น้ำส้มสายชูกลั่น หรือน้ำส้มสายชูขาว อยู่คู่บ้านมานาน เพราะอะไร มันเอนกประสงค์ ใช้ทำความสะอาด ทำสวน และทำอาหาร แม้แต่ใช้ทำยา ในบทความนี้เราจะคุยกันถึงการใช้น้ำส้ม และวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่จะใช้ในบ้าน
น้ำส้มสายชูขาวคืออะไร และทำมาจากอะไร
ในอดีตน้ำส้มสายชูขาวทำจากการหมักพืชเช่น หัวผักกาดหวาน มันฝรั่ง กากน้ำตาล และเวย์จากหางนม สูตรการทำขึ้นกับว่าภูมิภาคนั้นมีวัตถุดิบใดที่หาง่าย ทุกวันนี้ น้ำส้มสายชูทำมาจากเอทานอล ซึ่งไม่มีสารอาหารใดๆ จึงต้องใส่ยีสต์หรือฟอสเฟสเข้าไปเพื่อเริ่มกระบวนการหมัก น้ำส้มสายชูขาว เป็นของเหลวใสมีกรด Acetic 4–7% และน้ำ 93–96% ชนิดที่มีกรด Acetic มากกว่านี้ใช้ในการเกษตร และในการทำความสะอาด ส่วนใหญ่ทำจากการหมัก Grain alcoholประโยชน์ของน้ำส้มสายชู
ใช้ทำอาหารได้หลากหลาย มีรสชาติเข้มข้นกว่าน้ำส้มที่กินได้ คุณอาจไม่อยากกินมัน แต่มันเป็นส่วนผสมที่ดีในอาหารน้ำส้มใช้ทำอะไรได้บ้าง
น้ำส้มนำไปใช้ดอง อบ หมักและทำชีส รสชาติเข้มข้นจึงควรเริ่มใส่ปริมาณน้อยก่อนหากเริ่มใช้เป็นครั้งแรก- ดอง เมื่อใส่สมุนไพรและน้ำเพิ่ม นำ้ส้มเป็นส่วนผสมที่ยอดเยี่ยมสำหรับการดองผัก ผลไม้หรือไข่
- สลัด สะบัดน้ำส้มเกลือ และพริกไทยเล็กน้อยลงในสลัด จะทำให้สลัดอร่อยขึ้น ระวังอย่าใส่น้ำส้มมากเกินไป
- ใช้หมักและทำซอส เมื่อใช้หมักน้ำส้มจะทำให้เนื้อ อาหารทะเล และผักนิ่มลง
- อบ ใช้คู่กับเบกกิ้งโซดา ช่วยให้ขนมอบขึ้นฟู กรดในน้ำส้มทำปฎิกิริยากับด่างในเบกกิ้งโซดา และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้ขนมฟูขึ้น
- ทำชีส ชีสบางชนิดทำจากนมและน้ำส้มสายชูขาว กรดในน้ำส้มรวมกับโปรตีนในนม แยกลิ่มน้ำนม และเวย์ เกิดเป็นชีสอ่อนรสนุ่ม
น้ำส้มสายชูกับผลดีต่อสุขภาพ
น้ำส้มสายชูขาวมีผลดีต่อสุขภาพด้วยนอกจากเพิ่มรสชาติให้อาหารของคุณ เราใช้มันเป็นยามานานเป็นพันปี การวิจัยสมัยใหม่เน้นที่กรดacetic ที่อยู่ในน้ำส้ม และน้ำส้มหลายชนิดมีกรด acetic ดังนั้นน้ำส้มชนิดอื่นก็มีข้อดีไม่ต่างกัน ข้อดีต่อสุขภาพของน้ำส้ม- ควบคุมน้ำตาลในเลือด ในการศึกษาในคนพบว่าการกินน้ำส้มอาจช่วยลดน้ำตาลในเลือดและระดับอินซูลินหลังอาหารได้
- ควบคุมน้ำหนัก การศึกษาบางชิ้น พบว่าการกินน้ำส้มช่วยให้อิ่มโดยทำให้อาหารอยู่ในกระเพาะอาหารนานขึ้น อาจช่วยลดแคลอาีที่ร่างกายดูดซึมและช่วยให้นำ้หนักลดลง
- ลดโคเลสเตอรอล การศึกษาในสัตว์พบว่าหนูที่กินน้ำส้มจะมีโคเลสเตอรอลลดลง แต่ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้
- ต้านแบคทีเรีย ใช้รักษาภายนอก เช่นเชื้อราที่เล็บ หูดและการอักเสบในหู และยังใช้รักษาการอักเสบที่ผิวหนังและไฟไหม้ได้
น้ำส้มสายชูใช้ปรุงอาหารอย่างไร
ในการทำอาหาร:
- หมักและดอง:
-
-
- ใช้น้ำส้มสายชูกลั่นเป็นฐานในการหมัก
- เพิ่มลงในสูตรการดองสำหรับแตงกวา
-
- น้ำสลัด:
-
-
- ผสมน้ำส้มสายชูกลั่นกับน้ำมันมะกอก
-
- การอบ:
-
-
- ใช้น้ำส้มสายชูกลั่นขาวแทน
-
- ไข่ต้มสุก:
-
- เติมน้ำส้มสายชูลงในน้ำ
ใครที่ไม่เหมาะกับการทานน้ำส้มสายชู
- ความไวต่อกรดหรือกรดไหลย้อน:
-
-
- ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน หรือกรดไหลย้อน
-
- ความกังวลเกี่ยวกับน้ำตาลในเลือด:
-
-
- การศึกษาบางชิ้นแนะนำว่าน้ำส้มสายชูรวมทั้งน้ำส้มสายชูกลั่นขาวอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
-
- โรคภูมิแพ้:
-
-
- ผู้ที่แพ้น้ำส้มสายชูหรือส่วนประกอบของน้ำส้มสายชูควรหลีกเลี่ยงการบริโภค
-
- ปฏิกิริยาระหว่างยา:
-
-
- น้ำส้มสายชูสามารถโต้ตอบกับยาบางชนิดได้ ตัวอย่างเช่น อาจทำปฏิกิริยากับยาลดโพแทสเซียม ยาขับปัสสาวะ
-
- ความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร:
-
-
- ผู้ที่มีปัญหาทางเดินอาหารบางอย่าง
-
- โรคกระดูกพรุนหรือความกังวลเรื่องสุขภาพกระดูก:
-
- การบริโภคอาหารที่เป็นกรดมากเกินไปอาจส่งผลต่อ
การใช้น้ำส้มสายชูในครัวเรือน
ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อและทำความสะอาดได้ดีเนื่องจากมีความเป็นกรด จึงใช้ทำความสะอาดเครื่องครัวและพื้น และยังราคาถูกกว่าน้ำยาทำความสะอาดที่ขายทั่วไป นำ้ส้มทำความสะอาดอะไรได้บ้าง- เคาน์เตอร์
- ส่วนอาบน้ำและอ่างอาบน้ำ
- โถส้วม
- พื้น
- จาน
- กระจก หน้าต่าง
- เครื่องทำกาแฟ
- ใช้ทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่ติดเสื้อผ้า
ข้อควรระวังกับน้ำส้มสายชู
แม้ว่าน้ำส้มจะค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็ควรระวัง การกินน้ำส้มมากเกินไปอาจทำให้มีอาการของทางเดินอาหาร เช่นแสบหน้าอกหรืออาหารไม่ย่อย การกินอาหารที่เป็นกรดมากเกินไปเช่นน้ำส้มทำให้เคลือบฟันกร่อน มีผลการศึกษาว่าน้ำส้มสายชูขาวมีผลต่อฟันมากกว่าน้ำส้มชนิดอื่น มีการศึกษาพบว่าน้ำส้มสายชูขาวอาจมีผลกับยาลดน้ำตาลในเลือดและยาโรคหัวใจบางชนิด ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำหรือโปแตสเซียมในเลือดต่ำได้ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งใดในอาหารหรือเพิ่มอาหารเสริมใดๆ น้ำส้มสายชูกลั่นมาตรฐาน เป็นของเหลวใส มีกรด Acetic 4–7% และน้ำ 93–96% ใช้ทำอาหาร อบอาหารและขนม และควบคุมวัชพืช อาจช่วยลดน้ำหนักและลดน้ำตาลและโคเลสเตอรอลในเลือด ปลอดภัยหากกินจำนวนพอควรแต่มีอันตรายถ้ากินมากไปหรือมีผลต่อยาบางชนิดหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น