ภาวะช็อกพิษเหตุติดเชื้อคืออะไร?
ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Septic Shock) คือ การติดเชื้อ และเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มีความรุนแรง ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะที่อันตรายและอาจถึงแก่ชีวิตได้
ภาวะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเมื่อสารเคมีในร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อด้วยการไปกระตุ้นอาการอักเสบโดยถูกส่งเข้าไปสู่กระแสเลือด
แพทย์จำแนกภาวะเหตุพิษติดเชื้อออกเป็น 3 ระดับ คือ:
-
ภาวะเหตุพิษติดเชื้อคือ ภาวะที่มีการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดและเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบในร่างกาย
-
ภาวะเหตุพิษติดเชื้อแบบรุนแรงคือ เมื่อเกิดการติดเชื้อที่มีความรุนแรงมากพอที่ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ, สมอง,และไต
-
ภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อคือ เมื่อมีอาการความดันเลือดตกซึ่งทำให้ระบบทางเดินหายใจหรือหัวใจล้มเหลว, โรคหลอดเลือดสมอง, อวัยวะอื่นๆล้มเหลวและเสียชีวิต
เมื่อมีการอักเสบที่เป็นผลมาจากเหตุพิษติดเชื้อจะทำให้เส้นเลือดเล็กๆมีลิ่มเลือด ซึ่งลิ่มเลือดนี้จะขัดขวางไม่ให้ออกซิเจนและสารอาหารไปสู่อวัยวะที่จำเป็นของร่างกาย
การอักเสบมักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ แต่ภาวะเหตุพิษติดเชื้อและภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อทั้งคู่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆคน
ภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อคือสาเหตุหลักๆที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในหอผู้ป่วยวิกฤตของประเทศสหรัฐอเมริกา
อาการของภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ
อาการเบื้องต้นของภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อที่ไม่ควรมองข้าม คือ:
- มีไข้สูง มักสูงกว่า 38˚C
- อุณหภูมิร่างกายลดต่ำ (ภาวะตัวเย็นเกิน Hypothermia)
- อัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็ว
- หายใจถี่, หรือมากกว่า 20ครั้งต่อหนึ่งนาที
ภาวะเหตุพิษติดเชื้อแบบรุนแรงคือ การถูกกำหนดว่าเป็นภาวะเหตุพิษติดเชื้อที่มีหลักฐานว่าภาวะดังกล่าวส่งผลทำให้อวัยวะเช่นไต, หัวใจ, ปอด หรือสมองเสียหาย อาการของภาวะเหตุพิษติดเชื้อแบบรุนแรงคือ
-
มีปริมาณปัสสาวะลอน้อยลงอย่างสังเกตเห็นได้
-
ภาวะสับสนเฉียบพลัน
-
มึนงง
-
มีปัญหาการหายใจที่รุนแรง
-
นิ้วหรือริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีม่วง (อาการตัวเขียว)
ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อจะมีอาการของภาวะเหตุพิษติดเชื้อแบบรุนแรงด้วย
สาเหตุของภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ
การติดเชื้อแบคทีเรีย, เชื้อรา, หรือเชื้อไวรัสอาจเป็นสาเหตุของภาวะเหตุพิษติดเชื้อได้ การติดเชื้อทุกชนิดสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งที่บ้านหรือในขณะพักรักษาตัวจากโรคอื่นๆที่โรงพยาบาล
ภาวะเหตุพิษติดเชื้อมักเกิดจาก:
-
มีการติดเชื้อที่ท้องหรือระบบย่อยอาหาร
-
ปอดติดเชื้อ เช่นโรคปอดบวม
-
การติดเชื้อในท่อปัสสาวะ
-
การติดเชื้อที่ระบบสืบพันธ์
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะคืออายุหรือความเจ็บป่วยที่มีมาก่อน สามารถเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อได้มากขึ้น ภาวะนี้มักเกิดขึ้นในเด็กทารก, ผู้สูงอายุ, หญิงตั้งครรภ์ และคนที่มีระบบภูมิต้านทานถูกกดไว้อันมีสาเหตุมาจากการรักษาโรคเอชไอวี, โรครูห์มาติกเช่นโรคแพ้ภูมิตัวเองและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, หรือpsoriasis-types-0054/”>โรคสะเก็ดเงิน และโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังหรือโรคมะเร็งก็สามารถเป็นสาเหตุการเกิดภาวะดังกล่าว
ปัจจัยที่สามารถก่อให้เกิดภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ คือ:
-
การผ่าตัดใหญ่หรือการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระยะยาว
-
ผู้ที่ต้องได้รับการฉีดยาในโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2
-
ผู้ป่วยที่มีการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่มีอาการหนัก
-
ติดเชื้อจากอุปกรณ์เช่นการใส่สายสวนหลอดเลือดดำ, การสวนปัสสาวะ, หรือการใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งอาจนำเอาเชื้อแบคมีเรียเข้าสู่ร่างกายได้
การวินิจฉัยภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ
หากผู้ป่วยมีภาวะเหตุพิษติดเชื้อ ขั้นต่อไปคือทำการทดสอบเพื่อระบุเชื้อที่เกิดขึ้นร่วมกัน ซึ่งการวินิจฉัยมักทำโดยการตรวจเลือด รูปแบบการทดสอบนี้สามารถระบุเชื้อได้หากมีปัจจัยดังต่อไปนี้ปรากฏให้เห็น:
-
พบแบคมีเรียในเลือด
-
มีปัญหาเกิดลิ่มเลือดเนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ
-
มีของเสียในเลือดมากเกินไป
-
การทำงานของตับหรือไตผิดปกติ
-
ปริมาณออกซิเจนลดน้อยลง
-
ภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย
การวินิจฉัยขึ้นอยู่กับอาการและผลตรวจเลือด แพทย์อาจมีการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเพื่อระบุแหล่งที่มาของการติดเชื้อ เช่น:
-
ตรวจปัสสาวะ
-
ตรวจสารคัดหลั่งจากบาดแผลหากพบว่าผู้ป่วยมีแผลในบริเวณที่มองดูแล้วน่าจะเกิดการติดเชื้อwound
-
ตรวจจากมูกสารคัดหลั่งเพื่อหารูปแบบของเชื้อโรคที่เป็นตัวเบื้องหลังของการติดเชื้อ
-
ตรวจโดยเจาะน้ำไขส้นหลัง
ในรายที่การหาต้นตอของการติดเชื้อไม่ปรากฎแน่ชัดจากการตรวจข้างต้นตามที่กล่าวไว้ แพทย์อาจเข้าไปดูข้างในของร่างกายโดยใช้วิธีการดังต่อไปนี้:
-
การเอกซเรย์
-
การทำซีทีสแกน
-
การอัลตราซาว์น
-
ทพเอ็มอาร์ไอMRI
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อเป็นต้นเหตุก่อให้เกิดอันตรายมากมายและอาจทำให้เสียชีวิตได้ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นคือ:
-
มีลิ่มเลือดผิดปกติ
-
ภาวะการหายใจล้มเหลว
-
ตับล้มเหลว
-
สูญเสียลำไส้ไปบางส่วน
ภาวะแทรกซ้อนที่เจอและผลกระทบของโรคขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้:
-
อายุ
-
การรักษาเริ่มต้นได้ไวแค่ไหน
-
สาเหตุและเหตุพิษติดเชื้อเกิดขึ้นภายในร่างกาย
-
โรคที่เป็นมาก่อน
การรักษาภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ
หากสามารถวินิจฉัยภาวะเหตุพิษติดเชื้อได้ตั้งแต่ช่วงแรกและได้รับการรักษามากเท่าไร โอกาสรอดชีวิตก็มีสูง เมื่อได้รับการวินิจฉัยเรียบร้อยผู้ป่วยอาจต้องพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤต (ไอซียู) เพื่อรักษา แพทย์จะใช้ยาเพื่อรักษาภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อโดย:
-
การฉีดยาปฏิชีวนะเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อเข้าทางหลอดเลือดดำ
-
ยากระตุ้นความดันโลหิต, เป็นยาที่สามารถช่วยเรื่องเส้นเลือดตีบและยังช่วยเพิ่มความดันโลหิตด้วย
-
ใช้อินซูลินเพื่อทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ insulin for blood sugar stability
-
ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
การให้ของเหลวทางหลอดเลือดปริมาณมากจะถูกสั่งเพื่อรักษาภาวะร่างกายขาดน้ำและเพื่อช่วยเพิ่มความดันเลือดและทำให้เลือดไหลเวียนไปสู่อวัยวะต่างๆได้ดีขึ้น อุปกรณ์ช่วยการหายใจอาจมีความจำเป็นต้องนำมาใช้ บางครั้งอาจต้องมีการผ่าตัดเข้ามาเพื่อเอาต้นตอของการติดเชื้อออกไป
การเฝ้าติดตามระยะยาวสำหรับภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ
ภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อคือภาวะที่มีความรุนแรง และพบว่ามีมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยต้องเสียขีวิต โอกาสรอดชีวิตจากภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อจะขึ้นอยู่กับแหล่งของการติดเชื้อ, จำนวนอวัยวะที่มีผลกระทบ,และได้รับการรักษารวดเร็วแค่ไหนหลังจากอาการแรกแสดงอาการออกมา
สัญญาณอันตรายของภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ
ภาวะช็อกจากการติดเชื้อเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ที่คุกคามถึงชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นจากภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของภาวะติดเชื้อ โดยมีลักษณะเฉพาะคือความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญและความล้มเหลวของอวัยวะหลายส่วน นำไปสู่ภาวะช็อกขั้นวิกฤต การตระหนักถึงสัญญาณที่เป็นอันตรายของภาวะช็อกจากการติดเชื้อเป็นสิ่งสำคัญในการอยุ่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นในการเพิ่มโอกาสรอดชีวิต สัญญาณอันตรายของภาวะช็อกจจากการติดเชื้อมีดังต่อไปนี้:- ความดันโลหิตต่ำ : ความดันโลหิตลดลงอย่างรุนแรงเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ความดันโลหิตอาจต่ำจนเป็นอันตราย ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะสำคัญไม่เพียงพอ
- สภาวะทางจิตที่เปลี่ยนแปลง : ผู้ป่วยอาจสับสน สับสน เซื่องซึม หรือตื่นได้ยาก การเปลี่ยนแปลงสถานะทางจิตบ่งบอกถึงการทำงานของสมองบกพร่อง
- หัวใจเต้นเร็ว : อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อร่างกายพยายามชดเชยความดันโลหิตต่ำ อัตราการเต้นของหัวใจอย่างรวดเร็วมักเป็นสัญญาณของการตอบสนองต่อความเครียดของร่างกายต่อภาวะช็อกจากการติดเชื้อ
- การหายใจเร็ว : การหายใจจะเร็วและตื้นขึ้นเพื่อชดเชยระดับออกซิเจนที่ต่ำ และเพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย
- ผิวเย็น ชื้น : ผิวหนังอาจรู้สึกเย็นเมื่อสัมผัส และกลายเป็นสีซีดหรือมีรอยด่างเนื่องจากการไหลเวียนไม่ดี เหงื่อออกมากก็เป็นเรื่องปกติเช่นกัน
- ปัสสาวะน้อย : ปัสสาวะออกลดลงหรือไม่มีปัสสาวะเลย (anuria) อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากไตบกพร่อง นี่เป็นสัญญาณของความผิดปกติของอวัยวะ
- หายใจลำบาก : เมื่อเกิดภาวะช็อกติดเชื้อ ผู้ป่วยอาจหายใจลำบาก หายใจลำบาก หรือหายใจลำบาก
- อาการเจ็บหน้าอก : ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการช็อกจากการติดเชื้ออาจมีอาการเจ็บหน้าอกหรือไม่สบาย ซึ่งอาจเกิดจากการที่ออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง
- อาการระบบทางเดินอาหาร : อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไปยังระบบทางเดินอาหารลดลง
- ผิวหนังที่มีรอยด่างหรือตัวเขียว : ผิวหนังอาจมีลักษณะเป็นรอยด่าง โดยมีการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำเงินหรือสีม่วง (ตัวเขียว) ซึ่งบ่งชี้ว่าการไหลเวียนไม่ดีและขาดออกซิเจน
- ความสับสนหรือเพ้อ : ผู้ป่วยอาจสับสนหรือกระวนกระวายใจมากขึ้นเนื่องจากการทำงานของสมองถูกทำลาย
- ชีพจรอ่อน : ชีพจรอาจอ่อนหรือตรวจพบได้ยากที่บริเวณรอบข้าง เช่น ข้อมือหรือข้อเท้า
- สูญเสียสติ : ในกรณีที่รุนแรงผู้ป่วยอาจหมดสติ (โคม่า) เนื่องจากมีออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอต่อสมอง
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://medlineplus.gov/ency/article/000668.htm
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sepsis/symptoms-causes/syc-20351214
-
https://www.medicalnewstoday.com/articles/311549
-
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK430939/
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team