อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ผิวของคุณมีอาการคัน

ผิวหนังที่มีอาการคันและระคายเคือง บางครั้งคุณรู้สึกอยากจะเกาเพื่อบรรเทาอาการคันเหล่านั้น บางครั้งสาเหตุนี้อาจจะเกิดขึ้นเพราะผิวอ่อนแอ อาการแพ้ หรืออาการป่วยของผิว  การเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาอาการคันเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากเราไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด แพทย์สามารถหาสาเหตุและรักษาอาการได้อย่างถูกต้อง  หรือบางครั้งแพทย์สามารถจ่ายยาทาแก้ผื่นคันที่เหมาะกับอาการเพื่อมาทารักษาได้เองที่บ้าน

เงื่อนไขที่ทำให้เกิดอาการคัน

ผิวแห้ง (Itchy skin)

ผิวจะมีอาการคันผิวหนัง ผิวแห้ง คันและแตก ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นตามขาแขนและหน้าท้อง สามารถแก้ไขได้ด้วยการเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทามอยเจอร์ไรเซอร์  เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว เพื่อไม่ให้ผิวแห้งคัน อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับผิวแห้ง

แพ้อาหาร (Food allergy)

หากมีการแพ้อาหารเกิดขึ้น และมีอาการแสดงออกมาตามผิว คุณควรเข้าพบแพทย์โดยด่วน เนื่องจาก บางครั้งอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การแพ้อาหารอาจจะเกิดขึ้นจาก
  • เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณมีปฎิกริยาตอบสนองกับสารอาหารหรือเครื่องดื่มที่รับเข้าไป ว่าเป็นอาหารที่ร่างกายคุณไม่สามารถรับได้ 
  • อาการมีตั้งแต่เล็กน้อยถึงขั้นรุนแรง อาจมีการจาม ตาบวม คัน มีผื่นลมพิษ ปวดท้องคลื่นไส้อาเจียนและหายใจไม่ออก
  • ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของคุณ อาการอาจเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาที หรืออาจจะให้หลังเป็นชั่วโมง หลังจากรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้
  • อาหารส่วนใหญ่ที่คนอาจจะแพ้ได้ มีดังนี้ นมวัวไข่ ถั่วลิสง ปลา ธัญพืช ข้าวสาลี ถั่วเหลือง
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ้อาหาร

โรคตับแข็ง (Cirrhosis)

  • ท้องเสีย ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด หน้าท้องบวม 
  • ผิวช้ำง่าย และมีเลือดออกง่าย 
  • เส้นเลือดเห็นชัดเหมือนใยแมงมุมใต้ผิว 
  • ผิวหรือตาเหลือง และมีอาการคันที่ผิว
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคตับแข็ง

ผื่นผ้าอ้อม (Diaper rash)

  • มีผื่นแพ้บริเวณที่สัมผัสกับผ้าอ้อม 
  • ผิวแดงระคายเคือง
  • ผิวมีร้อนเมื่อสัมผัส 
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับผื่นผ้าอ้อม

ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis)

โรคผิวหนังผื่นแพ้สัมผัส อาการ
  • ผื่นแพ้เกิดภายใน หนึ่งชั่วโมงสามารถมีอาการ หนึ่งวันหลังจากการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้
  • ผื่นแดง มองเห็นได้และปรากฏขึ้นที่ผิวของคุณที่สัมผัสกับสารระคายเคือง
  • ผิวที่แพ้มีอาการคัน แดง ลอก
  • มีแผลพุพองที่ไหลซึม หรือผิวลอก
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับผิวหนังอักเสบ

ลมพิษ (Urticaria)

  • คันที่เกิดขึ้นหลังจากการสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้
  • ผิวร้อนแดงและมีอาการเจ็บผิวเล็กน้อยเมื่อสัมผัส 
  • อาจจะเกิดขึ้นเป็นวงเล็กๆ เหมือนวงแหวนหรืออาจจะใหญ่และเล็กปะปนกันไป
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับลมพิษ

ผื่นแพ้ (Rash)

หากเกิดอาการนี้นับว่าเป็นอาการที่มีความอันตรายสูง ควรพบแพทย์โดยด่วน
  • สีผิวเปลี่ยนไปเห็นได้อย่างชัดเจนตรงที่เป็นผื่นคัน
  • อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นแมลงสัตว์กัดต่อย อาการแพ้ผลข้างเคียงของยา การติดเชื้อที่ผิวหนัง ติดเชื้อรา การติดเชื้อที่ผิวหนังจากแบคทีเรีย โรคแพ้ภูมิตัวเอง
  • อาการขึ้นผื่นแดงนี้สามารถรักษาเองได้ที่บ้าน แต่หากมีอาการรุนแรงร่วมกับอาการป่วย วิงเวียน อาเจียน หรือหายใจไม่สะดวก คุณอาจจะต้องเข้ารับการรักษาโดยด่วน
  • หน้าเป็นปื้นแดง คัน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับผื่นแพ้

โรคผิวหนังชนิดเป็นตุ่มพุพอง (Impetigo)

  • พบมากในทารกและเด็ก 
  • ผื่นตุ่มพุพองมักจะเกิดบริเวณปาก คาง จมูก
  • เป็นผื่นระคายเคืองและมีแผลพุพองอาจมีหนอง ผิวบริเวณรอบเป็นสีน้ำตาล
  • เป็นตุ่มคันหรือตุ่มใส ไม่คัน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคผิวหนังชนิดเป็นตุ่มพุพอง

สังคัง (Jock itch)

  • ผิวแดงคัน ร่วมกับผิวไหม้ที่บริเวณขาหนีบ
  • ผิวลอก แตกบริเวณขาหนีบ
  • ผื่นแดงบริเวณขาหนีบจะแย่ลงหากมีการเสียดสี
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับสังคัง

กลาก (Ringworm)

  • มีลักษณะเป็นวงกลมแดงขุยๆ ตามชอบวงกลม
  • ผิวด้านในวงกลมอาจจะเป็นผิวปกติ แต่ตามขอบโดยรอบจะเป็นขุย
  • มีอาการคัน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคกลาก

หิด (Scabies)

  • อาการอาจใช้เวลาสี่ถึงหกสัปดาห์จึงจะปรากฏ ผื่นคัน
  • อาจเกิดอาการแพ้รุนแรงอาจเป็นผื่นเม็ดคันมีแผลพุพองเล็ก ๆ หรือผิวลอก
  • ผิวมีเส้นขาว ๆ เป็นลายเส้น ๆ 
  • มีตุ่มขึ้นตามตัว คัน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคหิด

โรคหัด (Measles)

  • มีไข้เจ็บคอ ตาแดงเป็นน้ำ เบื่ออาหาร ไอและน้ำมูกไหล 
  • ผื่นแดงจะกระจายบริเวณใบหน้าและร่างกายสามถึงห้าวันหลังจากมีอาการ 
  • มีจุดสีแดงเล็ก ๆ ที่มีจุดศูนย์กลางสีขาวปรากฏขึ้นภายในปาก
  • จุดแดงใต้ผิวหนัง ไม่คันหรือคัน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคหัด

โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)

  • ผิวเป็นเกล็ดสีเงินแห้งและเป็นหย่อม ๆ 
  • โดยทั่วไปจะอยู่บนหนังศีรษะข้อศอกหัวเข่าและหลังส่วนล่าง 
  • อาจจะมีอาการคันหรือไม่คัน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคสะเก็ดเงิน

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox)

  • มีแผลพุพองแดงคัน หรือตุ่มแดงคันมีน้ำใส ๆ ความรุนแรงเป็นตามระยะ เกิดได้ทั่วตัว
  • ผื่นจะมาพร้อมกับไข้ปวดเมื่อยร่างกายเจ็บคอและเบื่ออาหาร
  • เป็นโรคติดต่อ
  • อาจมีตุ่มคันที่มือ หรือที่อื่น ๆ ทั่วร่างกาย
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคอีสุกอีใส

สาเหตุของอาการคัน

อาการคันสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วทุกส่วนของร่างกาย มีสาเหตุที่เป็นไปได้มากมายและหลากหลาย มันอาจเป็นผลมาจากบางสิ่งที่ร้ายแรงมากเช่นไตวายหรือเบาหวาน หรืออาจมาจากผิวแห้งหรือแมลงกัดต่อย

สภาพผิว

สภาพผิวที่แตกต่างกันออกไป สภาพของผิวสามารถทำให้เกิดอาการคันที่ผิวหนัง ผิวต่อไปนี้สามารถมีผลต่อบริเวณผิวหนังบนร่างกาย:
  • ผิวหนังอักเสบ: ผิวหนังมีการอักเสบ
  • เกลื้อน: โรคผิวหนังเรื้อรังที่มีอาการคันผื่นคันเป็นสะเก็ด
  • โรคสะเก็ดเงิน: โรคแพ้ภูมิตัวเองที่ทำให้เกิดผื่นแดงและระคายเคืองผิว คันและผิวลอกตกสะเก็ด
  • โรคผิวหนัง: เป็นผื่นแดงคัน ผื่นแดงที่เกิดจากแรงกดบนผิวหนัง
การติดเชื้อที่ทำให้เกิดอาการคัน ได้แก่:
  • โรคอีสุกอีใส 
  • โรคหัด 
  • ผื่นเชื้อรา 
  • ไรรวมถึงตัวเรือด 
  • แมลงปรสิตเล็ก ๆ 
  • พยาธิเข็มหมุด
  • หิด 
  • ผิวระคายเคือง
สารที่ทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง และทำให้คันมีมากมายทั่วไป  พืชพิษไม้เลื้อยเช่นไอวี่และต้นโอ๊กพิษ แมลงเช่นยุงผลิตสารที่ทำให้เกิดอาการคัน บางคนมีอาการคันเมื่อสัมผัสกับขนสัตว์ น้ำหอม สบู่หรือสีย้อมบางชนิดและสารเคมี การแพ้รวมถึงการแพ้อาหารสามารถทำให้ผิวระคายเคืองได้เช่นกัน

ระบบภายในผิดปกติ 

โรคภายในบางชนิดที่มีอาการรุนแรง สามารถส่งผลต่อสภาพผิวทำให้คัน โรคต่อไปนี้อาจทำให้เกิดอาการคันทั่วไปตามผิวหนัง:

ความผิดปกติของระบบประสาท

โรคอื่น ๆ สามารถทำให้เกิดอาการคันได้เช่นกันโดยโรคจำพวกนี้มีผลต่อประสาท มีดังนี้:

การใช้ยา

ยาสามัญต่อไปนี้อาจจะมีผลข้างเคียงทำให้เกิดผื่นและคันได้มาก :
  • antifungals 
  • ยาปฏิชีวนะ (โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะที่ใช้ซัลฟา) 
  • ยาแก้ปวด 
  • anticonvulsant medication

การตั้งครรภ์ 

ผู้หญิงบางคนมีอาการคันเมื่อตั้งครรภ์ มักจะเกิดขึ้นที่บริเวณหน้าอก แขน หน้าท้อง หรือต้นขา หากเคยเป็นโรคผิวหนังมาก่อนแล้ว การตั้งครรภ์อาจจะทำให้อาการแย่ลง

การวินิจฉัยสาเหตุของอาการคันของคุณ

แพทย์จะทำการตรวจสอบร่างกายและจะถามคำถามคุณหลายข้อเกี่ยวกับอาการของคุณเช่น:
  • อาการระคายเคืองมีมานานแค่ไหนแล้ว
  • มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ หรือไม่
  • ผิวได้มีการสัมผัสสารระคายเคืองหรือไม่
  • ปกติมีอาการแพ้หรือไม่
  • มีการคันรุนแรงแค่ไหน 
  • มีการทานยาอะไรหรือไม่ 
คุณอาจต้องผ่านการทดสอบเพิ่มเติมหากแพทย์ของคุณไม่สามารถระบุสาเหตุของอาการคันได้ จากคำตอบและการตรวจร่างกาย การทดสอบอาจรวมถึง:
  • การตรวจเลือด: อาจบอกสาเหตุได้
  • ทดสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ : สามารถแยกแยะปัญหาต่อมไทรอยด์ได้
  • การตรวจชิ้นเนื้อผิวหนัง: สามารถตรวจสอบได้ว่าคุณมีการติดเชื้อหรือไม่
เมื่อแพทย์ระบุสาเหตุของอาการคัน คุณสามารถได้รับวิธีรักษาอาการคันตามผิวหนังที่เป็นให้ถูกวิธี หากสาเหตุเป็นโรคหรือการติดเชื้อแพทย์จะแนะนำแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับปัญหาเบื้องต้น เมื่อสาเหตุไม่ได้รุนแรง แพทย์อาจสั่งยาทาชนิดครีมที่จะช่วยบรรเทาอาการคัน ทั้งนี้ไม่ควรซื่อยาแก้คันตามผิวหนังเองเนื่องจากอาจจะไม่ได้รักษาได้ตรงต้นเหตุ

คุณควรพบแพทย์ ถ้าหากคุณ : 

  • อาการคันตามตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อาการคันรุนแรง
  • พบอาการอื่น ๆ ร่วมกับอาการคัน
การพบแพทย์เพื่อการดูแลสุขภาพของคุณเป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัยเมื่อสาเหตุไม่ชัดเจนเนื่องจากสาเหตุบางอย่างของอาการคันนั้นรุนแรง แต่ยังสามารถรักษาได้

วิธีแก้อาการคันเองที่บ้าน

ที่บ้านมีหลายอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการคันหรือโรคคันที่ผิวหนัง สามารถลองใช้ :
  • ใช้มอยเจอร์ไรเซอร์บำรุงเพื่อให้ผิวชุ่มชื้น
  • หลีกเลี่ยงการเกาซึ่งอาจทำให้อาการคันแย่ลง
  • ไม่ใช่สบู่ ผงซักฟอกและสารอื่น ๆ ที่มีน้ำหอมและสีย้อมสี
  • อาบน้ำเย็นด้วยผงโอ๊ตหรือเบกกิ้งโซดา
  • ใช้ครีมที่ช่วยบรรเทาอาการคัน
  • รับประทานยาบรรเทาอาการคัน
  • ลองใช้สบู่แก้คัน
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด