ฝี (Skin Abscess) : สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

ฝี (Skin Abscess) คือ โรคที่มีลักษณะเป็นตุ่มภายใต้ผิวหนัง ลักษณะของฝีที่เกิดขึ้นจะเต็มไปด้วยหนอง และสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ฝีกับสิวมีลักษณะคล้ายกันแต่ฝีจะเกิดตามผิวหนัง ส่วนต่างๆ ของร่างกาย บริเวณของร่างกายที่เป็นมากที่สุดคือ แผ่นหลัง ใบหน้า หน้าอก หรือ บริเวณก้น  ฝี สามารถเกิดขึ้นได้ตามผิวหนังที่มีการเจริญเติบโตของเส้นขนอีกด้วย เช่น บริเวณรักแร้ หรือ บริเวณขาหนีบ  หรือเกิดขึ้นได้หลายบริเวณตามร่างกายเช่น ฝีที่หน้า ฝีที่ขา ฝีที่หัว เป็นต้น ฝีที่เกิดขึ้นตามร่างกาย ไม่ได้เป็นอันตรายมากนัก สามารถรักษาได้ง่าย เพียงใช้ครีมหรือตัวยาที่หาซื้อได้ตามที่วางจำหน่ายทั่วไป  การใช้ยาตั้งแต่เริ่มเป็นฝี ตัวยาจะไปเร่งระงับการเจริญเติบโตของตุ่มฝี แต่หากปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้รักษายากยิ่งขึ้น ฝีมีหลายชนิด หากไม่รีบรักษา อาจทำให้เข้าสู่ภาวะโรคแทรกซ้อนและอันตรายถึงชีวิตได้

สาเหตุการเกิดฝี

สาเหตุการเกิดฝี มาจากเชื้อแบคทีเรีย สตาไฟโลคอคคัส (Staphylococcus) ซึ่งหากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เข้าสู่ผิวหนัง ผ่านทางรูขุมขน หรือได้รับเชื้อจากแบคทีเรียบริเวณผิวเป็นบาดแผลเล็กๆ ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเกิดการอักเสบของรูขุมขนและเกิดเป็นตุ่มฝี

ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ staph ส่วนใหญ่มักพบในโรงพยาบาล
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง เช่นสิว หรือโรคเรื้อนกวาง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือผู้ติดเชื้อ HIV
  • ผู้ที่มีสุขอนามัยไม่ดี

อาการของฝี

ฝีที่ผิวหนังจะมีลักษณะคล้ายกับหัวสิว มันสามารถโตขึ้นจนมีหนองเต็มบริเวณหัว อาการของฝีมีดังนี้
  • มีไข้
  • คลื่นไส้ วิงเวียน
  • หนาวสั่น
  • บวม
  • เกิดแผลบนผิวหนัง
  • ผิวหนังอักเสบ
  • มีน้ำหนองไหลออกจากหัวฝี
  • เจ็บปวดบริเวณรอบๆหัวฝี หากจับบริเวณหัวฝีแล้วจะรู้สึกแสบร้อน

การติดเชื้อจากรูขุมขน

การติดเชื้อจากรูขุมขน หรือการที่ขนที่ไม่สามารถทะลุออกมาผ่านผิวหนังได้ อาจเกิดขึ้นภายหลังการโกนหนวด รูขุมขนที่ขนไม่สามารถผ่านทะลุผิวหนังออกมาได้เรียกว่าขนคุด  หลังจากนั้นจะเกิดการอักเสบจนทำให้เกิดเป็นหัวฝี การติดเชื้อจากรูขุมขนอาจมาจากสระน้ำที่มีคลอรีนทำความสะอาดไม่เพียงพอ หรือการอาบน้ำในอ่างน้ำ

การวินิจฉัยฝี

โรคฝี การวินิจฉัยฝี สามารถดูได้จากภายนอกบริเวณผิว สังเกตได้จากอาการบวมแดง เมือสัมผัสแล้วรู้สึกร้อนอุ่นบริเวณที่อักเสบ หากหัวฝีเริ่มใหญ่ขึ้น ควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ที่เสี่ยงเป็นฝี (Skin Abscess)ได้ง่าย มีดังนี้
  • เด็ก
  • ผู้ที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือผู้ที่เพิ่งได้รับการรักษาจากโรงพยาบาล
  • ผู้ที่เคยผ่านการปลูกถ่ายอวัยวะ
  • ผู้ป่วยที่ทำเคมีบำบัด
  • ผู้ที่มีฝีบริเวณใบหน้าหรือบริเวณกระดูกสันหลัง หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เชื้อแบคทีเรียอาจกระจายขึ้นสู่สมองและบริเวณไขสันหลัง
แพทย์จะวินิจฉัยและตรวจสอบประวัติและลักษณะของฝี เพื่อรักษาอาการของฝีอย่างละเอียด หากผู้ป่วยยังคงมีอาการปวดฝีอาจจะใช้วิธีการตรวจเลือดหรือปัสสาวะ เพื่อวินิจฉัยฝีในการรักษาต่อไป

ภาวะแทรกซ้อนของฝี

  • การแพร่กระจายของเชื้ออาจเกิดขึ้นที่สมองหรือบริเวณไขสันหลัง
  • การติดเชื้อในเลือด
  • การเกิดเยื่อบุหัวใจอักเสบ
  • มีรากฝีใหม่
  • เนื้อเยื้อตาย หรือกลายเป็นเนื้อเน่า
  • เกิดการติดเชื้อเข้ากระดูกแบบเฉียบพลัน

อ่านเพิ่มเติม : หูด (Warts) คืออะไร : สาเหตุประเภทการรักษา

วิธีการรักษาฝี

ฝี (Skin Abscess) คือ การรักษาฝีสามารถรักษาได้ด้วยตัวเองที่บ้าน โดยการประคบร้อนรักษาฝีอักเสบเพื่อช่วยให้หัวฝีหดตัวและระบายฝีหนองออก

การใช้ยาปฏิชีวนะ

แพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ dicloxacillin หรือ cephalexin กรณีที่พบอาการรุนแรงของฝีหากผู้ป่วยมีภาวะเหล่านี้
  • การเกิดฝีบริเวณใบหน้า
  • การติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่ออย่างเฉียบพลัน
  • มีฝีที่หัว
  • ระบบภูมิคุ้มกันแทรกซ้อน

การระบายหนองออก

ผู้ป่วยเป็นฝี หากหัวฝีมีลักษณะเป็นหัวแข็ง หนองไม่สามารถระบายออกได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยให้แพทย์ใช้วิธีระบายหนองออก แพทย์อาจใช้วิธีใข้ยาระงับการปวด และใช้วิธีผ่าฝีเพื่อเอาหนองในหัวฝีออก วิธีนี้จะทำไม่เกิดฝีซ้ำอีก หลังจากผ่าตัดเรียบร้อยแล้วแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยสมานแผล และช่วยให้แผลหายเร็วเพื่อป้องกันการติดเชื้อต่อไป
อ่านเพิ่มเติม : ขนคุด (หนังไก่) Keratosis Pilaris (Chicken Skin) : อาการ สาเหตุ การรักษา

วิธีป้องกันฝี

การป้องกันการเกิดฝีไม่อาจป้องกันได้เสมอไป แต่ก็มีวิธีที่ลดโอกาสของการได้รับเชื้อ Staph เพื่อไม่ให้เป็นฝีบ่อย ได้ดังนี้
  • ควรล้างมือบ่อยๆ
  • หากมีบาดแผลควรทำความสะอาดบาดแผลด้วยยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • ใช้ผ้าพันบาดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
อีกทั้งไม่ควรใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน มีดโกน อุปกรณ์กีฬา เครื่องสำอาง และเสื้อผ้า หากมีบาดแผล ควรทำความสะอาดผ้าปูที่นอน หรือผ้าเช็ดตัวในน้ำร้อน ซักด้วยผงซักฟอก และตากให้แห้งก่อนน้ำมาใช้

คำถามที่พบบ่อย

ฝีเป็นนานไหมกว่าจะหาย หากของเหลวภายในถูกระบายออก ฝีทุลงเลาลงภายใน 2-3 วัน ความเจ็บปวดจากบาดแผลจะค่อยๆ หายไป ฝีควรหายสนิทภายในสองสัปดาห์ ฝีอันตรายไหม ฝีที่ผิวหนังมักไม่เป็นอันตรายและหายไปได้เองตามกาลเวลา ในบางกรณีอาจต้องให้แพทย์ระบายออกหรือนำหนองออก หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ฝีสามารถจุดประกายการติดเชื้อที่แพร่กระจายไปทั่วร่างกาย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากฝีเกิดขึ้นภายในอวัยวะ สำคัญเช่น ตับหรือสมอง ทำลายเนื้อเยื่อรอบๆ มากพอที่จะทำให้สูญเสียการทำงานปกติบางอย่างไปอย่างถาวร ฝีสามารถหายได้หรือไม่ ฝีขนาดเล็กบางครั้งอาจแตกออกและหาย ได้เอง อย่างไรก็ตาม ฝีที่มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือภายในจำเป็นต้องให้แพทย์ระบายออก (บางครั้งอาจต้องผ่าตัด) และอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะด้วย   ทำอย่างไรเมื่อฝีไม่หายไปเอง หากฝีที่ผิวหนังไม่สามารถระบายออกได้เองให้ติดต่อแพทย์ บางครั้งฝีที่ผิวหนังจำเป็นต้องให้แพทย์ระบายออก แพทย์จะทายาทำให้มึนงง แล้วกรีดฝีเล็กๆ บนฝีเพื่อให้หนองไหลออกมา บาดแผลเปิดทิ้งไว้เพื่อระบายน้ำและจากนั้นจะหายเอง ฝีสามารถอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือไม่ “หากไม่ได้รับการรักษา การติดเชื้อสามารถแพร่กระจายและแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดของคุณ ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ”หากไม่รักษาฝี การติดเชื้ออาจอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่รักษาฝี อันตรายและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึง: การติดเชื้อในวงกว้างที่อาจแพร่กระจายไปยังส่วนที่เหลือของใบหน้าและส่งผลเสียต่อกระดูกกราม เนื้อเยื่ออ่อนบนใบหน้า และไซนัสของคุณ ฝีสามารถกลับมาเป็นได้อีกหรือไม่ น่าเสียดายที่แม้จะรักษาอย่างเหมาะสมและหายขาดแล้ว ฝีสามารถกลับมาเป็นได้อีก ยาปฏิชีวนะที่ดีที่สุดสำหรับฝีที่ผิวหนังคืออะไร สูตรรับประทาน – สำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีฝีที่ผิวหนัง การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบรับประทานก็เพียงพอแล้ว เราขอแนะนำ trimethoprim-sulfamethoxazole, doxycycline หรือ minocycline (Grade 2C ) เราสงวนยาคลินดามัยซินและยาอื่นๆ ไว้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะที่เราต้องการได้ ฝีสามารถติดต่อได้หรือไม่ การติดเชื้อที่ผิวหนังเหล่านี้ติดต่อได้เมื่อบริเวณที่ติดเชื้อเปิดอยู่และมีหนอง ผู้ที่มีแบคทีเรียในจมูกและคอและบนผิวหนังอาจส่งต่อแบคทีเรียไปยังผู้อื่น

ลิ้งค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

  • https://kidshealth.org/en/parents/abscess.html
  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/abscess
  • https://www.nhs.uk/conditions/abscess/
  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/abscess
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด