มะเร็งลิ้น (Tongue Cancer) : สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคมะเร็งลิ้น (Tongue Cancer) คือ มะเร็งชนิดหนึ่งเกิดบริเวณเซลล์ของลิ้น และทำให้เกิดแผลหรือเนื้องอกที่ลิ้นของคุณ  มะเร็งลิ้นจัดว่าเป็นมะเร็งศีรษะและลำคอชนิดหนึ่ง มะเร็งลิ้นหากเกิดขึ้นที่ด้านหน้าของลิ้นจะถูกจัดอยู่ในประเภท “มะเร็งในช่องปาก”  หากเกิดที่โคนลิ้นใกล้กับที่ติดกับปากล่างจะถูกจัดเป็น “มะเร็งช่องปาก” มะเร็งช่องปากพบได้ 3-5% ของโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย เป็นโรคมะเร็งพบบ่อย 1 ใน 10 ของทั้งหญิงและชายไทย เป็นโรคมะเร็งของผู้ใหญ่ตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป มะเร็งช่องปากเป็นส่วนหนึ่งของโรคมะเร็งในกลุ่มโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ ซึ่งประมาณ 90-95% ของมะเร็งช่องปากจะเป็นชนิด สะความัส (Squamous cell carcinoma) หรือเรียกย่อว่าชนิด เอสซีซี (SCC) สำหรับมะเร็งชนิดอื่นๆ เช่น มะเร็งชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (Adenocarci noma) หรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง พบได้น้อยมาก Tongue Cancer

ความรุนแรงและระยะของมะเร็ง

มะเร็งสามารถจำแนกความรุนแรง และระยะของมะเร็งได้ดังนี้
  • T แทนความหมายถึงขนาดเนื้องอก  โดยกำหนดขนาดตั้งแต่ T1 – T4 เรียงจากเล็กไปใหญ่
  • N แทนความหมายการลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอหรือไม่ N0 – N3 เรียงลำดับจากยังไม่มีการกระจายไปจนถึงมีการกระจายไปจำนวนมาก
  • M มีความหมายในกรณีที่มะเร็งลุกลามไปยังส่วนอื่นของร่างกาย
โดยการลุกลามและการแพร่กระจายแบ่งได้ 3 ระดับดังนี้
  • ต่ำ (เติบโตช้า และไม่แพร่กระจาย)
  • ปานกลาง
  • สูง (ลุกลามมาก และมีความเสี่ยงในการแพร่กระจาย)

อาการมะเร็งลิ้น

อาการของมะเร็งที่ลิ้นในระยะแรกจะยังไม่แสดงอาการ โดยอาการเริ่มต้นที่พบบ่อยที่สุดของมะเร็งลิ้น คือ อาการเจ็บที่ลิ้นเรื้อรังและเลือดออกได้ง่าย  อาจจะมีอาการปวดปากหรือลิ้นร่วมได้ อาการอื่น ๆ ของมะเร็งลิ้น มีดังนี้
  • รอยปื้นสีแดง และสีขาวบนลิ้น
  • เป็นแผลบนลิ้น
  • ปวดลิ้นขณะกลืนอาหาร
  • รู้สึกชาในปาก
  • เจ็บคอ
  • เลือดออกจากลิ้นโดยไม่มีสาเหตุ
  • มีก้อนบนลิ้น

สัญญาณของมะเร็งลิ้น 

สัญญาณของมะเร็งลิ้น  อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายและอาจรวมถึง:
  • เจ็บลิ้นหรือเป็นแผลเรื้อรัง:อาการเจ็บหรือแผลในลิ้นที่ไม่หายภายในสองสามสัปดาห์อาจทำให้เกิดความกังวลได้  
  • ลิ้นมีสีขาวหรือสีแดง:แผ่นสีขาวหรือสีแดงบนลิ้นหรือในปากที่ไม่หายไปอาจบ่งบอกถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
  • ความเจ็บปวดหรือการกลืนลำบาก:มะเร็งลิ้นอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือไม่สบายขณะกลืนหรือที่เรียกว่ากลืนลำบาก
  • การเปลี่ยนแปลงของเสียง:การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนของเสียงหรือคำพูดอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งลิ้นที่ส่งผลต่อสายเสียง
  • ก้อนที่ลิ้น:การรู้สึกว่ามีก้อน ก้อน หรือหนาขึ้นในลิ้นหรือบริเวณใกล้เคียงอาจเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้
  • อาการชาหรือรู้สึกเสียวซ่า:อาจมีอาการชา ปวด หรือรู้สึกเสียวซ่าในปาก ลิ้น หรือริมฝีปากโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อาการปวดหู:บางครั้งมะเร็งลิ้นอาจทำให้เกิดอาการปวดส่งต่อไปยังหูในด้านเดียวกับบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
  • กลิ่นปากถาวร:แม้ว่ากลิ่นปากอาจมีสาเหตุหลายประการ แต่ในบางกรณีอาจเกี่ยวข้องกับมะเร็งลิ้น
  • ความยากขยับลิ้น:การเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนไหวของลิ้น เช่น ความยากในการเคลื่อนย้ายลิ้นจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งหรือยื่นออกมา อาจเป็นข้อบ่งชี้ถึงปัญหา
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคืออาการเหล่านี้อาจเกิดจากสภาวะที่ไม่เป็นมะเร็งต่างๆ ได้ด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณพบอาการใดๆ เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก หรือทันตแพทย์ เพื่อประเมินและวินิจฉัยโรคอย่างเหมาะสม การตรวจพบและการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถปรับปรุงการพยากรณ์โรคที่อาจเกิดขึ้นในช่องปากได้อย่างมาก

สาเหตุของมะเร็งลิ้น และความเสี่ยง

สาเหตุของมะเร็งลิ้นนั้นไม่ชัดเจน แต่สิ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงมีดังต่อไปนี้
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • ติดเชื้อ Human papillomavirus (HPV) ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • การเคี้ยวหมาก
  • มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งในช่องปาก
  • เป็นผู้ป่วยมะเร็งชนิดอื่นๆ
  • การรับประทานผักผลไม้ไม่เพียงพอ
  • สุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี เช่น การระคายเคืองจากฟันปลอม
มะเร็งช่องปากมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบในคนที่อายุ 55 ปี ขึ้นไป

การรักษามะเร็งลิ้น

การรักษามะเร็งลิ้นนั้นขึ้นกับขนาดของเนื้องอกและการลุกลามของเซลล์มะเร็ง  โดยอาจจะเป็นการรักษาด้วยวิธีเดียว หรือแบบผสมผสาน ขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ วิธีการรักษาโดยส่วนใหญ่แพทย์จะให้การรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการฉายรังสี หรือใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกัน โดยพิจารณาจาก ชนิด ขนาด ตำแหน่งของมะเร็ง และระยะเวลาของการเกิด อาจมีการให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย เช่น การให้ก่อนผ่าตัด หรือการฉายรังสี ในกรณีที่มะเร็งมีขนาดใหญ่หรืออยู่ในระยะแพร่กระจาย

การผ่าตัด วิธีรักษาหลักของมะเร็งช่องปาก

การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักของโรคมะเร็งช่องปาก มักใช้รักษาโรคในระยะที่ 1-3 โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอก และเนื้อเยื่อปกติรอบๆ ก้อนเนื้องอกออก ในบางกรณีอาจทำการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่คอออกด้วย 

การใช้ “รังสีรักษา” 

การใช้รังสีรักษา เป็นการใช้รังสีเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งแบบเฉพาะที่ หรือบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่คอ ช่วยให้ผู้ป่วยเคี้ยว กลืน และการออกเสียงให้เป็นปกติขึ้น ลดความทุกข์ทรมาน ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากให้สูงขึ้นได้

การให้ “ยาเคมีบำบัด” 

ปัจจุบันการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียวมีน้อยมาก เนื่องจากมะเร็งที่เกิดขึ้นในช่องปากเป็นชนิดที่มีความไวต่อยาเคมีบำบัดค่อนข้างต่ำ แพทย์จึงมักนำมาใช้ร่วมกับการผ่าตัด และรังสีรักษาเป็นวิธีเสริมในการรักษาเพื่อลดขนาดก้อนที่ใหญ่มากก่อนเริ่มการรักษา อย่างไรก็ตาม ผลการรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของมะเร็ง ส่วนใหญ่การรักษามักจะได้ผลดีและทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก หรือยังเป็นไม่มาก

ภาพรวม

อัตราการรอดชีวิตสำหรับผู้ป่วยมะเร็งลิ้น ขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง  หากมะเร็งแพร่กระจายไปไกลอัตราการรอดชีวิตมีเพีบง 36 เปอร์เซ็นต์  ในขณะที่หากมะเร็งแพร่กระจายเฉพาะที่ (เช่น ไปยังต่อมน้ำเหลืองที่คอ) อัตราการรอดชีวิตคือ 63 เปอร์เซ็นต์  หากมะเร็งไม่แพร่กระจายไปนอกลิ้นอัตราการรอดชีวิตมี 78 เปอร์เซ็นต์ การตรวจวินิจฉัยได้ทันเวลาทำให้สามารถรักษาได้ก่อนที่มะเร็งจะแพร่กระจาย  หากพบว่ามีก้อนเนื้อแผลหรือเจ็บที่ลิ้นเรื้อรังควรไปพบแพทย์  การวินิจฉัยมะเร็งลิ้นในระยะเริ่มแรกช่วยให้มีทางเลือกในการรักษามากขึ้น และมีผลข้างเคียงน้อยลง รวมทั้งมีอัตราการรอดชีวิตที่สูง

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/322519
  • https://www.webmd.com/cancer/tongue-cancer-facts
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/mouth-cancer/symptoms-causes/syc-20350997

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด