หากปัสสาวะขุ่น (Urine Cloudy) อาจหมายความว่ามีบางอย่างผิดปกติกับทางเดินปัสสาวะ แม้ว่าปัสสาวะขุ่นจะเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ แต่อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง
ปัสสาวะขุ่นอาจเกิดจาก:
- การขาดน้ำ
- ภาวะติดเชื้อ
- ปัญหาไต
- โรคเรื้อรังบางชนิด
สาเหตุปัสสาวะขุ่นโดยทั่วไป
การขาดน้ำ
ปัสสาวะสีเข้มและขุ่นมักเกิดจากการขาดน้ำ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าที่จะได้รับ โดยพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง แต่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงหลายคนมีอาการขาดน้ำเล็กน้อยในตอนเช้า และหลังออกกำลังกายอย่างหนัก เมื่อขาดน้ำร่างกายจะกักเก็บน้ำไว้ให้มากที่สุด นั่นทำให้ปัสสาวะจะมีความเข้มข้นสูงและมีสีเข้มกว่าปกติ อาการของการขาดน้ำได้แก่- ปัสสาวะสีเข้มหรือขุ่นมัว
- กระหายน้ำมาก
- ปัสสาวะไม่บ่อย
- เด็กจะพบว่าผ้าอ้อมแห้ง
- ปากแห้ง
- วิงเวียน
- ปวดหัว
- มึนงง
ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTIs) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยได้บ่อยในอาการปัสสาวะขุ่น UTIs คือการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ โดยจะส่งผลกระทบต่อท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ ท่อไต และไต UTI พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะที่สั้นกว่าทำให้ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดจากอุจจาระได้ง่าย UTI เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเติบโตอย่างไม่สามารถควบคุมได้ และร่างกายส่งเซลล์เม็ดเลือดขาวไปจัดการกับเชื้อเหล่านั้น เซลล์เหล่านี้จะถูกขับออกทางปัสสาวะ เมื่อเม็ดเลือดขาวผสมกับปัสสาวะจะมีสีขุ่นหรือสีเหมือนน้ำนม อาการของการติดเชื้อในการเดินปัสสาวะได้แก่- ต้องออกแรงในการปัสสาวะ
- ปัสสาวะที่มีสีขุ่น น้ำนม แดง ชมพูหรือน้ำตาล
- ปัสสาวะมีกลิ่นแรงหรือมีกลิ่นเหม็น
- รู้สึกแสบขณะปัสสาวะ
- ปวดหลังส่วนล่างหรือกลาง
- ปวดปัสสาวะ แต่ปัสสาวะน้อย
- ปวดท้องน้อยในผู้หญิง
- ไตได้รับความเสียหาย
- การติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง
- ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์
- ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (อันตรายถึงชีวิต)
ช่องคลอดอักเสบ
ปัสสาวะขุ่นบางครั้งเกิดจากช่องคลอดอักเสบ ซึ่งช่องคลอดอักเสบคือ การติดเชื้อในช่องคลอดได้แก่- ติดเชื้อแบคทีเรีย
- ติดเชื้อยีสต์
- ติดเชื้อไตรโคโมแนส
- อาการคัน ปวด หรือแสบรอบ ๆ ช่องคลอด
- มีของเหลวไหลออกมาผิดปกติ
- กลิ่นเหม็น
- หลังมีเพศสัมพันธุ์มีกลิ่นคาวปลา
- สีเหลือง สีเขียว สีเทาหรือสีคล้ายชีส
- รู้สึกแสบขณะปัสสาวะ
นิ่วในไต
นิ่วในไตเกิดจากผลึกและเกลือที่ผิดปกติซึ่งก่อตัวขึ้นภายในทางเดินปัสสาวะ สิ่งเหล่านี้สามารถเติบโตได้อย่างมาก และสร้างความเจ็บปวดอย่างมาก นิ่วในไตสามารถติดอยู่ในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ และการอุดตันได้ ปัสสาวะขุ่นเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ามีนิ่วในไต และสามารถนำไปสู่การติดเชื้อ อาการของนิ่วในไตได้แก่- ปวดใต้ซี่โครงด้านข้างหรือด้านหลังอย่างรุนแรง
- ปวดท้องน้อยและขาหนีบ
- ปวดขณะปัสสาวะ
- ปัสสาวะสีชมพู แดงหรือน้ำตาล
- ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น
โรคไตจาก เบาหวานหรือความดันโลหิตสูง
โรคไตเรื้อรังส่วนใหญ่เกิดจากโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรังเกิดขึ้นนันจะมีระยะ และการลุกลามของโรคไตเรื้อรังอาจทำให้ไตวายได้ ไตวายเกิดขึ้น เมื่อไตทำงานลดลงต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์จากปกติ ไตมีหน้าที่กรองของเสียและของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกาย เมื่อไตทำงานไม่ปกติทำให้เกิดการสะสมของเสีย และขัดขวางสมดุลของเกลือและแร่ธาตุในกระแสเลือด เนื่องจากไตมีหน้าที่หลักในการผลิตปัสสาวะ การเปลี่ยนแปลงการทำงานของไตจึงทำให้สีหรือกลิ่นของปัสสาวะเปลี่ยนไปได้ อาการของไตวายได้แก่- ขา ข้อเท้าและเท้ามีอาการบวม
- ปวดศีรษะ
- อาการคัน
- คลื่นไส้อาเจียน
- เหนื่อยล้าระหว่างวัน พักผ่อนไม่เพียงพอ
- ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ได้แก่ เบื่ออาหารและน้ำหนักลดอย่างไม่มีสาเหตุ
- ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนแรง
- ปัสสาวะน้อยหรือไม่มีเลย
- ปวดหรือตึงในข้อต่อของคุณ
- มึนงง ปัญหาทางสติปัญญา
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) คือ การติดเชื้อที่สามารถส่งผ่านจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งได้ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยๆ เช่น หนองใน และหนองในเทียม มีอาการเพียงเล็กน้อย เช่นเดียวกับการติดเชื้ออื่น ๆ (ช่องคลอดอักเสบ และ UTIs) เม็ดเลือดขาวจะตอบสนองต่อบริเวณที่ติดเชื้อ ทำให้เมื่อปัสสาวะแล้วเม็ดเลือดขาวเหล่านี้จะผสมกับปัสสาวะทำให้มีปัสสาวะลักษณะขุ่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจทำให้เกิดการตกขาวหรือความผิดปกติของอวัยวะเพศ ซึ่งอาจออกมาปนกับปัสสาวะ และทำให้ปัสสาวะมีสีขุ่นได้ อาการของการติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ได้แก่- คันอวัยวะเพศ
- แสบร้อนระหว่างการถ่ายปัสสาวะ
- ผื่นหรือแผลพุพอง หรือหูด
- ปวดอวัยวะเพศ
- ปวดท้องน้อยในผู้หญิง
- ปวดระหว่างหรือหลังมีเพศสัมพันธ์
เบาหวาน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ทำให้ไตต้องทำงานหนักกว่าปกติ เพื่อกรองน้ำตาลนี้ออกไป และน้ำตาลนี้จะถูกขับออกทางปัสสาวะ โรคเบาหวานทำให้ไตเครียด และสามารถนำไปสู่โรคไต โรคไตจะได้รับการวินิจฉัยด้วยการพบโปรตีนบางชนิดในปัสสาวะ โดยโปรตีนเหล่านี้ ทำให้สี และกลิ่นของปัสสาวะเปลี่ยนแปลงไป อาการทั่วไปของโรคเบาหวาน ได้แก่- กระหายน้ำอย่างมาก
- ปัสสาวะบ่อย
- เหนื่อยล้า
- น้ำหนักลดลง
- แผลหายช้า
- การติดเชื้อบ่อยครั้ง
การรับประทานอาหาร
การดื่มนมที่มากเกินไปส่งผลให้ปัสสาวะขุ่นได้ ผลิตภัณฑ์นมมีแคลเซียมฟอสเฟต ไตมีหน้าที่กรองฟอสฟอรัสออกจากเลือด ดังนั้นฟอสฟอรัสส่วนเกินจะถูกขับออกทางปัสสาวะ เมื่อฟอสฟอรัสถูกขับออกทางปัสสาวะ ฟอสฟอรัสในปัสสาวะอาจทำมห้สีของปัสสาวะขุ่นมัว หากมีอาการนี้รุนแรงควรพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก
ปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก เช่น ต่อมลูกหมากอักเส ส่งผลให้ปัสสาวะขุ่นได้ Prostatitis คือ การอักเสบหรือการติดเชื้อของต่อมลูกหมากซึ่งเป็นต่อมที่อยู่ภายใต้กระเพาะปัสสาวะในผู้ชาย โดยมีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ปัสสาวะที่ขุ่นสามารถเกิดได้จากเม็ดเลือดขาว หนองหรืออวัยวะเพศชาย อาการของต่อมลูกหมากอักเสบ ได้แก่- ปวดหรือแสบระหว่างถ่ายปัสสาวะ
- ปัสสาวะลำบาก
- ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะในเวลากลางคืน
- ปัสสาวะมีเลือดปน
- ปวดท้อง ขาหนีบ หรือหลังส่วนล่าง
- ปวดอวัยวะเพศ
- เจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
- อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
ภาวะตั้งครรภ์
ในระหว่างตั้งครรภ์ปัสสาวะขุ่นสามารถเกิดได้จาก UTI, STI หรือช่องคลอดอักเสบ โดยอาการเหล่านี้ก็จะเหมือนกับคนทั่วไปที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการติดเชื้อเหล่านี้สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการรักษา การติดเชื้อที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้น้ำหนักของทารกแรกเกิดต่ำ เจ็บครรภ์ก่อนกำหนด และอาจเป็นการติดเชื้ออื่น ๆ ที่ร้ายแรงกว่า บางครั้งโปรตีนในปัสสาวะเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ที่เป็นอันตราย โดยทั่วไปโปรตีนจะไม่ทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนไป แต่ถ้าระดับโปรตีนสูงมากสามารถทำให้ปัสสาวะมีฟองได้ โปรดเข้าพบแพทย์หากคุณอยู่ระหว่างตั้งครรภ์ และมีสัญญาณของช่องคลอดติดเชื้อหรือภาวะครรภ์เป็นพิษการป้องกัน
มีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้ปัสสาวะมีสีขุ่น บางครั้งอาจไม่เป็นอันตราย แต่บางครั้งจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ หากอาการนี้อยู่นานกว่า 2-3วัน ให้เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา โดยทั่วไปจำเป็นต้องมีการตรวจปัสสาวะ และเลือดเพื่อการวินิจฉัยสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำเมื่อมีปัสสาวะขุ่น
ปัสสาวะขุ่นอาจเกิดจากหลายปัจจัย และแม้ว่าบางกรณีอาจไม่เป็นอันตราย แต่บางกรณีอาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำหากคุณสังเกตเห็นว่าปัสสาวะมีสีขุ่น:สิ่งที่ต้องทำ:
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ : ในหลายกรณี ปัสสาวะขุ่นเกิดจากการขาดน้ำ การดื่มน้ำให้เพียงพอสามารถช่วยให้ปัสสาวะของคุณใสขึ้นได้
- สังเกตอาการของคุณ : สังเกตอาการอื่น ๆ ที่คุณอาจพบ เช่น ปวดหรือแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย หรือมีกลิ่นผิดปกติ ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
- ขอคำแนะนำจากแพทย์ : หากความขุ่นยังคงอยู่หรือมีอาการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ร่วมด้วย จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการประเมินและวินิจฉัยที่เหมาะสม
- หลักปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่ดี : ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังการใช้ห้องน้ำเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
ไม่ควรทำ:
- อย่าตื่นตระหนก : ปัสสาวะขุ่นไม่ได้บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงเสมอไป ในหลายกรณี อาจเป็นปัญหาชั่วคราวและไม่เป็นอันตราย
- หลีกเลี่ยงการวินิจฉัยตนเอง : แม้ว่าจะมีสาเหตุทั่วไปที่ทำให้ปัสสาวะขุ่นมัว แต่สิ่งสำคัญคือต้องไม่วินิจฉัยตนเอง ฝากการวินิจฉัยไว้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่สามารถพิจารณาสถานการณ์เฉพาะและประวัติทางการแพทย์ของคุณ
- อย่าเพิกเฉยต่ออาการต่อเนื่อง : หากปัสสาวะขุ่นยังคงมีอยู่หรือมีอาการปวด มีไข้ หรืออาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย อย่าเพิกเฉย ไปพบแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น
- อย่าชะลอการรักษา : หากแพทย์วินิจฉัยโรคประจำตัว ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาและการจัดการ การรักษาล่าช้าอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/324443
- https://www.medicinenet.com/cloudy_urine/symptoms.htm
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/urine-color/symptoms-causes/syc-20367333
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น