กลุ่มอาการวิลเลียม หรือเรียกอีกชื่อว่า กลุ่มอาการวิลเลียม-บอยเรน (Williams-Beuren Syndrome) คือ ความผิดปกติทางพันธุกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการการเติบโตของผู้ป่วย รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับเส้นเลือดและหัวใจ เส้นเลือดตีบ ปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและโครงกระดูกและความบกพร่องทางการเรียนรู้
แม้จะมีความเชื่อมโยงทางพันธุกรรม บางคนอาจเกิดมาพร้อมกับกลุ่มอาการวิลเลียมได้ถึงแม้ว่าคนในครอบครัวจะไม่เคยมีประวัติการมีกลุ่มอาการวิลเลียมเลยก็ตาม ข้อมูลจากสถาบันความผิดปกติของระบบประสาทและโรคหลอดเลือดสมอง (National Institute of Neurological Disorders and Stroke) เผยให้เห็นว่า การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม โดยไม่เกี่ยวกับพันธุกรรม มักเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการวิลเลียม ผู้ที่มีกลุ่มอาการวิลเลียมมีโอกาสถึง 50% ในการส่งผ่านกลุ่มอาการนี้ไปสู่บุตรหลานได้
นักวิทยาศาสตร์พบว่า การหลุดหายไปของยีนบนโครโมโซมคู่ที่ 7 เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการวิลเลียม ซึ่งมียีนราว 25 ยีนที่หลุดหายไปจากโครโมโซมคู่ดังกล่าว ยีนอิลาสตินที่ทำให้เลือดมีความยืดหยุ่นเป็นยีนส์อีกหนึ่งตัวที่หลุดหายไป ทั้งนี้ หากไม่มียีนตัวนี้จะเกิดข้อบกพร่องของหัวใจและเกิดความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต
อาการของกลุ่มอาการวิลเลียมเป็นอย่างไร
กลุ่มอาการวิลเลียมเป็นแสดงอาการหลายอย่างร่วมกัน ในกลุ่มโรคทางอายุรกรรมบางกลุ่มจะมีอาการไม่ชัดเจนเสมอไปแม้จะจะเป็นมาแต่กำเนิดก็ตาม เมื่ออาการเริ่มเกิดและชัดเจนขึ้น แพทย์จะใช้วิธีจดบันทึกอาการต่าง ๆ และทำการวินิจฉัยจากกลุ่มอาการนั้น ๆ กลุ่มอาการวิลเลียมประกอบด้วยอาการจำเพาะที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการอย่างมาก
อาการทั่วไปของกลุ่มอาการวิลเลียม ได้แก่ :
-
ลักษณะบนใบหน้าที่ผิดปกติ เช่น ปปากกว้างกว่าปกติ สันจมูกแบน มีช่องระหว่างฟันกว้าง และริมฝีปากหนาอิ่ม
-
มีอาการโคลิค หรือมีปัญหาในการรับประทานอาหาร
-
ความผิดปกติในการเรียนรู้
-
นิ้วก้อยคดงอ
-
โรคกลัวเฉพาะอย่าง เป็นโรคกลัวบางชนิด
-
ภาวะตัวเตี้ย
-
พูดช้า
-
หน้าอกยุบ หรือหน้าอกจมผิดปกติ
-
ระดับความบกพร่องทางสติปัญญาแตกต่างกัน
-
มีน้ำหนักตัวและกล้ามเนื้อแรกเกิดน้อย
-
ไตผิดปกติ
ลักษณะบุคลิกภาพที่พบบ่อยในผู้ที่มีกลุ่มอาการวิลเลียม ได้แก่ :
-
สนใจเกี่ยวกับดนตรี
-
ไม่ชอบการสัมผัสร่างกาย
-
มีมนุษยสัมพันธ์ดีมากเกินปกติ
-
มีความไวต่อเสียงดัง
แพทย์วินิจฉัยกลุ่มอาการวิลเลียมได้อย่างไร
โดยทั่วไปแล้ว กลุ่มอาการวิลเลียมสามารถวินิจฉัยได้จากลักษณะทางกายภาพ นอกจากนี้ แพทย์ยังสามารถวินิจฉัยกลุ่มอาการนี้ได้โดยการตรวจทางห้องปฏิบัติกาเพื่อตรวจหายืนหรือตำแหน่งพันธุกรรมบนโครโมโซม (FISH) ซึ่งเป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการที่ตรวจลำดับดีเอ็นเอหรือลำดับพันธุกรรมด้วยสารเคมีที่ตรวจได้จากแสงอัลตราไวโอเลต การตรวจนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถดูว่ามียีนขาดหายไปหรือไม่
การทดสอบอื่น ๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยกลุ่มอาการวิลเลียมอาจรวมถึง การทำอัลตร้าซาวด์ไต การตรวจความดันโลหิต และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจด้วยวิธีเหล่านี้ยังช่วยให้แพทย์เห็นระดับแคลเซียมในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ข้อต่อหย่อนและม่านตาผิดปกติ
ตัวเลือกในการรักษากลุ่มอาการวิลเลียม
ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษากลุ่มอาการวิลเลียม การรักษาจะเน้นการบรรเทาอาการที่เกิดจากกลุ่มอาการวิลเลียม ภาวะหลอดเลือดตีบสามารถรักษาให้หายได้หากกลุ่มอาการวิลเลียมทำให้เกิดอาการของภาวะนี้ การทำกายภาพบำบัดและการบำบัดการพูดผิดปกติก็มีประโยชน์เช่นกัน
ทั้งนี้ การรักษามักขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล เนื่องจากไม่ได้มีเกณฑ์มาตรฐานในการรักษาที่ตายตัว แต่จำเป็นต้องตรวจร่างกายเป็นประจำเพื่อดูระบบหัวใจและหลอดเลือดและติดตามปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
ผู้ที่มีกลุ่มอาการวิลเลียมควรเลี่ยงรับประทานแคลเซียมและวิตามินดีเสริมเนื่องจากระดับของสารเหล่านี้ในเลือดสูงอยู่แล้ว
ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวของกลุ่มอาการวิลเลียม
ภาวะทางอายุรกรรมต่าง ๆ อาจส่งผลต่ออายุขัยของผู้ที่มีกลุ่มอาการวิลเลียม การสะสมของแคลเซียมอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับไตและหลอดเลือดตีบอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ผู้ที่มีกลุ่มอาการวิลเลียมส่วนใหญ่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในระดับหนึ่งด้วย การเรียนรู้ทักษะการช่วยเหลือตนเองและการมีการบำบัดดูแลช่วงวัยเรียนตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ผู้ที่มีกลุ่มอาการวิลเลียมสามารถใช้ชีวิตได้เองตามปกติได้ คนที่มีกลุ่มอาการวิลเลียมบางคนจำเป็นต้องอยู่กับผู้ดูแลหรืออยู่ในบ้านที่มีผู้ดูแล
กลุ่มอาการวิลเลียมป้องกันได้อย่างไร
ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันกลุ่มอาการวิลเลียม ผู้ที่มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นกลุ่มอาการวิลเลียมสามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับพันธุกรรมก่อนตั้งครรภ์ได้ โดยสามารถปรึกษาแพทย์ถึงโอกาสที่จะมีลูกที่มีกลุ่มอาการวิลเลียมว่ามีมากน้อยแค่ไหน
การใช้ชีวิตกับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการวิลเลียม ซินโดรม
การมีชีวิตอยู่ร่วมกับกลุ่มอาการวิลเลียมส์ต้องอาศัยความเข้าใจในสภาวะดังกล่าว การรักษาพยาบาลที่เหมาะสม และการให้การสนับสนุนทางสังคมและอารมณ์ ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนสำคัญและข้อควรพิจารณาสำหรับบุคคลที่เป็นโรควิลเลียมส์และครอบครัว:- ปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เชี่ยวชาญในกลุ่มอาการวิลเลียมส์เพื่อติดตามและจัดการปัญหาสุขภาพเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับอาการดังกล่าว ซึ่งอาจรวมถึงปัญหาหัวใจและหลอดเลือด กล้ามเนื้อและกระดูก และต่อมไร้ท่อ
-
- บริการช่วยเหลือตั้งแต่เนิ่นๆ เช่น การบำบัดด้วยคำพูด กิจกรรมบำบัด และกายภาพบำบัด สามารถช่วยแก้ไขพัฒนาการล่าช้าและปรับปรุงทักษะการสื่อสารและการเคลื่อนไหว
- บุคคลที่เป็นโรควิลเลียมส์มักได้รับประโยชน์จากโปรแกรมการศึกษาเฉพาะทางและการสนับสนุนในโรงเรียน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับครูและผู้บริหารโรงเรียนเพื่อสร้างแผนการศึกษารายบุคคล (IEP) ที่ปรับให้เหมาะกับความต้องการของเด็ก
- ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการรวมอยู่ในกิจกรรมต่างๆ กับเพื่อนฝูง บุคคลในกลุ่มอาการวิลเลียมส์มักจะชอบการเข้าสังคมและสร้างความสัมพันธ์ ดังนั้นการอำนวยความสะดวกในโอกาสเหล่านี้จึงเป็นประโยชน์
- มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและความเป็นอยู่ที่ดี พิจารณากิจกรรมที่เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของแต่ละบุคคล
- กำหนดกิจวัตรประจำวันแบบมีโครงสร้างซึ่งรวมถึงเวลารับประทานอาหารตามปกติ การนอนหลับที่เพียงพอ และกิจกรรมตามกำหนดเวลา กิจวัตรที่คาดเดาได้สามารถช่วยให้ผู้ที่เป็นโรควิลเลียมส์รู้สึกปลอดภัยมากขึ้น
- ให้การสนับสนุนทางอารมณ์และกำลังใจ บุคคลที่เป็นโรควิลเลียมส์อาจมีความวิตกกังวลหรือมีปัญหาในการจัดการกับความเครียด ดังนั้นสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยจึงเป็นสิ่งสำคัญ
- เชื่อมต่อกับองค์กรและกลุ่มสนับสนุนที่เชี่ยวชาญในกลุ่มอาการวิลเลียมส์ กลุ่มเหล่านี้สามารถจัดหาทรัพยากร ข้อมูล และชุมชนที่ให้การสนับสนุนอันมีคุณค่า
- ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระอย่างเต็มความสามารถของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจรวมถึงงานต่างๆ เช่น การแต่งตัว การดูแลตนเอง และการดูแลตนเองขั้นพื้นฐาน
- พิจารณาการวางแผนระยะยาว รวมถึงเรื่องกฎหมายและการเงิน จัดทำแผนสำหรับอนาคต เช่น การดูแล ที่อยู่อาศัย และความมั่นคงทางการเงิน
- ให้การสนับสนุนสิทธิและความต้องการของบุคคลที่เป็นโรควิลเลียมส์ในชุมชน โรงเรียน และสถานพยาบาล การตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะดังกล่าวสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับผลกระทบได้
- ติดตามข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการวิจัยและความก้าวหน้าล่าสุดในการดูแลและรักษาโรคของวิลเลียมส์ ความรู้เกี่ยวกับภาวะนี้สามารถช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูล
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.medicalnewstoday.com/articles/220139
-
https://medlineplus.gov/genetics/condition/williams-syndrome/
-
https://williams-syndrome.org/
-
https://rarediseases.org/rare-diseases/williams-syndrome/
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team