ลิ้นปี่อยู่ตรงไหน
ลิ้นปี่เป็นบริเวณที่เล็กที่สุดของกระดูกสันอก หรือกระดูกหน้าอก ประกอบด้วยกระดูกอ่อนที่มีมาตั้งแต่เกิด แต่พัฒนาให้กลายเป็นกระดูกแข็งในวัยผู้ใหญ่ อยู่บริเวณซี่โครงส่วนล่างติดกับกระดูกหน้าอก ส่วนปลายของลิ้นปี่มีลักษณะคล้ายกับดาบ แม้ว่าลิ้นปี่จะมีขนาดเล็ก แต่ก็ทำหน้าที่เป็นจุดยึดระหว่างอวัยวะและกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ เป็นการเพิ่มพื้นที่ให้กับกะบังลม ความเจ็บลิ้นปี่เกิดจากอะไร ความเจ็บปวดที่ลิ้นปี่ หรือจุกลิ้นปี่ หรือที่เรียกว่า xiphoidalgia เกิดได้จากหลายสาเหตุ ความเจ็บปวดอาจเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ปานกลาง หรือรุนแรง ทำให้รู้สึกได้บริเวณส่วนล่างของกระดูกอก กระดูกสันอกคือกระดูกที่อยู่ตรงกลางด้านหน้าของกระดูกซี่โครง ความเจ็บตรงลิ้นปี่มักรู้สึกเหมือนแรงกดดัน หรือแน่นกลางอก อาจมีอาการอื่น ๆ เช่น ปวดท้องส่วนบน อาการเจ็บหน้าอก และปวดหลัง ผู้ป่วยบางคนสามารถสังเกตเห็นก้อน หรือลักษณะบวมในบริเวณนี้สาเหตุของอาการปวดที่ลิ้นปี่
อาการจุกแน่นลิ้นปี่มีสาเหตุอยู่หลายประการ อาการปวดอาจเกิดขึ้นหลังเกิดอุบัติเหตุที่ทำบาดเจ็บบริเวณหน้าอก ซึ่งทำลายโครงสร้างของลิ้นปี่ ทำให้งอ หรือแตกออก ความเสียหายอาจเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการฟื้นคืนชีพ (CPR) ที่ไม่ถูกต้อง หรือการช่วยชีวิตด้วยแรงที่มากเกินไป ลิ้นปี่ที่แตกจะเพิ่มการอักเสบที่นำไปสู่ความเจ็บปวด และความรู้สึกกดเจ็บที่หน้าอก ความเจ็บใต้ลิ้นปี่อาจสัมพันธ์กับการเกิดกรดไหลย้อน กรดไหลย้อนเป็นอาการที่กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร กรดไหลย้อนจะสร้างความระคายเคืองให้กับเยื่อบุของหลอดอาหาร จุกเสียดกลางอก และเนื่องจากหลอดอาหารตั้งบริเวณหลังกระดูกหน้าอก ความเจ็บปวดที่ลิ้นปี่จึงเกิดไปพร้อมกับอาการกรดไหลย้อน ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดที่ลิ้นปี่ ได้แก่:- โรคหัวใจ
- กินอาหารมากเกินไป
- การยกน้ำหนัก
การวินิจฉัยอาการปวดที่ลิ้นปี่
ความเจ็บปวดที่เกิดจากการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยสามารถแก้ไขได้เอง และควรไปพบแพทย์หากอาการปวดไม่ดีขึ้น หลังจากเกิดอาการไป 2 – 3 สัปดาห์ หรือพบว่าอาการรุนแรงขึ้น แพทย์อาจวินิจฉัยอาการจุกเสียดลิ้นปี่จากอาการ และก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นบริเวณกระดูกหน้าอก แพทย์อาจถามเกี่ยวกับอาการบาดเจ็บที่ผ่านมา และอาการอื่น ๆ ของผู้ป่วย เช่น อาการเจ็บหน้าอก และไอ ก้อนเนื้อที่อยู่ใกล้กับลิ้นปี่อาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเนื้องอก หรือไส้เลื่อนได้ เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องแพทย์อาจทำการทดสอบภาพส่วนล่างของกระดูกหน้าอกด้วยการ X-ray ที่จะแสดงถึงความเสียหายของลิ้นปี่ หากผลการ X-ray ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ แพทย์อาจทำการทดสอบเพิ่มเติม ด้วยเครื่องมือวินิจฉัยอย่างการสแกน MRI และการทำ CT scan วิธีการทดสอบเหล่านี้สามารถถ่ายภาพภายในร่างกาย และประมวลผลของดัชนีมวลกาย การอักเสบ และความผิดปกติอื่น ๆ ได้การรักษาอาการปวดที่ลิ้นปี่
การรักษาอาการปวดที่ลิ้นปี่จะขึ้นกับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ หากมีอาการเกิดขึ้นหลังจากได้รับบาดเจ็บ แพทย์อาจสั่งยาแก้อักเสบเพื่อบรรเทาอาการปวด หรือแนะนำให้สลับระหว่างการประคบร้อนและเย็นสลับกันตลอดทั้งวัน และแพทย์ยังแนะนำให้จำกัดกิจกรรมบางอย่างจนกว่าอาการบาดเจ็บจะหาย การปรับเปลี่ยนนิสัยการกินสามารถรักษาอาการปวดที่ลิ้นปี่ซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคกรดไหลย้อน แบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ 5 ถึง 6 ครั้งต่อวัน และหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการปวด (เช่น แอลกอฮอล์ ช็อคโกแลต เปปเปอร์มินต์ และมะเขือเทศ) กรดไหลย้อนสามารถควบคุมได้ด้วยยาบรรเทาอาการกรดในกระเพาะอาหาร และช่วยรักษาหลอดอาหารการติดเชื้อ:
- แม้ว่าจะพบไม่บ่อย แต่การติดเชื้อในบริเวณหน้าอกหรือช่องท้องอาจส่งผลต่อลิ้นปี่และโครงสร้างโดยรอบ ทำให้เกิดอาการปวดหรือรู้สึกไม่สบายเฉพาะที่
การผ่าตัดเพื่อนำลิ้นปี่ออกไป
แม้ว่าลิ้นปี่จะมีบทบาทเฉพาะในส่วนของโครงสร้างร่างกาย แต่เมื่อลิ้นปี่แตกหักก็อาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรง เช่นอวัยวะภายในฉีกขาด แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัด เมื่อเกิดการแตกหรือหัก แต่จะพิจารณาเป็นแนวทางการรักษาขั้นสุดท้าย เมื่อไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ ได้ เพื่อดำเนินการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดส่วนฐานของลิ้นปี่ เพื่อตัดและนำลิ้นปี่ออกมา ด้วยการผ่าเปิดกระดูกอกด้วยการผ่าด้วยไฟฟ้า จากนั้นจะใช้เครื่องช่วยการแข็งตัวของเลือด (กระแสไฟฟ้า) เพื่อหยุดเลือด อาจเกิดมีรอยฟกช้ำหลังการผ่าตัด และเกิดการตึงเจ็บจนกว่าแผลจะสมานกันได้ เวลาพักฟื้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ผู้ป่วยบางคนสามารถกลับมาทำกิจกรรมตามปกติได้ภายใน 2 – 3 สัปดาห์ หลังจากผ่าตัดเพื่อนำลิ้นปี่ออกไปาพรวมของอาการปวดที่ลิ้นปี่
หากเกิดอาการปวด เป็นก้อนหรือบวมที่ลิ้นปี่ ซึ่งไม่หายภายในไม่กี่สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และกำหนดแนวทางในการรักษาหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น