ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ยาทรามาดอล

ยาทรามาดอล (Tramadol) คืออะไร

ยาทรามาดอล ชื่อภาษาอังกฤษคือ Tramadol และมีสูตรทางเคมีว่า C16H25NO2 Tramadol เป็นยาแก้ปวดชนิดแรงที่ใช้รักษาอาการปวดปานกลางถึงรุนแรง เช่น อาการปวดหลังการผ่าตัด หรือการได้รับบาดเจ็บสาหัส นอกจากนี้ยังใช้เพื่อรักษาอาการปวดเป็นเวลานาน เมื่อยาแก้ปวดทั่วไปไม่สามารถบรรเทาได้ ยาทรามาดอลเป็นยาที่ต้องใช้ตามคำสั่งแพทย์เท่านั้นนั้น ส่วนมากอยู่ในรูปแบบของยาเม็ด หรือแคปซูล ยาทรามาดอลสามารถทำให้เกิดการเสพติดได้ แต่แพทย์จะแนะนำวิธีการหลีกเลี่ยงการติดยาให้กับผู้ใช้งาน กรณีที่ต้องใช้ทรามาดอลนานกว่า 2-3 สัปดาห์ แผนการรักษาจะมีรายละเอียดที่เริ่มใช้ยา และหยุดใช้ยาในวันที่เท่าไรอย่างละเอียด ทางที่ดีไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์กับ tramadol เนื่องจากคุณมีแนวโน้มที่จะได้รับผลข้างเคียง เช่น ง่วงนอนมากกว่า ยาทรามาดอลมีชื่อการค้าจำนวนมาก เช่น Invodol, Larapam, Mabron, Maneo, Marol, Maxitram, Oldaram, Tilodol, Tradorec, Tramquel, Tramulief, Zamadol, Zeridame และ Zydol เป็นต้น ยาทรามาดอลเป็นยาในกลุ่มโอปิออยด์ สำหรับใช้รักษาอาการปวดรุนแรง หรือปานกลาง โดยเริ่มแรกมีการพัฒนาในประเทศเยอรมัน ในชื่อการค้าแรกว่า Tramol ก่อนที่จะถูกขายสิทธิบัตรไปให้หลายๆ บริษัท ที่เป็นสาเหตุให้ยาทรามาดอลมีชื่อการค้าจำนวนมาก มีทั้งชนิดรับประทาน และฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ยาทรามาดอลในท้องตลาดจะอยู่ในรูปเกลือไฮโดรคลอไรด์ ที่เราเรียกว่า “ทรามาดอลไฮโดรคลอไรด์” (Tramadol hydrochloride)

คุณสมบัติ และสรรพคุณของยาทรามาดอล

ยาทรามาดอลไม่เหมาะกับเด็กที่อายุุต่ำกว่า 12 ปี และคนที่มีปัญหาบางประเภท ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับประวัติด้านสุขภาพก่อนเริ่มใช้ยา รวมทั้งประวัติการallergy-0094/”>แพ้ยาทรามาดอล รวมทั้งยาอื่นๆ ยาทรามาดอลออกฤทธิ์ 2 ประการ
  • ออกฤทธิ์กระตุ้นตัวรับมิว µ-Receptor ซึ่งเมื่อกระตุ้นแล้วจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ กดประสาท ทำให้เคลิ้ม และมีความสุข ออกฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน แต่น้อยกว่าถึง 10 เท่า
  • ออฤทธิ์เพิ่มการทำงานของสารเซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) ในไขสันหลัง ทำให้บรรเทาอาการปวดได้
หากรับประทานเกินขนาด จนทำให้เซโรโทนินออกมามากเกินไป จะทำให้เป็นเซโรโทนินซินโดรมที่มีอาการกล้ามเนื้อเกร็ง มีไข้ มือสั่น และอาการทางประสาท เช่น ภาพหลอน เป็นต้น ในขณะเดียวกันการเพิ่มมากเกินไปของนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) นั้นจะปวดศีรษะรุนแรง ใจสั่น และชักได้  ดังนั้นยาทรามาดอลจึงถูกใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวดระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นชนิดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง โดยใช้ระงับอาการปวดที่รุนแรงในศีรษะ ไมเกรน ข้อต่อ และข้อเข่า เป็นต้น ยานี้อาจใช้เพื่อรักษาโรคหรืออาการอื่นๆ ได้ตามดุลยพินิจของแพทย์ หากมีข้อสงสัยควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร Tramadol

วิธีการใช้ยาทรามาดอล

การใช้ยาทรามาดอลทั่วไป
  • ชนิดเม็ด/แคปซูลที่ออกฤทธิ์เร็ว และหยด วันละ 3-4 ครั้ง
  • ชนิดเม็ด/แคปซูลที่ออกฤทธิ์ช้า วันละ 1-2 ครั้ง
หากเป็นผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 65 ปี) หรือมีปัญหาตับ และไต แพทย์จะหลีกเลี่ยงการให้ยาทรามาดอล ยาทรามาดอลสามารถเริ่มรับประทานช่วงใดของวันก็ได้ แต่ครั้งถัดไปในแต่ละครั้ง ควรห่างเป็นระยะเวลาเท่าๆ กัน

ผลข้างเคียงในการใช้ยาทรามาดอล

ยาทรามาดอลก็เหมือนยาทั่วไปที่ปกตินั้นปลอดภัย แต่ก็สามารถสร้างผลข้างเคียงได้ ผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ ผลข้างเคียงที่รุนแรงได้แก่
  • หายใจลำบาก
  • เวียนศีรษะ อ่อนแรง
  • ภาพหลอน 
  • มึนงง
  • ปัสสาวะไม่ได้
  • ชัก
หากมีอาการผลข้างเคียงดังด้านบนควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที และโดยเฉพาะผลข้างเคียงที่รุนแรงควรได้รับการรักษาอย่างฉุกเฉิน

ข้อควรระวังในการใช้ยาทรามาดอล

ยาทรามาดอลไม่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เพราะจะมีผลต่อทารกในควรรภ์ แต่สำหรับการรักษาอาการปวดขณะตั้งครรภ์รุนแรง แพทย์อาจจำเป็นต้องให้ทรามาดอล แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมที่เคร่งครัดของแพทย์ สำหรับคุณแม่ที่ให้นมบุตรสามารถใช้ทรามาดอลได้ เนื่องจากปริมาณทรามาดอลที่ส่งไปยังน้ำนมน้ำมีปริมาณต่ำมาก จนไม่มีอันตายกับลูกน้อย สิ่งสำคัญ คือ หากมีปัญหาสุขภาพ หรือใช้ยารักษาโรค หรือใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ ควรบอกแพทย์ให้ทราบก่อนเริ่มใช้ทรามาดอล เป็นการป้องกันผลข้างเคียงร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้น

ใครที่ควรหลีกเลี่ยง Tramadol

Tramadol เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ที่ใช้กันทั่วไปในการจัดการกับความเจ็บปวดปานกลางถึงรุนแรงปานกลาง อย่างไรก็ตาม มีบุคคลบางกลุ่มที่ไม่ควรรับประทาน Tramadol หรือควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงและปฏิกิริยาโต้ตอบได้ ข้อควรพิจารณาบางประการมีดังนี้:
  • โรคภูมิแพ้:
      • ผู้ที่แพ้ทรามาดอลหรือส่วนประกอบใดๆ ไม่ควรรับประทานยา
  • ประวัติอาการชัก:
      • Tramadol ช่วยลดเกณฑ์การชัก และบุคคลที่มีประวัติชักหรือโรคลมบ้าหมูอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะมีอาการชักขณะรับประทาน Tramadol
  • สภาพระบบทางเดินหายใจ:
      • Tramadol เช่นเดียวกับฝิ่นอื่นๆ สามารถกดการทำงานของระบบทางเดินหายใจได้ บุคคลที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจรุนแรง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือโรคหอบหืดรุนแรง ควรใช้ทรามาดอลด้วยความระมัดระวัง
  • การด้อยค่าของตับหรือไต:
      • Tramadol ถูกเผาผลาญในตับและขับออกทางไต บุคคลที่มีความบกพร่องทางตับหรือไตอย่างรุนแรงอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาหรือควรหลีกเลี่ยงทรามาดอลโดยสิ้นเชิง
  • ภาวะสุขภาพจิต:
      • Tramadol อาจส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง และอาจทำให้สภาวะสุขภาพจิตบางอย่างรุนแรงขึ้น เช่น อาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวล บุคคลที่มีประวัติความผิดปกติด้านสุขภาพจิตควรใช้ Tramadol ด้วยความระมัดระวังและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  • การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:
      • ความปลอดภัยของ Tramadol ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรยังไม่เป็นที่แน่ชัด สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตรควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนใช้ 
  • ประวัติการใช้สารเสพติด:
      • บุคคลที่มีประวัติการใช้สารเสพติด รวมถึงฝิ่นหรือแอลกอฮอล์ อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการใช้ทรามาดอลในทางที่ผิดหรือเสพติด
  • ปฏิสัมพันธ์กับยาอื่นๆ:
      • Tramadol สามารถโต้ตอบกับยาอื่นๆ รวมถึงยาแก้ซึมเศร้า ยาปฏิชีวนะบางชนิด และฝิ่นอื่นๆ สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้น
  • ผู้สูงอายุ:
    • ผู้สูงอายุอาจมีความไวต่อผลข้างเคียงของทรามาดอลมากกว่า เช่น อาการวิงเวียนศีรษะและระงับประสาท อาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาในประชากรกลุ่มนี้
ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเสมอก่อนเริ่มหรือเลิกใช้ยาใดๆ รวมถึงทรามาดอล พวกเขาสามารถประเมินบุคคลของคุณได้
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด