สมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวลและช่วยในการนอนหลับ
คาโมมายล์ (Matricaria recuita) คือดอกไม้ในตระกูลเดซี่ เป็นพืชดั้งเดิมในแถบยุโรปและเอเชียตะวันตก ในปัจจุบันนี้สามารถพบเห็นได้ทั่วไปทั่วโลก เป็นพืชสมุนไพรที่มีกลิ่นอ่อนๆคล้ายผลแอปเปิ้ล ซึ่งสามารถอธิบายถึงชื่อได้ -คาโมมายล์คือ Greek for Earth apple พืชคาโมมายล์มีแตกต่างกันสองชนิดคือ เยอรมันคาโมมายล์และโรมันคาโมมายล์ ซึ่งมีฤทธิ์หลากหลายและสามารถนำมาใช้เพื่อเป็นยาได้อย่างกว้างขวาง คาโมมายล์เคยถูกนำมาใช้เพื่อเป็นยารักษาโรค เป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยฮิปโปเครติส ในช่วง 500 ปีก่อนคริสตศักราช คาโมมายล์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ที่ครอบคลุมได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งรวมไปถึงอาการปวดศีรษะ มีไข้ ไต ตับและปัญหากระเพาะปัสสาวะ อาหารไม่ย่อย กล้ามเนื้อหดเกร็ง วิตกกังวล นอนไม่หลับ ผิวหนังมีการระคายเคือง ฟกช้ำ โรคเกาต์ แผลพุพอง ปวดข้อต่อ ไข้ละอองฟาง การอักเสบ ริดสีดวงทวาร โคลิคและภาวะรอบเดือนผิดปกติ ชื่อสามัญ Matricaria มาจากภาษาละติน matrix ซึ่งหมายความว่า มดลูก นั่นเป็นเพราะว่าคาโมมายล์เคยถูกนำมาใช้ในสมัยก่อนเพื่อรักษาภาวะผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ในผู้หญิง ชาวเยอรมันเชื่อว่าคาโมมายล์คือ alles zutraut มีความหมายว่าสามารถทำได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ในยุคปัจจุบัน คาโมมายล์ถูกนำมาปรับใช้ชา หรืออาหารเสริม ชนิดรับประทานที่มีไว้เพื่อช่วยอาการนอนไม่หลับ วิตกกังวลและท้องอืดท้องเฟ้อ รวมไปถึงอาจช่วยรักษาโรคเบาหวานได้ด้วย นอกจากนี้คาโมมายล์ยังสามารถนำไปใช้เป็นแบบชนิดทาเพื่อแก้ปัญหาผิวหนังและช่วยรักษาบาดแผลได้อีกด้วย คาโมมายล์ที่สกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยและดอกคาโมมายล์สกัดมีองค์ประกอบทางเคมีมากกว่า 120 ชนิดที่มีประสิทธิภาพทางเภสัชวิทยา ซึ่งรวมถึง คามาซูลีน(มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ) ไบซาโบลอล (เป็นน้ำมันที่มีฤทธิ์ต้านการระคายเคือง ต้านการอักเสบและมีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์) อะพีจีนีน(สารพฤกษเคมีที่มีบทบาทในการต้านการอักเสบ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อแบคทีเรียและต้านเชื้อไวรัส) และลูทอีโอลิน(สารพฤกษเคมีที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านการอักเสบและต้านมะเร็ง) ผลที่ได้จากสารประกอบเหล่านี้และอื่นๆ จากการวิจัยพบแล้วว่าคาโมมายล์มีคุณสมบัติที่สามารถช่วยบรรเทาการอักเสบ อาการกระตุกและท้องอืดท้องเฟ้อ อีกทั้งยังช่วยให้ผ่อนคลายและนอนหลับ รวมถึงป้องการการติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยชาคาโมมายล์ประโยชน์เพื่อสุขภาพ
คาโมมายล์เป็นที่รู้จักกันดีว่าสามารถช่วยเรื่องการนอนหลับ แต่ก็ยังพบหลักฐานอีกด้วยว่าสมุนไพรนี้สามารถช่วยเรื่องความวิตกกังวลได้ดีชาดอกคาโมมายล์เป็นสมุนไพรแก้อาการนอนไม่หลับ
คาโมมายล์คือหนึ่งในการบำบัดทางเลือกที่ถูกนำมาเลือกใช้อย่างกว้างขวางในเรื่องการนอนและช่วยรักษาโรคนอนไม่หลับ แต่อย่างไรก็ตามแม้คาโมมายล์จะมีชื่อเสียงว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยเรื่องการนอนได้ก็จริง แต่พบว่ายังมีหลักฐานสนับสนุนถึงประสอชิทธิภาพของคาโมมายล์เพียงน้อยนิดเท่านั้น ที่น่าสนใจคือแม้ความจริงจะมีการพิสูจน์แล้วว่าเราสามารถใช้ดอกคาโมมายล์เพื่อจุดประสงค์อื่นๆได้หลายอย่าง ซึ่งรวมไปถึงอาการท้องอืดท้องเฟ้อและโรคผิวหนังจากเชื้อแบคทีเรีย จากการศึกษาในปี 2011 กับคน 17 คนที่มีภาวะโรคนอนไม่หลับด้วยการให้รับประทานคาโมมายล์สกัด 270 มิลลิกรัม วันละสองครั้งเป็นเวลาหนึ่งเดือนและจดบันทึกรูปแบบการนอนหลับ กลับพบว่าไม่มีข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนว่าช่วยทำให้เกิดการนอนหลับที่เร็วขึ้นหรือนอนได้จำนวนเวลาที่มากขึ้นแต่อย่างใด ในทางกลับกันกับการศึกษาเมื่อปี 2017 ที่ศึกษาผู้สูงอายุจำนวน 77 รายที่พักอยู่ในสถานที่ดูแลสุขภาพพบว่าสามารถช่วยทำให้เกิดการนอนที่มีคุณภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อพวกเขารับประทานคาโมมายล์ 400 มิลลิกรัมชนิดแคปซูลวันละสองครั้งเป็นเวลาสี่สัปดาห์ เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้รับการรักษาใดๆ และมีความคล้ายคลีงกันจากการศึกษาเมื่อปี 2016 ในผู้หญิง 40 รายที่เพิ่งให้กำเนิดบุตรด้วยการดื่มชาคาโมมายล์วันละถ้วยเป็นเวลาสองสัปดาห์ ว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาด้านการนอนและลดอาการซึมเศร้าลงได้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ดีขึ้นนั้นจะหายไปหลังหยุดดื่มชาไปสี่สัปดาห์ ผลที่ได้จากคาโมมายล์จึงเป็นผลในระยะสั้นเท่านั้น อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ:อาการนอนไม่หลับได้ที่นี่ ชาดอกคาโมมายล์อาจช่วยเพิ่มการนอนหลับ จากการศึกษาในสัตว์พบว่าคาโฒมายล์มีผลทั้งด้านการระงับประสาทและต้านอาการวิตกกังวลได้ จากการศึกษาพบว่าสารอะพีจีนีนที่เป็นสารประกอบในคาโมมายล์มีผลเป็นตัวยับยั้งตัวรับรู้เดียวกับในสมองเหมือนกลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีนเช่นแวเลียมชาคาโมมายล์เป็นสมุนไพรคลายเครียด
จากการศึกษาพบว่าคาโมมายล์มีประโยชน์ในการลดความวิตกกังวล จากการศึกษาเมื่อปี 2009 พบว่าคาโมมายล์สกัดส่งผลต้านการวิตกกังวลในคนที่มีภาวะวิตกกังวลผิดปกติตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงปานกลางเมื่อได้รับคาโมมายล์ 200 มิลลิกรัมถึง 1,100 มิลลิกรัมทุกวันเป็นเวลาแปดสัปดาห์ จากการศึกษาในปี 2016 พบว่าการรับประทานคาโมมายล์สกัด 500 มิลลิกรัมวันละสามครั้งเป็นเวลา 12 สัปดาห์ช่วยลดอาการวิตกกังวลผืดปกติแบบปานกลางจนถึงรุนแรงได้อย่างเห็นได้ชัด อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ:เมลาโทนินและสิ่งที่ควรรู้อ่านต่อที่นี่สารสกัดดอกคาโมมายล์ช่วยรักษาบาดแผล
คาโมมายล์ชนิดทาสามารถช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น จากการศึกษาพบว่าสารที่อยู่ในคาโมมายล์สามารถฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งรวมถึงเชื้อสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ staph อีกทั้งยังช่วยลดการอักเสบและป้องกันและรักษาการเจริญเติบโตของบาดแผล คาโมมายล์ช่วยรักษาบาดแผลในมนุษย์ได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาพบว่าการใช้น้ำมันหอมระเหยคาโมมายล์ร่วมกับลาเวนเดอร์ให้กับคนไข้ที่มีแผลเรื้อรังที่ขา พบว่าคนไข้สี่ในห้ารายที่อยู่ในกลุ่มที่ใช้น้ำมันหอมระเหยคาโมมายล์ร่วมกับลาเวนเดอร์สามารถรักษาบาดแผลได้หายสนิทและคนไข้คนที่ห้าก็มีการฟื้นตัวที่ดีขึ้นด้วย คาโมมายล์ที่มีขี้ผึ้งยาไฮโดรคอร์ติโซนหนึ่งเปอร์เซ็นต์เมื่อนำมาทาสามารถรักษารอยโรคบนผิวหนังที่เกิดหลังการผ่าตัดได้ การรักษาบาดแผลด้วยการนำคาโมมายล์มาประคบวันละหนึ่งชั่วโมงเป็นเวลาห้าถึงหกวันจะช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้นโรคผิวหนัง
คาโมมายล์มักถูกนำมาใช้เพื่อรักษาผิวที่มีการระคายเคืองเล็กน้อย ซึ่งรวมไปถึงผิวไหม้จากแสงแดด ผื่น บาดแผลและตาอักเสบ คาโมมายล์ชนิดทาจึงมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคผิวหนังโรคเบาหวาน
จากบางการศึกษาพบว่าชาคาโมมายล์สามารถลดน้ำตาลในเลือดในคนที่เป็นโณคเบาหวานได้ จากการศึกษาผู้ร่วมทดลองจำนวน 64 รายด้วยการให้ดื่มชาคาโมมายล์วันละสามครั้งหลังมื้ออาหารเป็นเวลาแปดสัปดาห์สามารถทำให้ตัวบ่งชี้สำหรับเบาหวานลดลง รวมไปถึงคอเรสเตอรอลรวมเมื่อเทียบกับคนที่ดื่มน้ำเปล่าสุขภาพช่องปาก
จากการศึกษาพบว่าการบ้วนปากด้วยคาโมมายล์สามารถลดอาการเหงือกอักเสบและคราบหินปูนลงได้เพราะมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อจุลินทรีย์และต้านการอักเสบการเลือกสรรและการเตรียม
ดอกไม้ส่วนบนสุดของต้นคาโมมายล์จถูกนำมาทำเป็นชา สารสกัดของเหลว แคปซูลหรือยาเม็ด สมุนไพรชนิดนี้สามารถนำไปทาที่ผิวหนังในรูปแบบครีมหรือขี้ผึ้ง หรือใช้เพื่อบ้วนปาก ในการทำน้ำชา ใช้ดอกคาโมมายล์หนึ่งช้อนชาใส่ลงในน้ำต้มเดือดปริมาณสองในสามของแก้วเป็นเวลาห้าถึงสิบนาทีก่อนนำไปกรอง และนำมาเพื่อดื่ม การใช้คาโมมายล์ในการกลั้วหรือบ้วนปาก เตรียมเหมือนการชงชา จากนั้นทิ้งไว้ให้เย็น กลั้วปากบ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ หรืออาจทำน้ำยาบ้วนปากด้วยการหยดเยอรมันคาโมมายล์สกัดลงในน้ำอุ่น 1 ลิตรผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
คาโมมายล์คือส่วนหนึ่งของพืชตระกูลเดียวกันกับแรควีทและดอกเบญจมาศ ดังนั้นคนที่แพ้พืชเหล่านี้อันเกิดปฏิกิริยาแพ้ได้-บางครั้งอาจมีความรุนแรง- เมื่อใช้คาโมมายล์ทั้งแบบเข้าสู่ภายในร่างกายและชนิดทา การเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่ได้รับการรายงานมักเกิดขึ้นกับโรมันคาโมมายล์เป็นส่วนใหญ่ ปรึกษาแพทย์หากมีอาการเช่น อาเจียน ผิวหนังมีการระคายเคืองหรือปฏิกิริยาแพ้ (แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงวี๊ด ลมพิษ ผื่น คัน)หลังใช้คาโมมายล์ใครควรหลีกเลี่ยงดอกคาโมมายล์: ข้อควรพิจารณาและข้อควรระวัง
คาโมมายล์เป็นยาสมุนไพรยอดนิยมที่ขึ้นชื่อเรื่องฤทธิ์สงบและมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการใช้อย่างแพร่หลายและปลอดภัยโดยทั่วไป แต่ก็มีบุคคลบางคนที่ควรหลีกเลี่ยงดอกคาโมมายล์เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพหรืออาจมีปฏิกิริยาโต้ตอบกัน ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดว่าใครควรระมัดระวังในการใช้คาโมมายล์1. บุคคลที่มีอาการแพ้พืชในวงศ์ Asteraceae
ดอกคาโมไมล์อยู่ในวงศ์ Asteraceae ซึ่งรวมถึงหญ้าแร็กวีด ดอกดาวเรือง ดอกเดซี่ และดอกเบญจมาศ ผู้ที่แพ้พืชเหล่านี้อาจเกิดอาการแพ้คาโมมายล์- อาการ : ปฏิกิริยาอาจมีตั้งแต่ผื่นที่ผิวหนังไปจนถึงการตอบสนองที่รุนแรง เช่น หายใจลำบาก หรือภูมิแพ้
2. ผู้ที่รับประทานยาบางชนิด
ดอกคาโมไมล์สามารถโต้ตอบกับยาหลายชนิด ซึ่งอาจส่งผลต่อผลหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียง- ทินเนอร์เลือด : คาโมมายล์มีคุณสมบัติในการทำให้เลือดบางลงและสามารถเพิ่มผลของยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือด
- ยาระงับประสาท : เนื่องจากคาโมมายล์มีฤทธิ์ทำให้สงบ จึงสามารถเพิ่มผลยาระงับประสาทของยาต่างๆ ได้ เช่น เบนโซไดอะซีพีน บาร์บิทูเรต และเครื่องช่วยการนอนหลับบางชนิด
- ยาต้านเกล็ดเลือด : คาโมมายล์คล้ายกับยาเจือจางเลือด อาจรบกวนยาที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือดได้
- Cyclosporine : ดอกคาโมมายล์อาจมีปฏิกิริยากับยากดภูมิคุ้มกันนี้ ทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง
3. บุคคลที่มีภาวะไวต่อฮอร์โมน
ดอกคาโมไมล์ประกอบด้วยไฟโตเอสโตรเจนซึ่งเป็นสารประกอบจากพืชที่เลียนแบบฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลต่อบุคคลที่มีภาวะไวต่อฮอร์โมน- เงื่อนไข : มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และเนื้องอกในมดลูก
4. สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร
ความปลอดภัยของดอกคาโมมายล์ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรยังไม่เป็นที่แน่ชัด และมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น- การตั้งครรภ์ : ดอกคาโมไมล์สามารถกระตุ้นการหดตัวของมดลูก เพิ่มความเสี่ยงของการแท้งบุตร
- การให้นมบุตร : มีข้อมูลที่จำกัดเกี่ยวกับความปลอดภัยของคาโมมายล์สำหรับเด็กทารก ดังนั้นจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงโดยทั่วไป
5. ทารกและเด็กเล็ก
แม้ว่าคาโมมายล์มักใช้ในปริมาณเล็กน้อยเพื่อรักษาโรคเล็กๆ น้อยๆ ในเด็ก แต่ก็ควรทำด้วยความระมัดระวัง- ความเสี่ยง : ทารกและเด็กเล็กไวต่ออาการแพ้มากกว่า และยังมีความเสี่ยงที่จะปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์คาโมมายล์บางชนิดด้วย
6. บุคคลที่มีภาวะภูมิแพ้อยู่
ผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้อย่างรุนแรง หอบหืด หรือโรคผิวหนังภูมิแพ้ ควรใช้คาโมมายล์อย่างระมัดระวังเนื่องจากอาจเกิดอาการแพ้ได้- โรคหอบหืด : ดอกคาโมมายล์อาจทำให้อาการหอบหืดรุนแรงขึ้นในบุคคลที่มีความอ่อนไหว
เคล็ดลับความปลอดภัยทั่วไปสำหรับการใช้คาโมมายล์
- ปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพ : ก่อนใช้คาโมมายล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีอาการป่วยอยู่แล้วหรือกำลังใช้ยาอยู่
- การทดสอบภูมิแพ้ : หากคุณไม่แน่ใจว่าคุณแพ้คาโมมายล์หรือพืชที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ให้พิจารณาการทดสอบภูมิแพ้
- เริ่มต้นด้วยการใช้ในปริมาณน้อย : หากใช้คาโมมายล์เป็นครั้งแรก ให้เริ่มด้วยปริมาณเล็กน้อยเพื่อดูว่าร่างกายของคุณมีปฏิกิริยาอย่างไร
- การติดตามปฏิกิริยา : ระมัดระวังสัญญาณของอาการแพ้ เช่น อาการคัน บวม หรือหายใจลำบาก
บทสรุป
แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วคาโมมายล์จะปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่และมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ แต่บุคคลบางคนควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากมีอาการแพ้ ปฏิกิริยากับยา ภาวะที่ไวต่อฮอร์โมน และข้อกังวลด้านสุขภาพอื่นๆ ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการแพทย์เสมอก่อนเริ่มการรักษาด้วยสมุนไพรใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณอยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่งที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อใช้ข้อควรระวังเหล่านี้ คุณจะได้รับประโยชน์จากคาโมมายล์ได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ทำให้สุขภาพของคุณตกอยู่ในความเสี่ยงหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น