การละเมอ (Sleepwalking) – การวินิจฉัยการรักษา

ละเมอคือ อะไร

คือ การที่ผู้นั้นเดิน หรือเคลื่อนไหวเหมือนกับตื่นอยู่ แต่ที่จริงหลับ นอกจากลุกขึ้นมาเดินแล้ว ยังทำกิจกรรมอื่นอีก เช่น แต่งตัว ไปห้องน้ำ กิน หรือจัดบ้านอาการมักเกิดในเด็ก แต่การละเมอเดินอาจทำให้ตกจากที่สูง และบาดเจ็บได้ การรักษา และการจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ละเมอเกิดจากอะไร

การละเมอเดินอาจเป็นอาการของโรค เช่น โรคขาอยู่ไม่สุข หยุดหายในขณะหลับ กรดไหลย้อน หรือปวดศีรษะไมเกรน แพทย์อาจต้องทำการตรวจเพื่อหาโรคเหล่านี้การละเมอเดินส่งต่อทางพันธุกรรม หากพ่อแม่คุณมีประวัติละเมอเดิน คุณก็มีโอกาสที่จะเป็น เช่น กันยาบางชนิดอาจทำให้ละเมอเดินได้ แต่มีโอกาสเกิดยาก เช่น ยานอนหลับ Zolpidem และยาต้านฮิสตามีนบางตัวอาการของการละเมอ  มักพบบ่อยในเด็กอายุ 4-8 ปี จะเกิดในช่วงที่ไม่ใช่ REM(หลับลึก) และช่วงหนึ่ง หรือสองชั่วโมงหลังเข้านอนอาการจะแตกต่างกันไป แต่ก็เช่น ลุกขึ้นนั่งอยู่ในเตียง ลืมตา หลับตา เดินไปรอบบ้าน ทำกิจกรรม เช่น เปิดปิดไฟ พูด หรือเคลื่อนไหวไปที่ต่างๆ บางครั้งอาจนอนละเมอพูดเมื่อคุณพบคนละเมอ ควรปลุกเขาอย่างนุ่มนวล แต่อาจจะตื่นยาก และอาจจะสับสนว่าอยู่ที่ไหน ค่อยๆพาเขากลับไปที่เตียง ส่วนใหญ่คนที่ละเมอมักไม่รู้ตัว คนที่งีบมักไม่ละเมอ เพราะนอนหลับไม่ลึกพอSleepwalking

การวินิจฉัย 

เด็กทั่วไปที่เคยละเมอ พอโตขึ้นจะหายไปเอง แต่ถ้าการละเมอเดินทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเป็นบ่อยๆ อาจต้องไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคอื่นใด หรือไม่ก่อนไปพบแพทย์ควรบันทึกการนอน บันทึกอาการ และเครื่องดื่มที่คุณกินก่อนนอน ระยะเวลานอน และอาการที่พบเมื่อคุณนอนละเมอคุณอาจไม่ทราบรายละเอียดเวลาที่คุณละเมอ เพื่อให้ได้รายละเอียดเพิ่มเติม และบันทึกไว้หากแพทย์คิดว่าคุณมีความผิดปกติของการนอน คุณอาจต้องไปทดสอบการนอน ผู้เชี่ยวชาญจะบันทึกคลื่นสมอง การเต้นของหัวใจ และสัญญาณชีพอื่นๆในขณะที่คุณหลับ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้

วิธีแก้อาการนอนละเมอ

ยาและการรักษามักไม่จำเป็น หากลูกของคุณเดินละเมอ คุณก็แค่ค่อยๆพาเขากลับเตียง แต่ถ้ามีโรคที่ทำให้เกิดละเมอเดิน การรักษาโรคนั้นเช่น โรคขาอยู่ไม่สุข ทำให้การละเมอเดินน้อยลง นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณต้องไปพบแพทย์ หากละเมอเดินบ่อยๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีโรคอื่นๆแอบแฝง เมื่อคุณละเมอเดิน ความเสี่ยงคือ อาจบาดเจ็บจากการสะดุด หรือตกจากที่สูงเช่นตกบันได หากคุณละเมอเดิน อาจต้องจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัยขึ้น เช่น ไม่วางสายไฟเกะกะพื้น ปิดล็อคประตูหน้าต่างก่อนนอน ไม่วางเฟอร์นิเจอร์เกะกะ หากห้องนอนอยู่บนบ้าน ควรติดที่กั้นประตูเพื่อกันตกบันได

ยา

หากละเมอเดินบ่อย ยา เช่น Benzodiazepines หรือยาต้านเศร้าช่วยลดการละเมอเดินได้  Benzodiazepines เป็นยาที่ใช้รักษาอาการวิตกกังวล และรักษาความผิดปกติของการนอนหลับได้ด้วย Clonazepam (Klonopin) และ Diazepam (Valium) ก็ได้ผลดีในการช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล ซึ่งเป็นปัจจัยที่เพิ่มโอกาสการละเมอเดิน

การสะกดจิต

เป็นการบำบัดทางเลือกที่ช่วยได้ การสะกดจิตช่วยให้ผ่อนคลาย และจดจ่อกับสภาวะจิตใจ และผู้บำบัดจะช่วยให้คำแนะนำเพื่อปรับจิตใต้สำนึกได้

ป้องกันการละเมอได้อย่างไร

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เช่น การลดความเครียด กังวล และความขัดข้องใจ พยายามผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง อาบน้ำอุ่น อาจช่วยลดการละเมอเดินได้การเหนื่อยล้ามากมักทำให้เกิดละเมอเดิน การนอนหลับให้เพียงพอช่วยได้ การเข้านอน และตื่นให้เป็นเวลาสำคัญมาก หลีการดื่มคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ก่อนนอน แอลกอฮอล์จะกดระบบประสาทส่วนกลาง และกระตุ้นการละเมอเดิน

ข้อเท็จจริงของการละเมอ

การเดินละเมอหรือการนอนหลับผิดปกติคือความผิดปกติของการนอนหลับที่เกี่ยวข้องกับการเดินหรือการแสดงพฤติกรรมที่ซับซ้อนอื่นๆ ในขณะที่ยังหลับอยู่ ต่อไปนี้เป็นข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับการเดินละเมอ:
  • ความชุก:
      • การเดินละเมอเป็นเรื่องปกติในเด็ก โดยจะพบบ่อยที่สุดในช่วงอายุ 4 ถึง 8 ปี อย่างไรก็ตาม อาการนี้สามารถคงอยู่ได้จนถึงวัยรุ่นและผู้ใหญ่
  • ความถี่:
      • การเดินละเมออาจมีความถี่แตกต่างกันไป โดยเกิดขึ้นไม่บ่อยหรือหลายครั้งต่อคืน บุคคลบางคนอาจมีอาการเดินละเมอเป็นช่วงสั้นๆ ในขณะที่คนอื่นๆ อาจมีอาการอยู่อย่างต่อเนื่อง
  • ระยะการนอนหลับ:
      • การเดินละเมอมักเกิดขึ้นในช่วงการนอนหลับที่ไม่ใช่ REM (การเคลื่อนไหวของดวงตาอย่างรวดเร็ว) โดยเฉพาะในช่วงการนอนหลับแบบคลื่นช้า (SWS) ซึ่งเป็นระยะการนอนหลับที่ลึกที่สุด
  • อาการ:
      • การเดินละเมอเป็นมากกว่าแค่การเดิน บุคคลอาจมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ในระหว่างตอน เช่น พูดคุย รับประทานอาหาร หรือแม้แต่ขับรถ โดยทั้งหมดยังคงอยู่ในสภาวะเร้าอารมณ์บางส่วน
  • ไม่สามารถจำช่วงที่ละเมอได้:
      • คนเดินละเมอมักจำเรื่องราวตอนนั้นได้น้อยหรือไม่มีเลย หากตื่นขึ้นระหว่างตอนเดินละเมอ บุคคลนั้นอาจรู้สึกสับสนและสับสน
  • ปัจจัยกระตุ้น:
      • การเดินละเมอสามารถกระตุ้นได้จากปัจจัยต่างๆ เช่น การอดนอน มีไข้ ความเครียด ยาบางชนิด และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พันธุศาสตร์อาจมีบทบาทเช่นกัน เนื่องจากครอบครัวอาจมีประวัติเดินละเมอได้
  • ความผิดปกติของการรับประทานอาหารที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ:
    • ในบางกรณี การเดินละเมออาจสัมพันธ์กับโรคการกินที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ (SRED) ซึ่งคนเรากินและดื่มในตอนกลางคืนขณะหลับไปบางส่วน
สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าการเดินละเมออาจแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละคน และประสบการณ์ของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกัน หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักกำลังมีอาการเดินละเมอ แนะนำให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อการประเมินและคำแนะนำที่เหมาะสม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.nhs.uk/conditions/sleepwalking/
  • https://www.sleepfoundation.org/parasomnias/sleepwalking
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด