เกลื้อนคืออะไร
โรคเกลื้อน (Tinea Versicolor) คือโรคเชื้อราผิวหนังที่เป็นประเภทของยีสต์ ซึ่งบนได้บริเวณชั้นบนของผิวหนัง โดยทั่วไปแล้วเกลื้อนไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อันที่จริงแล้ว บนผิวหนังของคนเรามีจุลินทรีย์ หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอาศัยอยู่จำนวนมาก รวมถึงยีสต์ที่เรียกว่า Malassezia ด้วยเช่นกัน จุลลิทรีย์บางประเภทช่วยปกป้องผิวของคุณจากการติดเชื้อจากเชื้อโรคต่าง ๆ เป็นความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับผิวหนังที่ที่เอื้อประโยชน์ต่อกัน ในบางครั้งเมื่อยีสต์เติบโตจนมีปริมาณมากเกินไปก่อให้เกิดผลกระทบกับเม็ดสีผิว ส่งผลให้ผิวหนังมีสีอ่อนหรือเข้มกว่าผิวหนังโดยรอบเป็นหย่อม ๆ ไม่ก่อให้เกิดการติดต่อของโรคผิวหนัง จะเกิดขึ้นเมื่อยีสต์ชนิดหนึ่งจากตระกูล Malassezia ก่อให้เกิดการติดเชื้อหรือยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันของคุณสาเหตุของเกลื้อนคืออะไร
โรคเกลื้อนเกิดขึ้นเมื่อเชื้อยีสต์ Malassezia เติบโตอย่างรวดเร็วบนผิวหนัง แพทย์ยังไม่แน่ใจในสาเหตุ แต่ปัจจัยบางอย่างอาจส่งเสริมการเจริญเติบโตของยีสต์บนผิวหนัง นั่นคือ:- สภาพอากาศที่มีความร้อนชื้น
- เหงื่อออกมากเกินไป
- ผิวมัน
- ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
- เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
อาการของเกลื้อนเป็นอย่างไร
อาการกลากเกลื้อนจะแสดงให้เห็นโดยผิวหนังเกิดการเปลี่ยนสี เป็นอาการที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของเกลื้อน และมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณ แขน หน้าอก คอหรือหลัง เกลื้อนอาจจะส่งผลให้ผิวหนังมีความเปลี่ยนแปลงดังนี้:- ผิวหนังเกิดเป็นด่าง หรือเป็นดวง และมีสีสว่างหรือเข้มกว่าสีผิวปกติ หรือ สีชมพู แดง น้ำตาล
- ผิวแห้ง คันและตกสะเก็ด
- อาการจะดีขึ้นเมื่ออากาศเย็นลง
การรักษาเกลื้อน
หากอาการไม่รุนแรงมากนัก ผู้ป่วยอาจรักษาเกลื้อนได้เองที่บ้าน ด้วยครีมหรือแชมพูต้านเชื้อราที่มีขายตามร้านขายยา อาจมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ โดยสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีตัวยาดังนี้ :- clotrimazole (Lotrimin AF, Mycelex)
- miconazole (Monistat, M-Zole)
- selenium sulfide (Selsun Blue shampoo)
- terbinafine (Lamisil)
- ciclopirox (Loprox, Penlac)
- ketoconazole (Extina, Nizoral)
- fluconazole (Diflucan)
- itraconazole (Onmel, Sporanox)
การป้องกันโรคเกลื้อน
โรคผิวหนังกลากเกลื้อนเมื่อเป็นแล้วรักษาหายแล้ว สามารถกลับมาเป็นได้อีกครั้ง ให้ลองสังเกตุตัวเองว่าเป็นบ่อยแค่ไหนเมื่ออากาศร้อน หากเป็นทุกครั้งที่อากาศเปลี่ยนแปลง ให้ใช้แชมพูหรือผลิตภัณฑ์กำจัดเชื้อราบริเวณผิวหนังเป็นประจำ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกมาก หรือหากคุณมีเหงื่อออกมาก เมื่อกลับบ้านควรอาบน้ำซับตัวให้แห้งสะอาดทันที ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ชุ่มเหงื่อนาน หมั่นรักษาความสะอาดของร่างกายการวินิจฉัยโรคเกลื้อน
เมื่อผิวหนังติดเชื้อรากลากเกลื้อน แพทย์สามารถสังเกตุได้ด้วยตาเปล่า หรืออาจจะใช้แสงอัลตราไวโอเลตมาช่วยในการวินิจฉัย หรือการเก็บเซลล์ผิวหนังไปตรวจสอบก็เป็นได้ข้อปฎิบัติเบื้องต้นเมื่อเป็นเกลื้อน
เกลื้อน แม้จะไม่เป็นอันตราย แต่ก็สร้างความรำคาญใจและส่งผลต่อความมั่นใจในตนเองได้ ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับเมื่อเป็นเกลื้อน:- อย่าปล่อยให้ผิวอับชื้น: ความชื้นและความอบอุ่นกระตุ้นให้เชื้อราเติบโต ดังนั้นพยายามทำให้ผิวของคุณแห้งที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีเหงื่อออกง่าย เช่น รักแร้ ขาหนีบ และใต้ราวนม
- หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่รัดแน่น: เสื้อผ้าที่คับแน่นสามารถกักเก็บความชื้นไว้กับผิวหนังของคุณ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อเชื้อรา เลือกใช้ผ้าที่หลวมและระบายอากาศได้ดีเพื่อช่วยให้ผิวแห้ง
- ใช้แชมพูต้านเชื้อรา: ถ้าเกลื้อนมีผลต่อหนังศีรษะของคุณ การใช้แชมพูต้านเชื้อราอาจเป็นประโยชน์ มองหาแชมพูที่มีส่วนผสมออกฤทธิ์ เช่น คีโตโคนาโซล ซีลีเนียมซัลไฟด์ หรือซิงค์ ไพริไธโอน ใช้ตามคำแนะนำและทิ้งฟองไว้บนหนังศีรษะสักครู่ก่อนล้างออก
- ครีมหรือโลชั่นต้านเชื้อรา: ครีมหรือโลชั่นต้านเชื้อราที่จำหน่ายที่ร้านยาสามารถช่วยรักษาบริเวณที่ได้รับผลกระทบบนผิวหนังของคุณได้ สารออกฤทธิ์ทั่วไป ได้แก่ clotrimazole, miconazole และ terbinafine ทาครีมหรือโลชั่นบนผิวที่สะอาดและแห้งตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์
- แสงแดด: แสงแดดสามารถแก้ปัญหาเกลื้อนได้ เนื่องจากรังสียูวีช่วยฆ่าเชื้อรา อย่างไรก็ตาม หลีกเลี่ยงการออกแดดเป็นเวลานานและสวมครีมกันแดดเสมอเพื่อปกป้องผิวของคุณจากรังสีที่เป็นอันตราย
- รักษาตัวสม่ำเสมอ: ปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างสม่ำเสมอและตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหรือฉลากผลิตภัณฑ์ แม้ว่าอาการจะดีขึ้น ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ต้านเชื้อราต่อไปตามระยะเวลาที่แนะนำเพื่อให้แน่ใจว่าการติดเชื้อจะถูกกำจัดให้หมดสิ้น
- รักษาสุขอนามัยที่ดี: ซักเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน และผ้าเช็ดตัวเป็นประจำเพื่อป้องกันการแพร่กระจายหรือการติดเชื้อซ้ำ
- หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน: เกลื้อนเป็นโรคติดต่อได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า หรือแปรงหวีผม
- การพิจารณาเรื่องอาหาร: หลักฐานบางอย่างชี้ให้เห็นว่าอาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตขัดสีสูงอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของยีสต์ Malassezia พิจารณาลดการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและอาหารแปรรูป
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ: หากการรักษาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ไม่ได้ผลหรือหากการติดเชื้อรุนแรง จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผิวหนังหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการวินิจฉัยที่เหมาะสมและวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคล
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tinea-versicolor/symptoms-causes/syc-20378385
- https://www.nhs.uk/conditions/pityriasis-versicolor/
- https://www.aad.org/public/diseases/a-z/tinea-versicolor-treatment
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น