อาหารอ่อน (Soft Food Diet) – เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์

ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์มักสั่งจ่ายอาหารชนิดพิเศษเพื่อช่วยคนไข้ที่กำลังฟื้นตัวจากการผ่าตัดทางการแพทย์บางชนิดหรือการเจ็บป่วยบางอย่าง อาหารอ่อนมักใช้ทั่วไปตามสถานพยาบาล รวมถึอาหารที่นิ่มและอาหารย่อยง่าย หากได้รับคำสั่งแพทย์ให้รับประทานอาหารอ่อน คนไข้ควรพิจารณาว่าอาหารชนิดใดที่ควรรับประทานและชนิดใดที่ควรหลีกเลี่ยง ในบทความน้จะอธิบายถึงสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารอ่อน

อาหารอ่อนคืออะไรและทำไมต้องมีใบสั่งแพทย์ 

อาหารอ่อนคืออาหารนิ่ม อาหารที่ย่อยได้ง่ายและสั่งจ่ายสำหรับคนที่ไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัมผัสปกติหรือเป็นอาหารที่มีการปรุงรสในปริมาณสูง ทางการแพทย์มักสั่งจ่านอาหารชนิดนี้สำหรับคนไข้ที่มีโรคบางอย่าหรือสำหรับคนที่กำลังฟื้นตัวหลังการผ่าตัด อาหารอ่อนมักถูกนำมาใช้ได้หลายสถานที่ซึ่งรวมถึงโรงพยาบาล สถานดูแลระยะยาวและภายในบ้าน มีตั้งแต่ใช้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆไม่กี่วันไปยังถึงหลายสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าต้องใช้อาหารอ่อนเป็นเวลานานเท่าใด อาหารอ่อนมักนำมาใช้กับคนที่มีปัญหาด้านการกลืน หรือที่เรียกว่าภาวะกลืนลำบาก คือภาวะที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคทางระบบประสาทและโรคความเสื่อมของระบบประสาท ในปี 2002 ทาง  the Academy of Nutrition and Dietetics published the National Dysphagia Diet (NDD) ได้ทำการแบ่งระดับอาหารปั่นไว้หลายระดับคือ:
  • NDD ระดับ 1 — Dysphagia-Puréed: เป็นอาหารปั่นเป็นเนื้อเดียวกัน ลักษณะคล้ายพุดดิ้ง ต้องการความสามารถในการเคี้ยวน้อยมาก
  • NDD ระดับ 2 — Dysphagia-Mechanically Altered: เป็นอาหารที่มีความข้นและชื้น มีความแข็งปานกลาง ต้องการการเคี้ยวบ้าง
  • NDD ระดับ 3 — Dysphagia-Advanced: อาหารอ่อนที่ต้องการความสามารถในการเคี้ยวมากขึ้น
  • อาหารทั่วไป: อาหารทุกชนิดที่ได้รับอนุญาติ
จุดประสงค์ของอาหารที่ได้รับการดัดแปลงเนื้อสัมผัสให้มีความนิ่มเหล่านี้ทำมาเพื่อลดความเสี่ยงในการสำลักและปอดอักเสบในคนไข้ที่เป็นโรคภาวะกลืนลำยาก แต่จากการศึกษากลับพบว่าอาการที่ได้รับการดัดแปลงเนื้อสัมผัสให้นิ่มเหล่านี้ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงและมีภาวะโภชนาการต่ำ ซึ่งจำเป็นต้องมีการค้นคว้าศึกษาต่อไป นอกจากภาวะกลืนลำบากแล้ว อาหารอ่อนยังถูกสั่งจ่ายสำหรับคนไข้ที่เพิ่งได้รับการผ่าตักกรามหรือในช่องปากที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเคี้ยว ยกตัวอย่างเช่น คนที่ได้รับการถอนฟันคุด ผ่าตัดกรามหรือการผ่าตัดปลูกถ่ายฟันอาจมีความจำเป็นต้องได้รับอาหารอ่อนเพื่อช่วยในการรักษาตัว อาหารอ่อนมักใช้เป็นอาหารที่อยู่ระหว่างอาหารเหลวหรือปั่นกับอาหารปกติ นำมาใช้ในคนไข้ที่เพิ่งได้รับการผ่าตัดหน้าท้องหรืออยู่ในช่วงฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยด้านทางเดินอาหาร เพื่อให้ระบบย่อยได้มีเวลารักษาตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้น อาหารอ่อนยังถูกสั่งจ่ายสำหรับคนไข้ที่มีภาวะอ่อนแอเกินจะบริโภคอาหารปกติ เช่นคนที่เพิ่งได้รับการทำคีโมบำบัด รวมถึงคนที่สูญเสียความรู้สึกบริเวณใบหน้าหรือปาก หรือไม่สามารถควบคุมริมฝีปากหรือลิ้นเพราะโรคหลอดเลือดสมอง อาหารอ่อนๆสามารถใช้ได้ทั้งที่ตามสถานพยาบาลและที่บ้าน ส่วนใหญ่มักถูกใช้ในระยะสั้น มีใยอาหารต่ำและนิ่มเพื่อง่ายต่อการย่อยและให้ความสบายสำหรับผู้ที่รับประทาน ควรจำไว้ว่าในบางคนที่จำเป็นต้องใช้อาหารอ่อนเป็นระยะเวลานาน ในกรณ๊เช่นนี้ควรรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงกวาสและมีรสชาติที่ดีกว่าอาหารอ่อนที่ใช้สำหรับระยะสั้น

อาหารที่รับประทานร่วมกับอาหารอ่อน

อาหารอ่อนถูกนำมาใช้สำหรับคนที่ไม่สามารถทานอาหารที่มีเนื้อสัมผัสปกติหรือมีเครื่องปรุุงรสสูงได้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยหลากหลายเหตุผล อาหารอ่อนไมาควรสับสนกับอาหารปั่น ถึงแม้อาหารปั่นจะจัดเป็นอาหารอ่อนก็ตามแต่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อาหารอ่อนควรมีเป็นอาหารที่มีความนิ่มรวมถึงง่ายต่อการรับประทานและเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ต่อไปนี้คือตัวอย่างของอาหารที่มีรสชาติที่ดีของอาหารอ่อน:
  • ผัก: แครอทต้มจนนิ่ม ถั่วแขก ผัดโขมสับผ่านการปรุงสุก ซุคกิน่ไม่มีเมล็ดต้มสุก ดอกบล็อคโคลี่ต้มสุก
  • ผลไม้: แอปเปิ้ลปอกเปลือกผ่านการปรุงสุกหรือแอปเปิ้ลซอส กล้วย อะโวคาโด พีชสุกปอกเปลือก ลูกแพร์ผ่านการปรุงสุก ผลไม้ปั่น
  • ไข่: ทำให้สุกทั้งไข่แดงและไข่ขาว สลัดไข่
  • ผลิตภัณฑ์นม: คอทเทจชีส โยเกิร์ต ชีสนุ่ม พุดดิ้ง โยเกิร์ตแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่พคือสิ่งที่แนะนำสำหรับคนไข้ที่กำลังฟื้นตัวจากการผ่าตัดทางเดินอาหารหรือป่วย
  • ธัญพืชและแป้ง: มันฝรั่งบด มันหวาน ฟักทองบัตเตอร์นัท แพนเค้กแบบนิ่ม เส้นก๋วยเตี๋ยวนิ่ม
  • เนื้อวัว เนื้อไก่และปลา สับละเอียดหรือเนื้อไก่บด ทูน่านิ่มหรือสลัดไก่ ปลานึ่งหรืออบ เต้าหู้นิ่ม
  • ซุป: ปั่นหรือน้ำซุบกระดูกพร้อมผักต้มจนนิ่ม
  • อื่นๆ: น้ำเกรวี่ ซอส เนยถั่วบดละเอียด เจลลี่ แยม
  • เครื่องดื่ม: น้ำ ชา โปรตีนเชคและน้ำปั่น
จำไว้ว่ามีอาหารอ่อนที่แตกต่างกันมากมายหลายชนิดขึ้นอยู่กับสภาพที่จำเป็นต้องรักษา บางคนอาจต้องเคร่งครัดไม่สามารถทานอาหารบางชนิดได้สำหรับเหตุผลบางอย่าง

อาหารอ่อนที่ควรหลีกเลี่ยง

มีอาหารหลายชนิดที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อต้องใช้อาหารอ่อน อาหารที่ยากต่อการย่อย รวมถึงอาหารที่เคี้ยวยากก็ควรห้าม อาหารรสจัดและอาหารที่เป็นกรดสูงควรห้ามเด็ดขาด

อาหารอ่อนและอาหารว่างที่แนะนำ 

ข้อห้ามของการรับประทานสามารถทำให้เกิดความหงุดหงิดขึ้นได้ โดยเฉพาะเมื่ออาหารเพื่อสุขภาพหลายอย่างเช่นผลไม้และผักดิบก็ถูกสั่งห้ามไปด้วย แต่เรายังคงพอมีทางเลือกในการทำให้มื้ออาหารนั้นๆดีขึ้นและมีทางเลือกสำหรับอาหารว่างสำหรับการรับประทานแบบอาหารอ่อน ต่อไปนี้คือมื้ออาหารที่คนไข้ที่ต้องทานอาหารอ่อนสามารถทานได้:

มื้อเช้า

  • ไข่คนและอะโวคาโดสไลด์
  • ครีมบีบบนพีชสุกและเนยเม็ดมะม่วงหิมพานต์
  • คีชที่ทำจากไข่ ชสแพะ ผักโขมสับและฟักทอง
  • โยเกิร์ตพาเฟ่ต์ทำด้วยโยเกิร์ตรสจืด กล้วยหรือพีชกระป๋อง แยมบลูเบอรี่และเนยอัลมอนด์ละเอียด

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน

การปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนที่จะเริ่มรับประทานอาหารอ่อน ควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหรือนักโภชนาการที่ลงทะเบียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีข้อจำกัดด้านอาหารที่เฉพาะเจาะจง แพ้อาหาร หรือสภาวะทางการแพทย์ที่อาจต้องพิจารณาเป็นพิเศษด้านอาหาร พวกเขาสามารถให้คำแนะนำและคำแนะนำส่วนบุคคลเพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของคุณในขณะที่รับประทานอาหารอ่อน โดยรวมแล้ว การรับประทานอาหารอ่อนสามารถเป็นวิธีแก้ปัญหาชั่วคราวสำหรับบุคคลที่มีปัญหาในการเคี้ยวหรือกลืน ทำให้พวกเขาได้รับสารอาหารที่เพียงพอและสนับสนุนกระบวนการบำบัด ด้วยการเลือกอาหารที่อุดมด้วยสารอาหาร ย่อยง่าย และเตรียมในลักษณะที่นุ่มนวลและน่ารับประทาน คุณสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับประสบการณ์การรับประทานอาหารที่สะดวกสบายและน่าพึงพอใจในขณะที่รับประทานอาหารอ่อน soft food diet

มื้อกลางวัน

  • สลัดไก่หรือทูน่าทำโดยปราศจากผัก
  • ซุปไก่พร้อมเส้นก๋วยเตี๋ยว ผีกต้มและไก่ฉีก
  • คูสคูส เฟต้าและสลัดผักนิ่ม
  • เบอร์เกอร์แซลมอลพร้อมอะโวคาโด

มื้อเย็น

  • มีทโลฟพร้อมเนื้อบดหรือเต้าหู้ทานคู่กับมันหวานบด
  • ไก่นิ่มและข้าวพร้อมถั่วแขกปรุงสุก
  • เชพเพิร์ดพายทำจากเนื้อไก่งวงบด
อาหารว่างเช่น:
  • คอมเทจชีสพร้อมผลไม้กระป๋องแบบนิ่ม
  • โยเกิร์ตพร้อมกับแอปเปิ้ลปอกเปลือกต้มสุกและชินนามอน
  • ซุปธัญพืชและผัก
  • น้ำปั่นทำจากผงโปรตีน เนยถั่วละเอียดและผลไม้
  • สลัดไข่พร้อมอะโวคาโดบด
  • ขนมปังนิ่มฟักทองหรือกล้วยพร้อมเนยอัลมอนด์ละเอียด
  • ซุปผักปั่นเช่นซุบฟักทอง

เคล็ดลับตัวช่วยสำหรับคนที่รับประทานอาหารอ่อน

การบริโภคอาหารอ่อนเท่านั้นจัดเป็นเรื่องที่ลำบาก ติดตามเคล็ดลับต่อไปนี้เพื่อช่วยการรับประทานง่ายขึ้น:
  • เลือกตัวเลือกอาหารสุขภาพ เช่นผัก ผลไม้และโปรตีนคือทางเลือกที่ดีที่สุด และควรเทอกอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลาย
  • ปรุงรสอาหาร โดยใช้สมุนไพรและเครื่องปรุงอ่อนๆเพื่อช่วยทำให้อาหารน่ารับประทานยิ่งขึ้น
  • สนใจเรื่องของโปรตีน หลีกเลี่ยงโปรตีนในอาหารทุกมื้อและอาหารว่าง โดยเฉพาะในคนที่กำลังอยู่ในระยะพักฟื้นจากการผ่าตัดและคนที่ขาดสารอาหาร
  • รับประทานมื้อเล็กๆดีกว่ารับประทานมื้อใหญ่ แนะนำให้บริโภคโดยแบ่งเป็นมื้อเล็กๆหลายๆมื้อตลอดทั้งวันเมื่อรับประทานอาหารอ่อน
  • รับประทานช้าๆและเคี้ยวให้ละเอียด การให้เวลาในการรับประทานและการเคี้ยวอาหารถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับคนที่ต้องทานอาหารอ่อน รวมึงคนที่อยู่ในระยะพักฟื้นจากการผ่าตัดหน้าท้องและโรคทางระบบประสาทบางโรค นั่งตัวตรงและจิบของเหลวในระหว่างการรับประทาน
  • วางแผนการรับประทานไว้ล่วงหน้า เพื่อช่วยลดความเครียดและทำให้มื้อเวลาอาหารง่ายขึ้น
ปกติทั่วๆไปอาหารอ่อนมักใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆไปจนกว่าคนไข้จะพร้อมกับมาเริ่มต้นทานอาหารตามปกติอีกครั้ง แพทย์จะให้คำแนะนำว่าควรทานอาหารอ่อนนานแค่ไหน หากมีคำถามหรือข้อกังวลใจเกี่ยวกับการทานอาหารอ่อนหรือวิธีกลับไปทานอาหารตามปกิ ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

บทสรุป

แพทย์จะสั่งอาหารอ่อนสำหรับคนไข้ที่ต้อลฟื้นตัวจากการผ่าตัดและเจ็บป่วย เพื่อช่วยให้การเคี้ยวและการย่อยอาหารนั้นง่ายขึ้น เมื่อรับประทานตามหลักอาหารอ่อน สิ่งที่สำคัญคือการเลือกอาหารที่มีความนิ่ม ง่ายต่อการย่อยและหลีกเลี่ยงอาหารที่เคี้ยวยากหรือย่อยยาก อาหารรสจัดและอาหารที่อาจก่ออาการระคายเคืองควรหลีกเลี่ยง ถึงกระนั้นการรับประทานอาหารอ่อนก็จัดเป็นเรื่องลำบากที่จะปฏิบัติ แต่เพื่อการฟื้นตัวที่ดีสิ่งที่สำคัญคือต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ไปเรื่อยๆจนกว่าคนไข้จะพร้อมกลับไปรับประทานอาหารตามปกติ
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด