โรคกลัวรู (Trypophobia) – อาการ ปัจจัยเสี่ยง

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
โรคกลัวรู

โรคกลัวรูคือ อะไร 

Trypophobia คือ อาการกลัว หรือขยะแขยงรูที่ติด ๆ กันเป็นกระจุก ผู้ที่เป็นโรคนี้มักรู้สึกคลื่นไส้เมื่อเห็นรูที่รวมกันอยู่เยอะ ๆ ตัวอย่างเช่น หัวของดอกบัว หรือสตรอว์เบอร์รี่เป็นสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดความไม่สบายตัวในผู้ที่กลัวรู  อาการกลัวนี้ยังไม่ได้รับการับทราบอย่างเป็นทางการ จึงทำให้การศึกษา และทดลองในโรคนี้ยังมีน้อย 

ตัวกระตุ้น 

ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการส่วนมาก คือ:
  • หัวดอกบัว 
  • รังผึ้ง
  • สตรอว์เบอร์รี่
  • ปะการัง
  • โฟมโลหะ
  • ทับทิม 
  • ฟองต่าง ๆ 
  • หยดน้ำจากการควบแน่น 
  • แคนตาลูป
  • ตาที่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ 
สัตว์ รวมไปถึงแมลง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์อื่น ๆ ที่ตัว หรือขนมีจุด กระตุ้นให้เกิดอาการกลัวรู อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ โรคกลัวสังคม

อาการของโรคกลัวรู

อาการจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ที่เป็นโรคนี้เห็นวัตถุที่มีกลุ่มของรู หรือรูปร่างรูที่รวมกันเป็นกลุ่ม  เมื่อเห็นกลุ่มของรู คนที่เป็นโรคนี้จะรู้สึกกลัว หรือรังเกลียด อาการมักเป็นดังนี้:
  • ขนลุก 
  • รู้สึกขยะแขยง 
  • รู้สึกไม่สบายตัว 
  • การมองเห็นไม่ชัดเจน เช่น ปวดตา เห็นภาพบิดเบี้ยว หรือเห็นภาพหลอน 
  • ขนหัวลุก 
  • ตื่นตระหนก 
  • เหงื่อออก
  • คลื่นไส้ 
  • ตัวสั่น 

ปัจจัยเสี่ยง 

เรายังไม่ทราบถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากโรคกลัวรู การศึกษาหนึ่งพบความเชื่อมโยงของโรคกลัวรู กับโรควิตกกังวลทั่วไป และโรคซึมเศร้า จากการค้นคว้า ผู้ที่กลัวรูมีเเนวโน้มที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าด้วย อีกการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างโรควิตกกังวลกับโรคกลัวรู

Trypophobia

การรักษา 

การรักษาโรคกลัวรูสามารถทำได้หลายวิธี วิธีหนึ่งที่ได้ผลมากคือ การบำบัดด้วยการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว (Exposure Therapy)  อีกการรักษาหนึ่งคือ การรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัด เป็นการรักษาที่ช่วยให้เราจัดการกับความวิตกกังวล และไม่ให้เราคิดมากเกินไป  การรักษาอื่น ๆ ได้แก่:
  • การปรึกษากับจิตแพทย์ 
  • การใช้ยา เช่น Beta-Blockers  และ ยากล่อมประสาทที่ช่วยลดความวิตกกังวล และอาการตื่นตระหนก 
  • เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การหายใจลึก ๆ และการทำโยคะ 
  • กิจกกรมทางร่างกายต่าง ๆ และการออกกำลังกายเพื่อจัดการกับความเครียด 
  • การหายใจอย่างมีสติ การสังเกตตัวเอง การฟัง หรือวิธีอื่นที่ช่วยจัดการกับความเครียด 
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ Beta Blockers ยาที่ใช้รักษาโรควิตกกังวลแล้วได้ผล ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าสามารถรักษาโรคกลัวรูได้หรือไม่  การทำสิ่งเหล่านี้อาจช่วยได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ 
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนที่จะทำให้ความวิตกกังวลแย่ลง 
  • คุยกับเพื่อน ครอบครัว หรือกลุ่มที่มีอาการเดียวกันเพื่อจัดการกับโรคนี้
  • เผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ทำให้กลัวบ่อย ๆ เท่าที่จะทำได้

 การบำบัดทางปัญญา-พฤติกรรม  : 

  • การมีส่วนร่วมในกิจกรรมเจริญสติ เช่น การทำสมาธิแบบมีสติหรือโยคะ อาจช่วยให้คุณตระหนักถึงความคิดและอารมณ์ของตัวเองมากขึ้นโดยไม่ถูกครอบงำโดยสิ่งเหล่านั้น การปฏิบัติเหล่านี้สามารถส่งผลต่อความเป็นอยู่ทางอารมณ์โดยรวมได้

เทคนิคการผ่อนคลาย: 

การฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การหายใจเข้าลึกๆ การทำสมาธิ หรือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบค่อยเป็นค่อยไป สามารถช่วยจัดการความวิตกกังวลและความเครียดที่เกี่ยวข้องกับตัวกระตุ้นทริปโปโฟเบียได้

การฝึกสติและการฝึกสติและร่างกาย: 

การมีส่วนร่วมในกิจกรรมเจริญสติ เช่น การทำสมาธิแบบมีสติหรือโยคะ อาจช่วยให้คุณตระหนักถึงความคิดและอารมณ์ของตัวเองมากขึ้นโดยไม่ถูกครอบงำโดยสิ่งเหล่านั้น การปฏิบัติเหล่านี้สามารถส่งผลต่อความเป็นอยู่ทางอารมณ์โดยรวมได้
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด