เชื้อ (Helicobacter pylori) h. pylori คือเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เป็นเชื้อโรคที่สามารถเข้าสู่ร่างกายและอาศัยอยู่ในทางเดินอาหาร หลังจากผ่านไปหลายๆปี เชื้อนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลที่เรียกว่าแผลเปื่อย เป็นแผลในเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนบน ในบางรายอาจเกิดการติดเชื้อในกระเพาะอาหารที่นำไปสู่มะเร็งกระเพาะอาหาร
การติดเชื้อร่วมกับเชื้อเอชไพโลไรคือเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไป ประมาณสองในสามของประชากรโลกมักมีเชื้อดังกล่าว เชื้อเอชไพโลไรไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดแผลเปื่อยหรือทำให้เกิดอาการอื่นๆ หากมีปัญจากภาวะดังกล่าว การรับประทานยาจะสามารถฆ๋าเชื้อโรคและช่วยรักษาแผลได้
ยิ่งอยู่ในบริเวณที่อยู่ที่มีแหล่งน้ำที่สะอาดและถูกสุขอนามัย ยิ่งมีโอกาสจะได้รับเชื้อแบคทีเรียน้อยลง เพื่อสร้างเสริมนิสัยในการดูแลสุขภาพที่ดีก็จะสามารถข่วยป้องกันตัวเองและลูกๆของคุณให้ไกลห่างจากเชื้อเอชไพโลไรได้
เชื้อไพโลไรจะทำให้ป่วยได้อย่างไร
เมื่อหลายสิบปีก่อนแพทย์เคยคิดว่าแผลเปื่อยเกิดจากความเครียด อาหารรสจัด การสูบบุหรี่และพฤติกรรมการใช้ชีวิตอื่นๆ แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบเชื้อเอชไพโลไรในปี 1982 ก็ทำให้พบว่าเชื้อโรคคือสาเหตุส่วนใหญ่ของแผลในกระเพาะอาหาร หลังจากเชื้อเอชไพโลไรเข้าสู่ร่างกาย เชื้อก็จะเข้าจู่โจมที่เนื้อเยื่อกระเพาะอาหาร ซึ่งตามปกติจะช่วยปกป้องคุณจากกรดของร่างกายที่มีไว้เพื่อย่อยอาหาร ทันทีที่เชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายสร้างความเสียหายของเนื้อเยื่อได้มากพอ กรดก็จะสามารถผ่านเข้าไปที่เนื้อเยื่อได้ซึ่งจะทำให้เกิดแผลขึ้น แผลที่เกิดขึ้นอาจมีเลือดออก เป็นสาเหตุของการติดเชื้อหรือไม่ขวางไม่ให้อาหารเดินทางผ่านทางเดินอาหาร เชื้อเอชไพโลไรสามารถรับเชื้อผ่านทางอาหาร น้ำหรือภาชนะเครื่องใช้ มักพบเจอได้ในประเทศหรือชุมชนส่วนใหญ่ที่ขาดแคลนน้ำสะอาดหรือระบบระบายน้ำเสียที่ดี เรายังสามารถได้รับเชื้อผ่านการสัมผัสกับน้ำลายน้ำลายหรือของเหลวที่มีการติดเชื้ออื่นๆของคน หลายๆคนได้รับเชื้อเอชไพโลไรในระหว่างวัยเด็ก แต่วัยผู้ใหญ่ก็สามารถรับเชื้อได้เช่นกัน เชื้อโรคนี้จะอาศัยอยู่ในร่างกายได้นานหลายปีก่อนจะแสดงอาการ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักไม่ค่อยเกิดแผลขึ้น แพทย์เองก็ยังไม่แน่ใจว่าทำไมถึงมีบางคนเท่านั้นที่เป็นแผลหลังการติดเชื้อ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: โรคที่เกิดจากนกพิราบอ่านต่อที่นี่อาการ
หากมีแผลอาจรู้สึกมวนหรือปวดแสบร้อนที่ท้อง อาการจะมาแล้วก็หายไป แต่ในบางคนอาจรู้สึกมีอาการมากขึ้นหากปล่อยให้ท้องว่าง เช่นในช่วงเวลาระหว่างมื้ออาหารหรือในช่วงกลางดึก อาการอาจเป็นอยู่ไม่กี่นาทีหรืออาจมีอาการนานหลายชั่วโมง และอาจรู้สึกดีขึ้นหลังได้รับประทานอาหาร ดื่มน้ำหรือรับประทายาลดกรดเข้าไป สัญญานของแผลในกระเพาะอาหารรวมไปถึง: แผลเปื่อยสามารถทำให้เลือดออกเข้าไปในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ซึ่งสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ควรได้รับยาทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้:- อุจจาระปนเลือดสีแดงเข้มหรือดำ
- มีปัญหาการหายใจ
- วิงเวียนศีรษะหรือหน้ามืด
- รู้สึกอ่อนล้ามากโดยไม่มีเหตุผล
- สีผิวซีดเซียว
- อาเจียนเป็นเลือดหรือดูมีสีคล้ายสีกาแฟบด
- ปวดท้องแปลบอย่างรุนแรง
- ปวดท้องหรือท้องบวม
- คลื่นไส้
- ไม่รู้สึกหิว
- รู้สึกอิ่มหลังรับประทานอาหารเพียงแค่เล็กน้อย
- อาเจียน
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบเหตุผล
การวินิจฉัยโรค
หากยังไม่มีอาการของแผลในกระเพาะอาหาร แพทย์อาจจะยังไม่ตรวจหาเชื้อเอชไรโลไร แต่หากมีอาการทั้งในตอนปัจจุบันหรือเคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต สิ่งที่ดีที่สุดคือการได้รับการตรวจ ยาเช่นยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์สามารถสร้างความเสียหายให้เนื้อเยื่อกระเพาะอาหาร ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องหาสาเหตุให้เจอว่าอะไรทำให้เกิดอาการเพื่อจะสามารถรักษาได้ทันที ในตอนเริ่มแรกแพทย์จะสอบถามประวัติโรคประจำตัว อาการและยาที่กำลังรับประทาน จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกายซึ่งรวมไปถึงการกดตรวจที่หน้าท้องเพื่อดูอาการบวม กดเจ็บหรือปวด และอาจได้รัการตรวจอื่นๆเช่น:- ตรวจเลือดและอุจจาระ เพื่อช่วยตรวจหาการติดเชื้อ
- การตรวจหาเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร การตรวจทำโดยดื่มของเหลวพิเศษที่มีสสารที่เรียกว่ายูเรีย จากนั้นให้หายใจเข้าไปในถุง จากนั้นแพทย์จะส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการ หากมีเชื้อเอชไพโลไร เชื้อแบคทีเรียจะเปลี่ยนยูเรียในร่างกายไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ และการตรวจจากห้องปฏิบัติการจะแสดงให้เห็นว่าในลมหายใจจะมีค่าระดับก็าซที่สูงกว่าปกติ
- การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ในโรงพยาบาลแพทย์จะใช้ท่อที่มีกล้องเล็กๆติดอยู่ที่เรียกว่าเอนโดสโคป เพื่อดูลงไปในลำคอและเข้าไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนบน การส่องกล้องเข้าไปเพื่อเก็บตัวอย่างเอาไปตรวจเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย ในการตรวจอาจหลับหรือตื่นในระหว่างการตรวจ แต่คนไข้จะได้รับยาที่ทำให้รู้สึกสบายในระหว่างการตรวจ
- การตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ที่โรงพยาบาลแพทย์จะให้ดื่มของเหลวที่เรียกว่าแบเรี่ยมและแพทย์จะเอกซเรย์ ของเหลวดังกล่าวจะเข้าไปเคลือบคอและกระเพาะอาหาร ทำให้สามารถเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น
- การทำซีทีสแกน เป็นการเอกซเรย์ที่ทำให้เห็นภาพภายในร่างกายที่ละเอียดมากขึ้น
- การตรวจร่างกาย
- การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาโรคโลหิตจาง ร่างกายจะมีเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากมีเนื้องอกที่มีเลือดออก
- การตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ ซึ่งเป็นการอุจจาระเพื่อหาดูว่ามีเลือดออกที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นหรือไม่
- ส่องกล้องเอนโดสโคป
- ส่งชิ้นเนื้อตรวจ แพทย์จะนำเอาเนื้อเยื่อชิ้นเล็กๆจากกระเพาะอาหารไปตรวจหาสัญญานของโรคมะเร็ง ซึ่งแพทย์อาจทำในระหว่างการส่องกล้องเอนโดสโคป
- การตรวจที่ทำให้เห็นภาพภายในร่างกายที่ละเอียดมากขึ้นเช่นการทำซีทีสแกนหรือการทำเอ็มอาร์ไอ
การรักษาเชื้อเอชไพโลไร
หากมีแผลเปื่อยที่มีสาเหตุมาจากเชื้อเอชไพโลไร คุณจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อฆ่าเชื้อโรค รักษาเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารและรักษาแผลจากการกลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งปกติมักใช้เวลาในการรักาาให้ดีขึ้นราว 1 ถึง 2 สัปดาห์ แพทย์จะบอกให้ทราบถึงความแตกต่างชนิดของยาสองสามชนิด ซึ่งมีทางเลือกดังต่อไปนี้:- ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียในร่างกายเช่น อะม็อกซิลิน คลาริโทรมัยซิน (Biaxin) เมโทรนิดาโซล (Flagyl) เตเตร้าไซคลิน (Sumycin) ทินิดาโซล (Tindamax) ซึ่งอาจต้องได้รับอย่างน้อยสองชนิดในกลุ่มยาดังกล่าวนี้
- ยาช่วยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารด้วยการไปปิดกั้นปั้มเล็กๆที่เป็นตัวผลิตกรด เช่น เด็กซ์แลนโซปราโซล (Dexilant) อีโซเมปราโซล แลนโซพราโซล (Prevacid) โอเมพราโซล (Prilosec) แพนโทพราโซล (Protonix) หรือราบีพราโซล (Aciphex)
- บิสมัท ซับซาลิไซเลต อาจช่วยฆ่าเชื้อเอชไพโลไรร่วมกับยาปฏิชีวนะ
- ยาที่ไปปิดกั้นสารเคมีฮีสตามีน ซึ่งเป็นการช่วยเตรียมกระเพาะอาหารให้พร้อมสำหรับกรดที่มากขึ้น เช่น ไซเมทิดีน (Tagamet) ฟาโมทิดีน (Fluxid, Pepcid) ไนซาทิดีน (Axid)หรือรานิทิดีน (Zantac)
การป้องกัน
เราสามารถป้องกันตัวเองจากการได้รับการติดเชื้อเอชไพโลไรด้วยขั้นตอนเดียวกันกับการป้องกันเชื้อโรคชนิดอื่นๆ:- ล้างมือให้สะอาดหลังการใช้ห้องน้ำและก่อนการเตรียมหรือรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงอาหารหรือน้ำที่ไม่สะอาด
- ไม่รับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุกที่ทั่วถึง
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้บริการจากคนที่ไม่ล้างมือ
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น