แท้งคุกคามเกิดจากอะไร
ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened Abortion) หมายถึงอาการมีเลือดออกจากช่องคลอดภายในการตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์เเรก โดยเลือดที่ออกมาทำให้ปวดท้องผิดปกติ ซึ่งอาการดังกล่าวบ่งบอกถึงการแท้งลูกได้ จึงเป็นสาเหตุเรียกอาการนี้ว่าการเเท้งคุกคาม เลือดออกจากช่องคลอดเป็นอาการที่ค่อนข้างพบได้ตามปกติในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ประมาณ 20-30 เปอร์เซนต์ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์สามารถพบเลือดออกจากช่องคลอดในระหว่าง 20 สัปดาห์เเรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งโดยประมาณ 50 เปอร์เซนต์ของผู้หญิงเหล่านี้สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ ยังคงสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะแท้งคุกคามที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามภาวะแท้งคุมคามเป็นอาการที่เกิดขึ้นเป็นส่วนมากในผู้หญิงที่เกิดการแท้งบุตรมาก่อนอาการของภาวะแท้งคุกคามเป็นอย่างไร
อาการเลือดออกในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์เเรกเป็นอาการของภาวะแท้งคุมคาม นอกจากนี้ผู้หญิงบางคนยังมีอาการปวดท้องเกร็งหรือปวดหลังช่วงล่างร่วมด้วย ในช่วงที่เกิดการเเท้ง โดยปกติผู้หญิงมักมีอาการปวดท้องตลอดเวลาแต่ไม่รุนเเรงหรือปวดท้องแปลบๆที่บริเวณท้องน้อยและหลังด้านล่าง นอกจากนี้ยังมีลิ่มเลือดออกมาจากช่องคลอดอีกด้วย ควรโทรหาแพทย์หรือสูตินารีแพทย์ทันที ถ้าหากคุณมีอาการดังกล่าวเหล่านี้ผู้ใดที่มีควาเสี่ยงเกิดภาวะแท้งคุมคามบ้าง
ยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แท้จริงของภาวะแท้งคุกคามได้ อย่างไรก็ตามมีปัจจัยบางอย่างที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงได้ ถ้าหากคุณมีปัจจัยเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งได้แก่- การติดเชื้อของแบคทีเรียหรือไวรัสในระหว่างตั้งครรภ์
- บาดเจ็บภายในช่องท้อง
- ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก (มีอายุมากกว่า 35 ปี)
- ใช้ยาบางประเภทหรือสัมผัสกับสารเคมีบางชนิด
วิธีการรักษาภาวะเเท้งคุกคามทำอย่างไร
โดยปกติเราไม่สามารถป้องกันการแท้งบุตรได้ อย่างไรก็ตามในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำวิธีลดความเสี่ยงของการแท้งบุตรได้ เมื่อคุณมีอาการดีขึ้น แพทย์จะเเนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมบางเช่นการพักผ่อนและหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ จนกระทั่งอาการแท้งคุกคามหายไป นอกจากนี้แพทย์จะทำการรักษาอาการต่างๆที่ตรวจพบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอันตรายในขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวานหรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินปกติ นอกจากนี้แพทย์จะทำการฉีดฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนเพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมน นอกจากนี้แพทย์ยังอาจทำการฉีดแอนติบอดีที่เรียกว่าอิมมูโนโกลบูลิน Rh ถ้าหากคุณมีหมู่เลือด Rh ของคุณเป็นลบและลูกของคุณมีหมู่เลือด Rh ของคุณเป็นบวกเพื่อยับยั้งไม่ให้ร่างกายของคุณสร้างแอนตี้บอดี้ต่อต้านลูกในครรภ์ของคุณวิธีรักษาภาวะแท้งคุกคามในระยะยาวสามารถทำอย่างไร
ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เคยมีอาการแท้งคุกคามสามารถลอดบุตรออกมาสุขภาพเเข็งเเรง ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ถ้าหากปากมดลูกยังไม่เปิดกว้างและตัวอ่อนได้รับการปกป้องด้วยผนังของมดลูก ถ้าหากคุณมีระดับฮอร์โมนผิดปกติ การรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัดสามารถช่วยทำให้คุณตั้งครรภ์ต่อไปได้ ผู้หญิงที่มีภาวะแท้งคุกคามประมาน 50 เปอร์เซนต์ไม่เกิดการแท้งบุตร ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ไม่แท้งบุตรสามารถตั้งครรภ์สำเร็จได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ควรไปพบเเพทย์เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับสาเหตุที่เป็นไปได้ ถ้าหากคุณเคยมีอาการแท้งมากกว่าสองอย่างติดต่อกัน ผู้หญิงบางคนที่มีอาการแท้งคุกคามมีความเครียดมากและสามารถทำให้เกิดอาการวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้าได้ สิ่งที่สำคัญคือควรปรึกษาแพทย์ ถ้าหากคุณมีอาการที่เกิดจากภาวะแท้งคุมคาม ทั้งนี้คุณสามารถเข้ารับการรักษาตามที่คุณต้องการ ซึ่งแพทย์ทราบข้อมูลและสามารถใหเข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มสนับสนุนเเละคุณเเม่ตั้งครรภ์ที่เคยมีอาการเดียวกันวิธีป้องกันภาวะแท้งคุกคาม
ภาวะแท้งคุกคามในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์พร้อมกับอาการปวดท้องและตะคริว สิ่งสำคัญคือต้องใช้มาตรการป้องกันบางอย่างเพื่อลดความเสี่ยง ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนที่อาจแนะนำ:- พักผ่อนและหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก:ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณอาจแนะนำให้คุณพักผ่อนและหลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากเพื่อลดความเสี่ยงของการมีเลือดออกและภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเติม
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์:ในบางกรณี แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าเลือดจะหยุดไหลและการตั้งครรภ์จะคงที่
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ:การดื่มน้ำให้เพียงพอสามารถช่วยรักษาระดับน้ำในร่างกายและสนับสนุนการตั้งครรภ์ได้
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์:สารเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยง
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์:ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเสมอ พวกเขาอาจแนะนำยาหรือการแทรกแซงเฉพาะตามสถานการณ์ของคุณ
- ติดตามอาการ:ติดตามอาการของคุณ รวมถึงปริมาณและสีของเลือดออก อาการปวดหรือเป็นตะคริว และการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในความเป็นอยู่โดยรวมของคุณ รายงานการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ
- ทานวิตามินก่อนคลอด:หากคุณยังไม่ได้รับประทานวิตามินก่อนคลอด ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณอาจแนะนำวิตามินเหล่านี้เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ที่แข็งแรง
- การประเมินทางการแพทย์:ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการของคุณ ผู้ให้บริการด้านสุขภาพของคุณอาจทำอัลตราซาวนด์และการทดสอบอื่น ๆ เพื่อประเมินความสามารถในการตั้งครรภ์และแยกแยะภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK430747/
- https://medical-dictionary.thefreedictionary.com/threatened+abortion
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น