Sertraline คือยาอะไร
เซอร์ทราลีน (Sertraline) เป็นยาใช้รักษาโรคซึมเศร้า โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านเศร้า (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors :SSRIs)- เซอร์ทราลีน (Sertraline) จัดว่าเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า อยู่ในกลุ่ม SSRIs ซึ่งออกฤทธิ์ควบคุมสารสื่อประสาทภายในสมองที่เรียกว่า เซโรโทนิน (Serotonin)
- เซอร์ทราลีนมีผลข้างเคียงมากมาย อาทิ การเพิ่มความเสี่ยงในการคิดฆ่าตัวตาย หงุดหงิด กระสับกระส่าย ความต้องการทางเพศลดลง หากเกิดอาการที่ผิดปกติควรไปพบแพทย์
- ปฏิกิริยาต่อกันของยาเซอร์ทราลีนกับยาอื่นๆพบได้หลายชนิด หากคุณกำลังใช้ยาเซอร์ทราลีนร่วมกับยาอื่นๆควรแจ้งให้แพทย์ของคุณทราบล่วงหน้า
- การลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มการรับประทานยาเป็นสองเท่า
- ไม่ควรหยุด, ลด หรือเพิ่มยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ควรไปพบแทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการและการตอบสนองต่อการรักษา
ข้อบ่งใช้ของยาเซอร์ทราลีน
- โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder)
- โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder :OCD)
- โรคตื่นตระหนก (Panic disorder)
- ภาวะความผิดปกติทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (Posttraumatic Stress Disorder :PTSD)
- กลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Dysphoric Disorder :PMDD)
- โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)
- โรคกลัวการเข้าสังคม (Social phobia)
- ภาวะหลั่งเร็ว (Premature ejaculation)
- ภาวะปวดศีรษะจากหลอดเลือด (Vascular headaches)
ยา Sertraline การออฤทธิ์
ยับยั้งการเก็บกลับ (Reuptake) ของสารสื่อประสาทเซโรโทนินบริเวณปลายประสาท ทำให้เซโรโทนินออกฤทธิ์ได้มากขึ้น ซึ่งเซโรโทนินมีบทบาทในการควบคุมความสมดุลของอารมณ์และจิตใจขนาด และวิธีการใช้
ยาที่ใช้ในการรักษาส่วนใหญ่เป็นยาเม็ดแบบรับประทาน สำหรับเด็ก- โรคย้ำคิดย้ำทำ
- โรคซึมเศร้า
- โรคย้ำคิดย้ำทำ
- โรคตื่นตระหนก ,ภาวะความผิดปกติทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง และโรคกลัวการเข้าสังคม
- กลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน
- ภาวะหลั่งเร็ว : 25 – 50 มก. 1 ครั้ง/วัน
การลืมทานยา
หากลืมรับประทานยาเซอร์ทราลีน ให้ทานทันทีที่นึกได้ แต่หากใกล้เวลาของยามื้อถัดไปให้ทานยาของมื้อถัดไปตามเวลา โดยไม่ต้องทานเป็นสองเท่าการรับประทานยาเกินขนาด
เมื่อเกิดการใช้ยาเกินขนาด ร่างกายจะมีอาการ เช่น สั่น, กระสับกระส่าย, อาเจียน, ง่วงซึมมาก และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หากคุณมีอาการดังกล่าวและคิดว่าตนเองใช้ยาเกินขนาด ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อเข้ารับการรักษาฉุกเฉิน เซอร์ทราลีนเป็นยารักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ฉะนั้นไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง การหยุดหรือปรับยาเองเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ เพราะอาจเกิดอันตรายได้ผลข้างเคียง
- ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่
- ความต้องการทางเพศลดลง
- หลั่งช้า
- ไม่สามารถสำเร็จความใคร่ได้
- อ่อนเพลีย
- กระวนกระวาย
- ปวดท้อง
- เหงื่อแตก
- สะบัดร้อนสะบัดหนาว
- สับสน
- สั่น
- อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น
- กล้ามเนื้อกระตุกแบบ Myoclonus ซึ่งเป็นอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นทันทีทันใด โดยไม่ได้ตั้งใจ บังคับไม่ได้
- ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis) จนอาจนำไปสู่ภาวะไตวายได้
ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ในกรณี- ผู้ที่มีประวัติallergy-0094/”>แพ้ยา
- ใช้ร่วมกับยากลุ่ม Monoamine Oxidase Inhibitor : MAOI ได้แก่
- Furazolidone (Furoxone)
- Phenelzine (Nardil)
- Rasagiline (Azilect)
- Isocarboxazid (Marplan)
- Selegiline (Eldepryl Emsam และ Zelapar)
- Trannylcypromine (Parbate)
- ใช้ร่วมกับยา Pimozide ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคจิตเภท
- ใช้ร่วมกับยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflamatory : NSAIDs) ซึ่งเมื่อรับประทานร่วมกับเซอร์ทราลีนจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกง่ายกว่าปกติ เกิดจุกจ้ำเลือดตามร่างกายได้ ตัวยาได้แก่
- Ibuprofen : Advil Motrin
- Naproxen : Aleve, Naprosyn, Naprelan และ Treximet
- Aspirin และ Celecoxib (Celebrex)
- Indomethacin (Indocin)
- Meloxicam (Mobic)
- Diclofenac : Arthrotec, Cambia, Cataflam, Voltaren, Flector, Patch, Pennsaid และ Solareze
- ยาอื่นๆที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หากต้องรับประทานคู่กับยาเซอร์ทราลีน
- กลุ่มยารักษาอาการปวดไมเกรน (Migraines)
- ยาแก้ปวด เช่น Fentanyl, Tramadol
- 5-Hydroxytryptophan (5-HTP)
- กลุ่มยาละลายลิ่มเลือด เช่น Warfarin
- กลุ่มยารักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น Specialise และ Propagating
ใครที่ไม่ควรใช้ยา Sertraline
Sertraline เป็นยาที่ใช้กันทั่วไปในการรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) โรคตื่นตระหนก โรควิตกกังวลทางสังคม และโรคความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD) แม้ว่าโดยทั่วไปถือว่าเซอทราลีนปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับบุคคลจำนวนมาก แต่ก็มีสถานการณ์ที่การใช้ยาเซอทราลีนอาจมีข้อห้ามหรือต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือ การตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้เซอทราลีนควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ต่อไปนี้เป็นบางสถานการณ์ที่อาจได้รับการรับประกันด้วยความระมัดระวังหรือการหลีกเลี่ยงเซอทราลีน:- ปฏิกิริยาการแพ้:
-
-
- บุคคลที่ทราบว่าแพ้เซอทราลีนหรือส่วนประกอบใดๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ ปฏิกิริยาการแพ้อาจมีตั้งแต่ผื่นผิวหนังเล็กน้อยไปจนถึงปฏิกิริยารุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
-
- สารยับยั้งโมโนเอมีนออกซิเดส (MAOIs):
-
-
- ไม่ควรใช้ Sertraline ภายใน 14 วันหลังจากหยุดการรักษาด้วย monoamine oxidase inhibitor (MAOI) การรวมกันของเซอทราลีนและ MAOI สามารถนำไปสู่ภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตที่เรียกว่ากลุ่มอาการเซโรโทนิน
-
- พิโมไซด์:
-
-
- การใช้ sertraline ร่วมกับ pimozide ร่วมกันนั้นมีข้อห้ามเนื่องจากอาจเพิ่ม QT และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
-
- ไทโอริดาซีน:
-
-
- การใช้ sertraline ร่วมกับ thioridazine มีข้อห้ามเนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการยืดตัวของ QT และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่คุกคามถึงชีวิต
-
- การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:
-
-
- ความปลอดภัยของเซอทราลีนในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรยังไม่เป็นที่แน่ชัด บุคคลที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรหารือเกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพก่อนใช้เซอทราลีน
-
- โรคตับอย่างรุนแรง:
-
-
- บุคคลที่มีความบกพร่องของตับอย่างรุนแรงอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาหรือติดตามอย่างระมัดระวังเมื่อใช้เซอทราลีน ในกรณีที่รุนแรง อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเซอทราลีน
-
- โรคสองขั้ว:
-
-
- ในบุคคลที่มีโรคไบโพลาร์ การใช้เซอทราลีนโดยไม่มียารักษาอารมณ์อาจทำให้เกิดอาการแมเนียหรือไฮโปแมนิกได้ การตัดสินใจใช้ยาเซอทราลีนในผู้ที่เป็นโรคไบโพลาร์ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต
-
- ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ:
-
- เซอร์ทราลีนมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (ระดับโซเดียมต่ำ) โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ การตรวจสอบระดับอิเล็กโทรไลต์เป็นสิ่งสำคัญ และควรใช้ความระมัดระวังในบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a697048.html
- https://www.nhs.uk/medicines/sertraline/
- https://www.webmd.com/drugs/2/drug-1/sertraline-oral/details
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น