ภาพรวม
อาการเลือดออกจากช่องคลอด (Vaginal Bleeding) การมีเลือกออกที่ผิดปกติหรือเรียกว่า ภาวะเลือดออกระหว่างรอบประจำเดือนหรือมีลิ่มเลือดออกมาระหว่างมีประจำเดือน โดยภาษาอังกฤษเรียกว่า ภาวะ metrorrhagia ซึ่งภาวะเลือดออกจากช่องคลอดขณะมีประจำเดือนมีสาเหตุเกิดจากหลายปัจจัย อาการเลือดออกจากช่องคลอดบางชนิดสามารถรักษาได้ด้วยวิธีทั่วไป แต่บางครั้งอาการเลือดออกช่องคลอดอาจเป็นอาการที่เกิดจากโรคชนิดหนึ่ง แม้ว่าจะสังเกตเห็นเลือดออกเพียงจุดเล็กน้อยหรือมีเลือดไหลออกมาอย่าหนักในช่วงที่มีประจำเดือน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาที่เหมาะสม สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกจากช่องคลอดในระหว่างมีประจำเดือนได้แก่- เกิดเนื้องอกที่มดลูกหรือปากมดลูก
- ความเครียด
- การเปลี่ยนยา
- การทำแท้ง
- ช่องคลอดแห้ง
- ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
- โรคมะเร็ง
สาเหตุของภาวะเลือดออกจากช่องคลอดขณะมีประจำเดือน
ภาวะเลือดออกในขณะมีประจำเดือนเป็นอาการผิดปกติในช่วงของการมีรอบเดือน โดยปกติระยะเวลาของการเกิดรอบเดือนอยู่ที่ 21-35 วัน ดังนั้นการมีเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงระหว่างมีประจำเดือนเป็นเรื่องปกติ โดยสามารถเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่กี่วันหรือหนึ่งสัปดาห์ ถ้าหากมีเลือดออกจากช่องคลอดนอกเหนือจากการมีประจำเดือนหมายความว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยดังต่อไปนี้1. ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล
ฮอร์โมนเอสโทรเจนและโพเจเอทโรนเป็นฮอร์โมนที่เกิดขึ้นตามปกติของรอบเดือน ถ้าหากคุณมีฮอร์โมนชนิดใดชนิดหนึ่งที่ไม่สมดุล อาจทำให้มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดเล็กน้อย โดยภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้- รังไข่ทำงานผิดปกติ
- มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
- เริ่มหรือหยุดทานยาคุมกำเนิด
- ยาคุมกำเนิด
- ห่วงอนามัย
- แผ่นแปะคุมกำเนิด
- การฝั่งหรือฉีดยาคุม
2. ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
ภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์สามารถทำให้มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดได้ การทำแท้งและการตั้งครรภ์นอกมดลูกทำให้มีเลือดไหลออกมาได้เช่นกัน สำหรับการตั้งครรภ์นอกมดลูกเกิดขึ้นเมื่อไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิฝั่งตัวบนท่อนำไข่แทนการฝั่งตัวลงบนรังไข่ การมีเลือดออกจากช่องคลอดในขณะตั้งครรภ์ไม่ได้หมายถึงการแท้งบุตรเสมอไป อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณกำลังตั้งครรภ์และเคยมีประสบการณ์เลือดไหลออกจากช่องคลอด คุณควรไปพบเเพทย์ทันที3. เนื้องอกมดลูก
เนื้องอกมดลูกเป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งเกิดขึ้นภายในมดลูก ซึ่งเป็นความผิดปกติที่เกิดในผู้หญิงที่คลอดลูกแล้ว4. การติดเชื้อ
ภาวะเลือดออกระหว่างช่วงของการมีรอบเดือนอาจเกิดจากการติดเชื้อของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งการติดเชื้อที่ทำให้มีเลือดออกได้แก่- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- การล้างช่องคลอดด้วยน้ำยา
- การมีเพศสัมพันธ์
- โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบหมายถึงการอักเสบติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธ์ุที่ทำให้เกิดแผล
5. โรคมะเร็ง
โรคมะเร็งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเลือดไหลออกจากช่องคลอดได้น้อยที่สุด ถ้าหากเกิดมะเร็งขึ้นกับอวัยวะเหล่านี้จะทำให้เกิดเลือดไหลออกจากช่องคลอดได้- มะเร็งปากมดลูก
- มะเร็งช่องคลอด
- มะเร็งมดลูก
- มะเร็งรังไข่
ควรไปพบเเพทย์เมื่อไหร่
ควรไปพบเเพทย์เมื่อคุณพบเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติเพื่อค้นหาสาเหตุและวิธีรักษา ทั้งนี้ควรไปพบเเพทย์ทันทีหากมีเลือดออกจากช่องคลอดในระหว่างตั้งครรภ์ ถ้าหากคุณมีอาการอื่นๆที่ผิดปกติร่วมกับการมีเลือดออกจากช่องคลอด คุณต้องไปพบเเพทย์ทันที ซึ่งอาการดังกล่าวได้แก่- มีอาการเจ็บปวด
- อ่อนล้า
- วิงเวียนศีรษะ
- มีไข้
สัญญาณอันตรายของเลือดออกทางช่องคลอด
เลือดออกทางช่องคลอดอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ และถึงแม้ไม่ใช่ทุกกรณีจะเป็นอันตราย แต่บางสถานการณ์จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที สัญญาณอันตรายของการมีเลือดออกทางช่องคลอดมีดังนี้:- เลือดมากเกินไป : หากคุณใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือผ้าอนามัยแบบสอดเปียกชุ่มภายในหนึ่งชั่วโมง หรือมีเลือดออกหนักมาก อาจเป็นสัญญาณของภาวะร้ายแรง เช่น เนื้องอกในมดลูก ภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือการแท้งบุตร
- เลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ : เลือดออกทางช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก อาจเป็นสัญญาณของการแท้งบุตร การตั้งครรภ์นอกมดลูก (เมื่อไข่ที่ปฏิสนธิปลูกถ่ายนอกมดลูก) หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
- เลือดออกในวัยหมดประจำเดือน : หากคุณเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและมีเลือดออกทางช่องคลอด อาจเป็นสัญญาณของปัญหาที่ซ่อนอยู่ เช่น มะเร็งมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ หรือภาวะทางนรีเวชอื่นๆ ที่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์
- เลือดออกพร้อมกับความเจ็บปวดหรือเวียนศีรษะ : หากมีเลือดออกทางช่องคลอดร่วมกับอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ปวดกระดูกเชิงกราน เวียนศีรษะ หรือเป็นลม อาจบ่งบอกถึงการตั้งครรภ์นอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่แตก หรือภาวะร้ายแรงอื่นๆ
- เลือดออกโดยมีลิ่มเลือด : ลิ่มเลือดหรือเนื้อเยื่อขนาดใหญ่ออกมาร่วมระหว่างมีเลือดออกทางช่องคลอดอาจบ่งบอกถึงการแท้งบุตร เนื้องอกในมดลูก หรือความผิดปกติอื่นๆ
- เลือดออกต่อเนื่องหรือเป็นซ้ำ : หากคุณมีเลือดออกระหว่างรอบเดือน หลังมีเพศสัมพันธ์ หรือเวลาอื่นที่คุณไม่คาดว่าจะมีเลือดออก สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาผู้ให้บริการด้านการแพทย์ เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่
- เลือดออกร่วมกับอาการอื่นๆ : หากมีเลือดออกร่วมกับอาการ เช่น มีไข้ เจ็บท้อง ตกขาวผิดปกติ หรือมีกลิ่นเหม็น อาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อ โรคเกี่ยวกับกระดูกเชิงกรานอักเสบ หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
- เลือดออกตามหัตถการ : หากคุณเพิ่งเข้ารับการผ่าตัดทางนรีเวช เช่น การตัดชิ้นเนื้อ การผ่าตัด หรือการรักษาอื่นๆ แล้วพบว่ามีเลือดออกหนักหรือเป็นเวลานานหลังจากนั้น อาจบ่งบอกถึงภาวะแทรกซ้อนได้
การวินิจฉัยโรค
เมื่อคุณไม่พบเเพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับการมีเลือดออกจากช่องคลอด ควรเตรียมตังเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับอาการของคุณ สิ่งที่เป็นประโยชน์มากคือการจดบันทึกการมีรอบเดือนของคุณ ควรจดบันทึกการมีรอบเดือนตั้งแต่ต้นจนจบว่ามีปริมาณประจำเดือนมากหรือน้อย เนื่องจากแพทย์ต้องการทราบเกี่ยวกับอาการอื่นๆที่คุณเคยมีรวมถึงยาที่คุณใช้ นอกจากนี้แพทย์ทำการตรวจอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน การตรวจวินิจฉัยช่วยทำให้สามารถระบุสาเหตุของการมีเลือดไหลออกจากช่องคลอดได้ นอกจากนี้แพทย์จะทำการตรวจวัดระดับฮอร์โมนในร่างกายและทำการตรวจเนื้อเยื่อที่ตัดออกมาจากปากมดลูกหรือเนื้อเยื่อมดลูกเพื่อทำการตรวจที่เรียกว่าการตัดเนื้อเยื่อไปตรวจ รวมถึงการทำอัลตร้าซาวด์ด้วยเช่นกันการรักษาอาการเลือดออกทางช่องคลอด
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาสำหรับภาวะเลือดออกจากช่องคลอดโดยเฉพาะ มีเพียงแต่การรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นและแก้ไขสาเหตุที่ทำให้มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดผิดปกติผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่ทำการรักษาภาวะเลือดไหลจากช่องคลอด
บางครั้งเลือดที่ไหลออกจากช่องคลอดสามารถหายเองไปได้เอง อย่างไรก็ตามผู้หญิงบางคนอาจมีโรคบางอย่างที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เนื่องจากหากปล่อยให้เกิดอาการเลือดไหลออกช่องคลอดเป็นเวลานานอาจทำให้ปัญหาที่รุนเเรงมากขึ้น ถ้าหากสาเหตุที่ทำให้มีเลือดไหลเกิดจากการติดเชื้อ โรคมะเร็งหรือโรคร้ายเเรงอื่นๆอาจเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตได้การป้องกันภาวะเลือดไหลออกจากช่องคลอดก่อนมีประจำเดือน
เราสามารถป้องกันภาวะเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติในช่วงระหว่างการมีรอบเดือนได้โดยขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติ อย่างไรก็ตามมีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่สามารถป้องกันได้ การรักษาสุขภาพและการรักษาน้ำตัวให้อยู่ในระดับปกติเป็นวิธีป้องกันปัญหาเลือดออกจากช่องคลอดได้ เนื่องจากการมีน้ำหนักตัวเกินทำให้ประจำเดือนมากไม่ปกติ การทานยาคุมกำเนิดสามารถทำได้เพื่อควบคุมความสมดุลของฮอร์โมน นอกจากนี้ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเเละผ่อนคลายจากความเครียด สำหรับการใช้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้แก่ยาไอบลูโพนเฟน (Advil) หรือ ยาอะนาพร็อกเซน (Aleve, Naprosyn) ควรหลีกเลี่ยงการทานยาแอสไพริน (Bufferin) เพราะเป็นยาที่ทำให้มีเลือดออกได้มากขึ้นนี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/symptoms/vaginal-bleeding/basics/causes/sym-20050756
- https://www.webmd.com/women/spotting-between-periods
- https://www.medicinenet.com/vaginal_bleeding/article.htm
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น