หูด (Warts) คืออะไร: สาเหตุ ประเภท การรักษา

หูดคืออะไร

โรคหูด (Warts) คือโรคติดต่อทางผิวหนังประเภทหนึ่ง โดยผิวหนังจะเกิดเป็นตุ่มหรือติ่งเนื้อเกิดจากเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) หูดอยู่กับมนุษย์ มายาวนาน โดยมีการค้นพบเชื้อหูดในมัมมี่ที่มีอายุกว่า 3000 ปี  หูดเป็นโรคทางผิวหนังที่คนทุกเพศทุกวัยมีโอากาศที่จะรับเชื้อไวรัสนี้ได้ บางครั้งในบางคนเมื่อรับเชื้อไวรัสมาแล้วก็ยังอาจจะไม่แสดงอาการ หูดสามารถติดต่อกันได้ทางการสัมผัสและการมีเพศสัมพันธ์ หูดมีหลายประเภท และหลายชนิด

สาเหตุของการเกิดหูด

หูดเกิดจากอะไร? หูดเกิดจากการที่ร่างกายติดเชื้อไวรัส HPV และเชื้อไวรัส HPV นี้มีมากกว่า 100 ชนิดที่ทำให้เกิดหูด โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้อันตราย โดยทั่วไปหูดจะเกิดขึ้นบนมือหรือเท้าของผู้ป่วย แต่เชื้อไวรัส HPV บางสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศหญิง ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หูดสามารถเกิดได้หลายที่ เช่น หูดที่นิ้วมือ หูดที่เท้า หูดที่มือ หูดที่นิ้ว หูดที่ลิ้น หูดที่หน้า หูดที่อวัยวะเพศ หูดในปาก หูดที่คอ

หูดมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

หูดแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ แต่ละประเภทจะเกิดตามบริเวณร่างกายที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

หูดธรรมดา

เป็นหูดที่พบบ่อยมักเกิดบริเวณบนนิ้วมือและนิ้วเท้า แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้บริเวณส่วนอื่น ๆ ของร่างกายเช่นกัน หูดประเภทนี้มีลักษณะหยาบ ด้าน 

หูดที่ฝ่าเท้าและฝ่ามือ

หูดที่ฝ่าเท้า และหูดที่มือ หรือที่เรียกว่าหูดตาปลา จะเป็นปื้นหนาอยู่ด้านในของเนื้อฝ่าเท้าหรือฝ่ามือ เมื่อโดนกดทับจะเจ็บ 

หูดผิวเรียบ

หูดจะมีลักษณะเรียบแบน อาจจะเกิดขึ้นได้บริเวณหน้า ขา หรือแขน มีขนาดเล็กและเรียบ อาจจะเป็นสีเนื้อ หรือสึชมพู บางครั้งอาจจะมีสีน้ำตาลอ่อน

หูดหงอนไก่ 

จะมีลักษณะเป็นติ่งเนื้อสีชมพูหรือขาว ผิวขรุขระคล้ายหงอนไก่ มักจะเกิดขึ้นบริเวณ ปากช่องคลอด ในผนังช่องคลอด ปากมดลูก รอบทวารหนัก แคมคลิตอริส อาจจะมีเลือดออกร่วมด้วย จากบริเวณหูด เกิดอาการคัน หูดในปาก หูดที่ลิ้น หูดที่คอ อาจจะเป็นหูดหงอนไก่ได้เช่นกัน

หูดติ่งเนื้อ

หูดที่เป็นติ่งเนื้อแข็งยื่นจากผิวหนัง ลักษณะเป็นตุ่มขรุขระแต่ยาวคล้ายนิ้วมือเล็กๆ มักพบบริเวณใบหน้า และลำคอ

หูดข้าวสุก

เกิดเป็นหูดเล็ก ๆ คล้ายสิวอยู่บริเวณผิวหนังชั้นนอก หูดข้าวสุกพบได้ตั้งแต่ทารก เด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ บางครั้งเกิดใกล้บริเวณอวัยวะเพศ 

