ภาวะช็อก (Shock) คือ การช็อคทางจิตวิทยา หรือทางสรีรวิทยา (ร่างกาย)
อาการช็อกทางจิตเกิดเมื่อได้พบเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ หรือเรียกว่าทำให้เกิดความเครียดเฉียบพลัน สิ่งนี้ทำให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ที่รุนแรง และอาจทำให้เกิดการตอบสนองทางร่างกายได้เช่นกัน
บทความนี้เกี่ยวกับสาเหตุหลายประการของการช็อกทางสรีรวิทยา
ร่างกายจะเกิดอาการช็อก เมื่อคุณมีเลือดไหลเวียนในระบบไม่เพียงพอ ส่งผลให้อวัยวะและเนื้อเยื่อทำงานได้อย่างไม่ถูกต้อง
หรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บ หรือปัญหาสุขภาพใด ๆ ที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย ภาวะช็อกสามารถนำไปสู่ความล้มเหลวของอวัยวะสำคัญ และอันตรายถึงชีวิตได้
การช็อกแบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก
- ช็อกแบบ obstructive shock
- ช็อกแบบ cardiogenic shock
- ช็อกแบบ distributive shock
- ช็อกแบบ hypovolemic shock
สัญญาณ และอาการช็อก
คนที่มีอาการช็อกจะมีอาการดังต่อไปนี้- ชีพจรเร็วอ่อนแอ
- หัวใจเต้นผิดปกติ
- หายใจเร็วและตื้น
- เวียนศีรษะ
- ผิวเย็นและชื้น
- รูม่านตาขยาย
- ตามัว
- เจ็บหน้าอก
- คลื่นไส้
- มึนงง
- วิตกกังวล
- ปัสสาวะลดลง
- กระหายน้ำ และปากแห้ง
- น้ำตาลในเลือดต่ำ
- เป็นลม หมดสติ
สาเหตุของการช็อก
สิ่งใดก็ตามที่มีผลต่อการไหลเวียนของเลือดในร่างกายก็สามารถทำให้ช็อกได้ สาเหตุของการช็อก ได้แก่- อาการแพ้อย่างรุนแรง
- การสูญเสียเลือดอย่างหนัก
- หัวใจล้มเหลว
- การติดเชื้อในกระแสเลือด
- สูญเสียน้ำ
- เป็นพิษ
- แผลไฟไหม้
ประเภทหลักๆ ของการช็อก
การช็อกแบ่งเป็น 4 ประเภทดังนี้- ภาวะช็อกจากปริมาตรของเลือดลดลง
- การตกเลือด เช่น เลือดออกจากบาดแผลหรือกระดูกหัก ตกเลือดหลังคลอดหรือแท้งบุตร อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด ไข้เลือดออก เลือดออกในช่องปอดหรือช่องท้อง ครรภ์นอกมดลูก
- การสูญเสียน้ำออกภายนอก เช่น ท้องเดินรุนแรง อาเจียนรุนแรง การใช้ยาขับปัสสาวะมากเกินไป ภาวะคีโตแอซิโดซิสหรือน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรงในผู้ป่วยเบาหวาน เบาจืด บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
- การสูญเสียน้ำอยู่ภายในร่างกาย เช่น ไข้เลือดออก กระเพาะหรือลำไส้อุดกั้น ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ภาวะท้องมาน
- ภาวะช็อกจากความผิดปกติของหัวใจ อาจมีสาเหตุจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจพิการ ลิ้นหัสใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ภาวะช็อกจากภาวะอุดกั้นนอกหัวใจ อาจมีสาเหตุจากภาวะหัวใจถูกบีบรัด ภาวะสิ่งหลุดอุดตันหลอดเลือดแดงปอดอย่างรุนแรง ภาวะปอดทะลุชนิดรุนแรง
- ภาวะช็อกจากปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว อาจมีสาเหตุจาก
- การแพ้ที่รุนแรง เรียกว่า ภาวะช็อกจากากรแพ้ เช่น แพ้ยาที่พบบ่อยคือเพนิซิลลิน ยาชา เซรุ่มที่ผลิตจากสัตว์ จากพิษแมลง เช่น ผึ้ง ต่อ มด จากอาหาร เช่น กุ้ง หอย ปู ไข่ เป็นต้น
- ความผิดปกติของระบบประสาท เรียกว่า ภาวะช็อกจากระบบประสาท ที่สำคัญได้แก่ ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ
- โรคติดเชื้อ เรียกว่า ภาวะช็อกจากโรคติดเชื้อ เช่น โลหิตเป็นพิษ ปอดอักเสบ ไทฟอยด์ ถุงน้ำดีอักเสบ ท่อน้ำดีอักเสบ กรวยไตอักเสบ เยื่อบุมดลูกอักเสบจากการทำแท้ง เป็นต้น พิษของเชื้อโรคจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเคมีหลายชนิด ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัว นอกจากนี้ยังมีผลต่อการทำงานของหัวใจและเลือดออกง่ายทำให้ร่างกายสูญเสียเลือด ดังนั้น ภาวะช็อกจากโรคติดเชื้อจึงอาจเกิดจากกลไกหลายอย่างร่วมกัน
- การใช้ยา ได้แก่ กลุ่มยาขยายหลอดเลือด เช่น ไอโซซอร์ไบด์ ถ้าใช้เกินขนาดอาจทำให้เกิดภาวะช็อกได้
- ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องเฉียบพลัน พบในผู้ป่วยโรคแอดดิสัน และผู้ที่ใช้ยาสตีรอยด์มาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดภาวะช็อก เรียกว่า ภาวะต่อมหมวกไตวิกฤติ
วิธีการรักษาอาการช็อก
การช็อกทำให้หมดสติ หายใจไม่สะดวก และอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
- หากผู้ป่วยมีอาการช็อกให้เข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยทันที
- หากพบผู้ป่วยช็อกให้โทร เบอร์ฉุกเฉินในท้องถิ่น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
หลังจากพบผู้ป่วยช็อก และโทรเบอร์ฉุกเฉินเรียกรถโรงพยาบาลแล้ว ให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ระหว่างรอรับความช่วยเหลือ- หากหมดสติให้ตรวจดูว่ายังหายใจอยู่ และหัวใจเต้นหรือไม่
- หากตรวจไม่พบการหายใจ หรือการเต้นของหัวใจให้เริ่มทำ CPR
- ให้ผู้ป่วยนอนหงาน
- ยกเท้าสูงจากพื้นอย่างน้อย 12 นิ้ว ช่วยให้เลือดไปยังอวัยวะสำคัญในจุดที่จำเป็นที่สุด
- คลุมด้วยผ้าห่ม หรือเสื้อผ้าเ เพื่อช่วยให้อบอุ่น
- ตรวจสอบการหายใจ และอัตราการเต้นของหัวใจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลง
ยารักษา
การรักษาภาวะช็อกจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการของผู้ป่วย การช็อกประเภทต่างๆ สามารถใช้ยารักษาเหล่านี้ได้ตามคำสั่บแพย์- อะดรีนาลีนและยาอื่น ๆ เพื่อรักษาอาการช็อกจาก Anaphylactic
- ถ่ายเลือด เพื่อทดแทนเลือดที่เสียไป และรักษาภาวะช็อกจากภาวะ Hypovolemic
- ยาสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น การรักษาภาวะช็อกจากโรคหัวใจ
- ยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาภาวะช็อก
วิธีปฐมพยาบาลผู้ที่มีอาการช็อก
หากมีคนช็อก สิ่งสำคัญคือต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและใจเย็นเพื่อให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่พวกเขา ภาวะช็อกเป็นภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรงที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่ได้รับเลือดไหลเวียนเพียงพอ ส่งผลให้อวัยวะสำคัญขาดออกซิเจนและสารอาหาร ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อช่วยผู้ที่มีอาการช็อก:- โทรขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน:ขั้นตอนแรกคือโทรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ทันที โทรหาบริการฉุกเฉินหรือขอให้ใครสักคนที่อยู่ใกล้เคียงโทรหาเพื่อขอความช่วยเหลือในขณะที่คุณดูแลบุคคลนั้น
- ตรวจสอบความปลอดภัย:ตรวจสอบสภาพแวดล้อมเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอันตรายหรือความเสี่ยงเพิ่มเติมสำหรับบุคคลที่ช็อก หากจำเป็น ให้ย้ายไปยังตำแหน่งที่ปลอดภัยกว่า
- ทำให้พวกเขาสงบและมั่นใจ:พูดในลักษณะที่สงบและมั่นใจ ให้บุคคลนั้นนอนหงายราบ เว้นแต่ว่าบุคคลนั้นจะหายใจลำบากหรือมีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ คอ หรือหลัง
- ยกขาขึ้น:หากบุคคลนั้นไม่มีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ คอ หรือหลัง ให้ยกขาขึ้นประมาณ 12 นิ้ว (30 เซนติเมตร) แล้วพยุงไว้บนพื้นผิวที่มั่นคง สิ่งนี้สามารถช่วยปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองและอวัยวะสำคัญ
- รักษาอุณหภูมิของร่างกาย:คลุมตัวบุคคลด้วยผ้าห่มหรือเสื้อผ้าที่มีอยู่เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น ภาวะช็อกอาจทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงได้ ดังนั้น การรักษาความอบอุ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญ
- ห้ามให้อาหารหรือเครื่องดื่ม:เป็นการดีที่สุดที่จะไม่ให้อาหารหรือเครื่องดื่มแก่บุคคลนั้น เนื่องจากอาจต้องใช้กระบวนการทางการแพทย์ที่ต้องให้ท้องว่าง
- อย่าปล่อยให้พวกเขาอยู่คนเดียว:อยู่กับบุคคลนั้นจนกว่าความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินจะมาถึง สร้างความมั่นใจให้พวกเขาและให้พวกเขาอยู่เป็นเพื่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์ขึ้นอีก
- ตรวจหาการบาดเจ็บอื่น ๆ:ระหว่างรอความช่วยเหลือทางการแพทย์ ให้ตรวจดูการบาดเจ็บอื่น ๆ ที่บุคคลนั้นอาจได้รับอย่างรอบคอบ หากคุณพบอาการดังกล่าว ให้หลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ได้รับผลกระทบและรอความช่วยเหลือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น