การตกไข่คือ อะไร
การตกไข่ คือ ส่วนหนึ่งของรอบประจำเดือน เกิดขึ้นเมื่อไข่ถูกปล่อยออกมาจากรังไข่ เมื่อมีการปล่อยไข่ออกมาจะมีการปฏิสนธิจากสเปิร์ม หรือไม่มี หากมีการปฏิสนธิ ไข่จะเดินทางต่อไปยังมดลูก และฝังตัว และมีการพัฒนาต่อเป็นการตั้งครรภ์ แต่หากไม่มีการปฏิสนธิ ไข่ก็จะสลายตัว และเยื่อบุมดลูกจะลอกหลุดออกมาในช่วงระหว่างมีรอบประจำเดือน การทำความเข้าใจเรื่องของการตกไข่จะสามารถช่วยให้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ หรือเพื่อให้เกิดความสำเร็จในการตั้งครรภ์ อีกทั้งยังช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ด้วยการตกไข่เกิดขึ้นเมื่อไร
รอบการตกไข่ตามปกติแล้วนั้นจะอยู่ที่ราวๆ 14 ถึง 28 วันของรอบประจำเดือน แต่กระนั้นก็ไม่ใช่ทุกคนจะต้อง 28 วันทุกคน ช่วงเวลาที่แน่นอนนั้นมความหลากหลาย ตามปกติแล้วการตกไข่มักเกิดขึ้นในช่วงสี่วันก่อน หรือหลังช่วงจุดกึ่งกลางของรอบประจำเดือนมีระยะเวลาเท่าไร
กระบวนการตกไข่จะเริ่มเมื่อร่างกายปล่อยฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ออกมา ซึ่งปกติจะอยู่ในช่วงระหว่าง 6 ถึง 14 วันของรอบประจำเดือน ฮอร์โมนนี้จะช่วยให้ไข่ที่อยู่ในรังไข่มีการพัฒนาเต็มที่ในการเตรียมพร้อมเพื่อจะทำให้ไข่ตกออกมาภายหลัง เมื่อไข่มีการพัฒนาเต็มที่ ร่างกายเราจะปล่อยฮอร์โมนลูทิไนซิงออกมา ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ไข่ตก การตกไข่นี้อาจเกิดขึ้นภายใน 28 ถึง 36 ชั่วโมงหลังมีการปล่อยฮอร์โมนดังกล่าวการตกไข่ทำให้เกิดอาการอะไรได้บ้าง
เมื่อใกล้ถึงวันไข่ตกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดตกขาวขึ้นได้ ซึ่งตกขาวนี้จะใส และยืดหยุ่น มีความคล้ายคลึงกับไข่ขาวดิบ หลังจากไข่ตก ตกขาวนี้อาจลดลง และข้น หรือขุ่นขึ้น การตกไข่อาจเป็นสาเหตุของ:- มีเลือดออกเป็นจุดเล็กๆ หรือจางๆ
- เจ็บหน้าอก
- ความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น
- ปวดรังไข่ มีลักษณะที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว หรือเจ็บปวดด้านใดด้านหนึ่งของท้อง ที่เรียกว่าอาการปวดท้องจากตกไข่
การตกไข่จะพอดีกับช่วงรอบเดือนอย่างไร
รอบประจำเดือนจะเป็นตัวตั้งค่าวันที่เริ่มมีประจำเดือน เราสามารถนับวันไข่ตกได้ สิ่งนี้จะเป็นตัวเริ่มของระยะก่อนไข่ตก ที่เมื่อไข่มีการพัฒนาเต็มที่แล้ว ต่อมาก็จะปล่อยออกมาในช่วงตกไข่ ซึ่งเป็นเวลาราว 14 วัน หลังจากไข่ตกแล้วก็จะเข้าถึงช่วงหลังไข่ตก หากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นในช่วงเวลานี้ ฮอร์โมนจะรักษาเยื่อบุไว้จากการหลุดลอกในช่วงมีรอบเดือน หากไม่เป็น เช่น นั้นแล้ว รอบเดือนก็จะเริ่มไหลออกมาเข้าสู่วงจรรอบเดือน 28 วัน และเริ่มวงจรถัดไปไข่ตกสามารถเกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งครั้งในรอบเดียวได้ หรือไม่
ได้ ในบางคนอาจมีการตกไข่มากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งรอบวงจร ในบางคนอาจปล่อยไข่หลายใบในระหว่างการตกไข่หนึ่งครั้งทั้งแบบตามธรรมชาติ หรือเป็นส่วนของการช่วยในการเจริญพันธุ์ หากไข่หลายใบนั้นเกิดมีการปฏิสนธิขึ้น อาจเป็นผลให้เกิดการตั้งครรภ์แฝดเทียมการตกไข่เพียงครั้งเดียวสามารถตั้งครรภ์ได้ หรือไม่
ไข่จะสามารถปฏิสนธิได้ภายใน 12 ถึง 24 ชั่วโมงหลังจากถูกปล่อยออกมาเท่านั้น ส่วนสเปิร์มจะสามารถมีชีวิตอยู่ในท่อนำไข่ในสภาวะที่เหมาะสมได้นานมากกว่า 5 วัน ดังนั้นหากมีเพศสัมพันธุ์ในช่วงวันใกล้วันไข่ตก หรือในวันที่ไข่ตกก็อาจทำให้ตั้งครรภ์ได้ช่วงไข่ตกคือ อะไร
ช่วงหกวัน ซึ่งรวมวันที่ไข่ตกเราเรียกช่วงเวลานี้ว่า “ช่วงไข่สุก” ซึ่งเป็นช่วงที่หากมีเพศสัมพันธุ์อาจนำไปสู่การตั้งครรภ์ได้ สเปิร์มอาจรอคอยอยู่ได้หลายวันในท่อรังไข่หลังการมีเพศสัมพันธุ์ และพร้อมที่จะปฏิสนธิเมื่อไข่ถูกปล่อยออกมา เมื่อไข่อยู่ในท่อนำไข่จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 24 ชั่วโมง หลังจากนี้จะไม่สามารถปฏิสนธิได้ ดังนั้นก็คือ จะหมดช่วงไข่สุกไปเราสามารถติดตามการตกไข่ได้ หรือไม่
วิธีการคาดคะเนส่วนใหญ่เพื่อความแน่ใจการตกไข่มักทำด้วยการอัลตร้าซาว์น หรือตรวจเลือดเพื่อดูฮอร์โมนมีมักต้องทำที่โรงพยาบาล แต่ก็ยังมีอีกหลายวิธีในการติดตาม และคำนวณวันไข่ตกได้ที่บ้าน เช่น กัน- วิธีการวัด และพล็อตกราฟอุณหภูมิร่างกายขณะพัก (BBT) เป็นการตรวจวัดอุณหภูมิทุกๆเช้าตลอดรอบเดือนเพื่อบันทึกดูการเปลี่ยนแปลง วันตกไข่คือ วันที่อุณหภูมิของเราสูงขึ้นจากเส้นพื้นฐานเป็นเวลาสามวัน
- ใช้ชุดทดสอบหาวันตกไข่ (OPK) สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ใช้วิธีวัดโดยดูค่าฮอร์โมน LH ในปัสสาวะ การตกไข่อาจเกิดขึ้นภายในอีกสองวันถัดมาหลังเห็นผลเป็นขีดสีเข้มขึ้นมา
- เครื่องหาวันไข่ตก หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เป็นทางเลือกที่มีราคาแพง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มราคาราว $100 ถูกออกแบบมาเพื่อติดตามฮอร์โมนสองตัว -ฮอร์โมนเอสโตรเจน และ LH -สามารถระบุวันก่อนวันไข่สุกได้หกวัน
วิธีที่ดีที่สุดคือ อะไร
เป็นเรื่องยากที่จะบอกวิธีไหนดีกว่าวิธีไหน การเลือกใช้วิธีการวัด และพล็อตกราฟอุณหภูมิร่างกายขณะพักอาจมีผลกระทบจากปัจจัยอื่นๆที่อาจทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนบ่อย เช่น อาการเจ็บป่วย หรือการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องหาวันไข่ตกอาจเป็นทางเลือกที่อาจช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้แค่ภายในหนึ่งเดือนที่ใช้ แต่ก็ยังไม่ใช่เครื่องมือที่ดีสำหรับทุกคน ลองปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับตัวเลือกหากคุณ:- กำลังเข้าสู่วัยทอง
- เพิ่งเริ่มมีรอบเดือนเมื่อไม่นานมานี้
- มีการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด
- เพิ่งคลอดบุตร
ควรมีเพศสัมพันธ์บ่อยแค่ไหนหากต้องการตั้งครรภ์
คุณสามารภมีเพศสัมพันธ์ได้เพียงครั้งเดียวในช่วงระหว่างวันไข่สุกเพื่อประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ คู่รักที่กำลังพยายามตั้งครรภ์จะต้องเพิ่มโอกาสด้วยการมีเพศสัมพันธ์ทุกวัน หรือวันเว้นวันในช่วงไข่สุก เวลาที่ดีที่สุดในการตั้งครรภ์คือ ภายในสองวันก่อนไข่ตก และวันที่ไข่ตกหากไม่ได้ต้องการการตั้งครรภ์ควรทำอย่างไร
หากคุณต้องการการป้องกันการตั้งครรภ์ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การคุมกำเนิดในช่วงวันไข่สุก ซึ่งมีหลายวิธี การใช้ถุงยางอนามัยดีกว่าไม่ป้องกันอะไรเลย คุณอาจสบายใจมากขึ้นหากเลือกใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากไข่มีการปฏิสนธิ
หากไข่มีการปฏิสนธิ ไข่จะเริ่มกระบวนการแบ่งตัวเองออกเป็นสองเซลล์ จากนั้นก็สี่เซลล์ และไปเรื่อยๆจนกระทั่งเป็น 100 เซลล์ของตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสท์ ตัวอ่อนบลาสโตซีสท์จะต้องมีการฝังตัวสำเร็จในมดลูก การตั้งครรภ์จึงจะเกิดขึ้น เมื่อมีการฝังตัวแล้ว ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนจะช่วยทำให้เยื่อบุมดลูกหนาขึ้น ซึ่งฮอร์โมนนี้จะส่งสัญญานไปยังสมองไม่ให้เยื่อบุหลุดลอกตัวออกมา ดังนั้นตัวอ่อนก็จะสามารถพัฒนาเป็นทารกต่อไปได้หากไข่ไม่มีการปฏิสนธิจะเกิดอะไรขึ้น
หากไข่ไม่มีการปฏิสนธิขึ้นจากสเปิร์มในรอบเดือน ไข่ก็จะสลายตัว ฮอร์โมนจะส่งสัญญานบอกร่างกายให้มการลอกหลุดของเยื่อบุมดลูกในช่วงมีรอบเดือน ซึ่งใช้เวลา 2-7 วันจะเป็นอย่างไรหากมีการตกไข่ที่ไม่ปกติ
หากคุณติดตามวันไข่ตกจากหนึ่งเดือนไปยังเดือนถัดไป และสังเกตเห็นว่าการตกไข่ของคุณไม่ปกติในบางรายอาจไม่มีการตกไข่เลย ควรปรึกษาแพทย์ ความเครียด หรือการโภชนาการอาจส่งผลต่อวันที่ไข่ตกแน่นอนผิดเพี้ยนไปได้ หรือโรคบางชนิด เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ ภาวะขาดประจำเดือน ก็อาจทำให้การตกไข่ผิดปกติ หรือหยุดไปเลยได้ โรคดังกล่าวนี้อาจเป็นสาเหตุที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสมดุลของฮอร์โมน ซึ่งยังรวมไปถึงการทำให้มีขนขึ้นที่ร่างกาย หรือใบหน้ามากเกินไป เป็นสิว และแม้แต่ภาวะการมีบุตรยากปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
หากคุณต้องการตั้งครรภ์ในอนาคตอันใกล้นี้ ให้ปรึกษาแพทย์ล่วงหน้า แพทย์จะสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องการตกไข่ และการติดตามโปรแกรมนับวันไข่ตก รวมถึงวิธีในการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ แพทย์อาจช่วยวินิจฉัยหาโรคที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้การตกไข่ผิดปกติ หรืออาการไม่ปกติอื่นๆได้อาหารที่ดีที่ควรทานเมื่อตกไข่
โภชนาการมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพการเจริญพันธุ์โดยรวม รวมถึงกระบวนการตกไข่ แม้ว่าจะไม่มี “อาหารสำหรับการตกไข่” โดยเฉพาะ แต่การรับประทานอาหารที่มีความสมดุลและมีคุณค่าทางโภชนาการสามารถส่งผลดีต่อการเจริญพันธุ์ได้ ข้อควรพิจารณาด้านโภชนาการบางประการที่อาจสนับสนุนการตกไข่และสุขภาพการเจริญพันธุ์โดยรวม:1. อาหารที่สมดุล:
- ตั้งเป้ารับประทานอาหารที่สมดุลซึ่งประกอบด้วยผลไม้ ผัก ธัญพืชเต็มเมล็ด โปรตีนไร้ไขมัน และไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้รับสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วน
2. โฟเลต:
- โฟเลต (วิตามินบี 9) มีความสำคัญต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ในระยะเริ่มต้น พบได้ในผักใบเขียว ผลไม้รสเปรี้ยว ถั่ว และธัญพืชเสริมอาหาร
3. เหล็ก:
- ธาตุเหล็กมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมและอาจมีความสำคัญสำหรับผู้หญิงที่มีประจำเดือนมามาก แหล่งธาตุเหล็กที่ดี ได้แก่ เนื้อไม่ติดมัน ถั่ว ถั่วเลนทิล และซีเรียลเสริมอาหาร
4. แคลเซียม:
- แคลเซียมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพกระดูก ผลิตภัณฑ์นม นมจากพืชเสริม ผักใบเขียว และอัลมอนด์เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดี
5. กรดไขมันโอเมก้า 3:
- กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่พบในปลาที่มีไขมัน (เช่น ปลาแซลมอน) เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย และวอลนัท มีความสำคัญต่อสุขภาพการเจริญพันธุ์
6. โปรตีน:
- รวมแหล่งโปรตีนไร้ไขมัน เช่น สัตว์ปีก ปลา ถั่ว ถั่วเลนทิล และเต้าหู้ เพื่อสนับสนุนสุขภาพโดยรวมและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
7. สารต้านอนุมูลอิสระ:
- สารต้านอนุมูลอิสระที่พบในผักและผลไม้ช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหาย ผลเบอร์รี่ ผลไม้รสเปรี้ยว และผักใบเขียวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
8. วิตามินดี:
- วิตามินดีมีความสำคัญต่อสุขภาพกระดูกและอาจมีบทบาทในการเจริญพันธุ์ แหล่งที่มา ได้แก่ นมเสริมหรือนมจากพืช ปลาที่มีไขมัน และการสัมผัสกับแสงแดด
9. สังกะสี:
- สังกะสีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ DNA และอาจมีบทบาทในการเจริญพันธุ์ แหล่งที่ดีได้แก่ เนื้อไม่ติดมัน ถั่ว เมล็ดพืช และพืชตระกูลถั่ว
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.webmd.com/baby/healthtool-ovulation-calculator
- https://www.womenshealth.gov/ovulation-calculator
- https://www.nhs.uk/common-health-questions/womens-health/how-can-i-tell-when-i-am-ovulating/
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น