การรักษาหูด

โดยทั่วไปแล้ว 65% ของผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ โรคนี้ จะหายไปได้เอง หรือคนที่เป็นหูดไม่มาก อาจจะเลือกใช้วิธี หายาทาแก้หูดมารักษาเองก่อนเบื้องต้น

การจี้ด้วยไนโตรเจนเหลว 

การใช้ความเย็นจากไนโตรเจนเหลวจี้หูด เป็นวิธีกำจัดหูดได้แต่อาจจะต้องทำซ้ำหลายครั้งเพื่อจะกำจัดหูดออกไป ใครที่เป็นหูดที่นิ้วมือ มักจะใช้วิธีนี้รักษา

การจี้หูดด้วยไฟฟ้า

การจี้หูดด้วยไฟฟ้า หรือจี้ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ (Laser ablation) หลังจากนั้นจะมีการ คีบรากหูดออกไป

การผ่าตัด

ทางเลือกนี้จะเกิดขึ้นเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่หาย

การใช้ยาทาที่มีส่วนผสมของกรดบางชนิด

การใช้กรดบางชนิดในรูปแบบยาทา เช่น กรดไตรคลออะซิติก กรดแลคติก กรดซาลิซิลิก สามารถนำมาเป็นทางเลือกหนึ่งได้ แต่อาจจะต้องใช้เวลานาน อาจจะเป็นเดือน และข้อควรระวังคือในการเลือกใช้กรดมาทารักษาหูด (Warts) ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ไม่ควรซื้อยาทาหูดมารักษาเอง และเป็นวิธีรักษาหูดหงอนไก่ที่แพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้ก่อนการผ่าตัดหากไม่ได้ผล โรงพยาบาลรักษาหูดหงอนไก่มีหลายที่ เช่นโรงพยาบาลพญาไท คุณสามารถซื้อยาบางชนิดที่มีความปลอดภัยมาทาเองได้ที่บ้าน แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนในการจะใช้ยาแต่ละชนิด 

ยาพ่นหูดชนิดเย็น

เป็นยาที่ขายตามร้านขายยาซึ่งจะมีส่วนผสมของ Dimethyl ether และโพรเพน ที่เข้มข้น สามารถใช้ได้กับหูดที่เป็นไม่มาก 

ข้อควรระวัง

  • หูดสามารถลุกลามไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของร่างกายได้ และสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่น 
  • การรักษาหูดที่หน้า หรือบริเวณอวัยวะเพศไม่ควรรักษาด้วยตนเองเด็ดขาด ควรไปพบแพทย์ 
  • หากผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ไม่แนะนำให้รักษาหูดด้วยตัวเอง ควรไปพบแพทย์ เนื่องจากโรคเบาหวานอาจจะทำให้เท้าชา และเมื่อผู้ป่วยพยามรักษาหูดเองที่เท้า อาจจะส่งผลเสียอื่น ๆ ตามมาได้ 

อ่านเพิ่มเติม : ขนคุด (หนังไก่) Keratosis Pilaris (Chicken Skin) : อาการ สาเหตุ การรักษา

วิธีรักษาหูดด้วยสมุนไพร

โรคหูด (Warts)

โรคหูด (Warts)

ใบโหระพา 

ใบโหระพามีสารเคมีชนิดหนึ่งที่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ HPV ได้ เพียงนำใบโหระพาสดมาบดให้ละเอียดแล้วพอกตรงบริเวณที่เป็นหูด จากนั้นแปะด้วยพลาสเตอร์ชนิดกันน้ำ เปลี่ยนโหระพาทุกวัน จะเห็นผลภายในหนึ่งอาทิตย์ 

น้ำมันละหุ่ง 

หากเป็นหูดเรียบ ที่มีขนาดเล็ก เพียงทาน้ำมันละหุ่ง 2-3 ครั้ง เพราะน้ำมันละหุ่งมีฤทธิ์เป็นกรดช่วยกัดเนื้อหูดให้หลุดออกไปได้  

กระเทียม 

กระเทียมฝานบางๆ นำมาแปะทับบนหูด และปิดด้วยพลาสเตอร์ยาแน่นๆ ทำเช่นนี้ทุกวัน หูดจะหลุดในที่สุด แต่อาจจะใช้เวลาค่อนข้างนาน  เราสามารถป้องกันการเกิดหูดได้อย่างไร มีวิธีป้องกันหูดไม่ให้เกิดขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย:
  • หมั่นล้างมือเป็นประจำ และไม่สัมผัสผู้ป่วยที่เป็นหูด (Warts)
  • ไม่สัมผัสหูด 
  • งดมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นหูดหงอนไก่ 
  • ฉีดวัคซีนการป้องกันการติดเชื้อ HPV                                                                                                             

    คำถามที่พบบ่อย

    หูดสามารถรักษาให้หายถาวรได้หรือไม่  ไม่มีวิธีรักษาหูด แต่มีเทคนิคมากมายในการขจัดหูดออก ซึ่งมักจะได้ผลเพื่อลดลักษณะที่ปรากฏและการแพร่กระจาย หูดสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา แม้ว่าอาจใช้เวลาถึงสองปีกว่าที่หูดจะเกิดขึ้น จัดการกับหูดด้วยวิธีธรรมชาติได้อย่างไร การเยียวยาที่บ้าน เช่นกรดซาลิไซลิก การบำบัดด้วยความเย็น และน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิลอาจช่วยกำจัดหูด รอยโรคบนผิวหนังที่เกิดจากไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมา (HPV) ในเด็กและวัยรุ่น หูดส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 1-2 ปี เป็นหูดได้อย่างไร อะไรทำให้เกิดหูด  หูดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมา (HPV ) ไวรัสทำให้เกิดเคราตินซึ่งเป็นโปรตีนแข็งในปริมาณที่มากเกินไปเพื่อพัฒนาในชั้นผิวหนังด้านบน (หนังกำพร้า) เคราตินส่วนเกินจะสร้างเนื้อสัมผัสที่หยาบและแข็งของหูด หูดอันตรายหรือไม่ หูดมักไม่เป็นอันตราย ในกรณีส่วนใหญ่ อาการเหล่านี้จะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่เดือนหรือหลายปี แต่ถ้ามันแพร่กระจายหรือสร้างความเจ็บปวด หรือถ้าส่งผลต่อความสวยงาม คุณอาจต้องการรักษา  วิธีกำจัดหูดที่เร็วที่สุดคืออะไร การรักษาด้วยความเย็น การบำบัดด้วยความเย็นใช้ไนโตรเจนเหลวเพื่อแช่แข็งและทำลายหูด การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการบำบัดด้วยความเย็นสามารถกำจัดหูดได้อย่างมีประสิทธิภาพใน 50–70% ของกรณีหลังจากการรักษา 3–4 ครั้ง การรักษาด้วยความเย็นอาจกำจัดหูดได้เร็วกว่ากรดซาลิไซลิก อาหารอะไรป้องกันหูด  รับประทานอาหารที่มีวิตามินบีและแคลเซียมสูง เช่นอัลมอนด์ ถั่ว ธัญพืชเต็มเมล็ด (หากไม่มีอาการแพ้) ผักใบเขียวเข้ม (เช่น ผักโขมและคะน้า)  รับประทานอาหารที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งผลไม้ (เช่น บลูเบอร์รี่ เชอร์รี่ และมะเขือเทศ) และผัก (เช่น ฟักทองและพริกหยวก)

ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

  • https://www.docdoc.com/info/condition/warts/
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-warts/symptoms-causes/syc-20371125
  • https://www.nhs.uk/conditions/genital-warts/
  • https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/warts
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด