ถั่วงอก (Sprouts) คือ ต้นอ่อนของถั่วที่งอกจากเมล็ดเขียว คนไทยนิยมกินถั่วงอกที่เป็นต้นอ่อนถั่วเขียวและถั่วเหลืองเป็นหลัก ถั่วงอกมีสารอาหารหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียม โปรตีน สารต้านอนุมูลอิสระและกรดอะมิโน
คุณค่าทางโภชนาการของถั่วงอก ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 30 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 5.94 กรัม
- น้ำ 90.4 กรัม
- น้ำตาล 4.13 กรัม
- เส้นใย 1.8 กรัม
- ไขมัน 0.18 กรัม
- โปรตีน 3.04 กรัม
- วิตามินบี 1 0.084 มิลลิกรัม 7% วิตามินบี 2 0.124 มิลลิกรัม 10% วิตามินบี 3 0.749 มิลลิกรัม 5% วิตามินบี 6 0.088 มิลลิกรัม 7% และวิตามินบี 9 61 ไมโครกรัม 15%
- วิตามินซี 13.2 มิลลิกรัม 16%
- วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินเค 33 ไมโครกรัม 31%
- ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุเหล็ก 0.91 มิลลิกรัม 7%
- ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม 6%
- ธาตุแมงกานีส 0.188 มิลลิกรัม 9%
- ธาตุฟอสฟอรัส 54 มิลลิกรัม 8%
- ธาตุโพแทสเซียม 149 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุสังกะสี 0.41 มิลลิกรัม 4%
ประโยชน์ของถั่วงอก
สารต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ถั่วงอกอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง อย่างโรคเบาหวานและโรคมะเร็ง และ ถั่วงอกยังให้พลังงานต่ำ จึงเหมาะกับผู้ที่กำลังลดความอ้วนหรืออยู่ในช่วงควบคุมอาหาร ถั่วงอกอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด และยังให้พลังงานต่ำ ผู้ที่กินถั่วงอกเป็นประจำก็อาจได้รับประโยชน์ ดังนี้ลดระดับน้ำตาลในเลือด
การกินถั่วงอกช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีในผู้ที่เป็นเบาหวาน จากการศึกษาพบว่าถั่วงอกลดน้ำตาลในเลือดได้ อาจเนื่องจากมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ ซึ่งช่วยควบคุมระดับอินซูลิน และยังมีเอนไซม์ในต้นอ่อน ที่มีผลต่อการย่อยคาร์โบไฮเดรต แต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของผลเหล่านี้ช่วยระบบการย่อยอาหาร
การกินถั่วงอกอาจช่วยเรื่องการย่อย จากการศึกษาหลายชิ้นพบว่า การเพาะเมล็ดให้เป็นต้นอ่อนเพิ่มปริมาณใยอาหารมากขึ้นอย่างชัดเจน และใยอาหารนี้ส่วนใหญ่เป็นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ(ไม่ละลายในกระเพาะอาหาร) และยังเป็นอาหารให้กับแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ด้วย แบคทีเรียเหล่านี้สำคัญสำหรับการย่อยอาหาร ทำให้สุขภาพลำไส้ดีและลดอาการท้องอืดช่วยทำสุขภาพหัวใจดีขึ้น
ถั่วงอกในอาหารอาจช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดี จากการศึกษาจำนวนมากพบว่า การกินถั่วงอกช่วยลดโคเลสเตอรอลในผู้ที่เป็นเบาหวานหรืออ้วน การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า โคเลสเตอรอลชนิดดีเพิ่มขึ้นและไตรกลีเซอไรด์และโคเลสเตอรอลชนิดเลวลดลง ซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและเส้นเลือดแข็งต้านการอักเสบ
ถั่วงอกประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและสารพฤกษเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย หนึ่งในนั้น คือ การต้านการอักเสบ จากการศึกษาพบว่าสารอาหารหลายชนิดที่สกัดได้จากถั่วงอก เช่นโพลีฟีนอล กรดแกลลิก และฟลาโวนอยด์ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เชื่อกันว่าการกินถั่วงอกอาจบรรเทาอาการของโรคจากการอักเสบเช่น โรคภูมิแพ้ เบาหวาน หรือข้ออักเสบรูมาตอยด์ อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาในคนเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับการต้านการอักเสบรักษาโรคผิวหนัง
สารโพลีฟีนอล (Polyphenol) ในถั่วงอก อาจมีประโยชน์ต่อการรักษาโรคผิวหนัง โดยมีผลงานวิจัยพบว่าโพลีฟีนอลช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ ต้านเชื้อโรค ลดการอักเสบ และช่วยให้ผิวแข็งแรง จึงอาจเป็นประโยชน์ในการรักษาแผลเรื้อรัง แผลไหม้ โรคผื่นแพ้ผิวหนัง รวมทั้งโรคอันตรายอย่างโรคมะเร็งผิวหนังนอกจากนี้ ยังช่วยแก้ปัญหาผิว เช่น รักษาสิว ลดริ้วรอย และจุดด่างดำ แต่งานวิจัยนี้ก็พบผลข้างเคียงจากการใช้อยู่บ้าง และไม่ใด้ศึกษาจากโพลีฟีนอลในถั่วงอกโดยตรง ดังนั้น หากต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารโพลีฟีนอลเพื่อการรักษาโรคหรือบำรุงผิว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนโทษของถั่วงอก
ถั่วงอกมีประโยชน์และมีคุณค่าทางอาหารมากมาย แต่โทษของถั่วงอกเกิดจากการปนเปื้อน การเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสมและการกินมากเกินไป อาจเป็นอันตรายได้- เชื้อโรค แบคทีเรียซาลโมเนลลา (Salmonella) และเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) จากการปลูก ขนส่งหรือเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียน และอาหารเป็นพิษ ก่อนนำถั่วงอกมาปรุงอาหาร ควรล้างด้วยน้ำสะอาดผสมด่างทับทิม,เบกกิ้งโซดา หรือน้ำส้มสายชู แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง เพื่อลดเชื้อโรค
- สารฟอกขาว ผู้ผลิตบางรายใส่สารฟอกขาวเพื่อให้ถั่วงอกดูขาวสะอาด ไม่มีรอยช้ำ สดใหม่ และน่ารับประทาน หากคนได้รับสารฟอกขาวในปริมาณมากอาจตกค้างภายในร่างกายและเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นหอบหืด ควรเลือกซื้อถั่วงอกที่ดูไม่ขาวเกินไปหรือมีรอยช้ำบ้างเล็กน้อย ช่วยลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารฟอกขาวเข้าสู่ร่างกาย
- สารไฟเตท (Phytate) เป็นสารธรรมชาติที่มีอยู่ในถั่วงอกดิบ แต่จะลดลงหลังจากการปรุงให้สุก สารไฟเตทมีคุณสมบัติยับยั้งการดูดซึมโปรตีนและแร่ธาตุ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี หรือแมกนีเซียม ดังนั้น การกินถั่วงอกดิบปริมาณมากและต่อเนื่องอาจทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารต่าง ๆ ลดลง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ เพราะต้องการสารอาหารเหล่านี้มากกว่าคนทั่วไป เพื่อช่วยเสริมพัฒนาการของทารกและบำรุงร่างกายมารดา นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดแร่ธาตุก็ควรหลีกเลี่ยงเช่นเดียวกัน
- รากจะต้องไม่ยาว (ปลูกโดยใช้ผ้ารองพื้น ไม่ใช่น้ำยาเคมี)
- ควรเลือกถั่วงอกที่มีเปลือกถั่วปะปนอยู่บ้างเพื่อหลีกเลี่ยงสารฟอกขาว
- แช่น้ำทิ้งไว้สักประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรือจะทำให้สุก ก่อนรับประทาน
- ล้างให้สะอาด:ก่อนบริโภค ให้ล้างถั่วงอกดิบให้สะอาดใต้น้ำไหลเพื่อกำจัดแบคทีเรียที่อาจเกิดขึ้นบนพื้นผิว
- ปรุงถั่วงอก:ถั่วงอกปรุงอาหารสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายและลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วยจากอาหารได้ แนะนำให้ปรุงถั่วงอกแบบเบาๆ ด้วยการผัด นึ่ง หรือต้ม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเพลิดเพลินกับถั่วงอกในขณะที่ลดความเสี่ยงของการปนเปื้อน
- หลีกเลี่ยงถั่วงอกดิบในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง:บุคคลในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น สตรีมีครรภ์ บุคคลที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ ควรพิจารณาหลีกเลี่ยงถั่วงอกดิบทั้งหมด
- แช่เย็น:เก็บถั่วงอกไว้ในตู้เย็นเพื่อชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ควรบริโภคภายในสองสามวันเพื่อรักษาความสด
- เลือกแหล่งที่เชื่อถือได้:เมื่อซื้อถั่วงอก ให้เลือกแหล่งที่เชื่อถือได้ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้รับการจัดการและจัดเก็บอย่างเหมาะสม
วิธีเพาะถั่วงอกให้อ้วน
ฮอร์โมนที่ทำให้ถั่วงอกอ้วน โดยการใช้สารสังเคราะห์ไซโตไคนิน- ให้นำเมล็ดถั่วเขียวที่ล้างแช่ในน้ำอุ่น 1 ชั่วโมง ตักเมล็ดถั่วเขียวที่ลอยทิ้ง และแช่น้ำต่อไปอีก 1 คืน
- นำเมล็ดถั่วเขียวที่แช่ไว้ไปเพาะ
- นำฟองน้ำปิดทับเมล็ดถั่วเขียว และกระเบื้องทับบนฟองน้ำเพราะการกดทับยิ่งแน่นมากเท่าไหร่ถั่วงอกก็จะอ้วนมากกว่าเดิม
- รดน้ำให้ความชื้นอย่างสม่ำเสมอ
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น