ภาวะกระดูกทับเส้นเอ็นข้อไหล่ Shoulder Impingement Syndrome คืออะไร
Shoulder Impingement Syndrome คือ สาเหตุจองอาการปวดไหล่ ที่เรียกว่ากระดูกทับเส้นเอ็นข้อไหล่ หรือโรคข้อไหล่นักว่ายน้ำ เพราะมักเกิดขึ้นกับนักว่ายน้ำและนักกีฬาอื่นๆที่ต้องใช้ไหล่มากๆเช่น นักเบสบอลหรือนักซอฟบอล เส้นเอ็นคลุมข้อไหล่คือกลุ่มของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่อยู่ติดกับกระดูกแขนท่อนบนที่อยู่ติดกับหัวไหล่ เป็นเส้นเอ็นที่ช่วยในการยกและหมุนแขน บริเวณเส้นเอ็นคลุมข้อไหล่จะอยู่ใต้ด้านใต้ส่วนบนของหัวไหล่ที่เรียกว่ากระดูกส่วนบนของไหล่ หากมีอาการกระดูกทับเส้นเอ็นข้อไหล่ เส้นเอ็นคลุมข้อไหล่จะกระทบหรือถูเข้ากระดูกส่วนบนของไหล่ เมื่อยกแขนขึ้น เนื้อที่ระหว่างเส้นเอ็นคลุมข้อไหล่และกระดูกส่วนบนของไหล่จแคบลง ซึ่งจะไปเพิ่มแรงกดก่อให้เกิดการระคายเคืองที่เส้นเอ็นคลุมข้อไหล่ ซึ่งนำไปสู่แรงกดอาการกระดูกทับเส้นเอ็นข้อไหล่
อาการหลักๆของกระดูกทับเส้นเอ็นข้อไหล่มักเกิดอาการปวดเฉียบพลันที่หัวไหล่เมื่อยกแขนไปเหนือศีรษะหรือทางด้านหลัง ร่วมกับอาการอื่นๆเช่น:- อาการปวดแขนน้อยแต่ไม่หาย
- มีอาการปวดจากด้านหน้าหัวไหล่ไปยังด้านข้างแขน
- อาการปวดจะยิ่งแย่ลงในตอนกลางคืน
- หัวไหล่หรือแขนอ่อนแรง
สาเหตุกระดูกทับเส้นเอ็นข้อไหล่คืออะไร
ในหลายๆรายที่เป็นกระดูกทับเส้นเอ็นข้อไหล่มักมีสาเหตุมาจากการใช้งานมากเกินไป การใช้งานหัวไหล่ซ้ำๆสามารถทำให้เส้นเอ็นที่หัวไหล่บวม ทำให้ไปเกาะติดอยู่ที่กระดูกหัวไหล่ส่วนบน ในบางรายอาจไม่ทราบสาเหตุคนที่มีความเสี่ยงกระดูกทับเส้นเอ็นข้อไหล่คือใครบ้าง
คนที่เล่นกีฬาที่จำเป็นต้องชูหรือต้องออกแรงหัวไหล่เหนือศีรษะคือปัจจัยเสี่ยงที่มีมากที่สุดในการเกิดกระดูกทับเส้นเอ็นข้อไหล่ กิจกรรมที่มักเป็นสาเหตุของการเกิดโรคคือ:- การว่ายน้ำ
- เทนนิส
- เบสบอล
- งานก่อสร้าง
- การวาดรูป
การวินิจฉัยทำอย่างไร
แพทย์อาจเริ่มด้วยการถามคำถามเกี่ยวกับการบาดเจ็บที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมถึงพฤติกรรมการออกกำลังกาย จากนั้นแพทย์อาจขอให้ทำท่าทางต่างๆที่ต้องใช้หัวไหล่ในขณะที่แพทย์จะตรวจเช็คดูความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นการช่วยให้แพทย์สามารถตัดโรคอื่นๆออกไปได้ เช่นเส้นประสาทถูกกดทับ ในบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการเอกเรย์เพื่อตัดโรคไขข้ออักเสบออกไปหรือเพื่อมองหากระดูกที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่นกระดูกงอก ที่นำไปสู่การกดทับ หากแพทย์คิดว่าอาจเป็นเส้นเอ็นคลุมข้อไหล่ที่รุนแรง หรือยังไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ แพทย์อาจส่งให้ตรวจสแกนเอ็มอาร์ไอเพื่อดูที่บริเวณหัวไหล่ให้ละเอียดดีขึ้นรักษาได้อย่างไร
มีการรักษาหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้กับภาวะกระดูกทับเส้นเอ็นข้อไหล่ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคการรักษาที่บ้าน
การพักผ่อนคือสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการรักษาภาวะกระดูกทับเส้นเอ็นหัวไหล่ หลีกเลี่ยงการออกกำลังรุนแรงหรือการเคลื่อนไหวใดๆที่อาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดรุนแรง โดยเฉพาะหากเป็นนักกีฬา ในขณะที่วิธีที่ดีที่สุดคือการไม่เคลื่อนไหวหัวไหล่มากจนเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้ที่คล้องแขนมากเกินไป อาจจำไปสู่หัวไหล่แข็งและอ่อนแรงมากขึ้น ลองใช้การประคบเย็นลงที่บริเวณหัวไหล่เป็นเวลา 10-15 นาที ทำวันละสองสามครั้งต่อวัน เพื่อลดความปวดและบวมการรักษาด้วยการบำบัดทางร่างกาย
ภาวะกระดูกทับเส้นเอ็นหัวไหล่มักตอบสนองต่อการบำบัดทางร่างกาย การออกกำลังกายแบบไม่รุนแรงเพื่อสร้างความแข็งแรงและการเคลื่อนไหว แพทย์อาจส่งต่อให้กับแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเฉพาะทางในเรื่องการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ การบำบัดทางร่างกายเป็นการพุ่งความสนใจไปที่กล้ามเนื้อที่หัวไหล่และหน้าอก ซึ่งอาจช่วยให้การทำงานของเส้นเอ็นคลุมข้อไหล่ดีขึ้น หากเป็นนักกีฬาหรือคนทำงานที่จำเป็นต้องใช้หัวไหล่บ่อยๆ นักกายภาพบำบัดจะสามารถสอนเทคนิคที่เหมาะสมเพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ นักกายภาพจะให้ท่าออกกำลังกายกลับไปออกกำลังเองที่บ้าน ซึ่งอาจช่วยให้การฟื้นฟูเร็วขึ้น เพียงแค่ต้องแน่ใจว่าไม่ออกกำลังมากจนเกินไป อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการบำรุงกระดูกได้ที่นี่การใช้ยา
รับประทานยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์เช่น ไอบูโรเฟน (แอดวิล มอร์ทิน) สามารถช่วยลดอาการบวมและอาการปวดที่หัวไหล่ได้ หากรับประทานยาดังกล่าวนี้ร่วมกับการใช้น้ำแข็งและพักผ่อนยังไม่สามารถลดอาการปวดได้ แพทย์อาจสั่งให้ฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการบวมและปวดการผ่าตัด
หากการรักษาอื่นๆดูเหมือนจะไม่ได้ผล อาจจำเป็นต้องการการผ่าตัดเพื่อเปิดให้พื้นที่บริเวณเส้นเอ็นคลุมข้อไหล่มีพื้นที่กว้างขึ้น การผ่าตัดนี้จะทำให้เส้นเอ็นเป็นอิสระมากขึ้นโดยไม่สัมผัสหรือเสียดสีกับกระดูก อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคกระดูกอักเสบได้ที่นี่ระยะเวลาในการฟื้นฟู
ภาวะกระดูกทับเส้นเอ็นหัวไหล่มักต้องใช้เวลาในการรักษาราวสามถึงหกเดือน ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจใช้เวลาถึงหนึ่งปีในการรักษา แต่กระนั้นก็สามารถกลับไปทำกิจกรรมได้ตามปกติภายในสองถึงสี่สัปดาห์ เพียงแต่ให้มั่นใจว่าได้ตรวจเช็คกับแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ทำมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้ต้องเพิ่มระยะเวลาในการฟื้นฟูมากขึ้นหรือนำไปสู่การบาดเจ็บอื่นๆการต้องอยู่กับภาวะกระดูกทับเส้นเอ็นหัวไหล่
ภาวะกระดูกทับเส้นเอ็นหัวไหล่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมประจำวัน คนส่วนใหญ่มักฟื้นตัวได้ภายในสองสามเดือน ส่วนใหญ่อาจต้องการเพียงแต่การนอนพักและการทำกายภาพบำบัด หากอาการยังไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสองสามเดือนเพื่อการฟื้นตัวนี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น