โรคหนังแข็ง (Scleroderma) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคหนังแข็ง (Scleroderma) คือการที่ระบบภูมิคุ้มกันของตัวเองทำงานผิดปกติซึ่งหมายความว่าโรคนี้จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันโจมตีร่างกาย เนื้อเยื่อที่ดีจะถูกทำลายเพราะว่าระบบภูมิคุ้ทกันเข้าใจผิดว่าเนื้อเยื่อที่ดีเป็นสารแปลกปลอมหรือการติดเชื้อ โรคแพ้ภูมิตัวเองมีหลายประเภทที่สามารถทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ โรคหนังแข็งมีลักษณะปรากฎขึ้นเมื่อผิวเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากมีการผลิตคอลลาเจนเพิ่มมากขึ้นซึ่งคอลลาเจนเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ความผิดปกติที่เกิดจากผิวหนังเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดผลกระทบกับส่วนต่างๆของร่างกายดังต่อไปนี้ 
  • หลอดเลือด
  • กล้ามเนื้อ 
  • หัวใจ
  • ระบบย่อยอาหาร
  • ปอด
  • ไต 
ลักษณะของโรคหนังแข็งเกิดขึ้นจากระบบภูมิกันร่างกายทำงานผิดปกติ เมื่อโรคนี้เกิดขึ้นก่อให้เกิดความผิดปกติหลายอย่างผสมผสานกัน โดยปกติเเล้วโรคนี้เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุ 30-50 ปีแต่อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถวินิจฉัยพบในคนทุกวัย ผู้หญิงมีโอกาสได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย โดยความรุนเเรงและอาการของโรคนี้มีเกิดขึ้นในแต่ละคนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเเละอวัยวะที่เกี่ยวข้อง โรคผิวหนังแข็ง ภาษาอังกฤษเรียกว่า scleroderma หรือโรค CREST โดยคำว่า “CREST” ย่อมาจาก
  • calcinosis คือการสะสมแคลเซียมที่ผิวหนังมากเกินไป
  • Raynaud’s phenomenon คือโรคที่เกิดความผิดปกติขึ้นกับหลอดเลือดเมื่อเจอความเย็นหรือความเครียด
  • esophageal dysmotility  คือโรคหลอดอาหารเคลื่อนไหวผิดปกติ
  • sclerodactyly คือผิวหนังแข็งเฉพาะนิ้วมือและนิ้วเท้า
  • telangiectasia คือภาวะเส้นเลือดฝอยขยายตัว

อาการของโรคหนังแข็ง

โรคหนังแข็งสามารเกิดขึ้นบนผิวหนังตั้งแต่ระยะแรกของการเกิดโรคซึ่งคุณจะสังเกตุเห็นว่าผิวหนังของคุณหนาขึ้นและมีความมันวาวซึ่งสามารถสังเกตุได้ที่บริเวณโดยรอบของปาก จมูก นิ้วมือและบริเวณอื่นๆที่ใกล้กับกระดูก  เมื่อมีอาการของโรคเกิดขึ้น คุณจะมีอาการเริ่มขยับอวัยวะส่วนที่เกิดโรคผิวหนังแข็งได้น้อยลงและมีอาการอื่นๆเกิดขึ้นร่วมด้วยได้แก่ 
  • ผมร่วง 
  • เกิดการสะสมของแคลเซียมหรือเกิดก้อนสีขาวใต้ผิวหนัง
  • เกิดเส้นการขยายตัวของเส้นเลือดใต้ผิวหนัง 
  • รู้สึกเจ็บปวดที่ข้อต่อ
  • หายใจสั้น
  • ไอแห้ง
  • ท้องร่วง
  • ท้องผูก
  • การกลืนลำบาก
  • เกิดกรดไหลย้อน
  • ท้องอืดหลังจากทานอาหาร
คุณอาจจะเริ่มมีอาการหลอดเลือดชักกระตุกที่บริเวณนิ้วมือและนิ้วเท้า จากนั้นส่วนปลายแขนและขาวของคุณจะกลายเป็นสีขาวหรือสีน้ำเงินเมื่อคุณอยู่ในอาการที่หนาวหรือเกิดความเครียดอย่างรุนเเรง ซึ่งอาการนี้เรียกว่าโรคเรเนาด์ 

สาเหตุของโรคผิวหนังเเข็ง 

เมื่อโรคผิวหนังแข็งเริ่มเกิดขึ้น ร่างกายจะเริ่มมีการผลิตคอลลาเจนที่มากเกินไปและเกิดการสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ คอลลาเจนคือสารที่เป็นโครงสร้างของโปรตีนซึ่งมีอยู่ในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย แพทย์ยังไม่เเน่ใจว่าสาเหตุของการผลิตคอลลาเจนมากเกินไปเกิดขึ้นจากอะไร ดังนั้นจึงไม่สามารถทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคผิวหนังแข็งได้ (SS)

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหนังแข็ง

ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสของการเกิดโรคผิวหนังเเข็งได้แก่
  • เป็นคนเชื้อชาติอเมริกัน
  • เป็นคนเชื้อชาติแอฟริกา
  • เป็นผู้หญิง
  • ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างเช่นยา Bleomycin 
  • เป็นผู้ที่มีการสัมผัสกับฝุ่นจากผลึกซิลิกาและสารเคมีที่เป็นตัวทำละลายอินทรีย์ 
ไม่มีวิธีป้องกันโรคผิวหนังแข็ง (SS) นอกจากการลดปัจจัยเสี่ยงเท่านั้นที่คุณสามารถควบคุมได้ 

การวินิจฉัยโรคหนังแข็ง

โรคหนังแข็ง (Scleroderma) : อาการ สาเหตุ การรักษา ในระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์สามารถระบุความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผิวหนังได้ว่าเป็นโรคผิวหนังเเข็ง (SS) โรคความดันสูงอาจเกิดจากการทำงานของไตที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการแข็งตัวของเนื้อเยื่อร่างกาย แพทย์จะสั่งให้คุณตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบการทำงานของแอนตี้บอดี้ ปัจจัยการเกิดโรครูาตอยด์และอัตราการตกตะกอนของเลือด การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยวิธีอื่นๆได้แก่
  • การเอกซเรย์หน้าอก
  • การตรวจปัสสาวะ
  • การทำ CT สแกนที่ปอด
  • การตัดเนื้อเยื่อผิวไปตรวจ

การรักษาโรคหนังแข็ง

การรักษาโรคผิวหนังไม่สามารถรักษาอาการของโรคให้หายไปได้แต่สามารถช่วยบรรเทาอาการและทำให้โรคนี้เกิดขึ้นได้ช้าลง โดยปกติการรักษาขึ้นอยู่กับอาการที่เกิดขึ้นของแต่ละบุคคลและการป้องกันความเสี่ยง  การรักษาโรคผิวหนังแข็งได้แก่
  • ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์
  • ยากดภูมิคุ้มกันเช่นยา  methotrexate หรือ ยา Cytoxan
  • ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียร์รอยด์ 
การรักษาตามอาการได้แก่ 
  • ยารักษาความดันสูง
  • การใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • การทำกายภาพบำบัด
  • การรักษาบำบัดด้วยการฉายเเสงเช่นการฉายแสงอัลตร้าไวโอเลต A1
  • การใช้ยาขยายหลอดเลือดในกลุ่มไนเตรตที่ใช้รักษาผิวหนังที่มีอาการหนาขึ้นผิดปกติ
คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตเพื่อใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโรคผิวหนังแข็งได้อย่างเช่นหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำและหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการจุกเสียดเเน่นท้อง 

ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้จากโรคหนังแข็ง

ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังเเข็งอาจมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้แก่ 

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงสูงสุดในการเกิดโรคหนังแข็ง 

น่าเสียดายที่ทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคหนังแข็ง การวิจัยที่ทำขึ้นแสดงให้เห็นว่า เช่นเดียวกับโรครูมาติกและโรคภูมิต้านตนเองอื่นๆ มันเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของเรา แต่ปัจจัยที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหนังแข็ง คือ:
  • เพศ:พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหนังแข็งเป็นผู้หญิง
  • อายุ: ประเภทของโรคหนังแข็งส่วนใหญ่ปรากฏขึ้นก่อนอายุ 40 ปี และประเภทของโรคหนังแข็งที่เป็นระบบมักได้รับการวินิจฉัยระหว่างอายุ 30 ถึง 50 ปี
  • เชื้อชาติ:โรคหนังแข็งชนิดเฉพาะที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีเชื้อสายยุโรปมากกว่าในชาวแอฟริกัน-อเมริกัน Choctaw ชนพื้นเมืองอเมริกันและแอฟริกัน – อเมริกันมีความเสี่ยงสูงกว่ารูปแบบระบบของ scleroderma มากกว่าคนเชื้อสายยุโรป
  • การสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม:อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมบางอย่างอาจทำให้ผู้คนมีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดโรคหนังแข็ง ผู้ชายที่สัมผัสกับซิลิกาจะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหนังแข็ง การอยู่ใกล้กับตัวทำละลายบางชนิดและการรับประทานยาบางชนิดสามารถเพิ่มศักยภาพในการเกิดโรคได้

ภาพรวมของโรคหนังแข็ง

การรักษาโรคผิวหนังเเข็งได้รับการพัฒนาเมื่อ 30 ปีที่เเล้ว แม้ว่ายังไม่มีวิธีการรักษาโรคผิวหนังแข็งโดยเฉพาะ มีเพียงแค่การรักษาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆที่เกิดขึ้นเเละจัดการกับอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น คุณควรปรึกษาแพทย์ถ้าหากอาการที่เกิดขึ้นส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ โดยคุณสามารถทำงานร่วมกับแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนแผนการรักษา นอกจากนี้คุณสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มสนับสนุนเพราะว่าการพูดคุยกับผู้ที่มีประสบการณ์เดียวกันสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังได้

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.scleroderma.org/site/SPageServer/;jsessionid=00000000.app30133b?NONCE_TOKEN=9FE35BEA352FFE1DA386DD0560B27A66
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/scleroderma/symptoms-causes/syc-20351952
  • https://www.nhs.uk/conditions/scleroderma/
  • https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/scleroderma
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด