ไวรัสซิก้า (Zika Rash) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ไวรัสซิก้า

ภาพรวม

ไวรัสซิก้า (Zika Rash) คือผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิก้า มีทั้งชนิดผื่นนูนและหรือเป็นเม็ดเล็กแดงก็ได้ มักจะคัน

ไวรัสซิก้าติดต่อได้จากยุงที่มีเชื้อกัด ส่งต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ การร่วมเพศ การถ่ายเลือด หรือจากสัตว์กัด

โดยทั่วไปเชื้อไวรัสนี้ไม่รุนแรง 80% ของผู้ป่วย มักไม่มีอาการ  หากมีก็เช่น

อาการจะหายไปเองภายในสองสัปดาห์หรือเร็วกว่านั้น

เชื้อไวรัสนี้ได้ชื่อจากป่าซิก้าในอูกันดา ซึ่งเป็นที่พบเชื้อโรคครั้งแรกในปี 1947 และระบาดอย่างมากในทวีปอเมริกา ในปี 2015 โดยพบผู้ป่วยในบราซิลถึงหลักแสนคน และบางกรณีมีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงในหญิงตั้งครรภ์

Zika Rash

อาการของโรคไวรัสซิก้า

ผู้ที่ติดเชื้อ มักไม่มีผื่นและอาการใดๆ ในการศึกษาอย่างกว้างขวางที่บราซิล พบว่าผู้ป่วยเพียง 38%ที่จำได้ว่าถูกยุงกัด

หากจะมีผื่น มักเกิดในวันที่ 3-12 หลังจากยุงที่มีเชื้อกัด ผื่นมักเกิดที่ลำตัวและกระจายไปที่ใบหน้า แขน ขา ส้นเท้า และฝ่ามือ

ผื่นจะมีทั้งตุ่มแดงเล็กๆและผื่นแดง การติดเชื้อจากยุง จากโรคไข้เลือดออกและชิคุนกุนยา มักมีผื่นแบบเดียวกัน ซึ่งรวมเรียกว่า Flavivirus แต่ที่แตกต่างคือ ผื่นจากไวรัสซิก้า จะคัน (79%ของผู้ป่วยจะมีอาการคัน )

แต่ผื่นชนิดเดียวกันนี้เกิดได้ในกรณี allergy-0094/”>แพ้ยา อาการแพ้ ติดเชื้อแบคทีเรีย และกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย

จากการศึกษาในบราซิลพบว่าผู้ป่วย 98% มาพบแพทย์เพราะมีผื่นซิก้า

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัสซิก้า

ไวรัสซิก้ามาสู่คนได้โดยยุงพันธุ์ Aedesที่มีเชื้อไวรัส มากัดคน ไวรัสเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือด ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างปฏิกิริยาต่อต้านโดยการเกิดผื่น

การวินิจฉัยโรค

 แพทย์จะถามประวัติการเดินทางของท่านและคู่สมรส ว่าได้เข้าไปในบริเวณที่มีการระบาดของไวรัสหรือไม่ จำได้หรือไม่ว่าถูกยุงกัด

แพทย์จะถามอาการและวันเวลาที่เริ่มมีอาการ

ผื่นของซิก้าไวรัสมีลักษณะคล้ายผื่นจากการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ แพทย์จึงต้องตรวจเลือด ปัสสาวะและ น้ำลาย เพื่อช่วยให้แยกโรคให้ได้

การรักษาโรคไวรัสซิก้า

ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรัการติดเชื้อไวรัสซิก้าหรือผื่น การรักษาก็เหมือนการรักษาการติดเชื้อไวรัสทั่วไปเช่น

  • พักผ่อน

  • ดื่มน้ำมากๆ

  • ยา acetaminophen เพื่อลดไข้และอาการปวด

ผื่นจะอยู่นานเท่าไร

ผื่นจะหายไปเองภายใน 1-4 วัน

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้

ภาวะแทรกซ้อนจากผื่นซิก้าเองนั้นไม่มี แต่ไวรัสมีผลที่ร้ายแรงในหญิงตั้งครรภ์

เมื่อมีการระบาดครั้งใหญ่ในบราซิลเมื่อปี 2015 พบว่าทารกที่เกิดมามีศีรษะเล็กและมีความผิดปกติแต่กำเนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น และมีหลักฐานแน่นหนาว่าเกี่ยวข้องกับการที่มารดาติดเชื้อไวรัสซิก้า

หญิงตั้งครรภ์ที่มีผื่นซิก้า ควรได้รับการตรวจเพื่อดูว่าทารกมีอาการแสดงของภาวะศีรษะเล็กและความผิดปกติอื่นหรือไม่ โดยการตรวจอัลตร้าซาวด์และเจาะน้ำคร่ำไปตรวจหาไวรัสซิก้า

ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสซิก้า โรคนี้ไม่รุนแรงและคนทั่วไปมักไม่สังเกตเห็น หากท่านมีผื่นขึ้นหรือมีอาการอื่น มันจะหายไปเองภายในสองสัปดาห์ การป้องกันคือไม่ให้ยุงกัดภายในสามสัปดาห์หลังจากท่านมีการติดเชื้อ หรือไปในที่ที่มีการระบาด เพราะถ้ายุงกัดท่านในขณะที่ท่านมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัว เมื่อมันไปกัดผู้อื่น ยุงจะส่งต่อไวรัสให้ผู้นั้นได้

การป้องกันไวรัสซิก้า

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสซิก้าโดยหลักเกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด เนื่องจากซิก้าติดต่อผ่านการกัดของยุงลายที่ติดเชื้อเป็นหลัก ต่อไปนี้คือขั้นตอนบางส่วนที่คุณสามารถทำได้เพื่อป้องกันผื่นซิก้าและการติดเชื้อไวรัสซิก้า:
  • ใช้ยาไล่ยุง:ทายาไล่แมลงที่จดทะเบียนกับ EPA บนผิวหนังและเสื้อผ้าที่สัมผัส มองหาสารขับไล่ที่มีส่วนผสมเช่น DEET, พิคาริดิน, IR3535 หรือน้ำมันยูคาลิปตัสเลมอน ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างระมัดระวัง
  • สวมชุดป้องกัน:ปกปิดผิวหนังให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วยการสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ถุงเท้า และรองเท้า โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มียุงชุกชุม ซึ่งมักจะเป็นรุ่งเช้าและพลบค่ำ
  • ใช้มุ้ง:เมื่อนอนหลับหรือพักผ่อนในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่เชื้อซิก้า ให้ใช้มุ้งหรือมุ้งลวดที่หน้าต่างและประตูเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามา
  • เข้าพักในที่พักที่มีเครื่องปรับอากาศหรือแบบคัดกรอง:หากคุณกำลังเดินทางไปยังพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อซิก้า ให้อยู่ในสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือมีมุ้งลวดที่หน้าต่างและประตูเพื่อกันยุง
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง:ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงรอบบ้านของคุณโดยการเท คลุม หรือบำบัดภาชนะที่รวบรวมและกักเก็บน้ำ เช่น กระถางดอกไม้ ยางรถ และอ่างน้ำนก ยุงที่แพร่เชื้อซิก้ามักผสมพันธุ์ในน้ำนิ่ง
  • มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย:ไวรัสซิก้าสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ หากคุณหรือคู่ของคุณเคยอยู่ในพื้นที่ที่มีเชื้อซิก้า ขอแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยหรืองดกิจกรรมทางเพศตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ
  • สตรีมีครรภ์:สตรีมีครรภ์มีความเสี่ยงเป็นพิเศษเนื่องจากซิก้าสามารถทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดได้ หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ โปรดปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อโรคซิก้า และใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัด
  • รับทราบข้อมูล:รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่ของคุณหรือพื้นที่ใด ๆ ที่คุณวางแผนจะไปเยี่ยมชม หน่วยงานด้านสุขภาพและคำแนะนำการเดินทางสามารถให้ข้อมูลและคำแนะนำที่เป็นปัจจุบันได้
  • เดินทางอย่างชาญฉลาด:หากคุณวางแผนที่จะเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อไวรัสซิก้า โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำเฉพาะบุคคล พิจารณาเลื่อนการเดินทางหากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือพยายามจะตั้งครรภ์
โปรดจำไว้ว่าไวรัสซิก้าอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสตรีมีครรภ์และทารกในครรภ์ การใช้มาตรการป้องกันเหล่านี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสซิก้าและผื่นซิก้าได้ หากคุณสงสัยว่าคุณอาจติดเชื้อซิก้าหรือมีอาการ ให้ไปพบแพทย์ทันที 

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.cdc.gov/zika/symptoms/symptoms.html

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/zika-virus/symptoms-causes/syc-20353639

  • https://www.nhs.uk/conditions/zika/

  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/zika-virus-symptoms-prevention


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด