ไหล่ติด (Shoulder Stiff) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ไหล่ติด
อาการไหล่ติด (Shoulder Stiff) คือชื่อสามัญของโรค โดยจะเป็นภาวะที่หัวไหล่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อในหัวไหล่หนาและแน่นขึ้น และจะกลายเป็นแผลเป็นที่เนื้อเยื่อ ทำให้หัวไหล่ไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะทำการหมุนได้อย่างถูกต้อง โดยจะมีอาการปวด บวม และตึง โดยจะพบได้มากในช่วงอายุ 40-60 ปี

อาการของภาวะข้อไหล่ติด

คุณจะรู้สึกว่าไหล่ติดเมื่อเริ่มมีอาการเจ็บ การปวดจะทำให้คุณไม่สามารถขยับหัวไหล่ได้เหมือนที่เคยทำ ไหล่ของคุณจะขยับได้น้อยลงและรู้สึกฝืด หลังจากนั้นไหล่ของคุณจะไม่สามารถขยับได้ ส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวันของคุณกลายเป็นเรื่องยาก เพราะคุณอาจจะไม่สามารถทำกิจกรรมง่ายๆบางอย่างได้ เช่น การแต่งตัว

สาเหตุของการเกิดโรค ไหล่ติด

ถ้าคุณมีความผิดปกติของฮอร์โมน โรคเบาหวาน หรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ คุณอาจจะมีอาการอักเสบร่วมด้วย นอกจากนี้หากคุณได้รับการบาดเจ็บหรือเข้ารับการผ่าตัด และไม่ได้ขยับหรือใช้งานหัวไหล่เป็นเวลานาน ก็อาจทำให้เกิดภาวะไหล่ติดได้ นอกจากนี้ยังทำให้มีความเสี่ยงต่อการอักเลขและการยึดติดของเนื้อเยื่อ ในกรณีที่ร้ายแรง อาจเกิดเป็นแผลเป็นที่เนื้อเยื่อได้ ทำให้เกิดภาวะไหล่ติดอย่างรุนแรง โดยส่วนมากจะใช้เวลา 2-9 เดือนในการเปลี่ยนแปลง

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะไหล่ติด

โดยส่วนมากจะพบได้ในวัยกลางคน และพบมากในผู้หญิง ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานด้วย จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้มากถึงสามเท่า ความเสี่ยงอื่นๆรวมไปถึง :
  • ผู้ที่ต้องใส่สายรัดหัวไหล่เป็นเวลานานหลังจากเข้ารับการผ่าตัดหรือได้รับการบาดเจ็บ
  • คนที่ต้องอยู่เฉยๆเป้นเวลานาน เนื่องจากโรคหลอดเลือดในสมอง
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์

วิธีการรักษาโรคไหล่ติด

โรคหัวไหล่ติดสามารถปล่อยไว้โดยไม่ต้องทำการรักษาก็ได้ แต่อาการปวดตึงสามารถเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องนานถึงสามปี วิธีที่สามารถช่วยให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติได้เร็วขึ้นมีดังนี้ :
  • กายภาพบำบัด
  • การรักษาด้วยยา
  • การผ่าตัด
  • การรักษาตัวที่บ้าน

กายภาพบำบัด

กายภาพบำบัดเป็นวิธีพื้นฐานในการรักษาโรคนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายคือยืดข้อไหล่และฟื้นฟูการเคลื่อนไหว โดยระยะเวลาในการรักษาสามารถใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์หรือนาจถึงเก้าเดือน โดยผู้ป่วยจะเข้ารับการทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปกับการออกกำลังกายเบาๆด้วยตัวเองที่บ้า ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นภายในหกเดือนก็จะเป็นที่จะต้องเข้ารับการปรึกษากับแพทย์เพื่อหาวิธีการอื่นๆ

การใช้ยา

แพทย์จะใช้ยาในการรักษาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและอักเสบของข้อต่อ โดยแพทย์จะให้ยาประเภท แอสไพริน ไอบูโพรเฟ่นหรือนาพรอกเซนโซเดียม รวมไปถึงการฉีดสเตียรอยด์เข้าไปที่หัวไหล่เพื่อบรรเทาอาการปวดด้วย

การรักษาตัวที่บ้าน

การประคบเย็นครั้งละ 15 นาที สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ หากคุณเข้ารับการรักษากับนักกายภาพบำบัด คุณควรบริหารหัวไหล่ตามคำแนะนำ รวมไปถึงว่าปริมาณและระยะเวลาในการออกกำลังกาย เพื่อที่คุณสามารถหายจากอาการได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด

การผ่าตัด

หากการทำกายภาพบำบัดไม่สามารถช่วยให้อาการของคุณดีขึ้นได้ การผ่าตัดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยรักษาอาการให้คุณได้ คุณสามารเลือกที่จะทำการผ่าตัดบริหานไหล่ได้ด้วยการฉีดยาชาเข้าไปเพื่อสลายการยึดติด หรือเลือกที่จะทำการส่องกล้อง โดยจะใช้กล้องที่เรียกว่า Arthroscope เพื่อเอาเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บออก ถ้าภาวะไหล่ติดเกิดจากการที่ไหล่ได้รับบาดเจ็บ หากได้รับการผ่าตัดอย่างเร็วที่สุดจะทำให้การรักษาประสบความสำเร็จ การผ่าตัดมักไม่จำเป็นที่จะต้องนอนในโรงพยาบาล รอยเย็บจากการผ่าตัดจะหายไปภายใน10 วัน และผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัดด้วย โดยส่วนมากไหล่จะกลับมาใช้งานได้ปกติภายในสามเดือน การผ่าตัดมีความเสี่ยง ดังนั้นควรปรึกาาแพทย์ก่อนตัดสินใจที่จะเข้ารับการรักษาด้วยวิธีต่างๆ ในผู้ป่วยบางคนจะยังมีอาการปวดหรือตึงและไม่สามารถรับมือกับความเจ็บปวดในการทำกายภาพบำบัดได้

สิ่งที่คาดหวังได้ในระยะยาว

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการภาวะไหล่ติด สามารถหายจากอาการได้ภายในระยะเวลาสองปีโดยที่ไม่ต้องรับการรักษาใดๆ แต่ถ้าหากจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด การทำกายภาพบำบัดเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอาการซ้ำได้อีก

สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำเมื่อไหล่ติด

หากคุณมีอาการไหล่ติด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อบรรเทาความรู้สึกไม่สบายและส่งเสริมการรักษา สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการจัดการกับอาการไหล่ติดมีดังนี้

สิ่งที่ควรทำ:

  • พักผ่อน:ให้ไหล่ของคุณพักผ่อนอย่างเหมาะสมเพื่อให้มีเวลาในการรักษา หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ปวดหรือตึงมากขึ้น
  • ประคบน้ำแข็ง:ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่มีอาการเป็นเวลา 15-20 นาที หลายๆ ครั้งต่อวัน สามารถช่วยลดอาการอักเสบและอาการชาได้
  • การบำบัดด้วยความร้อน:หลังจากระยะเฉียบพลันเริ่มต้น การใช้แผ่นความร้อนหรือการประคบอุ่นสามารถช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปยังบริเวณนั้น
  • การยืดกล้ามเนื้ออย่างอ่อนโยน:ยืดไหล่อย่างนุ่มนวลเพื่อรักษาความยืดหยุ่นและป้องกันไม่ให้ข้อแข็งไปมากกว่านี้ ปรึกษานักกายภาพบำบัดหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  • กายภาพบำบัด:พิจารณาการพบนักกายภาพบำบัดที่สามารถให้การออกกำลังกายและการรักษาตามเป้าหมายเพื่อจัดการกับอาการตึงของไหล่
  • การรับรู้ท่าทาง:ให้ความสนใจกับท่าทางของคุณ เนื่องจากท่าทางที่ไม่ดีอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับไหล่ได้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสภาพแวดล้อมการทำงานของคุณเหมาะสมตามหลักสรีรศาสตร์
  • ยาต้านการอักเสบ:ยาต้านการอักเสบที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ (เช่น ไอบูโพรเฟน) อาจช่วยลดอาการปวดและการอักเสบได้ ปรึกษาแพทย์ของคุณก่อนใช้ยาใดๆ
  • ตำแหน่งการนอนที่รองรับ:ใช้หมอนที่รองรับไหล่ของคุณอย่างเพียงพอในขณะนอนหลับ

สิ่งไม่ควรทำ:

  • หลีกเลี่ยงการออกแรงมากเกินไป:หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ไหล่ตึงหรือทำให้เกิดอาการปวด
  • ไม่เคลื่อนไหวอย่างกะทันหัน:หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวอย่างฉับพลันและกระตุกของไหล่ เนื่องจากอาจทำให้ข้อแข็งขึ้นได้
  • หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวไม่ได้เป็นเวลานาน:ในขณะที่การพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญ หลีกเลี่ยงการทำให้ไหล่ของคุณอยู่กับที่นานเกินไป เนื่องจากอาจทำให้ข้อแข็งมากขึ้นและระยะการเคลื่อนไหวลดลง
  • จำกัดการยกของหนัก:งดการยกของหนักหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ทำให้ข้อไหล่ตึงมากเกินไป
  • อย่าเพิกเฉยต่อความเจ็บปวด:หากคุณประสบกับความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่องหรือแย่ลง อย่าเพิกเฉย ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อระบุสาเหตุที่แท้จริงและรับการรักษาที่เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไม่ดี:การงอตัวหรือหลังค่อมอาจทำให้ไหล่ตึงมากขึ้น ดังนั้นพยายามรักษาท่าทางที่ดีตลอดทั้งวัน
  • อย่าวินิจฉัยหรือรักษาด้วยตนเอง:หากอาการฝืดยังคงอยู่ ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและหลีกเลี่ยงการพยายามวินิจฉัยหรือรักษาอาการด้วยตนเอง
โปรดจำไว้ว่าแนวทางเหล่านี้เป็นคำแนะนำทั่วไปและอาจไม่เหมาะกับสภาพไหล่ทั้งหมด ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเสมอเพื่อรับคำแนะนำและการรักษาเฉพาะบุคคลสำหรับสถานการณ์เฉพาะของคุณ นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
  • https://www.health.harvard.edu/pain/how-to-release-a-frozen-shoulder
  • https://www.nhs.uk/conditions/frozen-shoulder/
  • https://www.webmd.com/pain-management/why-does-my-shoulder-hurt
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/frozen-shoulder/symptoms-causes/syc-20372684
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด