ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)
ต่อมทอนซิล (Tonsillitis) คืออะไร: ต่อมทอนซิลป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันคอยกำจัดเชื้อโรคในคอไม่ให้เข้าสู่ระบบทางเดินอาหารของร่างกาย ต่อมทอนซิลพบได้หลายตำแหน่งในช่องปาก หากมีความผิดปกติ หรือเกิดการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียจะส่งผลให้เป็นภาวะต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) ทอนซิลอักเสบเกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด เช่น แบคทีเรีย สเตรปโทคอกค (Streptococcal bacteria) เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการเจ็บคอ หรือคออักเสบได้ หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เป็นแทรกซ้อนร้ายแรงได้ ต่อมทอนซิลอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่จะพบในเด็กก่อนวัยเรียนจนถึงวัยรุ่นตอนกลางอาการของต่อมทอนซิลคือ
เมื่อทอนซิลอักเสบจะมีอาการเจ็บคอ ต่อมท่อนซิลบวมแดง และมีไข้ อาการต่อมทอนซิลอักเสบ สามารถวินิจฉัยได้ง่าย ผู้ป่วยต่อมทอนซิลอักเสบจะมีอาการอยู่ประมาณ 7-10 วัน สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับดูแลรักษาการเป็นต่อมท่อนซิลอักเสบทอนซิลอักเสบ มี 3 ประเภท
- แบบเฉียบพลัน
- แบบเรื้อรัง
- แบบกำเริบ
อาการของทอนซิลอักเสบมีดังนี้
- เจ็บคอมาก
- กลืนอาหารลำบาก หรือปวดคอเวลากลืนอาหาร
- เสียงแหบ
- มีกลิ่นปาก
- มีไข้
- มีอาการหนาวสั่น
- ปวดหู
- ปวดท้อง
- อาการปวดหัว
- มีอาการคอเคล็ด หรือคอแข็ง
- ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองใต้กรามและบริเวณคอบวม
- ต่อมทอนซิลเกิดเป็นสีแดง และบวม
- ต่อมทอนซิลมีจุดสีขาวหรือสีเหลือง
อาการต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังจะมีอาการนานกว่าแบบเฉียบพลัน และมีอาการดังนี้ :
- เจ็บคอ
- กลิ่นปาก (กลิ่นปาก)
- ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม
ทอนซิลอักเสบกำเริบ
อาการต่อมทอนซิลกำเริบ เป็นอาการเช่นเดียวกับต่อมทอนซิลอักเสบแบบเรื้อรัง แต่จะเว้นระยะในการเป็นตามระยะเวลาดังนี้- ทอนซิลอักเสบมากกว่า 7 ครั้งในรอบหนึ่งปี
- ทอนซิลอักเสบมากกว่า 4-5 ครั้งในรอบหนึ่งปีเป็นระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา
- ทอนซิลอักเสบมากกว่า 3 ครั้งในรอบหนึ่งปีเป็นระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
- ไข้ที่สูงกว่า และอุณหภูมิสูงกว่า 39.5 ° C
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- เกิดอาการฝืดคอ
- อาการเจ็บคออยู่นานกว่า 2 วัน
- ผู้ป่วยบางรายต่อมทอนซิลอักเสบอาจทำให้คอบวมมาก หรือทอนซิลอักเสบเป็นหนอง ส่งผลให้หายใจลำบาก หากเป็นเช่นนี้ให้ไปพบแพทย์ทันที บางรายอาการอาจหายได้เอง
อาการต่อมทอนซิลอักเสบในเด็กและผู้ใหญ่
ต่อมทอนซิลอักเสบพบได้บ่อยในเด็ก เพราะเด็กอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย และรับเชื้อเหล่านี้ได้ง่าย เช่นการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้คนจำนวนเยอะ หรืออยู่ในโรงเรียน การเดินทางโดยรถโดยสารพาหนะ หรือทำกิจกรรมร่วมกับผู้คนจำนวนมาก อาการและการรักษาต่อมทอนซิลอักเสบกันทั้งในผู้ใหญ่และเด็กจะใช้วิธีเดียวกันแต่การรักษาต่อมทอนซิลสำหรับผู้ใหญ่จะใช้เวลานานกว่ารักษาต่อมทอนซิลอักเสบในเด็ก ต่อมทอนซิลที่มีอาการคออักเสบร่วมด้วย ต่อมทอนซิลอักเสบที่มีอาการคออักเสบร่วมด้วย เกิดจากแบคทีเรียชนิดเดียวกัน ผู้ป่วยต่อมทอนซิลอักเสบและอาการคออักเสบร่วมด้วยจะมีอาการดังนี้- ปวดเมื่อยในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
- วิงเวียนศรีษะ
- อาเจียน
- จุดแดงเล็ก ๆ ที่ด้านหลังของปาก
- เป็นหนองบริเวณรอบๆต่อมทอนซิล
- ผื่นขึ้น
สาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบ
ต่อมทอนซิลเป็นด่านแรกของการป้องกันการเจ็บป่วย ต่อมทอนซิลจะมีหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาว เพื่อช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อผิดแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย หากเชื้อเหล่านี้ผ่านเข้าทางปากและจมูก ต่อมทอนซิลจะทำหน้าที่สู้กับเชื้อเหล่านี้เป็นด่านแรก- ไวรัสเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นหวัด หรือการติดเชื้อแบคทีเรียที่คอ และส่งผลให้เป็นอาการคออักเสบ
- ไวรัสชนิดอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เป็นต่อมทอนซิลอักเสบ รวมไปถึง
- เชื้อไวโรไวรัสตับอักเสบเอ
- HIV
- เชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโมโนนิวคลิโอซิส หรือที่เรียกกันว่าโรคติดต่อจากการจูบ หากเชื้อไวรัสชนินี่มเข้าสู่ร่างกายส่งผลให้เป็นต่อมทอนซิลอักเสบและต่อมน้ำเหลืองโตได้
- ต่อมทอนซิลอักเสบจากแบคทีเรีย
- ควรดื่มน้ำมาก ๆ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ วันละหลายครั้ง
- กินยาอมบรรเทาอาการปวด
- กินไอติมหรืออาหารแช่เย็น
- อยู่ในที่ที่อากาศปรอดโปร่ง
- หลีกเลี่ยงควัน
- ทานยา acetaminophen หรือ ibuprofen เพื่อลดอาการปวดและการอักเสบ
ผู้ป่วยทอนซิลอักเสบ ห้ามกินอะไร
ผู้ป่วยต่อมทอนซิลไม่ควรทานอาหารรสจัด อาหารที่ทำให้ร้อนใน อาหารที่ปรุงด้วยการผัดหรือทอด เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะอาจทำให้ทอนซิลอักเสบบวมมากยิ่งขึ้น การวินิจฉัยโรคทอนซิลอักเสบการวินิจฉัยต่อมทอนซิล
แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยการตรวจลำคอโดยอาจใช้วิธีการต่อไปนี้- ใช้ไฟฉายส่องดูบริเวณลำคอ รวมทั้งอาจดูบริเวณหูและจมูกร่วมด้วย เนื่องจากเป็นบริเวณที่แสดงอาการติดเชื้อได้เช่นกัน
- แพทย์จะเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ว่ามีค่าปกติหรือต่ำกว่าปกติ เพื่อบ่งบอกว่าเป็นการติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรีย
วิธีรักษาทอนซิลอักเสบ
การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส
และนำไปสู่อาการของไข้หวัด อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เนื่องจากสามารถกินยาและรักษาหายได้เองในเบื้องต้น การใช้ยาปฏิชีวนะ จะใช้กับผู้ป่วยที่เป็นต่อมทอนซิลอักเสบรุนแรง หากผู้ป่วยอยู่ในภาวะขาดน้ำเนื่องจากต่อมทอนซิลอักเสบ ผู้ป่วยอาจต้องรับของเหลาวผ่านทางหลอดเลือดดำ การรับยาแก้ปวดจะช่วยให้บรรเทาอาการปวดของต่อมทอนซิลบริเวณลำคอการผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy)
ทอนซิลเลคโตมี (Tonsillectomy) คือการผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลออก โดยทั่วไปแล้วจะรักษาด้วยการผ่าตัดกับผู้ที่เป็นต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังหรือผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อน หากอาการต่อมทอนซิลไม่มีแนวโน้มที่จะทุเลาลง หากผู้ป่วยเคยมีอาการต่อมทอนซิลอักเสบ มีอย่างน้อย 5 ถึง 7 ครั้งในปีที่ผ่านมา อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมทอนซิล หากผ่าตัดต่อมทอนซิลอักเสบแล้ว จะช่วยทำให้บรรเทาปัญหาการหายใจและการกลืนอาหารลำบากได้ การผ่าตัดต่อมทอนซิลอักเสบ อาจช่วยลดความเสี่ยงให้เชื้อลุกลามไปสู่คอหอยได้ด้วย แต่ถึงแม้จะมีการผ่าตัดต่อมทอนซิลไปแล้ว อาการต่อมทอนซิลอักเสบสามารถกลับมาเป็นได้อีก แต่ไม่พบได้บ่อยนัก การรักษาต่อมทอนซิลด้วยการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้วันเดียวกับการเข้ารับการผ่าตัด และใช้เวลารักษาและฟื้นฟูแผลเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์การรักษาต่อมทอนซิลด้วยยาปฏิชีวนะ
แพทย์จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาต่อมทอนซิลที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ยาปฏิชีวนะจะช่วยบรรเทาอาการปวดอักเสบของต่อมทอนซิลให้หายเร็วยิ่งขึ้น แต่อาจส่งผลข้างเคียงต่อการดื้อยา และมีอาการข้างเคียงอื่นๆ เช่น อาการปวดท้อง หากผู้ป่วยมีอาการต่อมทอนซิลอักเสบที่มาเชื้อ A Streptococcus แพทย์จะสั่งจ่ายยาในกลุ่มเพนนิซิลลิน ผู้ป่วยบางรายอาจะallergy-0094/”>แพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นยารักษาต่อมทอนซิลอักเสบ ถึงแม้อาการจะดีขึ้นแล้ว ก็ควรทานยาให้ครบตามกำหนด แพทย์จะจัดยาตามอาการและกำหนดระยะการกินยา หากกินยาไม่ครบตามกำหนดมีผลให้เสี่ยงต่ออาการอักเสบจะกลับมาเป็นอีกต่อมทอนซิลอักเสบเป็นโรคติดต่อหรือไม่
โรคต่อมทอนซิลอักเสบสามารถติดต่อกันได้เหมือนกับโรคหวัดธรรมดาและโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมาจากการสัมผัสเชื้อโรคจากผู้ป่วยที่มีเชื้อโดยตรง เช่น ลมหายใจ การไอ การจาม การสัมผัสสารคัดหลั่งน้ำมูก หรือน้ำลายของผู้ป่วย รวมถึงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ช้อน แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ควรงดการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นต่อมทอนซิลอักเสบ หรืออยู่ใกล้ชิด เพราะเชื้อแบคทีเรียสามารถกระจายออกจากผู้ป่วยต่อมทอนซิลได้ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 2 – 4 วัน แต่ถ้าเป็นเชื้อแบคทีเรียสเตรปโธรทจะมีระยะฟักตัวสั้นเพียง 12 ชั่วโมงภาวะแทรกซ้อนต่อมทอนซิลอักเสบ
กลุ่มที่มีสาเหตุจากไวรัส ส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะแทรกซ้อน ส่วนผู้ที่เป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นต้น รวมทั้งการบวมอักเสบของต่อมทอนซิลบ่อยครั้งหรือเรื้อรังอาจตามมาด้วยภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น เกิดการหายใจลำบาก ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การติดเชื้อที่แพร่ลึกลงไปสู่เนื้อเยื่อโดยรอบ รวมถึงการติดเชื้อที่ส่งผลให้มีฝีที่ทอนซิล หรือหนองลุกลามสะสมที่ด้านหลังของลำคอและอวัยวะข้างเคียงได้ เด็กที่ป่วยเป็นทอนซิลอักเสบจากแบคทีเรียสเต็ปโตคอคคัส (Streptococcus) แต่ไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแล้วได้รับยาไม่ครบตามกำหนด อาจมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรงแต่พบได้ไม่บ่อย เช่น เด็กที่ป่วยเป็นโรคไข้รูมาติก ซึ่งจะส่งผลต่อหัวใจ ข้อต่อ และเนื้อเยื่ออื่น ๆ และการอักเสบของกรวยไตจากการติดเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวการป้องกันทอนซิลอักเสบ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือคลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นต่อมทอนซิลอักเสบ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ดูแลตัวเองตามลักษณะสุขอนามัยที่ดี
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ ทั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ
- พักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน หรืออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคที่ดี
ภาพรวมของต่อมทอนซิลอักเสบ
หากต่อมทอนซิลบวมอาจทำให้หายใจลำบาก ส่งผลให้นอนหลับยาก หากไม่รักษาต่อมทอนซิลอักเสบตั้งแต่แรกเริ่มอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ และเชื้อสามารถแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงต่อมทอนซิล อาการต่อมทอนซิลอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรียสามารถหายได้ในระยะเวลาไม่กี่วัน หากผู้ป่วยรักษาด้วยการกินยาปฏิชีวนะคำถามที่พบบ่อย
ต่อมทอนซิลอักเสบ เจ็บไหม ต่อมทอนซิลของคุณจะแดงและบวม และคอของคุณอาจเจ็บปวดมากทำให้กลืนลำบาก ในบางกรณี ต่อมทอนซิลจะเคลือบหรือมีจุดสีขาวที่เต็มไปด้วยหนอง อาการทั่วไปอื่นๆ ของต่อมทอนซิลอักเสบ ได้แก่ อุณหภูมิ (ไข้) สูงเกิน 38C ต่อมทอนซิลอักเสบเจ็บมากขึ้นในตอนกลางคืนหรือไม่ เสมหะที่มากเกินไปในลำคออาจทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง และเจ็บได้ น้ำมูกไหลลงคอมักจะเพิ่มขึ้นเมื่อคนๆ หนึ่งนอนราบ เป็นผลให้อาการเจ็บคออาจแย่ลงในตอนกลางคืนหรืออย่างแรกในตอนเช้า ต่อมทอนซิลอักเสบจะหายไปเองหรือไม่ ต่อมทอนซิลอักเสบคือการติดเชื้อที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอและต่อมทอนซิลบวม สามารถส่งผลกระทบต่อคนทุกวัย แต่พบมากที่สุดในเด็กเล็ก โดยปกติแล้วจะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่วัน ต่อมทอนซิลอักเสบห้ามกินอะไร- อาหารแห้ง. การบริโภคอาหารแห้งอาจเป็นเรื่องยากหากคุณมีต่อมทอนซิลอักเสบ
- อาหารทอด. ต้องหลีกเลี่ยงอาหารทอดหากคุณมีต่อมทอนซิลอักเสบ
- อาหารขยะ. อาหารขยะมักเป็นของทอดหรือแห้ง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ควรหลีกเลี่ยงหากคุณมีต่อมทอนซิลอักเสบ …
- อาหารรสเผ็ด
- แอลกอฮอล์
- ผลไม้และผักดิบ
- มะเขือเทศ
- เครื่องดื่มอัดลม
ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tonsillitis/symptoms-causes/syc-20378479
- https://www.nhs.uk/conditions/tonsillitis/
- https://kidshealth.org/en/parents/tonsillitis.html
- https://patient.info/ears-nose-throat-mouth/sore-throat-2/tonsillitis
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น