ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวคืออะไร
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Ministroke/Transient ischemic attack :TIA) เกิดจากส่วนของสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว ซึ่งมีลักษณะอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมองแต่จะกลับมาดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง
สิ่งที่ไม่เหมือนโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวโดยตัวโรคเองไม่ได้ก่อให้เกิดความพิการถาวร เมื่อเกิดอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมองจะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน คุณควรให้ความสนใจในกรณีฉุกเฉินทันทีหากคุณพบอาการใดๆ
การู้สัญญาณของภาวะสมองขาดเลือกชั่วขณะจะสามารถช่วยให้คุณได้รับการรักษาที่คุณต้องการโดยเร็วที่สุด โดยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ที่มีประสบการณ์ต่อภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวในภายหลังมีประสบการณ์เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆจึงเป็นสิ่งสำคัญ
อาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวยากแก่การระบุ แต่อาการบางอย่างอาจบอกได้ว่าคุณเคยมีอาการนี้ อาการอาจหายวับไป
อาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวที่พบบ่อยได้แก่:
-
ไม่สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจ เป็นความผิดปกติทางภาษา
-
มีความผิดปกติในการพูด หรือเป็นความยากลำบากทางกายภาพในการพูด
-
การมองเห็นเปลี่ยนไป
-
มีปัญหาเรื่องความสมดุล
-
รู้สึกเสียวซ่า
-
การมีสติรู้ตัวเปลี่ยนแปลงไป
-
สลบไม่ได้สติ
-
ปวดศีรษะรุนแรง
-
การรับรสผิดปกติ
-
การรับกลิ่นผิดปกติ
-
ไม่มีแรงหรือรู้สึกชาที่ด้านขวาหรือซ้ายของใบหน้า หรือร่างกาย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของลิ้มเลือดในสมอง
โทรเรียกรถฉุกเฉินในพื้นที่ หรือไปที่หน่วยฉุกเฉินของโรงพยาบาล หากคุณมีอาการเหล่านี้
ไม่สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจ (Dysphasia)
ผู้ที่ที่ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวอาจพบว่าตัวเองไม่สามารถพูดได้ชั่วคราว ภายหลังเกิดภาวะดังกล่าว เขาอาจบอกแพทย์ว่าเขาจำคำศัพท์ได้ยากขึ้นระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ ปัญหาในการพูดอื่นๆอาจรวมถึงปัญหาในการพูดคำศัพท์หรือทำความเข้าใจคำศัพท์
ภาวะดังกล่าวเรียกว่า Dysphasia ข้อเท็จจริง ดิสฟาเซียในบางครั้งก็เป็นอาการเพียงอย่างเดียวของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
การพูดที่มีปัญหาบ่งชี้ว่าเกิดการอุดตันหรือมีลิ่มเลือดที่เป็นเหตุให้เกิดภาวะสมองลฃขาดเลือดชั่วขณะเกิดขึ้นในสมองซีกที่โดดเด่น
ตาบอดข้างเดียวชั่วคราว
บางครั้งภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวก็เป็นการรบกวนทางสายตาโดยเฉพาะที่เรียกว่า Amaurosis fugax เรียกว่าเป็นภาวะตาบอดข้างเดียวชั่วคราว(Transient monocular blindness :TMB)
Amaurosis fugax ผู้ที่เป็นจะมีการมองเห็นเพียงข้างเดียว โดยจะมืดลงกระทันหันหรือถูกบดบัง โลกเป็นสีเทาหรือวัตถุพร่ามมัว อาการดังกล่าวอาจคงอยู่เป็นวินาทีหรือเป็นนาที การได้รับแสงจ้าสามารถทำให้ Amaurosis fugax รุนแรงขึ้นได้ คุณอาจไม่สามารถอ่านคำบนกระดาษสีขาวได้
สาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
การเกิดลิ่มเลือดนำไปสู่สาเหตุการเกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว สาเหตุทั่วไปอื่นๆของภาวะดังกล่าวได้แก่:
-
atherosclerosis-0632/”>โรคหลอดเลือดแดงแข็ง หรือหลอดเลือดแดงตีบเกิดจากการสะสมของคราบแคลเซียมหรือไขมันในหรือรอบๆสมอง
-
โรคหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดแดงคาโรติดภายในหรือภายนอกของสมองถูกขัดขวาง ซึ่งส่วนใหญ่สาเหตุเกิดจากหลอดเลือดแดงแข็ง
-
ระดับคอเรสเตอรอลสูง
ภาวะสมองขาดเลือกชั่วขณะเป็นนานแค่ไหน
อาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจะเกิดเป็นเวลาสั้นๆเพียง 1 นาที ตามความหมายภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจะอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
บ่อยครั้ง อาการจะหายไปเมื่อไปพบแพทย์ อาการของคุณจะไม่ปรากฏในขณะที่แพทย์ประเมินคุณ ดังนั้นคุณต้องอธิบายเหตุการณ์หลังจากที่อาการของคุณหายไป
นอกเหนือจากระยะเวลาแล้ว อาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจะเหมือนกับอาการของโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเป็นชนิดของโรคหลอดเลือดสมองที่พบได้บ่อยที่สุด
ควรทำอย่างไรหากมีคนเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
อาการที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันและไม่มีสัญญาณเตือนอาจบ่งบอกถึงโรคหลอดเลือดสมอง “FAST” เป็นคำย่อที่ช่วยให้คุณรู้จักอาการของโรคหลอดเลือดสมองที่พบบ่อย
FAST |
สัญญาณเตือน |
F : Face ใบหน้า |
หากคุณสังเกตเห็นรอยยิ้มหรือมุมปากตกบนใบหน้า สิ่งนี้เป็นสัญญาณเตือน |
A : Arm แขน |
แขนชาหรืออ่อนแรงอาจเป็นสัญญาณเตือน คุณสามารถขอให้คนอื่นยกแขนคุณขึ้นได้หากคุณไม่แน่ใจ มันเป็นสัญญาณเตือนหากแขนตกลงมาหรือไม่สามารถยกขึ้นได้ |
S : Speech พูดลำบาก |
ขอให้คนพูดบางอย่างซ้ำๆ การพูดไม่ชัดสามารถบ่งบอกว่าบุคคลนั้นกำลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง |
T : Time เวลา |
ดำเนินการอย่างรวดเร็วหากพบผู้ที่มีอาการของโรคหลดเลือดสมอง โทรแจ้ง 1669 หรือหน่วยฉุกเฉินในพื้นที่ |
โทร 1669 หรือหน่วยฉุกเฉินในพื้นที่หากคุณหรือบางคนรอบตัวคุณมีอาการดังกล่าว
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมอง
ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก มันสามารถทำลายผนังภายในของหลอดเลือดแดง เป็นผลให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง คราบที่ถูกสร้างขึ้นนี้จะทำให้หลอดลเลือดแตกและนำไปสู่การเกิดลิ่มเลือดภายในหลอดเลือแดง ความผิดปกติเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมอง
หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงจากแพทย์ มันเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้ความดันเลือดของคุณอยู่ในเกณฑ์ปกติ คุณควรมีเครื่องวัดความดันโลหิตเอาไว้ติดตามความดันของคุณที่บ้าน
บางครั้งผู้ที่มีกลุ่มอาการ ที่เรียกว่า White coat syndrome จะมีลักษณะคือความดันโลหิตของคุณจะสูงกว่าปกติเมื่อคุณอยู่ในห้องตรวจกับแพทย์เนื่องด้วยความกังวลเกี่ยวกับการตรวจประเมินความดันโลหิตของคุณ
ทำการจดบันทึกค่าความดันโลหิตของคุณที่บ้านจะทำให้แพทย์สามารถประเมินสภาวะความดันของคุณได้ดียิ่งขึ้น ข้อมูลนี้จะช่วยให้แพทย์ปรับยาลดความดันโลหิตได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
หากคุณมีเครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้าน คุณควรวัดความดันทันทีเมื่อคุณมีอาการดังต่อไปนี้:
-
รู้สึกบ้านหมุน
-
วิงเวียนศีรษะ
-
รู้สึกร่างกายขาดการประสานงานกัน
-
ไม่สามารถเดินหรือทรงตัวได้ปกติ
หากคุณไม่สามารถตรวจวัดความดันได้ที่บ้าน คุณควรโทรหาหมอทันทีหรือไปโรงพยาบาลในพื้นที่หรือหน่วยฉุกเฉิน
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมองได้แก่:
-
ระดับคอลเรสเตอรอลสูง
-
โรคเบาหวาน
-
การสูบบุหรี่
-
ภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว (Atrial fibrillation)
จากการศึกษาในปีค.ศ.2014:
-
พบภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวในผู้ชายมากกวว่าผู้หญิง
-
ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงมากกว่าคนหนุ่มสาว
-
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวถูกรายงานบ่อยที่สุดในวันจันทร์
การวินิจฉัยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวไม่ทำให้สมองถูกทำลายถาวร แต่ยังคงต้องรีบเข้ารับการตรวจทางการแพทย์หากคุณมีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
เนื่องจากอาการของภาวะดังกล่าวถูกระบุในอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมันไม่สามารถบอกได้ว่าคุณเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ความแตกต่างนี้จึงต้องได้รับการประเมินทางการแพทย์
ความแตกต่างจากอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวคือ โรคหลอดเลือดสมองเป็นการเกิดขึ้นอย่างถาวรและส่งผลให้เนื้อเยื่อสมองถูกทำลายอย่างถาวร อย่างไรก็ตามอาการของโรคหลอดเลือดสมองอาจดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป การเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจะทำให้คุณเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมองมีสาเหตุที่เหมือนกัน
ทางเดียวที่จะบอกได้ถึงความแตกต่างระหว่างภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมองคือการไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ CTscan หรือ MRIscan สมอง
หากคุณเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีแนวโน้มว่าจะไม่ปรากฏในภาพของ CTscan สมองเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมงส่วน MRIscan มักจะแสดงได้เร็วกว่า
ในการประเมินหาสาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือโรคหลอดเลือดสมองนั้น แพทย์จะสั่งตรวจอัลตราซาว์นเพื่อดูการอุดกั้นที่สำคัญ หรือคราบที่มาเกาะในหลอดเลือดแดงคาโรติด คุณจำเป็นต้องทำการตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง(Echocardiogram) เพื่อดูว่ามีลิ่มเลือดในหัวใจหรือไม่
แพทย์อาจจะทำการตราวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(Electrocardiogram :ECG/EKG) และเอ็กซ์เรย์ช่วงอก
การรักษาภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
ปัจจุบันมีแนวทางในการรักษาหลายอย่าง ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวไม่ทำให้สมองถูกทำลายหรือเสียความสามารถ แต่มันจะเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง การรักษาภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจะมุ่งไปที่การเริ่มต้นหรือการประเมินการให้ยาที่ช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น
อาจต้องระบุความผิดปกติที่แพทย์สามารถแก้ไขหรือลดความเสี่ยงในอนาคตได้สำหรับภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือโรคหลอดเลือดสมอง
แนวทางในการรักษาได้แก่ การให้ยา, หัตถการทางการแพทย์ และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
ยาต้านเกล็ดเลือด
ยาต้านเกล็ดเลือดจะทำให้เกิดเกล็ดเลือดลดลงเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ยาเหล่านี้ได้แก่:
-
แอสไพริน (Aspirin)
-
โคลพิโดเกว (Clopidogrel :Plavix)
-
พราซูเกว (Prasugrel :Effient)
-
แอสไพริน-ไดพาริดาเมล (Aspirin-dipyridamole :Aggrenox)
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ยาเหล่านี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดโดยเป้าหมายอยู่ที่โปรตีนที่เป็นเหตุให้เกิดลิ่มเลือดมากกว่ามุ่งเป้าไปที่เกล็ดเลือด ได้แก่:
-
วอฟาริน (Warfarin :Coumadin)
-
ไรวาโรซาบาน (Rivaroxaban :Xarelto)
-
อพิซาบาน (Apixaban :Eliquis)
หากคุณรับประทานวอฟาริน คุณจำเป็นต้องติดตามโดยการตรวจเลือดเพื่อยืนยันว่ารับประทานในปริมาณที่ถูกต้อง ยาเช่น ไรวาโรซาบาน และอพิซาบาน ไม่จำเป็นต้องติดตามค่า
การสวนหลอดเลือด
เป็นหัตถการในการผ่าตัดที่จะลุกเข้าไปในหลอดเลือดแดงคาโรติดโดยใช้สายสวนเข้าไป
ซึ่งสายสวนนี้จะใส่เข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ แพทย์จะใช้อุปกรณ์ลักษณะคล้ายบอลลูนทำการเปิดหลอดเลือดแดงที่อุดตัน พวกเขาจะวางแนวลวดหรือขดลวดภายในหลอดเลือดแดงในแนวที่ตีบตันเพื่อให้การไหลเวียนเลือดไปสู่สมองดีขึ้น
การผ่าตัด
คุณอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในอนาคต หากคุณมีการตีบตันที่หลอดเลือดแดงคาโรติดบริเวณลำคออย่างรุนแรงและไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวนหลอดเลือดหรือการใส่ขดลวดได้ แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเรียกว่า การผ่าตัดเปิดหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ(Carotid endarterectomy)
ในขั้นตอนดังกล่าว แพทย์จะนำไขมันหรือคราบที่ขัดขวางอยู่ออกให้หมด สิ่งนี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่างๆของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือโรคหลอดเลือดสมองได้
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอาจจำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงในอนาคตของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือโรคหลอดเลือดสมอง ยาและกิจกรรมทางการแพทย์อื่นๆอาจไม่เพียงพอ
เหล่านี้เป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตได้แก่:
-
การออกกำลังกาย
-
การลดน้ำหนัก
-
การรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น
-
ลดการบริโภคของทอดและน้ำตาล
-
พักผ่อนให้เพียงพอ
-
การลดความเครียด
-
การควบคุมภาวะทางการแพทย์อื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน, ความดันโ,หิตสูง และระดับคอลเรสเตอรอลสูง
การป้องกันภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมองชนิดอื่นๆ บางครั้งก็ไม่สามารถป้องกันได้ แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงที่จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวได้
เคล็ดลับในการป้องกันภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมอง:
-
ไม่สูบบุหรี่
-
หลีกเลี่ยงควันบุหรี่มือสมอง
-
รับประทานอาการอย่างสมดุล โดยบริโภคผักและผลไม้ให้มากขึ้น
-
รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี
-
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
-
จำกัดการบริโภคแอลกอฮอร์.
-
ไม่ใช้สารเสพติด
-
ควบคุมโรคเบาหวานให้ดี
-
จำกัดการรับประทานอาหารที่มีคอลเรสเตอรอล โดยเฉพาะ ไขมันอิ่มตัวและไขมันทราน
-
ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
-
การลดความเครียด
โภชนาการที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว เป็นการหยุดชะงักชั่วคราวของการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง ส่งผลให้เกิดอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมักจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง แม้ว่าโภชนาการที่เหมาะสมเพียงอย่างเดียวไม่สามารถป้องกันภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวได้ แต่ก็มีบทบาทสำคัญในการลดปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองและภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว และส่งเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดโดยรวม ต่อไปนี้คือข้อควรพิจารณาด้านโภชนาการบางประการสำหรับผู้ที่เคยเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว หรือมีความเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว:- อาหารเพื่อสุขภาพหัวใจ:อาหารเพื่อสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยงของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมอง อาหารนี้เน้น:
- ผักและผลไม้:ตั้งเป้าไปที่ผักและผลไม้หลากสีสัน เนื่องจากมีวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็นซึ่งสนับสนุนสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
- ธัญพืชไม่ขัดสี:เลือกธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง และควินัว แทนธัญพืชขัดสี มีเส้นใยและสารอาหารสูงกว่า
- โปรตีนไร้มัน:เลือกแหล่งโปรตีนไร้ไขมัน เช่น สัตว์ปีก ปลา ถั่ว พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ และผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ จำกัดเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป
- ไขมันเพื่อสุขภาพ:เน้นไปที่ไขมันไม่อิ่มตัว เช่น ที่พบในน้ำมันมะกอก อะโวคาโด ถั่ว และเมล็ดพืช จำกัดไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ที่พบในอาหารทอด เนื้อติดมัน และของขบเคี้ยวแปรรูป
- โซเดียมต่ำ:ลดปริมาณโซเดียมโดยการลดอาหารแปรรูป ซุปกระป๋อง และของขบเคี้ยวที่มีรสเค็ม ตั้งเป้าที่จะอยู่ภายในขีดจำกัดโซเดียมในแต่ละวันที่แนะนำ
- กรดไขมันโอเมก้า 3: กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่พบในปลาที่มีไขมัน (เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และปลาเทราท์) เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเชีย และวอลนัท มีความเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว และโรคหลอดเลือดสมอง ลองรวมอาหารเหล่านี้เข้าไปในอาหารของคุณ
- ไฟเบอร์:อาหารที่มีเส้นใยสูงสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและรักษาความดันโลหิตให้แข็งแรงได้ อาหารที่อุดมด้วยไฟเบอร์ ได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี พืชตระกูลถั่ว ผลไม้ ผัก และถั่วเปลือกแข็ง
- จำกัดน้ำตาลและอาหารแปรรูป:การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปและอาหารแปรรูปที่มีน้ำตาลและไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพสูงอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและเพิ่มปัจจัยเสี่ยงสำหรับ ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมอง ลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ขนมหวาน และของขบเคี้ยวแปรรูปให้เหลือน้อยที่สุด
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ:การให้ความชุ่มชื้นอย่างเพียงพอเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพโดยรวม น้ำเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการคงความชุ่มชื้น
- การควบคุมปริมาณอาหาร:คำนึงถึงขนาดปริมาณอาหารเพื่อช่วยจัดการปริมาณแคลอรี่และรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ดี
- ปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพ:หากคุณมีข้อกังวลเรื่องอาหารหรือมีปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะ เช่น ความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน ให้ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหรือนักโภชนาการที่ลงทะเบียน พวกเขาสามารถให้คำแนะนำด้านอาหารส่วนบุคคลและติดตามความก้าวหน้าของคุณได้
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://medlineplus.gov/transientischemicattack.html
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/transient-ischemic-attack/symptoms-causes/syc-20355679
-
https://www.nhs.uk/conditions/transient-ischaemic-attack-tia/
-
https://www.webmd.com/stroke/what-is-tia
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team