ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
วิตามินเอ
วิตามินเอ หรือ Vitamin A คือ วิตามินที่ละลายในไขมัน เป็นวิตามินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย การเสริมสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ รวมถึงป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และเนื่องจากเป็นวิตามินที่สามารถละลายได้ในไขมัน จึงต้องใช้ไขมัน และแร่ธาตุมาช่วยในกระบวนการดูดซึมของร่างกาย เป็นวิตามินที่มีความสำคัญมากต่อร่างกายชนิดหนึ่ง  ร่างกายไม่สามารถผลิตวิตามิน A ขึ้นเองได้ ตามปกติร่างกายมนุษย์จะสะสมวิตามินเอที่ได้รับจากอาหารชนิดต่าง ๆ ที่รับประทานเข้าไป เมื่อมีความจำเป็นจะต้องใช้งาน ร่างกายก็จะดึงวิตามินชนิดนี้ออกมาใช้งาน

คุณสมบัติของวิตามินเอ

วิตามินเอมีคุณสมบัติเฉพาะคือเป็นวิตามินที่ไม่สามารถละลายได้ในน้ำ แต่จะละลายได้เฉพาะในไขมันเท่านั้น มีความทนทานต่อความร้อนได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ต้องไม่ร้อน หรือมีอุณหภูมิที่สูงจนเกินไป ทนทานต่อกรด และด่างได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ทนต่อแสงแดด ดังนั้นการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของวิตามินเอ จึงนิยมเก็บเอาไว้ในขวดสีน้ำตาล และใส่วัตถุที่ช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นเอาไว้ เพื่อลดความสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการของวิตามิน

ประเภทของวิตามิน A

วิตามินเอโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ วิตามินเอแบบสำเร็จรูป คือวิตามินที่อยู่ในรูปเรตินอล ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น ตับ ไข่แดง น้ำนม น้ำมันตับปลา เป็นต้น โปรวิตามินเอ หรือแคโรทีน คือ วิตามินที่อยู่ในรูปแบบของสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นเพียงสารตั้งต้นของวิตามินเอ ซึ่งเมื่อรับเข้าสู่รางกาย ร่างกายจึงจะทำปฏิกิริยาเปลี่ยนสารชนิดนี้ให้กลายเป็นวิตามินเอ อาหารที่มีวิตามิน เอประเภทนี้คือผักที่มีสีสันต่าง ๆ เช่น แครอท ผักโขม บร็อคโคลี่ ฟักทอง เป็นต้น

ร่างกายดูดซึมวิตามินเออย่างไร

เมื่อรับประทานอาหารที่มีวิตตามินเอเข้าไป ร่างกายจะเริ่มกระบวนการย่อยอาหาร จากนั้นร่างกายจึงจะเริ่มดูดซึมวิตามินเอเข้าสู่ร่างกาย โดยบริเวณลำไส้เล็กเป็นบริเวณที่มีน้ำย่อยที่ใช้ย่อยไขมัน (Fat Splitting Enzyme) และมีเกลือน้ำดีที่จะเปลี่ยนแคโรทีนให้เปลี่ยนรูปเป็นวิตามินเอได้ โดยมีตัวช่วยที่เรียกว่าไทรอกซิน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ที่สร้างจากต่อมไทรอยด์ จากนั้นวิตามินจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนำไปใช้งานต่อไป การดูดซึมวิตามินเอจะดีหรือไม่ขึ้นกับปัจจัยสำคัญอย่างกรดไขมันที่ได้จากอาหารที่รับประทานเข้าไปนั่นเอง วิตามินเอในร่างกายมากกว่า 95% จะถูกเก็บสะสมเอาไว้ที่ตับ ด้วยเซลล์ไขมันที่เรียกว่าไลโปซัยท์ โดยวิตามินที่เก็บสะสมไว้นั้น 90% จะถูกเก็บสะสมเอาไว้ที่ตับ เมื่อร่างกายต้องการนำวิตามินมาใช้ก็จะเคลื่อนย้ายวิตามินด้วยการไฮโดรไลท์ให้วิตามินเปลี่ยนรูปจากเรตินอล เอสเตอร์ให้กลายเป็นเรตินอลอิสระ ซึ่งจะรวมเข้ากับโปรตีนที่เป็นเรตินอลไบน์ดิ้งโปรตีน หรือเรียกย่อ ๆ ว่า RBP RBP ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาจากตับ และส่งต่อเข้าสู่กระแสเลือด ถูกใช้เป็นเรตินอลอาร์บีพีคอมเพล็กซ์ เกิดขึ้นร่างกายต้องการใช้วิตตามินเอ ตามปกติระดับวิตามินเอในเลือดจะถูกควบคุมด้วยกลไกควบคุมสมดุลระหว่าง RBP  และการปล่อยหรือการสลายตัวของวิตามิน หากเรตินอลไม่มีการเก็บสะสมเอาไว้ในตับ ก็จะถูกขับถ่ายออกจากร่างกายทางไต ในรูปของปัสสาวะ หรืออุจจาระ ความสามารถของร่างกายแต่ละคนจะมีความสามารถในการกักเก็บวิตามินเอที่แตกต่างกัน จากผลการศึกษาพบว่ากรณีที่ร่างกายมีปริมาณของวิตามินเอต่ำจนเป็นศูนย์นั้น เกิดจากการที่ร่างกายขาดการบริโภคอาหารที่มีวิตามินเอ นานมากกว่า 10 -12 เดือนขึ้นไป

อันตรายที่เกิดจากการขาดวิตามินเอ

อาการขาดวิตามินเออาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ดังนี้ ความต้านทานต่อโรคต่ำ วิตามินเอคือตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติ หากร่างกายขาดวิตามินเอก็จะทำให้เกิดโรคติดเชื้อบริเวณระบบทางเดินหายใจได้ง่าย เสี่ยงต่อการอักเสบในโพรงจมูก ช่องปาก ลำคอ และต่อมน้ำลาย ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคผิวหนัง วิตามินเอมีความสำคัญต่อการรักษาสภาพเยื่อบุผิวหนัง หากขาดวิตามินเอก็จะทำให้ผิวพรรณขาดความชุ่มชื้น เกิดการหยาบกร้าน แห้งและแตก โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณข้อศอก ตาตุ่ม หรือข้อต่อส่วนด่าง ๆ ที่มักเกิดการเสียดสีตลอดเวลา ดังนั้นจึงอาจเกิดปัญหาโรคผิวหนังอย่างสิว และโรคติดเชื้ออื่น ๆ ได้ เกิดอาการตาฟาง เนื่องจากวิตามินเอคือสารประกอบสำคัญในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น หากร่างกายขาดวิตามินชนิดนี้ไปก็จะทำให้เกิดปัญหาการมองเห็นในเวลากลางคืน หรือบริเวณที่มีแสงสว่างน้อย ๆ ได้ ทั้งยังทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเกิดรอยแผล หากปล่อยให้ร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรงก็อาจทำให้ตาบอดได้Vitamin A

ประโยชน์วิตามินเอที่สำคัญต่อร่างกาย

ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น วิตามินเอเป็นสารที่มีความสำคัญต่อสายตาเป็นอย่างมาก ร่างกายใช้ในการปรับเปลี่ยนแสงที่มากระทบดวงตาให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้า ก่อนจะส่งข้อมูลไปยังสมอง จึงช่วยชะลอความเสื่อมของสายตาตามวัย และป้องกันอาการตาบอดตอนกลางคืนได้ เนื่องจากวิตามินเอเป็นสารประกอบหลักของ “เม็ดสีในโรดอพซิน” ซึ่งเป็นสารสีม่วงที่อยู่ในดวงตาช่วยในการมองเห็นในที่มืด และเพิ่มความอ่อนไหวต่อแสงของดวงตา ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด มะเร็งเกิดจากเซลล์ที่เติบโตอย่างผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมได้ แต่วิตามินเอมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเซลล์ ประโยชน์ของวิตามินเอคือผลกระทบต่อการเกิดมะเร็ง เป็นปัจจัยต่อการป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็ง โดยพบความเชื่อมโยงของวิตามินเอกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน มะเร็งบริเวณคอ ปอด และกระเพาะปัสสาวะ อย่างไรก็ตามพบว่าอาหารที่มีวิตามินเอสูงที่มาจากพืชนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ แต่วิตามินเอที่ได้จากเนื้อสัตว์กลับไม่สามารถทำได้ เสริมความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกัน วิตามินเอมีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมทั้งการสร้างเยื่อเพื่อป้องกันดวงตา ปอด และอวัยวะเพศชาย โดยป้องกันแบคทีเรีย และภาวะการติดเชื้อต่าง ๆ และยังมีส่วนต่อการสร้างและการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ช่วยให้การจับ และกำจัดแบคทีเรีย รวมทั้งเชื้อโรคต่าง ๆ ในกระแสเลือดมีประสิทธิภาพ ดังนั้นหากร่างกายขาดวิตามินเอก็มักจะทำให้เกิดภาวะติดเชื้อได้ง่ายมากขึ้น และยังทำให้ร่างกายไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเจ็บป่วย ลดความเสี่ยงที่จะเป็นสิว สิว คือ ปัญหาผิวหนังในลักษณะเรื้อรัง เป็นอาการอักเสบบริเวณผิวหนัง ผู้ที่เป็นสิวมักเกิดการพัฒนาของจุดสิวที่สร้างความเจ็บปวด และเกิดหัวสิวสีดำได้ ซึ่งตามปกติจะพบได้บริเวณใบหน้า แผ่นหลัง และหน้าอก สิวเกิดจากการอุดตันของต่อมไขมัน สิ่งที่มาอุดตัน คือ ผิวหนังที่ตายแล้ว หรือไขมัน เมื่อเกิดการอุดตันรูขุมขนจะสร้างซีบัม ซึ่งเป็นไขมัน และสารเหนียว ๆ ที่ทำให้ผิวเป็นมัน ลื่น และกันน้ำได้ ดังนั้นประโยชน์ของวิตามินเอคือลดเกิดการผลิตโปรตีนชนิดเส้นใยที่เกิดขึ้นในรูขุมขนได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดสิว และช่วยให้ร่างกายสามารถกำจัดเศษผิวหนังที่ตายแล้วออกไปจากรูขุมขนได้ง่ายขึ้น เสริมสุขภาพที่ดีของกระดูก การรับประทานอาหารวิตามินเอสูงอย่างเพียงพอจึงมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของกระดูกเป็นอย่างมาก ทำให้กระดูกแข็งแรง ผู้ที่มีระดับวิตามินเอในเลือดต่ำ มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามวิตามินเอเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถเสริมความแข็งแรงของกระดูกได้ ต้องรับประทานร่วมกับองค์ประกอบอื่น ๆ อย่างวิตามินดีด้วย สนับสนุนการเจริญเติบโต และระบบสืบพันธุ์ วิตามินเอมีความสำคัญในการบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์ทั้งในชายและหญิง และช่วยให้ตัวอ่อนในครรภ์สามารถเจริญเติบโตและมีพัฒนาที่ดี การขาดวิตามินเออาจขัดขวางกระบวนการเติบโตของเซลล์สเปิร์ม และทำให้เป็นหมันได้ รวมทั้งลดความสมบูรณ์ของรังไข่ ทำให้เกิดผลกระทบต่อการฝังไข่ในครรภ์ของแม่ ร่วมทั้งการเติบโตและพัฒนาการของอวัยวะภายในต่าง ๆ และโครงสร้างของทารกในครรภ์เช่น กระดูก ระบบประสาท หัวใจ ไต ดวงตา  ปอด และตับอ่อน

โทษของวิตามินเอ

  • หญิงที่ตั้งครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะแท้งลูกได้ง่าย เสี่ยงต่อการพิการของทารก และมีอาการกระดูกผิดรูปได้
  • เกิดอาการเจ็บที่กระดูก และข้อต่อต่าง ๆ รู้สึกง่วงซึม นอนไม่หลับ ผมร่วง กระวนกระวาย ปวดศีรษะรุนแรง ท้องผูก เป็นอาการระยะยาวที่เกิดจากการได้รับวิตามินเอมากเกินไป
  •  ผิวหนังลอก ผิวหนังแห้งแตก รู้สึกคันตามเนื้อตัว
  •  กระดูกมีลักษณะผิดรูป ตับโต ม้ามโตผิดปกติ

แหล่งวิตตามินเอจากธรรมชาติ

วิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันที่จำเป็นซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำงานของร่างกายต่างๆ รวมถึงการมองเห็น การสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน และสุขภาพผิว วิตามินเอมีอยู่สองรูปแบบหลักที่พบในอาหาร: วิตามินเอที่สร้างไว้ล่วงหน้า (เรตินอยด์) และโปรวิตามินเอ แคโรทีนอยด์ ต่อไปนี้เป็นแหล่งวิตามินเอตามธรรมชาติ:

วิตามินเอสำเร็จรูป (เรตินอยด์):

  • ตับ:
    • ตับเนื้อวัว ตับไก่ และเนื้ออวัยวะอื่นๆ เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยวิตามินเอสำเร็จรูป
  • น้ำมันตับปลา:
    • น้ำมันตับปลาเป็นแหล่งเข้มข้นของทั้งวิตามินเอและวิตามินดี
  • ไข่:
    • ไข่แดงมีวิตามินเอในปริมาณเล็กน้อย
  • ผลิตภัณฑ์นม:
    • นม ชีส และเนยทั้งตัวมีเรตินอล ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินเอ

โปรวิตามินเอ แคโรทีนอยด์:

  • มันฝรั่งหวาน:
    • มันเทศอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารโปรวิตามินเอ แคโรทีนอยด์
  • แครอท:
    • แครอทเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของปริมาณเบต้าแคโรทีน ซึ่งร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ
  • ฟักทอง:
    • ฟักทองก็เป็นแหล่งเบต้าแคโรทีนที่ดีเช่นเดียวกับมันเทศ
  • ผักโขม:
    • ผักใบเขียวเข้มเช่นผักโขมมีเบต้าแคโรทีนและมีส่วนช่วยในการรับประทานวิตามินเอ
  • ผักคะน้า:
    • ผักคะน้าเป็นผักสีเขียวที่มีสารอาหารหนาแน่นซึ่งมีเบต้าแคโรทีน
  • กระหล่ำปลี:
    • กระหล่ำปลีอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนและสารอาหารอื่นๆ
  • มะม่วง:
    • มะม่วงเป็นผลไม้เมืองร้อนที่ให้เบต้าแคโรทีน
  • แคนตาลูป:
    • แคนตาลูปเป็นผลไม้แสนอร่อยที่มีเบต้าแคโรทีนในปริมาณที่ดี
  • พริกหยวกสีแดงและสีเหลือง:
    • พริกที่มีสีสันเหล่านี้มีเบต้าแคโรทีนและมีส่วนช่วยในการรับประทานวิตามินเอ
  • แอปริคอต:
    • โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอปริคอตแห้งเป็นแหล่งโปรวิตามินเอที่ดี
  • บร็อคโคลี:
    • บรอกโคลีมีเบต้าแคโรทีนและเป็นผักที่อุดมด้วยสารอาหาร

แหล่งที่มาอื่นๆ:

  • อาหารเสริม:
    • อาหารบางชนิด เช่น ธัญพืช มาการีน และผลิตภัณฑ์นมบางชนิด อาจเสริมด้วยวิตามินเอ
  • อาหารทะเล:
    • อาหารทะเลบางชนิด เช่น ปลาแซลมอนและปลาแมคเคอเรล มีเรตินอลในปริมาณเล็กน้อย
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือแม้ว่าวิตามินเอที่เตรียมไว้จะมีอยู่ในแหล่งของสัตว์ แต่โพรทามิน เอ แคโรทีนอยด์จะพบได้ในผักและผลไม้หลากสีสัน ร่างกายสามารถเปลี่ยนโปรวิตามินเอ แคโรทีนอยด์ให้เป็นวิตามินเอที่ออกฤทธิ์ได้ โดยเบต้าแคโรทีนเป็นสารตั้งต้นที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การรับประทานอาหารที่สมดุลซึ่งรวมถึงอาหารที่มีวิตามินเอหลากหลายเป็นกุญแจสำคัญในการตอบสนองความต้องการวิตามินเอของคุณ หากคุณมีข้อกังวลเรื่องอาหารโดยเฉพาะหรือสภาวะที่อาจส่งผลต่อการดูดซึมวิตามินเอ ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการที่ลงทะเบียนเพื่อรับคำแนะนำเฉพาะบุคคล

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  •  https://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminA-HealthProfessional/
  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/supplement-guide-vitamin-a
  • https://www.nhs.uk/conditions/vitamins-and-minerals/vitamin-a/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด