และพบว่าเอนไซม์บางชนิด อาจเป็นสาเหตุของภาวะการดื้อยาปฏิชีวนะ มีเชื้อราบางสายพันธุ์ที่ดื้อยาหลายชนิด เรียกว่า Candida auris การวิเคราะห์และทดสอบเหล่านี้ก็เพื่อหาทางจัดการและป้องกันกับภาวะการดื้อต่อยาปฏิชีวนะนั่นเอง

การรีับมือกับภาวะดื้อยา

การดื้อยาปฏิชีวนะเกิดขึ้นเมื่อเชื้อโรค และเชื้อราหยุดตอบสนองต่อยาที่ใช้จัดการพวกมัน เกิดปัญหาต่อผู้ป่วยเพราะการติดเชื้อแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ความสำคัญของปัญหานี้คือ จุลินทรีย์ก่อโรคจำนวนหนึ่ง ยังคงทำงานอยู่ เมื่อประสิทธิภาพของยาหมดลง เกิดความจำเป็นที่จะต้องหายาที่ดีกว่ามาใช้ ซึ่งเป็นการแข่งขันกับเวลาเพื่อเอาชนะภาวะดื้อยาปฏิชีวนะ จุลินทรีย์เองก็มีความสามารถในการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อต้านทานยารักษาอย่างรวดเร็ว ส่วนการคิดค้นยาตัวใหม่ ๆ  ก็จำเป็นต้องผ่านคิดค้นตัวยาและกระบวนการอนุมัติหลังการทดสอบทางคลินิก เป็นเวลาหลายปี จึงถือว่าจุลชีพจึงมีความได้เปรียบค่อนข้างมาก ไม่มีวิธีแก้ปัญหาเพียงแบบเดียว สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกัน สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจึงสามารถแสดงอาการดื้อยาปฏิชีวนะในระดับที่แตกต่างกันได้อีกด้วย บางกรณีเชื้อก่อโรคอาจดื้อยาได้ทุกชนิดและหากตัวยาไม่สามารถรักษาได้ กระบวนการรักษาก็ต้องกลับมาเริ่มใหม่

 เชื้อราที่มีลักษณะดื้อยา

Candida albicans คือเชื้อราที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ และเป็นสายพันธุ์ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เชื้อ Candida auris ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น ถือเป็นภัยคุกคามที่เพิ่มถูกค้นพบ เนื่องจากค้นพบว่าดื้อยาหลายชนิด ในบางกรณี พบว่าสามารถต้านทานยาต้านเชื้อราทั้ง 3 กลุ่มหลักได้ ทำให้ไม่มีวิธีใดสามารถรักษาการติดเชื้อนี้ได้ เชื้อราที่ดื้อยาปฏิชีวนะนั้นสัมพันธ์กับอัตราการตายสูง ซึ่งคาดว่าราว 60 % โดยการติดเชื้อและการเสียชีวิตส่วนมากเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในโรงพยาบาลและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยเด็ก และผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกันก็จะมีความเสี่ยงสูงมากเป็นพิเศษ เชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลมักอยู่ได้นานหลายสัปดาห์ ดังนั้นผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ ก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่าย ภาวะเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะเป็นอย่างไร

แนวทางการรับมือปัญหาเชื้อดื้อยา

ภาวะการดื้อยาเกิดการสั่งจ่ายยาหลายประเภท เพื่อรักษาอาการเพียงเล็กน้อย หรือทำในสภาวะที่ไม่เหมาะสม บางแพทย์ก็สั่งยาปฏิชีวนะในลักษณะ ‘เผื่อไว้’ และเมื่อทำเช่นนั้น ก็มีโอกาสที่จุลินทรีย์จะเกิดภาวะดื้อยา ผู้ป่วยหลายคนทราบดีว่า เมื่อได้รับยาปฏิชีวนะแล้ว ควรรับประทานให้หมด แต่ในความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น เกิดความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการให้บา เพื่อลดภาวะการดื้อยาปฏิชีวนะ โดยผู้ป่วยเองก็ไม่ควรกดดันให้แพทย์สั่งจ่ายยาปฏิชีวนะด้วย

การป้องกันและลดการเกิดภาวะดื้อยาปฏิชีวนะ

องค์การอนามัยโลกได้แนะนำ ในการป้องกันและลดโอกาสการดื้อยาไว้ดังนี้ ใช้ยาปฏิชีวนะเท่าที่จำเป็น และควรรับจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรค ไม่ควรไปซื้อหายามารับประทานเอง โดยร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมักเกิดจากเชื้อไวรัสที่ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เมื่อจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม รับประทานตรงเวลาและครบตามจำนวนที่กำหนด ดังนั้น แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้ว ก็ควรรับประทานยาให้ครบตามจำนวนที่กำหนดมา จนจะหายขาด ห้ามนำยาปฏิชีวนะที่เหลือ หรือรับมาจากผู้อื่นมารับประทาน เพราะอาจทำให้เกิดการดื้อยา และยังเสี่ยงที่จะทำให้อาการเจ็บป่วยไม่ดีขึ้น หรือเกิดอาการallergy-0094/”>แพ้ยาได้ ป้องกันคังเองจากการติดเชื้อดื้อยา ด้วยการล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อดื้อยาอยู่
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด