เรียบเรียงและปรับปรุงข้อมูลทางการแพทย์โดย : พญ. พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจ
ไข้อีดำอีแดงคืออะไร
ไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever) หรือที่เรียกกันว่าสการ์ลาตินา เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยบางคนที่เป็นคออักเสบ จะมีลักษณะอาการเป็นผื่นแดงตามร่างกาย มักจะมีไข้สูงและมีอาการเจ็บคอร่วมด้วย และมีการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสกรุ๊ปเอ (Group A Streptococcus) ไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever) มักเกิดขึ้นกับเด็กอายุตั้งแต่ 5 ขวบ ถึง 15 ปีสาเหตุของไข้อีดำอีแดง
ไข้อีดำอีแดงเกิดจากแบคทีเรียกลุ่ม A Streptococcus หรือแบคทีเรีย Streptococcus pyogenes ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สามารถมีชีวิตอยู่ในปากและจมูกของผู้ป่วยได้ แบคทีเรียเหล่านี้สามารถผลิตสารพิษหรือพิษที่ทำให้เกิดผื่นแดงตามร่างกายอาการของไข้อีดำอีแดง
ผื่นไข้อีดำอีแดงจะเกิดทั่วลำตัว ภายในเวลา 24-48 ชั่วโมงหลังการมีไข้ ลักษณะผื่นจะเป็นสีแดงมาก ผื่นมีสัมผัสที่หยาบ ผู้ป่วยจะมีหน้าแดงและปากซีด รวมถึงมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังนี้- ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้สูงเกิน 38 องศา
- มีอาการเจ็บคอ
- คลื่นไส้และอาเจียน
- ลิ้นเป็นสีแดงที่เรียกว่า (Strawberry Tongue)
- ลิ้นจะเป็นตะปุ่มตะป่ำและมีฝ้าขาวขึ้นในช่วงแรก
- ต่อมทอนซิลเป็นหนอง โต และอักเสบ
- ปวดศีรษะ
- หนาวสั่น
ไข้อีดำอีแดงสามารถติดต่อได้หรือไม่
ไข้อีดำอีแดงสามารถแพร่กระจายหรือติดต่อได้จากการสัมผัสเชื้อจากจมูก หรือคอ ผ่านละอองจากการไอหรือจาม ของผู้ป่วยที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว บางครั้งอาจจะเกิดจากการใช้แก้วน้ำหรือช้อนร่วมกัน หรือการสัมผัสโดยน้ำมูก เสมหะ หรือน้ำลาย ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้สองถึงห้าวันก่อนที่จะมีอาการ นอกจากนี้แบคทีเรียกลุ่ม A Streptococcus ยังสามารถก่อให้เกิดโรคผิวหนังติดเชื้อที่เรียกกันว่าโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) ได้ด้วยการรักษาไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever)
ไข้อีดำอีแเดงสามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อจัดการกับเชื้อแบคทีเรีย แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยา จำพวก:- ibuprofen
- acetaminophen (Tylenol)
- cephalosporin
- amoxicillin
- clindamycin
- penicillin
- ดื่มน้ำอุ่น ๆ
- รับประทานอาหารอ่อน ๆ
- ดื่มน้ำเยอะ ๆ
- อมยาอมแก้เจ็บคอ
- งดสูบบุหรี่
- กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ
- เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับข้ออักเสบ
โรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดจากไข้อีดำอีแดง
โดยทั่วไปแล้วผื่นหรืออาการอื่น ๆ ของไข้อีดำอีแดงจะหายไปในเวลา 10 วันถึง 2 สัปดาห์หลังการได้รับยาปฏิชีวนะ แต่ทั้งนี้ไข้อีดำอีแดงสามารถเป็นเหตุของโรคแทรกซ้อนร้ายแรงได้:การป้องกันการเกิดไข้อีดำอีแดง
การฝึกสุขอนามัยที่ดีเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไข้อีดำอีแดง นี่คือเคล็ดลับการป้องกันบางประการที่ผู้ปกครองควรแนะนำบุตรหลาน :- ปิดปากเมื่อไอหรือจามและล้างมือทุกครั้ง
- ไม่ใช้พาชนะอาหารร่วมกับผู้อื่น
- หมั่นล้างมือบ่อย ๆ
การวินิฉัยไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever)
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายเพื่อตรวจหาอาการของไข้อีดำอีแดง แพทย์จะตรวจสภาพลิ้น คอ และต่อมทอนซิลของผู้ป่วย รวมไปถึงตรวจสอบลักษณะและพื้นผิวของผื่น หรืออาจจะเก็บตัวอย่างจากลำคอของผู้ป่วยเพื่อเก็บตัวอย่างเซลล์ในการทำการวิเคราะห์
คำถามที่พบบ่อย
ไข้อีดำอีแดงทำให้เสียชีวิตได้หรือไม่ สิ่งสำคัญ แม้ว่าผื่นไข้อีดำอีแดงจะไม่เป็นอันตราย แต่เป็นตัวบ่งชี้ถึงโรคสเตร็ปกลุ่ม A ซึ่งสามารถลุกลามไปสู่โรคที่ลุกลามได้ (เช่น โรคเนื้อเยื่ออักเสบจากเนื้อตายหรือกลุ่มอาการท็อกซิกช็อก) และอาจถึงแก่ชีวิตได้หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา ไข้อีดำอีแดงจะหายได้เองโดยไม่ได้รับการรักษาหรือไม่ กรณีไข้อีดำอีแดงที่ไม่รุนแรงส่วนใหญ่จะหายได้เองแต่ก็ยังเป็นการดีที่สุดที่จะไปพบแพทย์หากคุณหรือลูกของคุณแสดงอาการ การรักษาอาการป่วยจะช่วยเร่งการฟื้นตัวและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน คุณจะไม่เป็นโรคติดต่อเร็วขึ้นด้วย คุณสามารถได้รับความเสียหายจากสมองจากไข้อีดำอีแดงหรือไม่ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ยากหากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง แต่อาจรวมถึง: ไข้รูมาติกเฉียบพลัน ซึ่งอาจส่งผลต่อหัวใจ ข้อต่อ ผิวหนัง และสมอง ไข้อีดำอีแดงทำลายหัวใจเสมอหรือไม่ แม้ว่าไข้อีดำอีแดงจะเคยถูกมองว่าเป็นโรคร้ายแรงในวัยเด็ก แต่การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทำให้อาการดังกล่าวไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม หากปล่อยทิ้งไว้ โดยไม่รักษา ไข้อีดำอีแดงอาจส่งผลให้เกิดสภาวะที่ร้ายแรงกว่าที่ส่งผลต่อหัวใจ ไต และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จะเกิดอะไรขึ้นหากไข้ผื่นแดงไม่ได้รับการรักษา หากคุณมีไข้อีดำอีแดงและไม่รักษา แสดงว่าคุณมีความเสี่ยง อาจทำให้เกิดไข้รูมาติก ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นไม่บ่อย แต่อาจรวมถึงความเสียหายของไต ตับ หรือหัวใจ คุณอาจเป็นหู ไซนัส หรือติดเชื้อที่ผิวหนัง ปอดบวม หรือโรคข้ออักเสบ ทำไมไข้อีดำอีแดงจึงสูงมาก คำอธิบายหนึ่งอาจเป็นได้ว่า การติดเชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ผู้คนมีความไวต่อการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัสกลุ่ม A มากขึ้น อย่างน้อยห้าประเทศในยุโรปรายงานว่ามีการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัสกลุ่ม A (iGAS) ที่รุกรานเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และในบางกรณีก็มีไข้อีดำอีแดงลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/scarlet-fever/symptoms-causes/syc-20377406
- https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/infections-and-poisoning/scarlet-fever
- https://www.cdc.gov/groupastrep/diseases-hcp/scarlet-fever.html
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น