เดจาวู (Dejavu) คืออะไร
เดจาวู คือ ความรู้สึกแปลกๆ ที่ผู้คนสัมผัสได้ว่าบางสิ่งเหมือนเคยเกิดขึ้นมาแล้ว แม้ว่าคุณจะรู้ตัวว่าคุณไม่ใช่ความจริง สมมติว่าได้ออกไปพายเรือเป็นครั้งแรก ซึ่งไม่เคยทำมาก่อนเลย แต่จู่ ๆ กลับเกิดความทรงจำที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวแขนแบบเดียวกันภายใต้ท้องฟ้าสีฟ้าแบบเดียวกัน โดยมีคลื่นซัดเข้าที่เท้าพร้อม ๆ กับที่จำได้ หรือบางทีเมื่อมีโอกาสออกสำรวจเมืองใหม่เป็นครั้งแรก แต่กลับรู้สึกราวกับว่าเคยเดินไปตามทางเท้าที่มีต้นไม้เรียงรายแบบนั้นมาก่อน ผู้คนมักรู้สึกสับสน และสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น โดยเฉพาะเมื่อกำลังประสบกับเดจาวูเป็นครั้งแรก ซึ่งไม่มีสิ่งใดที่ต้องกังวล แม้ว่าเดจาวูสามารถเกิดขึ้นเนื่องจากอาการชัก โดยพบว่าผู้ที่มีอาการของโรคลมชักจากลมบ้าหมูมักเกิดอาการนี้ แต่ก็พบว่าเดจาวูเกิดขึ้นในผู้คนที่ไม่มีปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าอาการนี้เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน แต่จากการประมาณการที่แตกต่างกัน พบว่าประมาณ 60 ถึง 80% ของประชากรบนโลกต่างเคยมีอาการนี้กันมาแล้ว แม้ว่าเดจาวูจะพบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้ที่ยังหนุ่มสาว แต่ผู้เชี่ยวชาญยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจน (อาจไม่ใช่ความผิดพลาดของมิติ) อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญมีทฤษฎีบางประการเกี่ยวกับสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดเดจาวูเกิดจากอะไร
นักวิจัยไม่สามารถศึกษาเดจาวูได้ง่ายดายนัก เพราะอาการมักเกิดขึ้นโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า และมักเกิดในคนที่ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพใด ๆ ยิ่งไปกว่านั้นอาการเดจาวูมักจบลงอย่างรวดเร็ว ทันทีที่เริ่มก็สามารถหายวับไปอย่างรวดเร็วได้ หากคุณไม่พบว่ามีอาการที่เรียกว่าเดจาวู คุณก็อาจไม่รู้เลยว่าตนเองมีอาการนี้ คุณอาจรู้สึกไม่แน่ใจเล็กน้อย ก่อนที่จะรีบนำความรู้สึกนี้ออกไป ผู้เชี่ยวชาญอาจระบุสาเหตุของเดจาวูไว้หลายประการ ส่วนมากมักเห็นความเกี่ยวข้องกับความจำไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยมีทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับมาก ดังต่อไปนี้ :การรับรู้ที่แยกจากกัน
ทฤษฎีการรับรู้ที่แยกจากกัน ชี้ให้เห็นว่าเดจาวูเกิดขึ้นเมื่อคุณเห็นบางสิ่งที่แตกต่างกัน 2 ครั้ง ครั้งแรกอาจเห็นบางสิ่งในมุมสายตาที่ไม่ชัดเจน หรือเห็นในขณะที่ไม่มีสมาธิ สมองของคุณสามารถสร้างความทรงจำจากสิ่งที่เห็นได้ ทำให้เกิดข้อมูลในจำนวนไม่มาก ที่สามารถเห็นได้คราว ๆ และอาจไม่ครบถ้วน ดังนั้นอาจต้องใช้เวลานานในการรับรู้ หากมุมมองแรกที่เห็นเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง เช่นเคยมองเห็นมุมของเนินเขา แต่เมื่อไม่ใด้ให้ความสนใจ ก็เลยไม่รู้ว่าเคยเห็นมันมาก่อน แต่สมองของคุณยังสามารถจำการรับรู้ก่อนหน้าได้ แม้ว่าคุณจะไม่รู้ก็ตาม ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นเดจาวู อีกนัยหนึ่งคือเมื่อไม่ได้ให้ความสนใจอย่างเต็มที่ในครั้งแรก การรับรู้ของคุณอาจรู้สึกเหมือน 2 เหตุการณ์ที่แตกต่างกัน แต่มันคือการรับรู้ที่ต่อเนื่องของเหตุการณ์เดียวกันวงจรสมองทำงานผิดปกติเล็กน้อย
อีกทฤษฎีหนึ่ง คาดว่าเดจาวูเกิดขึ้นเมื่อสมองของคุณ “บกพร่อง” ดังนั้นการพูดและประสบเหตุการณ์ต่าง ๆ กับความผิดปกติทางไฟฟ้าในช่วงสั้น ๆ ทำให้เกิดความรู้สึกคล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างอาการชักของโรคลมชัก กล่าวอีกนัยคืออาจเกิดขึ้นจากการผสมปนเปกัน เมื่อสมองติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กับความทรงจำที่สมองจดจำได้ สมองของคุณรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ถูกต้องว่าเป็นความทรงจำ หรือสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ความผิดปกติของสมองประเภทนี้โดยทั่วไปไม่ก่อให้เกิดความกังวล เว้นแต่หากเกิดเป็นประจำ ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าการทำงานผิดปกติของสมองอีกประเภทหนึ่งอาจทำให้เกิดเดจาวู เมื่อสมองของคุณรับข้อมูล โดยทั่วไปจะมีการนำข้อมูลเหล่านั้นไปไปจัดเก็บภายในระยะเวลาอันสั้น หรือจัดเก็บเป็นหน่วยความจำระยะยาว ทฤษฎีนี้ชี้ให้เห็นว่าบางครั้งความทรงจำระยะสั้นอาจใช้ทางลัดไปยังหน่วยความจำระยะยาวได้ สิ่งนี้ทำให้รู้สึกเหมือนคุณกำลังเรียกคืนความทรงจำเมื่อนานมาแล้วแทนที่จะเป็นสิ่งที่พึ่งเกิดในวินาทีที่ผ่านมาอีกทฤษฎีหนึ่งเสนอคำอธิบายของการประมวลผลที่ล่าช้า
เมื่อสังเกตเห็นบางอย่าง แต่ข้อมูลที่รับผ่านความรู้สึก ถูกส่งไปยังสมองตามเส้นทางที่แตกต่างกัน เส้นทางหนึ่งจะรับข้อมูลไปยังสมองได้เร็วกว่าอีกเส้นทางหนึ่งเล็กน้อย ความล่าช้านี้อาจไม่มีนัยสำคัญ หากพิจารณาจากเวลาที่ใช้ แต่เมื่อสมองอ่านข้อมูลนั้น ทำให้เห็นเป็นประสบการณ์ที่แตกต่างกัน 2 อย่างได้การเรียกคืนหน่วยความจำ
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าเดจาวูเกี่ยวข้องกับวิธีที่เราใช้ประมวลผล และเรียกคืนความทรงจำ การวิจัยที่จัดทำโดย Anne Cleary นักวิจัยเดจาวูและศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจาก Colorado State University นั้นสนับสนุนทฤษฎีนี้ จากผลการวิจัยของเธอพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าเดจาวูสามารถเกิดขึ้นได้ เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับสิ่งที่เคยประสบมาก่อน แต่จำไม่ได้ อาจเกิดขึ้นในวัยเด็ก หรือจำไม่ได้ด้วยเหตุผลต่าง ๆ แม้ว่าจะไม่สามารถเข้าถึงความทรงจำนั้นได้ แต่สมองยังรับรู้ได้ว่ากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน กระบวนการของความจำลักษณะนี้นำไปสู่ความรู้สึกคุ้นเคยที่ค่อนข้างแปลก หากความทรงจำมีความคล้ายคลึงกัน สมองจะเชื่อมโยงเรื่องราวทั้งสองไว้ด้วยกัน และรู้สึกเหมือนไม่ใช่เดจาวูได้ สิ่งเหล่านี้มักเกิดขึ้น Cleary ระบุว่าเมื่อเห็นฉากใดฉากหนึ่ง เช่น ภายในอาคาร หรือภาพพาโนรามาธรรมชาติ ซึ่งคล้ายกับฉากที่คุณจำไม่ได้ เธอใช้การค้นพบนี้เพื่อสำรวจแนวคิดเรื่องลางสังหรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเดจาวูในการศึกษาปี 2018 คุณอาจเคยประสบกับเรื่องราวเหล่านี้ด้วยตนเอง หลายคนรายงานว่าประสบการณ์เดจาวูทำให้เกิดความเชื่อมั่นอย่างมากที่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป แต่งานวิจัยของ Cleary ชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าจะรู้สึกมั่นใจว่าสามารถคาดเดาสิ่งที่กำลังจะเห็นหรือสัมผัสได้ แต่โดยทั่วไปแล้วไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้ การวิจัยเพิ่มเติมอาจช่วยอธิบายปรากฏการณ์การทำนายนี้ได้ดีขึ้น และโดยทั่วไปแล้วคือเดจาวู ทฤษฎีนี้ตั้งอยู่บนแนวคิดที่ว่าผู้คนมักจะรู้สึกคุ้นเคยเมื่อพบกับฉากที่มีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่พวกเขาเคยเห็นมาก่อน นี่คือตัวอย่างของทฤษฎีเกสตัลท์ คือวันแรกที่เริ่มงานใหม่ เมื่อเดินเข้าไปในสำนักงาน อาจรู้สึกแปลกใจ เหมือนกับเคยอยู่ที่นี่มาก่อน โต๊ะทำงานไม้สีแดง ปฏิทินที่สวยงามบนผนัง ต้นไม้ที่อยู่ตรงหัวมุม แสงที่สาดเข้ามาจากหน้าต่างทำให้รู้สึกคุ้นเคยอย่างไม่น่าเชื่อ หากเคยเดินเข้าไปในห้องที่มีการจัดวาง และตำแหน่งของเฟอร์นิเจอร์ที่คล้ายกัน โอกาสที่จะเกิดเดจาวูเกี่ยวกับห้องนั้นก็อาจเกิดขึ้น แม้จะไม่เคยไปที่ห้องทำงานนั้นมาก่อน ทำให้รู้สึกราวกับว่าเคยเห็นสำนักงานใหม่มาแล้ว แม้ว่าจะยังไม่เคยเห็น Cleary ยังได้สำรวจทฤษฎีนี้ งานวิจัยของเธอชี้ให้เห็นว่าผู้คนดูเหมือนจะมีประสบการณ์เดจาวูบ่อยขึ้น เมื่อดูฉากที่คล้ายกับสิ่งที่เคยเห็น แต่จำไม่ได้คำอธิบายอื่น ๆ
นอกจากนี้ยังมีคำอธิบายอื่น ๆ เกี่ยวกับเดจาวู ดังนี้ สิ่งเหล่านี้รวมถึงความเชื่อที่ว่าเดจาวูเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ทางจิตบางประเภท เช่นการจดจำบางสิ่งที่เคยประสบในชีวิตก่อนหน้านี้หรือในความฝัน การเปิดใจให้กว้างไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่ก็ไม่มีหลักฐานสนับสนุนแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งเหล่านี้ วัฒนธรรมที่แตกต่างกันอาจอธิบายประสบการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้เช่นกัน “เดจาวู” เป็นภาษาฝรั่งเศสหมายถึง “เคยเห็นแล้ว” ผู้เขียนงานวิจัยชิ้นหนึ่งในปี 2015 สงสัยว่าประสบการณ์ของคนฝรั่งเศสเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้จะแตกต่างกันหรือไม่ เนื่องจากคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสก็อาจไม่ได้ใช้คำนี้เพื่ออธิบายประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมของการเห็นบางสิ่งมาก่อน การค้นพบของพวกเขาไม่ได้ชี้ให้เห็นถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ของเดจาวู แต่พวกเขาพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าผู้เข้าร่วมการศึกษาชาวฝรั่งเศสมีแนวโน้มที่จะพบว่าเดจาวูรบกวนพวกเขามากกว่าผู้เข้าร่วมการทดสอบที่พูดภาษาอังกฤษเมื่อใดที่ควรกังวลกับอาการเดจาวู
เดจาวูมักไม่มีสาเหตุร้ายแรง แต่อาจเกิดขึ้นก่อน หรือระหว่างการชักของโรคลมชัก หลายคนที่มีอาการชัก หรือคนใกล้ชิดเกิดอาการจะรู้ดีว่าอาการชักมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การชักแบบเฉพาะที่ มักไม่สามารถจดจำได้ทันทีว่าเกิดอาการชัก การชักแบบจุดเดียวมักเกิดความผิงดปกติที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของสมอง แม้ว่าอาจแพร่กระจายได้ แต่ก็มักเกิดขึ้นสั้นมาก อาจนานเพียง 1 หรือ 2 นาที หรือใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น ผู้ป่วยจะไม่เสียสติ และอาจรับรู้สิ่งรอบข้างได้ตลอด แต่ไม่สามารถตอบโต้ หรือตอบสนองได้ ดังนั้นคนอื่น ๆ อาจคิดว่าผู้ป่วยกำลัมองไปข้างนอก หรือจ้องมองที่ใดที่หนึ่ง และจมอยู่ในความคิด เดจาวูมักเกิดขึ้นก่อนการชัดแบบเฉพาะจุด อาจพบอาการอื่น ๆ ร่วมเช่น:- การกระตุกหรือสูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อ
- ประสาทสัมผัสถูกรบกวน หรือภาพหลอน รวมถึงการชิม การดมกลิ่น การได้ยิน หรือการมองเห็นสิ่งที่ไม่มีจริง
- การเคลื่อนไหวโดยไม่สมัครใจซ้ำ ๆ เช่น การกะพริบ หรือคำราม
- อารมณ์เร่งรีบที่ไม่สามารถอธิบายได้
ข้อสรุป
เดจาวูอธิบายถึงความรู้สึกแปลก ๆ ที่คุณเคยสัมผัสมาแล้วแม้ว่าคุณจะรู้ว่าคุณไม่เคยมีมาก่อนก็ตาม โดยทั่วไปผู้เชี่ยวชาญยอมรับว่าปรากฏการณ์นี้อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยความจำ ดังนั้นหากมีเดจาวูแสดงว่าอาจเคยประสบกับเหตุการณ์ที่คล้ายกันมาก่อน แต่จำมันไม่ได้ หากเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง ไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับอาการนี้ (แม้ว่าจะรู้สึกแปลก ๆ บ้างก็ตาม) แต่สามารถสังเกตได้ว่ารู้สึกเหนื่อยหรือเครียดมากขึ้น หากอาการนี้กลายเป็นประสบการณ์ปกติ และไม่พบอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรหาทางคลายความเครียดและพักผ่อนให้มากขึ้นเพราะอาจช่วยได้นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น