ประโยชน์ของดนตรีบำบัด (The Benefits of Music Therapy)

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ประโยชน์ของดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัดคืออะไร  

องค์รวมของดนตรีบำบัดอาจรวมองค์ประกอบหลายๆอย่างที่แตกต่างไว้รวมกัน เช่นการสร้างเพลง การเขียนเพลง หรือการฟังเพลง ดนตรีบำบัดจะต้องได้รับการฝึกฝนมากกว่าดนตรีปกติ เป็นการศึกษาที่มักครอบคลุมกว้างๆในเรื่องของทักษะทางคลีนิก รวมไปถึงการสื่อสาร ด้านประสาทวิทยาศาสตร์การรู้คิด โรคที่มีความผิดปกติทางจิต เช่นเดียวกับความเจ็บป่วยเรื้อรังและการจัดการกับความเจ็บปวด  ในการฝึกฝนด้านดนตรีบำบัด ผู้ที่เรียนจะต้องเรียนและผ่านการสอบจนได้ใบวุฒิบัตรของการเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองจะปรากฎชื่ออยู่ใน National Music Therapy Registry             

เพลงผ่อนคลาย

หากคุณมีความชอบในดนตรี คุณอาจรู้ดีอยู่แล้วว่าดนตรีสามารถส่งผลต่ออารมณ์ของคุณได้ บางทีคุณอาจเปิดเพลงสำหรับประชุมที่สำคัญหรือฟังบรรเลงก่อนนอนเมื่อต้องการพักผ่อนก่อนนอน  นักวิจัยได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าดนตรีบำบัดมีประโยชน์ของสำหรับคนที่มีภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล ในขณะที่ดนตรีบำบัดมักถูกนำมาใช้เพื่อช่วยเหลือทางด้านจิตใจและสุขภาพทางด้านอารมณ์ ซึ่งอาจทำให้คุณภาพชีวิตสำหรับคนที่ปัญหาสุขภาพทางร่างกายดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน  เมื่อเริ่มต้นปฏิบัติตนด้านดนตรีบำบัด คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมายที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณมีภาวะซึมเศร้าและรู้สึก “ไม่ได้รับความช่วยเหลือ” บ่อยๆ คุณอาจหวังว่าจะใช้ดนตรีเพื่อยกระดับอารมณ์ คุณอาจต้องการการพยายามปรับดนตรีบำบัดร่วมกับอาการของภาวะซึมเศร้าอื่นๆเช่นความวิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ หรือมีปัญหาด้านการให้ความสนใจ หลังจากรู้ความต้องการของตนเองเองแล้ว นักบำบัดทางด้านดนตรีจะตั้งเป้าหมายในการรักษาอาจร่วมสิ่งต่อไปนี้: 
  • ทำให้อารมณ์ดีขึ้น
  • เสริมสร้างคุณภาพชีวิต
  • ทักษะเผชิญกับความเครียดแข็งแกร่งขึ้น
  • ส่งเสริมการแสดงออกทางด้านอารมณ์
  • ลดความเครียดและอาการของความวิตกกังวล 

ดนตรีบำบัดความเครียด

ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละคน ระยะเวลาในการบำบัดอาจอยู่ระหว่าง 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง วางแผนช่วงเลาร่วมกับนักจิตวิทยา คุณอาจเลือกอาทิตย์ละหนึ่งวัน หรืออาจเลือกทำงานร่วมกับนักดนตรีบำบัดได้บ่อยตามความต้องการได้เลย การบำบัดด้วยดนตรีมักทำแบบตัวต่อตัว แต่คุณอาจเลือกแบบกลุมเฉพาะหากมีความเหมาะสม การบำบัดด้วยดนตรีสามารถทำที่ไหนก็ได้ อาจเป็นที่ทำงานส่วนตัว คลีนิค หรือศูนย์ดูแลสุขภาพ แต่ไม่ว่าจะบำบัดที่ใดก็ตาม ห้องที่ใช้ควรมีสิ่งแวดล้อมที่สงบเงียบไม่มีสิ่งรบกวนจากภายนอก  

บทสรุปจากกลุ่มบำบัด 

นักบำบัดทางดนตรีจะมีช่วงการบำบัดของแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น นักบำบัดบางคนชอบเริ่มและจบการบำบัดในรูแแบบเดิมๆในแต่ละครั้ง บางทีอาจเป็นเพลงบำบัดเฉพาะ นักบำบัดสามารถใช้รูปแบบและเทคนิคที่แตกต่างกันได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับระดับการศึกษา ความสนใจและจุดแข็ง ยกตัวอย่าง รูปแบบการบำบัดด้วยดนตรีบางอย่างอาจมีการเคลื่อนไหวมาก หากคุณรู้สึกปวดตัวหรือเจ็บป่วย สิ่งที่สำคัญคือถามนักบำบัดถึงเทคนิคที่พวกเขาใช้เพื่อให้เหมาะสมสำหรับคุณ  ในช่วงระหว่างการบำบัด คุณอาจฟังแนวเพลงที่แตกต่างออกไป เล่นเครื่องดนตรีต่างๆหรือแม้แต่เขียนเพลงของตัวเอง

เพลงผ่อนคลายสมองช่วยเยียวยาได้อย่างไร

คุณอาจขอเลือกเพลงที่มีผลต่ออารมณ์คุณเพื่อปลดปล่อยอารมณ์สู่ท่าทีของคุณโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังโกรธคุณอาจเล่นเพลงหรือร้องเพลงที่ดัง เร็ว   ยิ่งกว่านั้นอาจใช้เพลงในการแสดงความรู้สึกได้โดยไม่ต้องใช้คำพูด คุณอาจลองหาวิธีในการเปลี่ยนความรู้สึกด้วยบทเพลง หากคุณต้องการแสดงความโกรธหรือความเครียด นักบำบัดอาจจะตอบสนองด้วยการให้คุณฟังบทเพลงที่มีจังหวะเบาๆ ช้า และมีโทนเพลงนุ่มนวล  คุณอาจสังเกตเห็นว่าการฟังเพลงที่สงบทำให้เรารู้สึกใจเย็นลงได้ ตามที่นักวิทยาศาสตร์อธิบายไว้ จากการศึกษาหลายตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าผลการอ่านอัตราการเต้นของหัวใจและระดับความดันเลือดมีการตอบสนองที่เปลี่ยนแปลงตามระดับความดังและจังหวะ นักวิจัยบางท่านแนะนำว่าการฟังเพลงจะปลดปล่อยสารเอนโดฟินซึ่งอาจช่วยจัดการเรื่องความปวดได้ ในระหว่างการบำบัด นักบำบัดทางดนตรีอาจมีแบบฝึกหัดให้คุณไปทำง่ายๆที่บ้าน อาจใช้แอปบนโทรศัพท์ในการเล่นบทเพลง สร้างเสียง

ดนตรีบำบัดและเสียงบำบัด เพลงนั่งสมาธิ

บำบัดด้วยบทเพลงและเสียงมีความคล้ายคลึงกันมากแต่ก็มีจุดแตกต่างที่สำคัญ ซึ่งแต่ละแบบจะมีเป้าหมาย แบบอย่าง อุปกรณ์และสภาพแวดล้อม ดนตรีบำบัดคือการฝึกรูปแบบใหม่เมื่อเทียบกับการใช้เสียงเยียวยาซึ่งรากฐานมาจากวัฒนธรรมทางธิเบต โดยทางธิเบตมักใช้เพลงฝึกสมาธิ การทำเพลงหรือฟังเพลงนอกจากจะแก้ไขอาการเช่นความเครียดและอาการเจ็บปวดได้แล้ว การบำบัดด้วยเสียงคือการพุ่งเป้าไปที่การใช้เครื่องมือที่ทำให้เกิดเสียงที่มีความถี่ที่ใช้ในการบำบัดเฉพาะตัว กลอง ฟลุต ระฆัง กระดิ่ง ส้อมเสียงและเสียงของธรรมชาติเช่นเสียงน้ำไหล ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ทำให้เกิดเสียงที่มีโทนเสียง แรงสั่นสะเทือนและมีคลื่นความถี่เสียงที่ใช้ในการบำบัด การบำบัดทั้งสองชนิดมีความคล้ายคลึงกันและมีประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ แต่การเยียวยาต้องเสียงมรการวิจัยถึงประสิทธิผลน้อยกว่าเมื่อเทียบกับดนตรีบำบัด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องจดจำไว้ว่าผู้ที่มาฝึกและทำการเยียวยาด้วยเสียงไม่จำเป็นต้องมีการศึกษา การฝึกฝนและใบรับรองเหมือนกับนักดนตรีบำบัด การฝึกและการรับรองสำหรับการบำบัดด้วยเสียงอาจไม่ได้มีมาตราฐานเทียบเท่ากับนักดนตรีบำบัด  ด้วยข้อแตกต่างนี่เองคือสิ่งที่คุณอาจนำมาเป็นตัวเลือกของแต่ละแบบ การบำบัดด้วยเสียงมักจะมีส่วนประกอบที่ช่วยส่งเสริมหรือยาตัวเลือกได้มากกว่า ในขณะที่ดนตรีบำบัดมักต้องทำที่โรงพยาบาล หรือศูนย์การรักษาเฉพาะหรือต้องบำบัดแบบส่วนตัว

เพลงผ่อนคลายและดนตรีบำบัดเหมาะสำหรับใคร 

การบำบัดด้วยดนตรีมีความเป็นเรื่องส่วนบุคคลสูง เพราะต้องจัดให้เหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย เด็กที่เล็กมากๆก็สามารถได้รับประโยชน์จากดนตรีบำบัด และเพลงบรรเลงก่อนนอนจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองของเด็กเล็กมาก ในส่วนของผู้ใหญ่ก็จะเน้นเป็นเพลงผ่อนคลายสมอง เด็กเล็กและเด็กวัยรุ่นที่ต้องได้รับการพัฒนาและ/หรือคนที่การเรียนรู้บกพร่องอาจใช้ดนตรีบำบัดเข้ามาช่วยเพื่อเสริมสร้างทักษะและเรียนรู้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับผู้ใหญ่อาจพบว่าดนตรีบำบัดมีประโยชน์ในการจัดการกับความเครียดได้เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยทางด้านจิตใจและทางกาย ผู้สูงอายุอาจได้รับผลประโยชน์จากการฟังเพลงผ่อนคลาย  สามารถช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจดีขึ้น จากการวิจัยยังแสดงให้เห็นอีกว่าบทเพลงสามารถส่งผลต่อคนที่มีภาวะสมองเสื่อมและโรคที่เป็นผลมาจากความจำอื่นๆได้เป็นอย่างดี<a href=The Benefits of Music Therapy” width=”600″ height=”423″ />

ผลการวิจัยของดนตรีบำบัด

การใช้และประโยขน์ของดนตรีบำบัดนั่นได้มรการค้นคว้ามานานนับหลายสิบปีแล้ว กุญแจหลักที่ได้จากการค้นหาจากการศึกษาในคลีนิคแสดงให้เห็นว่าดานตีบำบัดอาจช่วยคนที่มีภาวะซึมเศร้าและมีความวิตกกังวล มีปัญหาเรื่องการนอนหรือแม้แต่โรคมะเร็ง

ซึมเศร้า

จากบทความที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2017 พบได้จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าดนตรีบำบัดสามารถส่งผลในการรักษาโรคซึมเศร้า จากคำอ้างของการวิจัย การใช้ดนตรีบำบัดยิ่งมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นสำหรับคนที่มีภาวะซึมเศร้าเมื่มีการนำมาใช้ร่วมกับการรักษาตามปกติ (เช่นยารักษาอาการซึมเศร้าและจิตบำบัด) จากการศึกษากลุ่มขนาดเล็กที่มีการตีพิมพ์ลงใน Journal of Affective Disorders  เมื่อปี 2015 ระบุไว้ว่าเมื่อมีการถูกนำมาใช้ร่วมกับการรักษารูปแบบอื่นๆ ดนตรีบำบัดอาจช่วยลดความคิดหมกหมุ่นและความวิตกกังวลในคนที่มีภาวะโรคย้ำคิดย้ำทำ ในปี 2016 นักวิจัยได้ศึกษาความเป็นไปได้ซึ่งพบว่าดนตรีบำบัดสามารถทำงานร่วมกับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมในการรักษาภาวะซึมเศร้าแต่ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องมีการค้นคว้าต่อจากผลที่ได้จากการเริ่มต้น

ดนตรีผ่อนคลายแก้โรคนอนไม่หลับ

หลาย ๆ คนพบว่าบทเพลงหรือแม้แต่ white noise  (เสียงที่ราบเรียบ มีความถี่สม่ำเสมอ) สามารถช่วยให้นอนหลับได้ จากการวิจัยพบว่าดนตรีบำบัดสามารถช่วยคนที่มีปัญหาโรคการนอนหรือโรคนอนไม่หลับเช่นอาการซึมเศร้าได้ เมื่อเทียบกับการยาหรือการรักษาตามสั่งแพทย์สำหรับโรคเกี่ยวกับการนอน ดนตรีให้ความรู้สึกรุกรานน้อยกว่า ราคาไม่แพงและเป็นบางสิ่งที่คนสามารถทำได้ด้วยตนเอง  ด้วยเทคนิดเฉพาะเช่นการบำบัดการผ่อนคลายด้วยบทเพลงเคยแสดงให้เห็นแล้วว่ามีประโยชน์สำหรับคนที่มีปัญหาหารนอนได้ด้วยการสร้างการพักผ่อนในระยะ “ก่อนการนอนหลับ”  สามารถทำในสถานที่ที่ไม่ใช่บ้าน:จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าดนตรีสามารถใช้รักษาโรคนอนไม่หลับโดยไม่ใช่ยาได้ในคนไข้ที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 

เพลงนั่งสมาธิช่วยการจัดการความเจ็บปวด

ดนตรีถูกค้นพบแล้วว่ามีวิธีที่มีประสิทธิภาพสำหรับการจัดการเรื่องความเจ็บปวดทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังในคนทุกช่วงอายุ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการฟังดนตรีเพื่อเยียวยาจากการผ่าตัดหรือการบาดเจ็บ อาจช่วยให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถจัดการกับอาการเจ็บปวดทางร่างกายได้

เพลงสมาธิบำบัดช่วยอาการเจ็บปวดหลังการผ่าตัด

จากการศึกษาในปี 2015 ในบทความ Complementary Therapies in Medicine  พบว่าเมื่อนำไปใช้คู่ร่วมกับการดูแลหลังการผ่าตัดตามมาตรฐานของโรงพยาบาล ดนตรีบำบัดส่งผลในการลดระดับความเจ็บปวด ความวิตกกังวล อัตราการเต้นของหัวใจ และรัดับความดันเลือดในคนไข้ในระหว่างฟื้นฟูหลังการผ่าตัดลงได้เป็นอย่างดี  เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจโดยไม่พึ่งยามักถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการเจ็บปวดในเด็ก จากการศึกษาระบุได้ว่าดนตรีบำบัดเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่ามากในคลังแสงของการรักษา และจากการวิจัยยังพบด้วยว่าดนตรีสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก แม้จะยังไม่รู้ความก็ตามที จากการศึกษาในแถบประเทศสแกนดิเนเวียที่ถูกตีพิมพ์ไว้เมื่อปี 2017 พบว่าเด็กและเด็กวัยรุ่นที่ได้ฟังดนตรีโดยการใส่หูฟังในระหว่างการผ่าตัดแสดงให้เห็นว่ามีพฤติกรรมปรับตัวผิดหลังการผ่าตัดน้อยลง (วัดคะแนนจากแบบสอบถามพิเศษ)

ดนตรีบำบัดความเครียดใช้ในการช่วยผ่าคลอด การคลอดบุตรและการตรวจเด็กแรกเกิด

ดนตรีนิยมถูกนำมาใช้ในระหว่างการผ่าคลอดหรือการคลอดบุตรมานานแล้ว จากการค้นหาวิเคราะห์ในปี 2019 โดย Sydney Mohr at Lesley University  พบว่าการใช้ดนตรีบำบัดช่วยในการคลอดบุตรได้ผลไปในทางบวก สามารถเข้าถึงได้ง่าย เป็นทางเลือกในการไม่ใช่ยาเพื่อจัดการอาการเจ็บปวดเพื่อประโยชน์สำหรับแม่และเด็กในการคลอดบุตร เด็กแรกเกิดอาจได้รับประโยชน์จากดนตรีบำบัด โดยเฉพาะในระหว่างการทดสอบทั่วไปหลังคลอด จากการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าเมื่อนำเอาดนตรีเพิ่มเติมเข้าไปในการจัดการอาการเจ็บปวดของทารกแรกเกิดตามมาตราฐานในระหว่างการเจาะเลือดส้นเท้าเด็ก การแสดงสีหน้าของเด็กทารกคลอดก่อนกำหนดและความมีชีวิตชีวา (วัดจากเครื่องวัดความเจ็บปวด)นั้นมีความแตกต่างอย่างสังเกตเห็นได้ชัดเจน เด็กทารกคลอดก่อนกำเนิดที่ได้รับฟังเสียงดนตรีมีอัตราการเต้นหัวใจลดลงและมีการแสดงสีหน้าที่แตกต่างออกไป การเปลี่ยนแปลงนี้ถูกเฝ้าติดตามในระหว่างการทดสอบราวห้านาทีหลังเสร็จการทดสอบเรียบร้อย นักวิจัยสรุปได้ว่าดนตรีสามารถช่วยจัดการความเจ็บปวดในห้องดูแลเด็กทารกแรกเกิดขั้นวิกฤต ได้เหมือนกับการนำมาใช้กับเด็กโตและผู้ใหญ่

ความเจ็บปวดเรื้อรัง

เพื่อระดับความเจ็บปวด ดนตรีบำบัดสามารถเป็นส่วนหนึ่งในแผนระยะยาวในการจัดการอาการเจ็บปวดเรื้อรังได้ ดนตรีสามารถเชื่อมต่อกับการประมาณผลความทรงจำได้เป็นอย่างดี ซึ่งนั้นหมายความว่ามันสามารถช่วยคนในการรำลึกและพุ่งความสนใจอยู่แต่กับเรื่องความทรงจำที่ดีจากช่วงเวลาที่ยังไม่มีอาการซึมเศร้าได้

โรคมะเร็ง

ช่วยจัดการกับโรคมะเร็งได้ดีพอๆกับการรักษาอื่นๆคือการรักษาทางอารมณ์เหมือนทางร่างกาย คนไข้โรคมะเร็งมักต้องการการรักษามากกว่าหนึ่งแบบเพื่อจัดการแก้ไข พวกเขาต้องการแหล่งช่วยเหลือที่แตกต่างเพื่อดูแลอารมณ์และสุขภาวะทางจิตวิญญาน ดนตรีบำบัดแสดงให้เห็นแล้วว่าสามารถช่วยลดความวิตกกังวลในคนไข้โรคมะเร็งนับตั้งแต่เริ้มต้นการรักษาด้วยการฉายแสงและอาจช่วยคนไข้ในการจัดการกับผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัดได้เช่นอาการคลื่นไส้  ประโยชน์ทางด้านอารมณ์จากดนตรีบำบัดที่เคยได้ผลในคนที่มีภาวะซึมเศร้านำมาใช้ได้ผลดีพอๆกันสำหรับคนที่เป็นโรคมะเร็ง หลายๆรายที่อาจเคยมีอาการซึมเศร้าหลังได้รับรู้การวินิจฉัยโรค ในขณะขั้นตอนการรักษาหรือแม้แต่ในขั้นตอนการพักจากการรักษาโรคโรคอื่นๆ นักวิจัยยังพบด้วยว่าประโยชน์จากดนตรีบำบัดนั้นยังสามารถช่วยคนได้ทุกช่วงวัยทั้งอาการทางร่างกายและปัญหาทางด้านจิตใจ รวมไปถึง:
  • กลุ่มอาการภาวะออทิซึม
  • ความผิดปกติทางด้านพฤติกรรม
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • พัฒนาการที่ล่าช้าและมีความบกพร่องทางการเรียนรู้
  • ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง
  • โรคจิตเภท
  • ความผิดปกติทางการพูด
  • โรคหลอดเลือดสมอง อาการบาดเจ็บทางสมองและโรคระบบประสาท

ข้อจำกัดของดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัดอาจยังไม่เคยแสดงให้เห็นว่ามีส่วนประกอบที่เพียงพบในการรักษาโรคประจำตัวรวมไปถึงโรคทางจิตใจ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อนำดนตรีบำบัดไปใช้ร่วมกับยา การบำบัดทางจิตและการแทรกแซงอื่นๆ พบว่าให้ผลดีในแผนการรักษา. 

ใครที่ควรใช้ดนตรีบำบัด

ประโยชน์ของดนตรีบำบัดนั้นมีประโยชน์สำหรับบุคคลหลากหลายกลุ่มอายุและความต้องการและสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ต่อไปนี้คือกลุ่มคนบางกลุ่มที่อาจได้รับประโยชน์จากดนตรีบำบัด:
  • เด็กและวัยรุ่น:
      • เด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติ เช่น โรคออทิสติกสเปกตรัม (ASD)
      • เยาวชนที่ต้องรับมือกับความท้าทายทางอารมณ์หรือพฤติกรรม
      • เด็กและวัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้หรือโรคสมาธิสั้น (ADHD)
      • ผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเพื่อการรับมือกับความเจ็บป่วย ความเจ็บปวด หรือการผ่าตัด
  • ผู้ใหญ่:
      • บุคคลที่มีภาวะสุขภาพจิต รวมถึงภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล โรคความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD) หรือโรคจิตเภท
      • ผู้ใหญ่ที่มีโรคเกี่ยวกับระบบประสาทเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ หรือพาร์กินสัน
      • ผู้ที่ฟื้นตัวจากประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจหรือเผชิญกับความเศร้าโศกและความสูญเสีย
  • ผู้สูงอายุ:
      • ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ บ้านพักคนชรา หรือหน่วยดูแลความจำ
      • ผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางสติปัญญา ความจำเสื่อม หรือความโดดเดี่ยว
      • ผู้ที่แสวงหาการมีส่วนร่วมทางสังคมและการกระตุ้นการรับรู้
  • บุคคลที่มีความพิการทางร่างกาย:
      • ผู้ที่มีความพิการทางร่างกายหรือมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว
      • บุคคลที่ฟื้นตัวจากการบาดเจ็บ การผ่าตัด หรือโรคหลอดเลือดสมอง
      • ผู้ที่อยู่ในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายหรือกิจกรรมบำบัด
  • ผู้ป่วยในสถานพยาบาล:
      • ผู้ป่วยในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในหอผู้ป่วยหนัก หน่วยรักษาโรคมะเร็ง หรือสถานพักฟื้น
      • บุคคลที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังที่ต้องการการจัดการกับอาการและการสนับสนุนทางอารมณ์
      • ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหรือหัตถการทางการแพทย์
  • บุคคลที่มีความผิดปกติในการสื่อสาร:
      • ผู้ที่มีความผิดปกติในการพูดหรือภาษา
      • ผู้ที่มีความต้องการในการสื่อสารแบบไม่ใช้คำพูด
  • ผู้ดูแลสมาชิกในครอบครัว:
      • สมาชิกในครอบครัวและผู้ดูแลบุคคลที่มีความต้องการพิเศษหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง เนื่องจากดนตรีบำบัดสามารถให้ความช่วยเหลือและช่วยเหลือทางอารมณ์แก่ผู้ดูแลได้
  • ผู้ที่กำลังมองหาการบรรเทาความเครียดและการผ่อนคลาย:
    • บุคคลที่ประสบปัญหาความเครียด วิตกกังวล หรือปัญหาการนอนหลับ
    • ผู้ที่สนใจเทคนิคการผ่อนคลายและเจริญสติผ่านดนตรี
ดนตรีบำบัดเป็นรูปแบบการบำบัดที่หลากหลายและปรับเปลี่ยนได้ ซึ่งสามารถปรับให้ตรงตามความต้องการและเป้าหมายเฉพาะของแต่ละบุคคลในบริบทต่างๆ มักจัดทำโดยนักบำบัดทางดนตรีที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการ ซึ่งจะประเมินและสร้างแผนการรักษาเฉพาะบุคคลโดยพิจารณาจากสถานการณ์และวัตถุประสงค์เฉพาะของแต่ละคน

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://petersonfamilyfoundation.org/news/health-benefits-of-music-therapy/
  • https://positivepsychology.com/music-therapy-benefits/
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/music-therapy
  • https://www.healthline.com/health/benefits-of-music
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด