ผีอำ (Sleep Paralysis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

อาการผีอำ ( Sleep Paralysis) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อสูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อ อาการผีอำมักเกิดขึ้นเมื่อ
  • กำลังนอนหลับ
  • ง่วงนอนในระยะสั้นๆ
  • ขณะกำลังตื่นนอน
อาการผีอำเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ นักวิจัยได้ทำการประเมินพบว่ามีผู้คนประมาณ 5-40 เปอร์เซ็นต์เคยมีประสบการณ์นี้  อาการผีอำอาจเกิดขึ้นร่วมกับความผิดปกติในการนอนหลับอย่างอื่นที่เรียกว่าโรคลมหลับ  โรคลมหลับเป็นความผิดปกติของการนอนหลับเรื้อรังที่มีสาเหตุเกิดจากอาการง่วงนอนมากเกินไป ส่งผลทำให้เกิดภาวะ “ลมหลับ” ตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคลมหลับยังคงเคยมีอาการผีอำ  โดยปกติเเล้วอาการผีอำไม่อันตราย แม้ว่าอาจเป็นสัญญาณเตือนบางอย่างแต่โดยปกติไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ Sleep Paralysis

สาเหตุของอาการผีอำเกิดจากอะไร

อาการผีอำไม่ใช่อาการที่ต้องได้การรักษาจากทีมแพทย์ฉุกเฉิน การทำความคุ้นเคยกับอาการสามารถช่วยทำให้โล่งใจได้มากขึ้น  ลักษณะส่วนใหญ่ของอาการผีอำได้แก่ไม่สามารถขยับตัวได้และพูดไม่ได้ โดยช่วงเวลาของอาการผีอำมักเกิดขึ้นประมาณ 1-2 นาที คุณอาจมีประสบการณ์ดังต่อไปนี้
  • รู้สึกเหมือนมีบางอย่างกำลังดึงคุณลงไป
  • รู้สึกเหมือนมีบางอย่างอยู่ในห้อง
  • รู้สึกกลัว
  • อาการเห็นภาพเคลิ้มตอนนอนหลับและตอนตื่นนอนหมายถึงอาการเห็นภาพหลอนที่อาจเกิดก่อนหรือหลังนอนหลับ
นอกจากนี้แพทย์ยังได้ระบุอาการที่อาจเกิดขึ้นได้แก่
  • หายใจลำบาก
  • รู้สึกเหมือนกำลังตาย
  • มีเหงื่อออก
  • เจ็บกล้ามเนื้อ
  • ปวดหัว
  • มีอาการหวาดระแวง
โดยปกติอาการผีอำที่เกิดขึ้นสามารถหายไปเองได้หรือหายเมื่อมีคนมาสัมผัสหรือขยับตัวคุณ คุณอาจรู้สึกตัวว่ามีอาการผีอำเกิดขึ้นแต่ยังไม่สามารถขยับตัวหรือพูดได้ นอกจากนี้คุณยังสามารถจดจำรายละเอียดของอาการผีอำได้หลังจากอาการอัมพาตชั่วคราวได้หายไป ในบางกรณีที่พบได้น้อยมาก บางคนอาจมีประสบการณ์ฝันเห็นภาพหลอนที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการวิตกกังวลและหวาดกลัวแต่การเห็นภาพหลอนเหล่านี้ไม่ได้เป็นอันตราย

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของอาการผีอำคืออะไร 

เด็กและผู้ใหญ่ไม่ว่าจะมีอายุเท่าไหร่ก็ตามสามารถมีประสบการณ์ผีอำได้ อย่างไรก็ตามมีคนบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนกลุ่มอื่นๆ กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงมีอาการผีอำสูงได้แก่กลุ่มคนที่มีอาการดังต่อไปนี้  โดยปกติอาการผีอำยังมีสาเหตุเกิดจากการทำงานของร่างกายและจิตใจที่ไม่สัมพันธ์กันซึ่งเกิดขึ้นในขณะนอนหลับแพทย์หญิงวริญากล่าว  นอกจากนี้แพทย์ยังได้ระบุสาเหตุทั่วไปของอาการผีอำได้แก่
  • ลักษณะการนอนหลับที่ไม่ดีหรือพฤติกรรมการนอนที่ไม่ดีที่จำเป็นต่อการนอนหลับที่มีคุณภาพ
  • ความผิดปกติของการนอนหลับเช่นภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ 
ตารางการนอนหลับปกติถูกรบกวนมีความเชื่อมโยงกับอาการผีอำ ตัวอย่างเช่นเมื่อคุณต้องการเข้านอนตามปกติแต่มีเหตุทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงกิจวัตรการนอนเช่นการทำงานกะดึกหรือมีอาการแจ็ทแล็ก ในบางกรณีอาการผีอำอาจเกิดจากพันธุกรรมที่ได้รับมาจากสมาชิกในครอบครัว อย่างไรก็ตามการเกิดอาการผีอำจากสาเหตุนี้พบได้น้อยมากและยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันชัดเจนว่าอาการผีอำเกิดเป็นอาการที่เกิดจากพันธุกรรม ท่านอนหงายเป็นท่าที่เพิ่มโอกาสทำให้เกิดอาการผีอำได้สูง ทั้งนี้การนอนหลับไม่เพียงพอยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอาการผีอำได้เช่นกัน 

วิธีรักษาอาการผีอำสามารถทำอย่างไรได้บ้าง 

โดยปกติอาการผีอำสามารถหายเองได้ภายในเวลาไม่กี่นาทีและไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือทำให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ อย่างไรก็ตามอาการผีอำที่เกิดขึ้นทำให้รู้สึกค่อนข้างไม่สงบและรู้สึกหวาดกลัว อาการผีอำที่เกิดขึ้นเองไม่จำเป็นต้องรักษาแต่สำหรับผู้ที่มีสัญญาณของโรคลมหลับควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ โดยเฉพาะเมื่ออาการง่วงนอนเฉียบพลันที่เกิดขึ้นไปรบกวนการทำงานและชีวิตประจำวัน  แพทย์อาจให้ยาบางชนิดเพื่อช่วยป้องกันการเกิดอาการผีอำที่มีสาเหตุเกิดจากโรคลมหลับ  โดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้วเเพทย์มักให้ยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นและยาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอ (SSRIs) เช่นยา fluoxetine (Prozac) ที่ช่วยกระตุ้นทำให้รู้สึกตื่นตัว  ยาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอ (SSRIs) สามารถช่วยจัดการกับอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคลมหลับได้ นอกจากนี้แพทย์ยังสั่งให้ผู้ป่วยตรวจสอบการนอนหลับเพื่อศึกษาลักษณะการนอนหลับของผู้ป่วยด้วยวิธีตรวจที่เรียกว่าการแปลผลการตรวจการนอนหลับ (polysomnography) ผลจากการศึกษาที่แปลผลการตรวจการนอนหลับช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยว่าคุณมีประสบการณ์เกี่ยวกับภาวะผีอำหรือมีอาการอื่นๆของโรคลมหลับหรือไม่ โดยการตรวจการนอนหลับจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยนอนค้างคืนในโรคพยาบาลหรือศูนย์วิจัยเกี่ยวกับการนอนหลับ  สำหรับวิธีการตรวจสอบการนอนหลับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้แผ่นขั้วไฟฟ้าวางไว้บนคาง ศีรษะและรอบของเปลือกตาด้านนอกของคุณ แผ่นขั้วไฟฟ้านี้ช่วยวัดระดับการทำงานคลื่นไฟฟ้าในกล้ามเนื้อรวมถึงคลื่นสมอง  นอกจากนี้แพทย์จะทำการตรวจการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจรวมถึงในบางกรณีแพทย์อาจตั้งกล้องถ่ายการเคลื่อนไหวของคุณในขณะนอนหลับอีกด้วย  แพทย์หญิงวริญาเชื่อว่าปัจจัยหลักที่ช่วยลดการเกิดอาการผีอำคือการปรับปรุงลักษณะในการนอนหลับด้วยการเข้านอนตรงเวลาเป็นประจำและปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้
  • หลีกเลี่ยงการมองจอภาพที่มีแสงสีน้ำเงินก่อนนอนหลับ
  • มั่นใจว่าได้รักษาอุณหภูมิในห้องให้ต่ำอยู่เสมอ
การเข้านอนตรงเวลาและการปรับสภาพแวดล้อมในการนอนด้วยวิธีดังกล่าวสามารถช่วยทำให้คุณนอนหลับพักผ่อนตอนกลางคืนได้ดีมากขึ้น

กลยุทธ์เพิ่มเติมในการรับมือกับอาการผีอำ

  • รักษาตารางเวลาการนอนให้สม่ำเสมอ:เข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิมทุกวันเพื่อควบคุมรูปแบบการนอนของคุณ วิธีนี้สามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับโดยรวมของคุณ และลดโอกาสที่จะเกิดอาการอัมพาตขณะหลับ
  • สร้างกิจวัตรก่อนนอนที่ผ่อนคลาย:ทำกิจกรรมที่สงบก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ ทำสมาธิ หรืออาบน้ำอุ่น หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นหรือเครียดที่อาจรบกวนการนอนของคุณ
  • นอนในสภาพแวดล้อมที่สบาย:ตรวจดูให้แน่ใจว่าห้องนอนของคุณเอื้อต่อการนอนโดยทำให้เย็น มืด และเงียบ ลงทุนในที่นอนและหมอนที่นุ่มสบายเพื่อปรับปรุงคุณภาพการนอนของคุณ
  • จำกัดคาเฟอีนและสารกระตุ้น:หลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีนหรือสารกระตุ้นอื่นๆ ใกล้เวลานอน เนื่องจากอาจรบกวนความสามารถในการหลับของคุณและอาจทำให้การนอนหลับเป็นอัมพาตแย่ลง
  • จัดการความเครียดและความวิตกกังวล:ฝึกเทคนิคการลดความเครียด เช่น การฝึกหายใจลึกๆ โยคะ หรือการทำสมาธิเพื่อช่วยผ่อนคลายจิตใจก่อนเข้านอน
  • หลีกเลี่ยงการนอนหงาย:บางคนพบว่าการนอนหงายจะเพิ่มโอกาสในการเป็นอัมพาตขณะหลับ ลองนอนตะแคงแทน
  • จำกัดเวลาอยู่หน้าจอก่อนนอน:ลดการสัมผัสหน้าจอ (โทรศัพท์ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ทีวี) ในชั่วโมงก่อนเข้านอน เนื่องจากแสงสีฟ้าที่ปล่อยออกมาจากอุปกรณ์เหล่านี้สามารถรบกวนวงจรการนอนหลับและตื่นของคุณได้
  • ระบุความผิดปกติของการนอนที่แฝงอยู่:อาการอัมพาตขณะหลับอาจเกี่ยวข้องกับสภาวะต่างๆ เช่น โรคลมหลับหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หากคุณสงสัยว่าคุณเป็นโรคการนอนหลับ จำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการประเมินและการรักษาที่เหมาะสม
  • ขอการสนับสนุนทางสังคม:พูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ของคุณกับเพื่อน ครอบครัว หรือกลุ่มสนับสนุน บางครั้งการแบ่งปันประสบการณ์ของคุณอาจทำให้พวกเขาทุกข์ใจน้อยลง
  • การตรวจสอบความเป็นจริงระหว่างตอนต่างๆ:หากคุณพบว่าตัวเองเป็นอัมพาตจากการหลับ ให้พยายามเตือนตัวเองว่าเป็นสภาวะชั่วคราวและคุณจะตื่นเต็มที่ในไม่ช้า การจดจ่อกับการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น นิ้วมือหรือนิ้วเท้า สามารถช่วยบรรเทาอาการอัมพาตได้
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ:หากคุณมีอาการนอนเป็นอัมพาตบ่อยครั้งและส่งผลต่อคุณภาพการนอนหรือชีวิตประจำวันอย่างมาก ให้พิจารณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ พวกเขาสามารถให้คำแนะนำส่วนบุคคลและตัวเลือกการรักษา
โปรดจำไว้ว่าแม้ว่าเคล็ดลับเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับบางคน แต่อาจไม่สามารถขจัดอาการอัมพาตจากการนอนหลับสำหรับทุกคนได้ทั้งหมด หากคุณพบว่าตัวเองกำลังมีปัญหากับการนอนหลับเป็นอัมพาต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขปัญหาที่ซ่อนเร้นอยู่

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/sleep-disorders/sleep-paralysis
  • https://www.nhs.uk/conditions/sleep-paralysis/
  • https://www.healthline.com/health/sleep/isolated-sleep-paralysis
  • https://www.livescience.com/50876-sleep-paralysis.html

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด