ภาวะ Ventricular Fibrillation คืออะไร
ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว VF คือภาวะที่หัวใจมีจังหวะการเต้นในจังหวะที่ผิดปดติ หัวใจควรเต้นในจังหวะปกติและมีรูปแบบที่แน่นอน ภาวะVF เป็นสาเหตุทำให้หัวใจเต้นเร็วและไม่เป็นจังหวะ จัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจส่งผลทำให้เกิดหัวใจวายได้อาการของภาวะ VF คืออะไร
เมื่อเกิดภาวะ VF ขึ้นมา หัวใจห้องด้านล่างสองห้องจะไม่สามารถปั้มเลือดได้เพียงพอไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้ หัวใจห้องล่างเรียกว่าห้องหัวใจล่าง อาการที่เกิดขึ้นทำให้ความดันเลือดและเลือดที่ต้องไปเลี้ยงให้ทั่วร่างกายตกลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไปยังอวัยวะต่างๆได้ อาการหน้ามืดหรือหมดสติมักเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปของภาวะ VF รวมถึงอาการขั้นต้นดังต่อไปนี้:- เจ็บหน้าอก
- เวียนศีรษะ
- คลื่นไส้
- หัวใจเต้นสั่นไหวและเร็ว
- หายใจสั้น
ควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อขอความช่วยเหลือ
หากมีอาการของภาวะ VF ให้โทรเรียกฉุกเฉิน หรือให้มีคนใกล้ตัวมีอาการดังกล่าวให้โทรตามฉุกเฉินเช่นกันสาเหตุของภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวคืออะไร
สาเหตุที่แท้จริงของภาวะ VF นั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักเกิดจากแรงกระตุ้นไฟฟ้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจหยุดชะงักหรือถูกขัดขวาง ภาวะหัวใจวายหรือเมื่อไม่มีเลือดไหลเวียนไปสู่หัวใจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะ VF ได้ ภาวะ VF มักเกิดขึ้นร่วมกับภาวะหัวใจเต้นเร็วที่เกิดขึ้นในหัวใจห้องล่าง เป็นภาวะที่หัวใจมีการเต้นที่เร็วมากซึ้งจะไปเปลี่ยนตัวกระตุ้นไฟฟ้าในหัวใจ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในคนที่มีเนื้อเยื่อแผลเป็นที่เกิดจากหัวใจวายมาก่อน หรือกล้ามเนื้อหัวใจเสียหายเพราะโรคหัวใจ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษา ภาวะหัวใจเต้นเร็วในหัวใจห้องล่างอาจนำไปสู่ภาวะ VF ได้การวินิฉัยภาวะห้องหัวใจด้านล่างเต้นแผ่วระรัวทำอย่างไร?
แพทย์จะใช้การตรวจเพื่อประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ VF หรือไม่ การตรวจที่ใช้ในการวินิจฉัยอาจตรวจด้วยวิธีดังต่อไปนี้:- การเอกซเรย์ดูหัวใจ
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เป็นการใช้คลื่นเสียงเพื่อสร้างภาพการทำงานของหัวใจ
- การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ คือการใช้ใส่สัญญานไฟฟ้าเข้าไปไว้หัวใจเพื่อเฝ้าดูการทำงานของหัวใจ
- ใช้เครื่องโฮลเตอร์มอนิเตอร์ ซึ่งมีแผ้นรับสัญญานไฟฟ้าติดแปะไว้ที่หน้าอกและไปเชื่อมต่อกับกล่องอุปกรณ์เล็กๆที่เรียกว่า เครื่องโอลเตอร์มอนิเตอร์ เพื่อที่จะเฝ้าดูจังหวะการเต้นของหัวใจในช่วงระยะเวลาหนึ่ง(ปกติมักใช้เวลาราว 24 ชั่วโมง)เพื่อให้แพทย์ประเมินโรคได้
- ตรวจสมรรถภาพหัวใจ เพื่อดูการทำงานของคุณในขณะออกกำลังกาย
ภาวะห้องหัวใจล่างเต้นแผ่วระรัวสามารถรักษาได้อย่างไร
หากมีอาการ VF อาจหมดสติเพราะเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงร่างกายได้ โทรเรียกฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือ การทำซีพีอาร์ หรืออาจต้องมีการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่หัวใจหากเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อทำให้มีชีวิตรอด หากได้รับการฝึกทำ CPR มาก่อน การช่วยปั้มด้วยการกดที่หน้าอกอย่างเร็วด้วยอัตรา 100 ครั้งต่อนาทีก็จัสามารถช่วยทำให้เลือดสามารถเดินทางไปทั่วร่างกายสู่อวัยวะท่สำคัญๆได้ กาดกดหน้าอกเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากเป็นลำดับแรกและควรลงมือทำในทันทีเพื่อรักษาการไหลเวียนของเลือด การเปิดช่องทางเดินอากาศและการช่วยการหายใจเป็นลำดับสอง หากมีเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (เออีดี) ให้นำมาใช้ เพื่อเป้นการใช้กระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ สามารถพบเห็นเครื่องดังกล่าวได้ตามสถานที่เช่น:- ห้างสรรพสินค้า
- สนามบิน
- โรงพยาบาล
- สถานออกกำลังกาย
- ศูนย์ผู้สูงอายุ
- โรงเรียน
การรักษาที่โรงพยาบาล
เมื่อมาถึงโรงพยาบาล แพทย์จะเฝ้าติดตามจังหวะการเต้นของหัวใจและใช้ภาพที่ได้จากการสแกนมาเพื่อทำการประเมินหากเกิดการอุดตันในหัวใจที่อาจเป็นสาเหตุของหัวใจวาย แพทย์อาจใช้ยาเพื่อทำให้จังหวะหัวใจเต้นผิดปกติให้น้อยที่สุดหรือช่วยทำให้หัวใจปั้มได้แรงขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (ICD) เพื่อเฝ้าดูจังหวะการเต้นของหัวใจและส่งแรงกระตุ้นออกไปเมื่อจำเป็นเพื่อเพิ่มหรือลดจังหวะการเต้นของหัวใจ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตรวจอัตราการเต้นของหัวใจได้ที่นี่ หากพบว่าหลอดเลือดหัวใจมีการอุดตัน อาจต้องมีการตรวจสวนหัวใจด้วยบอลลูน เป็นการสอดใส่ท่อเข้าไปในหัวใจเพื่อเปิดการอุดตันที่หลอดเลือด จะมีลักษณะเแ็นขดลวดตาข่ายที่อาจต้องใส่ไว้เป็นการถาวรในหลอดเลือดเพื่อช่วยถ่างหลอดเลือดให้เปิดไว้ผลข้างเคียงของภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวคืออะไร
การไปโรงพยาบาลเมื่อเกิดภาวะ VF ถือเป็นสิ่งจำเป็น ภาวะดังกล่าวสามารถทำให้เสียชีวิตได้ภายในหนึ่งชั่วโมงหลังจากอาการปรากฏ ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆรวมไปถึงอาการโคม่า สูญเสียการทำงานของเส้นประสาทและการทำงานของจิตใจมีการเปลี่ยนแปลงภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวสามารถป้องกันได้อย่างไร
การใช้ชีวิตให้มีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอคือสิ่งจำเป็นสำหรับการมีสุขภาพหัวใจที่ดีและป้องกันการเกิดภาวะ VF นั้นหมายความถึง:- ควรรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
- มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เช่นการเดินวันละ30นาทีต่อวัน
- หากมีการสูบบุหรี่ ให้เริ่มคิดหาวิธีในการเลิกบุหรี่ การสูบบุหรี่ส่งผลต่อการยืดหยุ่นของหลอดเลือดและสุขภาพของเซลล์โดยรวม
- พยายามรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ รักษาความดันเลือด ระดับคอเรสเตอรอลก็จะสามารถช่วยป้องกัน
วิธีป้องกันภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว
การป้องกันภาวะ VF เกี่ยวข้องกับการจัดการกับปัจจัยเสี่ยงที่ซ่อนอยู่และการนำการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพของหัวใจ ต่อไปนี้เป็นกลยุทธ์บางส่วนที่จะช่วยป้องกัน VF: จัดการสภาวะหัวใจที่เป็นอยู่ : หลายกรณีของ VF เกิดขึ้นในบุคคลที่มีภาวะหัวใจอยู่แล้ว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม หรือความผิดปกติของลิ้นหัวใจ การจัดการอาการเหล่านี้ด้วยการใช้ยา การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และในบางกรณี การผ่าตัดสามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะ VF ได้ รักษาวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี : การใช้นิสัยที่ดีต่อหัวใจสามารถลดความเสี่ยงของภาวะ VF และปัญหาหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆ ได้อย่างมาก ซึ่งรวมถึง:- การรับประทานอาหารที่สมดุลซึ่งอุดมไปด้วยผักผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และโปรตีนไร้มัน ในขณะเดียวกันก็จำกัดไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล และโซเดียม
- มีส่วนร่วมในการออกกำลังกายเป็นประจำ ตั้งเป้าออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับความเข้มข้นปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ ตามคำแนะนำของแนวทางปฏิบัติ
- รักษาน้ำหนักให้แข็งแรง โรคอ้วนและน้ำหนักตัวที่มากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- หลีกเลี่ยงควันบุหรี่และจำกัดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นี่อแคืหล่งที่มาในบทความของเรา
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น