ภาวะช็อค (Shock) สามารถเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย แต่หากกกล่าวถึงภาวะช็อคในทางการแพทย์ (Medical shock) คือ ภาวะที่เซลล์ของร่างกายไม่ได้รับเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอ สิ่งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากอาการป่วยไข้หรือบาดเจ็บ ไม่ใช่โรคแต่อย่างใด คนทั่วไปสามารถตกอยู่ในอาการช็อคได้เมื่อประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดหวัง ภาวะช็อคนั้นเป็นผลทางจิตใจ และโดยปกติมักไม่นำมาสู่ความผิดปกติทางการแพทย์ อาการช็อคในแบบอื่น เช่น อาการช็อคไฟฟ้า (Electric shock) จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลนั้นประสบกับการบาดเจ็บอันเป็นผลมาจากการสัมผัสกับพลังงานไฟฟ้า สาเหตุของอาการช็อคไฟฟ้านี้ได้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้าที่รั่ว ฟ้าผ่า และการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าในน้ำ แม้ว่าปัญหาที่แตกต่างกันสามารถนำไปสู่ภาวะช็อคทางการแพทย์ แต่อาการส่วนมากมักไม่ต่างกัน อาการช็อคทางการแพทย์นั้นมักเป็นเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วน หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลาอาจทำให้เกิดการสูญเสียอวัยวะ หรือเป็นอันตรายถึงกับชีวิตได้ Shock

อาการช็อค

 แม้ว่าอาการช็อคทางการแพทย์มีสาเหตุหลายประการ แต่อาการโดยปกติมักไม่ต่างกัน อาการนั้นมีสาเหุมาจากการที่เนื้อเยื่อและอวัยวะในร่างกายไม่ได้รับปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอ อาการได้แก่

ประเภทของภาวะช็อค

เหตุการณ์หลากหลายสามารถนำไปสู่อาการช็อค อาการช็อคทางการแพทย์นั้นมี 4 ประเภท โดยแตกต่างกันที่ลักษณะการลดลงของเลือดที่ไหลไปเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ ประกอบด้วย
  • ภาวะช็อคจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ (Hypovolemic Shock) การสูญเสียน้ำและเกลือแร่เกิดขึ้นเมื่อปริมาณเลือดในร่างกายที่ลดต่ำลง อันเกิดจากการที่ผู้ป่วยสูญเสียปริมาณเลือดหรือน้ำเป็นอย่างหนัก
  • ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ (Cardiogenic shock, Cardiac shock) ภาวะช็อคเช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอ อันมีสาเหตุมาจากทั้งภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจวาย การเสียเลือดมาก หรืออาการบาดเจ็บบนหน้าอกซึ่งส่งผลร้ายแรงต่อหัวใจ
  • ภาวะช็อคจากการอุดกั้นนอกหัวใจ (Obstructive Shock) เกิดขึ้นเมื่อมีการอุดตันในระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary embolism) ทำให้เลือดไม่ไหลไปสู่เนื้อเยื่อและอวัยวะภายในร่างกาย
  • ภาวะช็อคจากปริมาณเลือดลดลง (Distributive shock, Vasodilatory shock) อาการช็อคประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อมีของเหลวสะสมระหว่างเซลล์และอวัยวะ อันทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ลำบาก สาเหตุที่พบได้มากที่สุดของภาวะช็อคจากปริมาณเลือดลดลง ได้แก่ การแพ้ชนิดรุนแรง (Anaphylaxis) และภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) การได้รับสารพิษจากยาสามารถทำให้เกิดอาการช็อคประเภทนี้ได้เช่นกัน

การรับมือกับภาวะช็อค

หากพบบุคคลตกอยู่ในอาการช็อค สิ่งแรกที่ควรทำคือโทรเรียกสายด่วนท้องที่ แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการไม่รุนแรงนัก ระหว่างรอทีมรักษาพยาบาล สามารถช่วยบรรเทาอาการได้โดย
  • จัดการผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนราบ และยกเท้าขึ้นสูงหากเป็นไปได้
  • หลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหากมีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ คอ หรือหลัง
  • ปฐมพยาบาลอาการบาดเจ็บหากจำเป็น
  • ทำให้ร่างกายผู้ป่วยอบอุ่นด้วยผ้าห่มหรือเสื้อคลุม
  • งดการให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารและน้ำดื่ม
  • ตรวจสอบชีพจรและการหายใจของผู้ป่วยทุกๆ 5 นาที (หากผู้ป่วยไม่หายใจ ผู้ที่ได้รับการฝึกมาแล้วสามารถทำการปั๊มหัวใจ (CPR) เพื่อช่วยผู้ป่วย)
  • ขยับร่างกายของผู้ป่วยให้เข้าที่หากมีอาการจุกหรืออาเจียน

การรักษาอาการช็อค

ผู้เชียวชาญทางการแพทย์จะสามารถวินิจฉัยภาวะช็อคได้จากลักษณะอาการเฉพาะ ได้แก่ แรงดันเลือดต่ำ การรักษาอาการช็อคจะมีหลากหลายขึ้นอยู่กับสาเหตุเบื้องหลัง ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ป่วยมีอาการแพ้อย่างรุนแรง อาจจำเป็นต้องให้ยาเอพิเนฟรีน (Epinephrine) ซึ่งสามารถรักษาปฏิกิริยาแพ้อย่างแรงได้ หากผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) อาจรักษาโดยการให้ยาแอนติไบโอติคส์ ออกซิเจน และสารอาหารทางหลอดเลือดดำ (Intravenous (IV) fluids) ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ (Hypovolemic Shock) อาจจำเป็นต้องรักษาโดยการให้เลือด และการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ แพทย์อาจเริ่มให้เลือดหรือรักษาด้วยวิธีการอื่นเพื่อรักษาปริมาณการไหลของเลือดที่เหมาะสม แม้ว่าอาจยังไม่สามารถระบุได้ถึงสาเหตุเบื้องหลังที่แท้จริง ทีมแพทย์อาจทำการทดสอบหลายอย่างเพื่อระบุสาเหตุของภาวะช็อค อันประกอบด้วย
  • การเอ็กซเรย์
  • ตรวจเลือด
  • ตรวจปัสสาวะ
  • การทำซีทีแสกน (CT scans)

การฟื้นฟูผู้ป่วยภาวะช็อค

หลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาจากภาวะช็อค แพทย์จะช่วยเหลือโดยให้แผนติดตามอาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันเหตุอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากโรคหัวใจ (Cardiogenic shock) อันเนื่องมาจากเลือดจับตัวเป็นลิ่ม ต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมเพื่อหยุดยั้งการจับตัวของเลือด
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylactic shock) ควรได้รับยาเอพิเนฟรีน หรือการรักษาเพื่อช่วยหยุดอาการแพ้ เขาควรต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ในภายภาคหน้าด้วย
  • ผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจวายต้องเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต และได้รับการรักษาพยาบาลเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการหัวใจวาย
การฟื้นฟูจากอาการช็อคทางการแพทย์ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ภาวะช็อคสามารถทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย/a>  ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และปัญหาเกี่ยวกับความแข็งแรงทางจิตใจจะคงอยู่เป็นเวลานาน ภายหลังประสบภาวะช็อคจากการติดเชื้อ (Septic shock) ผู้ป่วยบางรายได้รับผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการเฉื่อยชา เช่น ปัญหาในการมีสมาธิ หรือจดจำสิ่งต่างๆ อาจมีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวลร่วมด้วย การใช้จิตบำบัดสามารถช่วยฟื้นฟูได้

ภาพรวมภาวะช็อค

ภาวะช็อคทางการแพทย์ เป็นภัยคุกคามชีวิต โดยเกิดขึ้นเมื่ออวัยวะในร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอ สาเหตุของภาวะช็อคนั้นรวมถึงการเสียเลือดในปริมาณมาก การเสียน้ำ และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ มันจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แม้ว่าจะแสดงอาการเล็กน้อยก็ตาม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.healthline.com/health/shock
  • https://www.medicinenet.com/shock/article.htm
  • https://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-shock/basics/art-20056620
  • https://medlineplus.gov/ency/article/000039.htm
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด