สาเหตุของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวคืออะไร
โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว Sickle cell anemia (SCD) คือโรคทางพันธุกรรมของเม็ดเลือดแดง (RBCs) ตามปกติแล้วนั้นเม็ดเลือดแดงจะมีรูปทรงเป็นวงกลม ซึ่งส่งผลทำให้เม็ดเลือดแดงมีความยืดหยุ่นเพื่อที่จะสามารถเดินทางผ่านไปยังเส้นเลือดที่เล็กที่สุดได้ แต่กับผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวนี้ เม็ดเลือดแดงจะมีรูปทรงที่ผิดปกติไป เป็นรูปทรงพระจันทร์เสี้ยว ส่งผลให้เม็ดเลือดมีความเหนียวหนืดและแข็ง และไปติดค้างอยู่ในเส้นเลือดเส้นเล็กๆ ซึ่งจะไปปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดในการส่งผ่านไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย จึงเป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวดและสร้างความเสียหายให้กับเนื้อเยื่อต่างๆ
อาการของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
อาการของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว ปกติแล้วมักจะแสดงอาการให้เห็นตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเด็ก อาจพบได้ในทารกตั้งแต่อายุ 4 เดือน แต่โดยทั่วไปมักปรากฎให้เห็นได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 6 เดือนขึ้นไป
รูปแบบของโรค SCD มีหลายรูปแบบ แต่อาการมักจะมีความคล้ายคลึงกันทุกรูปแบบ แตกต่างกันที่ความรุนแรงมากน้อย ซึ่งอาการมีดังต่อไปนี้:
-
เหนื่อยล้าเกินไปหรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากโรคโลหิตจาง
-
กวน งอแงในเด็กทารก
-
ปัสสาวะรดที่นอน เนื่องจากไตมีปัญหา
-
เป็นดีซ่าน ซึ่งทำให้ตาและผิวเป็นสีเหลือง
-
มือและเท้าบวมและมีอาการเจ็บ
-
ติดเชื้อบ่อย
-
เจ็บหน้าอก หลัง แขน หรือขา
ประเภทของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
ฮีโมโกลบินคือโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่หน้าที่ลำเลียงออกซิเจน ตามปกติแล้วจะมีชนิดอัลฟา 2 ตัวและชนิดเบต้า 2 ตัว โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบหลักๆมาจากการกลายพันธ์ที่แตกต่างกันของยีนเหล่านี้นั่นเอง
แบบ Hemoglobin SS disease
แบบ Hemoglobin SS disease คือ รูปแบบที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ผู้ป่วยรับเอายีนฮีโมโกลบิน เอส มาจากพ่อแม่ รูปแบบดังกล่ารู้จักกันดีว่า Hb SS และเป็นโรค SCD ที่รุนแรงที่สุด ซึ่งมีอาการที่แย่สุดในอัตราที่สูง
แบบHemoglobin SC disease
รูปแบบ Hemoglobin SC disease คือแบบที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสองของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว ซึ่งเกิดจากการได่รับยีนชนิด Hb C มาจากพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง และได้รับยีนชนิด Hb S มาจากอีกคน ชนิด Hb SC มีอาการคล้ายคลึงกับชนิด Hb SS แต่อย่างไรก็ตามก็ยังจัดว่าเป้นภาวะโลหิตจางที่มีความรุนแรงน้อยกว่า
แบบHemoglobin SB+ (beta) ธาลัสซีเมีย
แบบ Hemoglobin SB+ (beta) ธาลัสซีเมีย เป็นผลมาจากการผลิตเบต้าโกลบิน ขนาดของเม็ดเลือดแดงจะลดลงเพราะเบต้าโปรตีนผลิตได้น้อยลง หากผู้ป่วยได้รับการถ่ายทอดยีนชนิด Hb S ผู้ป่วยจะมีฮีโมโกลบินแบบ เอส เบต้า ธาลัลซีเมีย ซึ่งทำให้อาการจะไม่รุนแรงนัก
แบบ Hemoglobin SB 0 (Beta-zero) ธาลัสซีเมีย
Sickle beta-zero thalassemia คือแบบที่สี่ของโรคเม็ดเลือดรูปเคียว เป็นการรวมเบต้า โกลบินยีนทั้งหมด อาการที่มีจะคล้ายคลึงกับโรคโลหิตจางชนิด Hb SS แต่อย่างไรก็ตามอาการของชนิด beta zero thalassemia นั้นมีความรุนแรงมากกว่า และยิ่งกว่านั้นคือการพยากรณ์โรคก็มีความยากด้วย
แบบ Hemoglobin SD, hemoglobin SE, และ hemoglobin SO
โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวรูปแบบดังกล่าวเป็นชนิดที่พบได้ยากและมักไม่ค่อยมีอาการที่รุนแรง
โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
ผู้ที่ป่วยโรคนี้จะต้องได้มาจากการถ่ายทอดยีนกลายพันธ์ (hemoglobin S) มาทางพันธุกรรมจากพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวเท่านั้น ซึ่งพ่อหรือแม่อาจไม่มีอาการใดๆให้รู้หรือถ้ามีก็อาจน้อยมาก
ใครมีความเสี่ยงต่อโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
เด็กเท่านั้นที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวหากพ่อแม่ทั้งคู่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว การตรวจเลือดที่เรียกว่า hemoglobin electrophoresis เป็นการตรวจชนิดของฮีโมโกลบินในเลือดที่สามารถช่วยให้สามารถแยกจำแนกชนิดของโรคที่ผู้ป่วยเป็นได้
ผู้คนในแถบที่มีโรคมาลาเรียเป็นโรคประจำถิ่นมีแนวโน้มจะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าแถบอื่น ซึ่งหมายถึงแถบประเทศดังต่อไปนี้:
-
แอฟริกา
-
อินเดีย
-
แถบเมริเตอร์เรเนียน
-
ซาอุดิอาระเบีย
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
โรค SCD สามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ซึ่งจะปรากฎให้เห็นเมื่อเซลล์รูปเคียวเกิดไปกีดขวางในเส้นเลือดในบริเวณที่ต่างๆกันตามร่างกาย อาการเจ็บปวดหรือการเสียหายจากการอุดตันเราเรียกว่าว่าเซลล์รูปเคียวภาวะวิกฤต ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะการณ์หลายอย่าง เช่น:
-
เจ็บป่วย
-
อุณหภูมิเปลี่ยน
-
ขาดความชุ่มชื้น
อาการดังกล่าวดังต่อไปนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เป็นผลมาจากโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
โรคโลหิตจางขั้นรุนแรง
โรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว คือการมีเม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ เซลล์รูปเคียวมีความแตกหักง่าย การแตกหักของเม็ดเลือดแดงเรียกว่าโรคโลหิตจางจากภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ตามปกติแล้วนั้นเม็ดเลือดแดงจะมีชีวิตอยู่ประมาณ 120 วัน แต่เซลล์รูปเคียวจะมีชีวิตอยู่ได้นานมากสุด 10 ถึง 20 วันเท่านั้น
กลุ่มโรคมือและเท้า
กลุ่มโรคมือและเท้าเกิดขึ้นเมื่อเม็ดเลือดแดงรูปเคียวไปขัดขวางเส้นเลือดที่บริเวณมือหรือเท้า เป็นสาเหตุทำให้มือและเท้าบวม อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของแผลที่ขา อาการมือและเท้าบวมมักเป็นสัญญานแรกของโรคโลหิตจางแบบเม็ดเลือดรูปเคียวในเด็กทารก
ภาวะ Splenic sequestration
ภาวะ Splenic sequestration คือ ภาวะที่เซลล์รูปเคียวไปอุดตันเส้นเลือดม้าม มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เกิดอาการทุกข์ทรมานจากม้ามที่โตขยายขึ้น เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเซลล์รูปเคียวดังกล่าว ม้ามอาจต้องถูกนำเอาออกไปด้วยการผ่าตัด ที่เราเรียกว่าการผ่าตัดม้าม ผู้ป่วยโรคเซลล์รูปเคียวบางรายอาจประคับประคองความเสียหายของม้ามที่เกิดขึ้นก่อนที่ม้ามจะหดตัวและยุติการทำงานได้ ซึ่งเรียกว่า autosplenectomy ผู้ป่วยที่ไม่มีม้ามจะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียสูงเช่น เชื้อสเตรปโทคอกโคสิส เชื้อฮีโมฟิลุสและ เชื้อตระกูลซาลโมเนลลา
การเจริญเติบโตช้าลง
การเจริญเติบโตช้าลงเกิดขึ้นกับผู้ที่ป่วยเป็นโรค SCD เด็กที่ป่วยโรคนี้จะตัวเตี้ยแต่จะกลับไปสูงในวัยผู้ใหญ่ พัฒนาทางการเพศอาจช้ากว่าปกติ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดรูปเคียวไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารได้.
ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท
อาการชัก โรคหลอดเลือดสมอง หรืออาการโคม่าก็ล้วนเป็นผลมาจากโรคเซลล์รูปเคียวทั้งสิ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการอุดตันในสมอง ควรรีบพบแพทย์อย่างเร่งด่วน
ปัญหาทางการมองเห็น
การมองไม่เห็นเกิดจากการอุดตันในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงดวงตา ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้จอตาได้
ผิวหนังเป็นแผล
ผิวหนังบริเวณขาเป็นแผลเกิดขึ้นเพราะเส้นเลือดเล็กๆที่บริเวณนั้นมีการอุดตัน
โรคหัวใจและกลุ่มโรคทรวงอก
เพราะโรค SCD เป็นโรคที่ไปรบกวนการลำเลียงออกซิเจนของเลือด จึงส่งผลต่อหัวใจและเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคหัวใจ หัวใจล้มเหลว หรือโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ปัญหาเกี่ยวกับปอด
ความเสียหายของปอดมีผลเกี่ยวข้องกับการไหลเวียนของเลือดที่ลดลง เป็นผลจากระดับความดันเลือดในปอดสูง (pulmonary hypertension) และโรคที่มีการเกิดพังผืดในปอด (pulmonary fibrosis) ปัญหาดังกล่าวจะยิ่งเกิดขึ้นได้รวดเร็วยิ่งขึ้นหากผู้ป่วยมีภาวะโรคทรวงอกร่วมด้วย เมื่อปอดเกิดการเสียหายก็จะยิ่งทำให้ปอดยากที่จะส่งต่อออกซิเจนไปยังเลือดได้ ซึ่งยิ่งส่งผลให้เกิดภาวะวิกฤตเซลล์รูปเคียวได้บ่อยขึ้นไปด้วย
ภาวะองคชาตแข็งค้าง
ภาวะอวัยวะเพศชายแข็งค้าง คือ มีลักษณะแข็ง เกร็ง ค้าง ซึ่งพบได้ในผู้ชายที่เป็นโรคเซลล์รูปเคียว เกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดในองคชาตมีการอุดตัน และสามารถนำไปสู่การไร้สมรรถภาพทางเพศได้หากไม่ได้รับการรักษา
นิ่วในถุงน้ำดี
นิ่วในถุงน้ำดีเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ได้มีสาเหตุมากจากอุดตันของเส้นเลือด แต่กลับมีสาเหตุมาจากการสลายของเซลล์เม็ดเลือดแดง ผลพลอยได้จากการสลายนี้คือบิลิรูบิน การที่มีระดับบิลิรูบินสูงอาจนำไปสู่โรคนิ่วในถุงน้ำดี ที่เราเรียกกันว่านิ่วที่เกิดจากเม็ดสี
กลุ่มโรคSickle chest syndrome
กลุ่มโรค Sickle chest syndrome คือรูปแบบของเซลล์รูปเคียววิกฤตที่มีความรุนแรง เป็นสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง และมีอาการไอ ไข้สูง มีเสมหะเพิ่มขึ้น หายใจสั้นถี่ และมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำร่วมด้วย การตรวจเอกซเรย์ทรวงอกสามารถบอกได้ถึงอาการของโรคปอดบวมหรือการตายของเนื้อเยื่อปอด (pulmonary infarction) การพยากรณ์โรคระยะยาวสำหรับคนไข้ที่ป่วยในกลุ่มโรคทรวงอกดังกล่าวพบว่าจะมีอาการที่แย่กว่าผู้ป่วยที่ไม่มีโรคดังกล่าวร่วมด้วย
วินิจฉัยโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวได้อย่างไร
เด็กแรกเกิดทุกคนในประเทศสหรัฐอเมริกาจะต้องได้รับการตรวจคัดกรองหาโรคเซลล์เคียวทุกคน ด้วยการตรวจเช็ดก่อนคลอดเพื่อหายีนเซลล์เคียวที่สามารถตรวจพบได้จากในน้ำคร่ำของมารดา
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สามารถใช้สิ่งต่อไปนี้เพื่อช่วยในการวินิจฉัยหาโรคเซลล์เคียวได้โดย
บอกรายละเอียดประวัติคนไข้
อาการแรกๆที่ปรากฎให้เห็นของโรคดังกล่าวคือ การเจ็บปวดอย่างเฉียบพลันที่มือหรือเท้า ผู้ป่วยอาจมีอาการดังนี้:
-
เจ็บปวดกระดูกอย่างรุนแรง
-
โรคโลหิตจาง
-
ทุกข์ทรมานจากม้ามที่โตขยายขึ้น
-
การเจริญเติบโตมีปัญหา
-
ติดเชื้อทางระบบหายใจ
-
มีแผลที่บริเวณขา
-
มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
แพทย์อาจต้องการตรวจหาโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวหากคุณมีอาการตามข้างต้น
การตรวจเลือด
การตรวจเลือดมีหลายแบบที่สามารถนำมาใช้เพื่อมองหาโรค SCD ได้ เช่น:
-
การตรวจนับเม็ดเลือดสามารถแสดงให้เห็นระดับ Hb ที่ผิดปกติที่อยู่ในช่วง 6-8 กรัมต่อเดซิลิตร
-
การทำฟิลม์เลือดอาจแสดงให้เห็นเม็ดเลือดแดงที่หดตัวไม่สม่ำเสมอกับเซลล์
-
การตรวจการละลายเซลล์เคียวเพื่อมองหาการมีอยู่ของ Hb S
การตรวจอิเล็กโทรโฟรีซิส Hb electrophoresis
การตรวจ Hb electrophoresis คือการตรวจที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อความแน่ใจในการวินิจฉัยโรคเซลล์เคียว การตรวจจะทำให้เราสามารถใช้วัดรูปแบบลักษณะความแตกต่างของฮีโมโกลบินในเลือดได้
รักษาโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวได้อย่างไร?
การรักษามีมากมายหลายรูปแบบที่มีความเหมาะสมสำหรับโรค SCD เช่น:
-
การทดแทนการสูญเสียน้ำด้วยของเหลวทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดงกลับคืนสู่สภาวะปกติ เม็ดเลือดแดงมักจะบิดเบี้ยวและเปลี่ยนรูปทรงเป็นรูปเคียวได้ง่ายหากมีภาวะขาดน้ำ
-
การรักษาภายใต้หรือร่วมกับการติดเชื้อ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการจัดการกับภาวะวิกฤต การติดเชื้อจะยิ่งส่งผลให้เกิดภาวะเซลล์เคียววิกฤตมากขึ้นได้ และการติดเชื้อก็จะยิ่งเป็นผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขั้นวิกฤตอย่างอื่นๆตามมาได้อีกมากมาย
-
การให้เลือดสามารถช่วยให้การลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นดีขึ้นได้ เซลล์เม็ดเลือดแดงที่ได้จะมาจากการบริจาคและนำมาใช้กับผู้ป่วย
-
การได้รับออกซิเจนช่วยโดยผ่านหน้ากากช่วยหายใจ ทำให้การหายใจง่ายขึ้นและเป็นการทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดดีขึ้น
-
การรับประทานยาแก้ปวด จะถูกนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ ผู้ป่วยอาจหาซื้อได้เองตามร้านขายยาหรืออาจใช้ยาแรงที่ต้องมีใบสั่งแพทย์ในการระงับอาการปวดเช่นมอร์ฟีน
-
ยา Droxia และ Hydrea สามารถช่วยเพิ่มการทำงานของ fetal hemoglobin ( การแสดงออกของเซลล์เม็ดเลือดแดงตัวอ่อน) เพื่อเป็นการช่วยลดจำนวนการให้เลือดลงได้
-
การสร้างภูมิคุ้มกันโรค เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อ มักใช้ในผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
การปลูกถ่ายไขกระดูกอาจถูกนำมาใช้ในผู้ป่วยโรตโลหิตจางเซลล์เคียว หากผู้ป่วยมีอายุต่ำกว่า 16 ปีที่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และมีผู้บริจาคที่สามารถเข้ากันได้ดีกับผู้ป่วย
การดูแลตัวเองที่บ้าน
สิ่งที่ผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้านเพื่อช่วยอาการของโรคมีดังต่อไปนี้:
-
ใช้แผ่นประคบร้อนเพื่อบรรเทาอาการปวด
-
รับประทานอาหารเสริมกรดโฟลิค ตามคำแนะนำของแพทย์
-
รับประทานผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์ชนิดโฮลเกรน เพื่อช่วยให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้ดีขึ้น
-
ดื่มน้ำให้เยอะขึ้นเพื่อลดโอกาสเกิดภาวะเซลล์เคียววิกฤต
-
ออกกำลังกายสม่ำเสมอและการลดความเครียดก็สามารถช่วยลดภาวะวิกฤตได้เช่นกัน
-
รีบพบแพทย์ทันทีหากผู้ป่วยพบว่าคุณอาจมีการติดเชื้อเกิดขึ้น การรักษาการติดเชื้อแต่เริ่มแรกจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะวิกฤตได้
ควรติดต่อกับกลุ่มที่สามารถยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือโรคดังกล่าว
โภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
โภชนาการมีบทบาทสำคัญในการจัดการอาการและสุขภาพโดยรวมของบุคคลที่เป็นโรคโลหิตจางรูปเคียว ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการผลิตฮีโมโกลบินที่ผิดปกติ ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำด้านโภชนาการและข้อควรพิจารณาสำหรับบุคคลที่เป็นโรคโลหิตจางรูปเคียว:- รักษาร่างกายให้ชุ่มชื้น:การให้ความชุ่มชื้นอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่มีภาวะโลหิตจางรูปเคียว เนื่องจากการขาดน้ำสามารถกระตุ้นให้เกิดวิกฤตเซลล์รูปเคียวได้ ดื่มน้ำปริมาณมากตลอดทั้งวันเพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ
- โฟเลต (กรดโฟลิก):โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวสามารถนำไปสู่อัตราการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการขาดโฟเลต โฟเลตมีความสำคัญต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ลองรับประทานอาหารเสริมกรดโฟลิกตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ คุณยังสามารถเพิ่มการบริโภคอาหารที่มีโฟเลตสูงได้ เช่น ผักใบเขียว ผลไม้รสเปรี้ยว พืชตระกูลถั่ว และซีเรียลเสริมอาหาร
- การบริโภคธาตุเหล็ก:ต่างจากโรคโลหิตจางชนิดอื่นๆ ตรงที่โรคเม็ดเลือดรูปเคียวมักไม่เกี่ยวข้องกับการขาดธาตุเหล็ก ในความเป็นจริง คนที่เป็นโรคโลหิตจางรูปเคียวมักจะมีระดับธาตุเหล็กสูงขึ้นเนื่องจากการสลายของเซลล์เม็ดเลือดแดง หลีกเลี่ยงอาหารเสริมธาตุเหล็กเว้นแต่จะกำหนดโดยผู้ให้บริการด้านสุขภาพของคุณ
- โปรตีน:ปริมาณโปรตีนที่เพียงพอมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม และสามารถช่วยสนับสนุนความสามารถของร่างกายในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงใหม่ รวมแหล่งโปรตีนไร้ไขมันในอาหารของคุณ เช่น สัตว์ปีก ปลา ถั่ว และเต้าหู้
- แคลเซียมและวิตามินดี:ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางชนิดเคียวอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกอ่อนแอ (โรคกระดูกพรุน) เนื่องจากอาการปวดเรื้อรังและการอักเสบ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้รับแคลเซียมและวิตามินดีเพียงพอจากอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียว และอาหารเสริม หรือพิจารณาอาหารเสริมหากแนะนำโดยผู้ให้บริการด้านสุขภาพของคุณ
- หลีกเลี่ยงภาวะขาดน้ำ:ภาวะขาดน้ำอาจทำให้เกิดอาการเคียวของเม็ดเลือดแดงและเกิดอาการปวดได้ คำนึงถึงปริมาณของเหลวที่คุณดื่มเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพอากาศร้อนหรือเมื่อออกกำลังกาย ดื่มน้ำเป็นประจำตลอดทั้งวัน
- จำกัดอาหารที่มีน้ำตาลและอาหารแปรรูป:อาหารที่มีน้ำตาลและอาหารแปรรูปสูงอาจทำให้เกิดอาการอักเสบและสุขภาพโดยรวมไม่ดีได้ ตั้งเป้ารับประทานอาหารที่สมดุลซึ่งอุดมไปด้วยผักผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และโปรตีนไร้ไขมัน
- จัดการความเจ็บปวดและการอักเสบ:บุคคลบางคนที่เป็นโรคโลหิตจางรูปเคียวอาจมีอาการปวดและอักเสบเรื้อรัง ทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมดูแลสุขภาพของคุณเพื่อจัดการกับอาการเหล่านี้ ซึ่งอาจต้องใช้ยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบ
- การเสริมวิตามิน:ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณอาจแนะนำอาหารเสริมบางอย่าง เช่น วิตามินบี 12 วิตามินเค หรือสารอาหารรองอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะของคุณ ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเกี่ยวกับการเสริม
- ปรึกษานักโภชนาการที่ลงทะเบียน:หากต้องการคำแนะนำด้านโภชนาการส่วนบุคคล โปรดปรึกษานักโภชนาการหรือนักโภชนาการที่ลงทะเบียนซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องโรคโลหิตจางรูปเคียว พวกเขาสามารถช่วยคุณสร้างแผนโภชนาการที่เหมาะกับความต้องการเฉพาะของคุณได้
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://medlineplus.gov/genetics/condition/sickle-cell-disease/
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sickle-cell-anemia/symptoms-causes/syc-20355876
-
https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/sickle-cell-disease
-
https://kidshealth.org/en/teens/sickle-cell-anemia.html
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team