ยานอนหลับ
วิธีรักษาการนอนไม่หลับมีมากมาย นิสัยการนอนที่ดีและอาหารที่ดีต่อสุขภาพช่วยให้นอนหลับได้ การบำบัดพฤติกรรมหรือการใช้ยาอาจจำเป็นสำหรับบางคน สิ่งที่สำคัญคือการหาสาเหตุของการนอนไม่หลับว่าเกิดจากสาเหตุใด บางครั้งการนอนไม่หลับอาจเกิดจากความเครียดหรือโรคทางอารมณ์ เช่นโรควิตกกังวล หรือทางร่างกายที่ต้องการการรักษาแตกต่างกัน หลายๆครั้งพบว่าแบบแผนของการนอนกลับเข้าสู่ปกติได้ เมื่อรักษาโรคหรืออาการเหล่านั้นยารักษาอาการนอนไม่หลับ
แพทย์อาจให้ยาเมื่อการเปลี่ยนวิถีชีวิตและการบำบัดพฤติกรรมไม่ได้ผล แต่มักไม่ให้นานกว่า 2-3 สัปดาห์ เพราะอาจทำให้ติดยาได้ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแผนการรักษา หากคุณนอนไม่หลับ ชนิดและขนาดของยา ขึ้นกับอาการและประวัติการเจ็บป่วย ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีอาการซึมเศร้า ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุของการนอนไม่หลับและต้องการการรักษาแบบอื่นยานอนหลับที่แพทย์สั่ง
ยาที่แพทย์มักสั่ง เช่น ยากล่อมประสาท,ยาคลายกังวลและยาคลายเครียด แพทย์มักไม่ให้ยานานเกิน 2 หรือ 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการติดยานอนหลับ ชนิดและขนาดของยาแตกต่างไปตามการวินิจฉัย,ประวัติการเจ็บป่วยและอาการปัจจุบัน ยานอนหลับที่แพทย์นิยมสั่งให้เช่น- Eszopiclone (Lunesta)
- Ramelteon (Rozerem)
- Trazodone (Desyrel)ต
- Zaleplon (Sonata)
- Zolpidem (Ambien)
- Doxepin (Silenor)
- Estazolam (Prosom)
- Triazolam (Halcion)
- Suvorexant (Belsomra)
- ลดเวลาตั้งแต่เข้านอนจนถึงนอนหลับ
- นอนหลับยาวขึ้น
- ลดการตื่นตอนกลางคืน
- เพิ่มคุณภาพการนอน
ยา Diazepam
ยา Diazepam คือยานอนหลับเม็ดสีเหลืองและขาว ที่มีสารออกฤทธิ์ในการคลายความเครียดและวิตกกังวลใจ จะช่วยให้ผู้รับประทานรู้สึกคลายความกังวลและความกลัวที่มีได้ และทำให้นอนหลับดีขึ้นผลข้างเคียงของยานอนหลับ
บางครั้งยานอนหลับมีผลข้างเคียง และมักเกิดมากในคนชรา เช่น ผลข้างเคียงที่พบได้ยาก- อาการแพ้
- หน้าบวม
ยานอนหลับที่หาซื้อได้เอง
หลายคนชอบใช้ยาที่หาซื้อได้เอง เช่น ยาต้านฮิสตามีน (ยาแก้แพ้) ซึ่งทำให้ง่วงนอน แต่มันจะทำให้คุณภาพการนอนลดลงและมีผลข้างเคียง เมลาโทนิน เป็นอาหารเสริมที่คนนิยมเอามาใช้ ช่วยให้นอนหลับ มีขายตามร้านขายยาทั่วไปเมื่อจำเป็นต้องใช้ยานอนหลับ
การใช้ยานอนหลับอาจมีประสิทธิภาพในการจัดการอาการนอนไม่หลับหรือปัญหาการนอนหลับในระยะสั้น เมื่อใช้อย่างระมัดระวังและภายใต้คำแนะนำของแพทย์ นี่คือคำแนะนำบางประการสำหรับการใช้ยานอนหลับอย่างถูกสุขลักษณะและมีความรับผิดชอบ:- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ:ก่อนที่จะเริ่มใช้ยานอนหลับ สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาแพทย์ พวกเขาสามารถประเมินปัญหาการนอนหลับและสุขภาพโดยรวมของคุณเพื่อพิจารณาว่ายานอนหลับเหมาะสมกับคุณหรือไม่
- ปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยา:รับประทานยาตามที่กำหนดโดยแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ อย่ารับประทานยาเกินขนาดที่แนะนำหรือใช้ยานานกว่าที่แนะนำ
- รับประทานตามที่กำหนดไว้:รับประทานยานอนหลับก่อนนอนและให้แน่ใจว่าคุณมีเวลาเพียงพอสำหรับการนอนหลับเต็มคืนเพื่อหลีกเลี่ยงอาการง่วงนอนในตอนเช้า
- หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และสารอื่นๆ:ห้ามดื่มแอลกอฮอล์หรือยาระงับประสาทอื่นๆ ร่วมกับยานอนหลับ เนื่องจากจะช่วยเพิ่มผลกระทบและเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อน
- ระวังผลข้างเคียง:ยานอนหลับแต่ละชนิดอาจมีผลข้างเคียงได้หลายอย่าง รวมถึงอาการวิงเวียนศีรษะ อาการง่วงนอนตอนกลางวัน และการประสานงานบกพร่อง ระมัดระวังโดยเฉพาะเมื่อทำกิจกรรมที่ต้องมีสมาธิและตื่นตัว
- จำกัดการใช้:ใช้ยานอนหลับในระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ในระยะสั้น โดยทั่วไปจากไม่กี่วันถึงสองสามสัปดาห์
- สร้างสภาพแวดล้อมการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพ:ผสมผสานการใช้ยาเข้ากับหลักปฏิบัติด้านสุขอนามัยในการนอนหลับที่ดี สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการนอนหลับโดยทำให้ห้องนอนของคุณมืด เงียบ และอยู่ในอุณหภูมิที่สบาย กำหนดเวลานอนเป็นประจำและจำกัดเวลาอยู่หน้าจอก่อนนอน
- พิจารณาทางเลือกอื่น:สำรวจทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่การใช้ยาเพื่อปรับปรุงการนอนหลับ เช่น การบำบัดความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมสำหรับการนอนไม่หลับ (CBT-I) เทคนิคการผ่อนคลาย การออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนอาหาร
- พบแพทย์ของคุณเป็นประจำ:หารือเกี่ยวกับภาวะนอนไม่หลับของคุณ ผลข้างเคียง หรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนอนของคุณแพทย์เป็นประจำเพื่อปรับแผนการรักษาของคุณหากจำเป็น
การเปลี่ยนวิถีชีวิต
โดยทั่วไปการเปลี่ยนวิถีชีวิตรักษาการนอนไม่หลับได้ คุณอาจลองวิธีเหล่านี้ เข้านอนเมื่อง่วงเท่านั้น- ใช้ห้องนอนเฉพาะการนอนหลับ ไม่ควรทำกิจกรรมที่กระตุ้นสมอง เช่น ดูทีวี อ่านหนังสือหรือรับประทานอาหารในห้องนอน
- เข้านอนและตื่นในเวลาเดิมทุกวัน
- ลดความเครียดที่จะทำให้นอนไม่หลับ
เลิกสูบบุหรี่
หากคุณสูบบุหรี่ ควรเลิก นิโคตินในบุหรี่กระตุ้นให้นอนไม่หลับ และยังทำให้เกิด ความดันโลหิตสูง หัวใจวาย โรคเส้นเลือดในสมอง มะเร็ง หากคุณมีปัญหาในการเลิกบุหรี่ ปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่ดูแลสุขภาพของคุณระวังการดื่ม(สุรา)
หลีกเลี่ยงการดื่มสุราปริมาณมาก แอลกอฮอล์อาจทำให้ง่วงเมื่อแรกเริ่ม แต่มันรบกวนการหลับลึก ที่ทำให้ร่างกายเราได้พักผ่อนเต็มที่ การดื่มสุราเป็นระยะเวลานานกระตุ้นให้ความดันโลหิตสูง หัวใจวายและโรคหลอดเลือดในสมอง การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนเช่นกาแฟและน้ำอัดลม ก็เป็นตัวกระตุ้นที่ต้องหลีกเลี่ยง กาแฟสดขนาด 8 ออนซ์ มีคาเฟอีน 96 กรัม นักวิจัยจึงแนะนำให้งดคาเฟอีนอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนเวลานอน การดื่มน้ำหรือของเหลวก่อนนอน รบกวนการนอนเช่นกัน เพราะต้องตื่นไปปัสสาวะหลายครั้งในตอนกลางคืนออกกำลังกาย
การออกกำลังกาย 20-30นาทีทุกวันช่วยให้หลับสบาย แม้ว่าจะไม่เห็นผลทันที แต่ควรลอง การวิจัยในปี 2013 ติดตามผู้หญิง 11 คนที่นอนไม่หลับและพบว่าการออกกำลังกายเพียงหนึ่งวันไม่ได้ทำให้ผู้เข้าร่วมวิจัยนอนหลับดีขึ้น แต่การออกกำลังกายสม่ำเสมอมากกว่า 4 เดือน ช่วยให้นอนหลับนานขึ้นและดีขึ้น การออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยป้องกันโรคต่างๆเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ความอ้วน และเบาหวานรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ที่ทำให้แสบหน้าอกและอาหารไม่ย่อย อาหารเหล่านี้ย่อยยาก และโดยเฉพาะเมื่อคุณกินยามดึก อาจทำให้นอนหลับยากเทคนิคคลายเครียด
การคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้า Biofeedback และเทคนิคการหายใจ เป็นวิธีการผ่อนคลายก่อนนอน วิธีเหล่านี้ช่วยให้คุณควบคุม การหายใจ การเต้นของหัวใจ ความตึงของกล้ามเนื้อ และอารมณ์ การอาบน้ำอุ่นก่อนนอน การนวดผ่อนคลายและการยืดกล้ามเนื้อเบา ๆ ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม
ในการปรึกษารายกลุ่มหรือตัวต่อตัว นักบำบัดจะช่วยให้คุณเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนวิธีคิดในแง่ลบ ช่วยให้คุณเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนความกังวลให้เป็นความคิดที่รื่นรมย์และผ่อนคลาย กรอบความคิดเช่นนี้ช่วยใ้ห้มีนิสัยการนอนที่ดีจำกัดเวลานอน
ใช้วิธีการนอนน้อยลงชั่วคราว เพื่อให้นอนไม่พอ และคืนต่อไปคุณจะง่วงมากขึ้น เมื่อการนอนดีขึ้นแล้ว จะค่อยๆยืดเวลานอนออกไปจนเป็นปกติปรึกษาแพทย์
ลองใช้วิธีต่างๆ เพื่อช่วยให้นอนหลับได้ตามปกติ ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการเลือกวิธีต่างๆ เช่นการเปลี่ยนวิถีชีวิต การบำบัดพฤติกรรมหรือยานอนหลับที่เหมาะสมกับคุณนี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.webmd.com/sleep-disorders/understanding-the-side-effects-of-sleeping-pills
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/in-depth/sleeping-pills/art-20043959
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น